งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โทรศัพท์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โทรศัพท์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โทรศัพท์

2 ประวัติความเป็นมา โทรศัพท์ประดิษฐ์เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ (ค.ศ.1876) และต่อมาเครื่อง ชุมสายโทรศัพท์ได้ถูกเปิดให้บริการผู้เช่าเป็นครั้งแรกในเมืองนิวฮาเวน(New Haven)มลรัฐคอนเนตทิคัต (Conecticut) เป็นระบบที่ใช้พนักงานต่อ สายสัญญาณ (Manual) ต่อมาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ได้ถูกพัฒนา จากระบบที่ใช้ พนักงานต่อเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Telephone Exchange) เครื่องชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติเครื่องแรก เป็นระบบการสลับทีละขั้น หรือระบบส เต็ปบายสเต็ป (Step-By-Step) ออกแบบโดยอัลมอน บี สโตรว์เกอร์ (Almon B.Strowger) ในปี พ.ศ ๒๔๓๕ (ค.ศ. 1892) และเปิดใช้ในเมืองลาปอเต้ (La Porte) มลรัฐอินเดียน่า (Indiana) ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก

3 เครื่องชุมสายระบบอัตโนมัติได้ถูกพัฒนาขึ้นจากระบบ Step-By-Step และระบบครอส บาร์สวิทช์ (Crossbar switch) ซึ่งเป็นเครื่องชุมสายแบบระบบเครื่องจักรกล อิเล็กทรอนิกส์ (Electromechnical System) มาเป็นเครื่องชุมสายระบบ อิเลคทรอนิกส์ (Electronic Switching System) ในช่วงแรกของการพัฒนาเครื่อง ชุมสายนั้น ส่วนที่เป็นตัวควบคุมได้ถูกออกแบบให้เป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของ วงจร เครื่องชุมสายระบบครอสบาร์สวิทช์ (Crossbar switch) ระบบเริ่มแรก ต่อมาได้ นำระบบการควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic control) มาใช้ซึ่งระบบการ ควบคุมประกอบด้วยสามส่วนได้แก่ Hardware logic Programmable wired logic และ Stored program

4

5 สำหรับในประเทศไทยได้นำโทรศัพท์มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ. ศ
สำหรับในประเทศไทยได้นำโทรศัพท์มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ติดตั้งที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในระยะแรกคือ เครื่องโทรศัพท์ระบบแม็กนีโตหรือระบบไฟประจำเครื่อง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ชุมสายโทรศัพท์แห่ง แรกในประเทศไทย ติดตั้งระบบ ณ สำนักงานโทรศัพท์กลาง (วัดเลียบ) เป็นโทรศัพท์ไฟกลาง ใช้พนักงานต่อ (Central Battery: CB) เป็นชุมสายกึ่งอัตโนมัติ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เริ่มใช้ชุมสายระบบ Step by Step และปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีการสถาปนาองค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยเพื่อให้บริการโทรศัพท์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เริ่มใช้ชุมสายโทรศัพท์ครอสบาร์ ติดตั้ง ครั้งแรกในประเทศไทยที่ชุมสายชลบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่ม มาเปิด ใช้ครั้งแรกในเขตนครหลวง

6 ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC มาใช้ครั้งแรกที่ชุมสายภูเก็ต ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ปรับเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ (แบบหมุน) เป็นระบบเอสพีซี (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแปลง สภาพเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน (TOT Corporation Public Company Limited) และวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และแบบที่สามจากคณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.

7

8 วิวัฒนาการของโทรศัพท์

9 ยุค 1G (1st Generation) เริ่มตั้งแต่ยุคแรก ระบบยังเป็นระบบอะนาล็อก (Analog) และมีการ แบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ ในยุคนี้เราสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ ตาม ในยุคนี้ผู้ใช้ก็ยังไม่ได้มีความต้องการที่จะใช้บริการประเภทอื่น ยุค 2G (2nd Generation) เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการและความหลากหลายด้าน การบริการ มากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุจากแบบอะนาล็อกมาเป็นแบบ digital ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากบริการเสียง ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ และเพราะการให้บริการทางด้านข้อมูล ทำให้เกิดบริการอื่นๆ ที่ตามมมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Download Ringtone Wallpaper Graphic ต่างๆ แต่บริการในยุคนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

10 ยุค 2.5G (2.5 Generation) หลังจากนั้นเป็นยุคที่อยู่ระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ใน 2.5G นี้เป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) มาใช้ เพื่อเพิ่ม ความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2Gเทคโนโลยี GPRS สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 kbps แต่ ความเร็วของ GPRS ในการใช้งานจริงจะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น ซึ่ง ในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการในส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMS โทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็น เพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็น Polyphonic รวมไปถึง True tone ต่างๆ ด้วย

11 ยุค 2.75G คือยุคที่ต่อเนื่องมาจาก GPRS แต่จะมีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น และเรียกเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลว่า EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ซึ่งจะมีความเร็วมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมี ความเร็วสูงสุดประมาณ 384 kbps แต่มีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ kbps

