ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2555
เสนอโครงร่างการศึกษาเชิงวิจัยส่วนบุคคล (Proposal) วิทยาลัยการปกครอง ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2555
2
บทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง
เรื่อง บทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง
3
หลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ ๗๒
4
นายสมศักดิ์ แย้มพันธุ์นุ้ย
ผู้วิจัย นายสมศักดิ์ แย้มพันธุ์นุ้ย ปลัดอำเภอ (จพง.ปค. ชำนาญการ) สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน หมายเลขประจำตัว นอ.๗๒ ๕๔๘๔
5
หัวข้อการนำเสนอร่างโครงการวิจัย
ความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารผลงานที่เกี่ยวข้อง การนำไปใช้ประโยชน์ สรุป และข้อเสนอแนะ
6
ความเป็นมา กองอาสารักษาดินแดนซึ่งสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกัน และรักษาความมั่นคงของประเทศ ได้ดำเนินงานเป็นผลดีต่อการปกครอง และป้องกันประเทศมาโดยตลอดสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนก็ได้มีบทบาทที่สำคัญในการต่อสู้กับข้าศึก ซึ่งที่ผ่านมาสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนทุกคนได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต ในการต่อสู้กับผู้คิดร้ายต่อประเทศชาติ ร่วมกับข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร ภารกิจในปัจจุบันของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจึงเป็นภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2497 มาตรา 16 ซึ่งกำหนดหน้าที่ไว้
7
ความเป็นมา แต่บทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง ซึ่งปัจจุบันกรมการปกครองได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการตามนโยบายที่สำคัญๆ และเร่งด่วนอย่างมากจำเป็นจะต้องใช้กำลังพลสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมอย่างยั่งยืน
8
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองในอนาคตของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม
9
สมมติฐานของการวิจัย ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันในเรื่อง อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาทำงาน ยศ หรือชั้นยศ ค่าตอบแทน และหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ มีผลต่อบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองแตกต่างกัน
10
ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้ศึกษาแบ่งขอบเขตการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้กำหนดเนื้อหา ได้แก่ 1) การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ 2) การปฏิบัติคำสั่งของผู้บังคับบัญชา 3) การบรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก 4) การตรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 5) การรักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม 6) การป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว 7) การช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก และ 8) การเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น
11
ขอบเขตการวิจัย (ต่อ) 2. ขอบเขตด้านพื้นที่: พื้นที่ในการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) คือ กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 76 จังหวัด โดยคำนวณหาขนาดพื้นที่ จำนวน 64 จังหวัด 3. ขอบเขตด้านประชากร/กลุ่มตัวอย่าง: คือ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนกองประจำการ รวมทั้งสิ้น 17,743 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 392 คน รวมทั้ง ผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัด จำนวน 10 คน และประชาชน จำนวน 64 จังหวัดๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 128 คน กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 530 คน 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา: ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2555
12
วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) โดยอาศัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎี ระเบียบกฎหมาย ยุทธศาสตร์ และเอกสารผลงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
13
วิธีดำเนินการวิจัย ส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง คือ อส. จำนวนทั้งสิ้น 17,743 คน (รายงานประจำปีกรมการปกครอง, 2553: 16) โดยใช้สูตรการคำนวณของ โดยมีความคลาดเคลื่อน + 5 % (d = 0.05) และคำนวณได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 392 คน ใช้หลักความน่าจะเป็นในการสุ่มเลือกแบบง่ายด้วยวิธีการจับสลาก และผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดน จำนวน 10 คน และประชาชน จำนวน 64 จังหวัดๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 128 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งการเลือกใช้แบบนี้เพราะเป็นเลือกตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมทั้งสิ้น 530 คน
14
วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นจากการศึกษา บทความ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเป็นข้อคำถาม
15
วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
1. ศึกษาหลักการในการสร้างแบบสอบถาม จากแนวคิดทฤษฎี ตำรา และเอกสารงานวิจัยข้อง เพื่อสร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ และสมมติฐานการวิจัย 2. สร้างแบบสอบถาม และตรวจสอบเนื้อหาของแบบสอบถามว่าครอบคลุมวัตถุประสงค์ หรือไม่
16
การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การสร้างแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาทำงาน ยศ หรือชั้นยศ ค่าตอบแทน และหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check – List) จำนวน 8 ข้อ ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามฯ โดยมีหลักเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละข้อเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า เป็นการวัดเพื่อแสดงระดับความคิดเห็นมี 5 ระดับ จำนวน 67 ข้อ
17
วิธีดำเนินการวิจัย การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
4. ผู้ศึกษานำแบบสอบถามฉบับร่างที่ได้ผ่านการแก้ไข ไปทดลองใช้ (Try-Out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 ชุด แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) มีค่าเท่ากับ ของแบบสอบถามก่อนนำไปใช้จริง โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
18
วิธีดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้ศึกษาจัดทำหนังสือถึงปลัดเทศบาลตำบลกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ผู้ศึกษาดำเนินการส่งหนังสือถึงปลัดเทศบาลตำบล เพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล และขอความร่วมมือแจกแบบสอบถามให้ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลๆ ละ 9 คน 3. ผู้ศึกษาดำเนินการรวบรวมข้อมูล และตรวจความสมบูรณ์และความถูกต้องของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และอภิปรายผลต่อไป
19
วิธีดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานที่ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) และค่าร้อยละ (percentage) 2. ข้อมูลข้อมูลการมีส่วนร่วมฯ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถาม
20
วิธีดำเนินการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
3. วิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิง สถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน เป็นการนำผลข้อมูลที่เก็บมาได้จากกลุ่มตัวอย่างไปใช้อ้างอิง และอธิบายถึงกลุ่มประชากรทั้งหมดการบรรยายหรือสรุปผลจะใช้หลักความน่าจะเป็น มาทดสอบสมมติฐาน โดยสถิติอ้างอิงแบบไม่มีพารามิเตอร์ที่นิยมใช้ทดสอบสมมติฐานในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และสัมพันธ์กันอย่างไร ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพื่อพยากรณ์ด้วยคำสั่ง Linear Regression
21
การนำไปใช้ประโยชน์ สามารถทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีส่วนร่วมของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลของจังหวัดสุโขทัย สามารถทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลของจังหวัดสุโขทัย สามารถนำแนวทางการศึกษาที่ได้ไปส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลของจังหวัดสุโขทัยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
22
แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารผลงานที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 3. พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 4. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
23
สรุปผลการศึกษา จากการศึกษา ผู้ศึกษาขอนำเสนอเป็นภาพรวม จำนวนที่รวบรวมแบบสอบถามได้ทั้งสิ้น 485 ราย ซึ่งข้อมูลที่ค้นพบเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ ตามลำดับดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน มีระยะเวลาทำงาน ระหว่าง 1-5 ปี มากที่สุด มียศ หรือชั้นยศเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน มากที่สุด มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มากที่สุด และส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ภาคอีสาน
24
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2. แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติคำสั่งของผู้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการรักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคมมีค่าเฉลี่ยเท่ากันน้อยที่สุดมีดังนี้
25
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.1 ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกัน ปราบปรามและป้องปรามปัญหายาเสพติด มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ป้องกันสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันน้อยที่สุด
26
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.2 ด้านการปฏิบัติคำสั่งของผู้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับถือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไม่เสพสุรายาเมาจนเสียกิริยา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ มีค่าเฉลี่ยมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยไม่กล่าวเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
27
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.3 ด้านการบรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ ในการบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติการควบคุม ดูแล ผู้หลบหนีจากการสู้รบ (ศูนย์พักพิงชั่วคราว) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
28
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.4 ด้านการตรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย และเหตุการณ์จลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
29
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.5 ด้านการรักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม อยู่ในระดับมาก พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเป็นผู้ลาดตระเวนดูแล ป้องกันภัยต่างๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทคอยสอดส่องดูแล ป้องกันอาคารบ้านเรือนมิให้เกิดอันตรายในเวลาวิกาล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
30
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.6 ด้านการป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทในการระวังเหตุการณ์จลาจลวุ่นวาย พยายามป้องกันให้พวกจารชนรวมกลุ่มกัน มีค่าเฉลี่ยมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทเป็นผู้ช่วยรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับการสืบราชการลับ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
31
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.7ด้านการช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทร่วมกับทหารในการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์พื้นที่ส่วนหลังกับกำลังส่วนอื่น และกำลังประชาชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทช่วยก่อกวนข้าศึก โดยโจมตีเพื่อให้ข้าศึกเกิดสับสน และไม่ให้ข้าศึกปฏิบัติการได้สะดวก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
32