12 ยุค 3G (Third Generation) เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 นั้นจะเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสาน การรับส่งข้อมูล และเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สาย (Wireless) ที่ความเร็วที่สูงกว่ายุค 2.75G นอกจากนี้ 3G ยังสามารถให้บริการมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น (Application) รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น เช่น การรับส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ การใช้บริการ Video/Call Conference ดาวน์โหลดเพลง ชม ภาพยนตร์แบบสั้นๆ ดู TV Streaming ต่างๆได้ ยุค4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะ สามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น

13

14 ประเภทของโทรศัพท์ 1. โทรศัพท์ส่วนบุคคล (Private Telephone) 2. โทรศัพท์สาธารณะ (Public Telephone) 3. โทรเคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ(Mobile Telephone)

15 การประหยัดพลังงานในการใช้โทรศัพท์
- ถอดสายชาร์จออกทันทีเมื่อแบตเตอรี่เต็ม หากยังใช้แบตเตอรี่ไม่หมด ไม่ควรชาร์จไฟ เพราะจะทำให้เสื่อมเร็ว - ลดความสว่างหน้าจอลง - ปิดฟังค์ชั่นบลูทูธ ไวร์เลส เมื่อไม่ใช้งานทันที - ตั้งค่าสแตนด์บายไว้ให้ต่ำที่สุด - ปิดเสียงที่ไม่ต้องการใช้ เช่น ป่มกด

16 วิธีใช้โทรศัพท์เพื่อลดโลกร้อน
- คุยโทรศัพท์เท่าที่จำเป็น - จำกัดเวลาในการเล่นเกมส์หรือแอพพลิเคชั่น - ประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ - อุปกรณ์เสริมลดโลกร้อน - ใช้ฟังก์ชั่นในโทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์สุงสุด - ใช้ซิมเดียว

17 ความสำคัญของโทรศัพท์
- ช่วยในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะผ่านการโทร หาหรือการแชทผ่านข้อความต่างๆ หรือการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการเชื่อมต่อสัญญาณก็ สามารถทำได้อย่างง่ายดาย - สามารถถ่ายภาพหรืออัดวิดีโอได้ เนื่องจากโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีกล้องติดมา ด้วย บางรุ่นอาจจะมีถึงสองกล้องด้วยกันคือกล้องหน้าและกล้องหลัง ทำให้ง่ายต่อการใช้ งานและเพิ่มประสิทธิภาพกับมูลค่าของโทรศัพท์ได้อีกด้วย นับว่าเป็นประโยชน์สองเท่าเลย ทีเดียว

18 - สามารถใช้บอกแผนที่ที่เราจะไปได้ ซึ่งไม่ต้องไปพึ่งพาเนวิเกเตอร์อีกต่อไป เนื่องจากใน โทรศัพท์มือถือนั้นเราสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นแผนที่ได้ - สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเราสามารถค้นหาอะไรก็ตามที่เรา ต้องการทราบภายในเวลาอันรวดเร็วผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ตในโทรศัพท์มือถือ - มีแอพพลิเคชั่นมากมายให้ใช้ ซึ่งตัวแอพพลิเคชั่นเหล่านี้จะทำให้เราได้รับประโยชน์อย่าง เต็มที่จากการใช้โทรศัพท์มือถือ นอกจากแอพพลิเคชันหล่านี้จะมีแอพที่ให้ความรู้ ให้ความ สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้ได้เห็นและเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ

19 ข้อเสียของโทรศัพท์ - ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ หรือเวลาอะไรก็ตามที่ คุณมีความสุข - ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าหากโทรศัพท์ของคุณเป็นที่ต้องการของโจร - ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเผยแพร่ มาก ว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา - ทำให้เป็นภาระทางการเงิน - ทำให้สมองของคุณฟ่อลง คุณจะพึ่งพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน - อาจติดโทรศัพท์มือถือจนไม่ทำอย่างอื่นเลย - อาจโดนล่อลวงจากคนที่รู้จักกันใน social network ได้ง่าย

20 ข้อดีของโทรศัพท์ - ใช้สื่อสารทางไกลได้ - สามารถ ถ่ายภาพ ติดตามข่าวสาร ท่องอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว - ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น บางทีอาจสามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เลย - พกพาสะดวก - สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดเหตุด่วน - ช่วยเตือนความจำได้

21 อ้างอิง pen-ma-khxng-thorsaphth thorsaphth-mux-thux-1

22 สมาชิก ม.5/7 นางสาวศศิณา ธารารักษ์ เลขที่ 7
นางสาวศศิณา ธารารักษ์ เลขที่ 7 นายชนาธิป ชิตรัฐถา เลขที่ 20 นางสาวกิ่งกาญจน์ อินทร์ช่วย เลขที่ 26 นางสาวปฏิญญา กาฬปักษ์ เลขที่ 36 นางสาวปริศนา คงเปี่ยม เลขที่ 37


ดาวน์โหลด ppt โทรศัพท์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google