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.8ด้านการเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทสนับสนุนภารกิจป้องกันประเทศของฝ่ายทหาร เมื่อถูกรุกรานด้วยกำลัง มีค่าเฉลี่ยมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทช่วยทำลายเครื่องอุปโภค บริโภค อาวุธเครื่องมือสื่อสาร ยุทโธปกรณ์ของข้าศึก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
33
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.9ด้านปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสั่งการของผู้บังคับบัญชาของแต่ละระดับแตกต่างกันเป็นเหตุให้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนเกิดความสับสนในการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับขาดฝึกอบรมด้านต่างๆ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
34
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 2.10 ด้านแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้เกิดความคล่องตัว มีความทันสมัย และให้มีมาตรฐานเดียวกันกับตำรวจ/ทหารฯ มีค่าเฉลี่ยมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับทัศนคติของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้มีความรัก และภูมิใจในความเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สร้างความสงบสุขให้กับสังคมและประชาชน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
35
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) 3. แสดงการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง ในภาพรวม จำแนกตามตัวแปรอิสระด้านสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครอง ในภาพรวม โดยใช้ F-test (One - Way ANOVA) ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างประชากรมากกว่า 3 กลุ่มขึ้นไป โดยการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของ Scheffe ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้วยเหตุที่ว่า เป็นการทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของประชากร 3 กลุ่ม ขึ้นไปว่ามีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันหรือไม่ โดยไม่แยกทดสอบทีละคู่ สรุปได้ดังนี้
36
สรุปผลการศึกษา (ต่อ) สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน มีดังนี้
1) อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ยศ หรือชั้นยศ ค่าตอบแทน และหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ มีผลต่อบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึงยอมรับสมมติฐาน 2) สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาทำงาน มีผลต่อบทบาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึงปฏิเสธสมมติฐาน
37
ข้อเสนอแนะ 1. แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามนโยบายกรมการปกครองในอนาคตของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้เกิดประสิทธิผลในภาพรวม ควรส่งเสริมดังนี้ 1) การเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เป็นการส่งเสริม ให้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การยกย่องชมเชยแก่สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เป็นการส่งเสริมให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานดีขึ้น 3) การพิจารณาเลื่อนยศสูงขึ้น (สูงกว่านายหมู่ใหญ่) ให้แก่สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
38
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 4) การแข่งขันกีฬา กิจกรรมการสังสรรค์นันทนาการร่วมกันเป็นการสร้างความสมานฉันท์ เกิดความเป็นมิตร และรักสามัคคีต่อเพื่อนสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนด้วยกัน 5) การปรับทัศนคติของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้มีความรัก และภูมิใจในความเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สร้างความสงบสุขให้กับสังคมและประชาชน 6) การฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้ ด้านต่างๆ ให้แก่สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
39
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 7) การประชาสัมพันธ์บทบาทและภารกิจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้ประชาชนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการยอมรับ ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือในเชิงบูรณาการ 8) การเพิ่มอัตรากำลังพลของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้เพียงพอกับการปฏิบัติภารกิจ 9) การชี้แจง เน้นย้ำให้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนมีความเข้าใจข้อสั่งการของผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 10) การเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้เกิดความคล่องตัว มีความทันสมัย และให้มีมาตรฐานเดียวกันกับตำรวจ/ทหาร เพื่อการปฏิบัติภารกิจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนให้ดียิ่งขึ้น
40
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 2. แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ และนโยบายกรมการปกครอง แบ่งออกเป็นรายด้านดังนี้ 1) การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงานได้แก่ (1) บทบาทในการปฏิบัติงานป้องกัน ปราบปรามและป้องปรามปัญหายาเสพติด (2) บทบาทในการเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องหลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้องแก่ประชาชนทางการเมืองและการปกครอง อย่างต่อเนื่อง
41
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) (3) บทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ป้องกันสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (4) บทบาทช่วยเหลือประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และภัยธรรมชาติทุกประเภท (5) บทบาทในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด (6) บทบาทในการให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ ตลอดจนมาตรการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
42
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 2) การปฏิบัติคำสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยต้องยึดถือปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ได้แก่ (1) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ โดยไม่ดื้อดึง ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลย (2) ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบ การเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย (3) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยไม่กล่าวเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (4) ต้องไม่ใช้กิริยาวาจาไม่สมควรหรือประพฤติไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชา
43
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) (5) ต้องไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือไม่ลงทัณฑ์ผู้อยู่ในบังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ (6) ต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไม่เสพสุรายาเมาจนเสียกิริยา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ (7) ต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติเชิงบังคับผู้บังคับบัญชาเป็นทางทำให้เสียวินัยกองอาสารักษาดินแดน
44
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 3) การบรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) บทบาทในการปฏิบัติงานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ ในการบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของภาครัฐ (2) บทบาทในการปฏิบัติงาน กู้ภัยที่เกิดจากอุบัติภัย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุจากการจราจรทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ อุบัติเหตุที่เกิดขั้นจากการทำงาน
45
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 3) บทบาทในการปฏิบัติงานตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/อุบัติภัยของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด (4) บทบาทในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งกรณีฝึกอบรมทบทวน และจัดการสาธิต (5) บทบาทในการระวังเหตุ ในพื้นที่อำเภอชายแดนเพื่อสกัดกั้นผู้ค้ายาเสพติดและหลบหนีเข้าเมือง (6) บทบาทในการปฏิบัติการควบคุม ดูแล ผู้หลบหนีจากการสู้รบ (ศูนย์พักพิงชั่วคราว)
46
(1) บทบาทในการปฏิบัติงาน การป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 4) การตรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) บทบาทในการปฏิบัติงาน การป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ (2) บทบาทในการร่วมวางแผนรักษาความปลอดภัยในบริเวณการจัดกิจกรรมตามเทศกาล ประเพณีและวัฒนธรรม และวันสำคัญทางศาสนา
47
(6) บทบาทในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดระเบียบสังคม
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) (3) บทบาทการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง หรือตำรวจในการตั้งด่านตรวจช่วงวันหยุดช่วงเทศกาล และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (4) บทบาทในการป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย และเหตุการณ์จลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง (5) บทบาทเป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ สืบสวนหาตัวผู้ที่กระทำความผิด (6) บทบาทในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดระเบียบสังคม
48
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 5) การรักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) บทบาทคอยสอดส่องดูแล ป้องกันอาคารบ้านเรือนมิให้เกิดอันตรายในเวลาวิกาล (2) บทบาทอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรคมนาคม ที่ทำการประปา ที่ทำการไฟฟ้า เป็นต้น
49
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) (3) บทบาทเป็นผู้คอยควบคุมบุคคลเข้า-ออกภายในบริเวณสถานที่สำคัญ ที่ห้ามเข้า-ออกโดยเคร่งครัด (4) บทบาทเป็นผู้รักษาเส้นทางคมนาคม ถนน สะพาน สายไฟฟ้า สายโทรเลข โทรศัพท์ และทางรถไฟ (5) บทบาทเป็นผู้ลาดตระเวนดูแล ป้องกันภัยต่างๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่น
50
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 6) การป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) บทบาทในการระวังเหตุการณ์จลาจลวุ่นวาย พยายามป้องกันให้พวกจารชนรวมกลุ่มกัน (2) บทบาทเป็นผู้คอยป้องกันความเข้าใจผิดของประชาชนเนื่องจากการเชื่อข่าวลือ ข่าวอกุศลต่างๆ
51
(4) บทบาทปฏิบัติการทางจิตวิทยา แสดงดนตรี ให้ประชาชน
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) (3) บทบาทเป็นผู้ช่วยสอดส่องดูแลการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายศัตรูและตักเตือนประชาชนมิให้หลงเชื่อ (4) บทบาทปฏิบัติการทางจิตวิทยา แสดงดนตรี ให้ประชาชน (5) บทบาทเป็นผู้ช่วยรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับการสืบราชการลับ (6) บทบาทเป็นผู้ช่วยสื่อสารหาข่าวสืบข่าวอาชญากรรมให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
52
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 7) การช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) ร่วมกับฝ่ายปกครอง และตำรวจ/ทหาร ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตลอดจนป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า (2) ช่วยก่อกวนข้าศึก โดยโจมตีเพื่อให้ข้าศึกเกิดสับสน (3) ช่วยทำลายเครื่องอุปโภค บริโภค อาวุธเครื่องมือสื่อสาร ยุทโธปกรณ์ของข้าศึก (4) ร่วมกับทหารในการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์พื้นที่ส่วนหลังกับกำลังส่วนอื่น และกำลังประชาชน (5) จัดกำลังสนับสนุนสับเปลี่ยน ปฏิบัติงานร่วมกับทหาร
53
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 8) การเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น โดยมีบทบาทในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) สนับสนุนภารกิจป้องกันประเทศของฝ่ายทหาร (2) ช่วยทำการต่อต้านการรุกรานข้าศึกเพื่อหน่วงเหนี่ยวเวลา (3) ช่วยทำลายอาวุธเครื่องมือสื่อสาร ยุทโธปกรณ์ของข้าศึก (4) ช่วยหาเสบียงอาหาร ลำเลียงเสบียงอาหาร และลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ (5) เป็นกำลังสำรองพร้อมเพิ่มเติมสนับสนุนกำลังทหาร (6) ช่วยป้องกันรักษาพรมแดนที่ไม่มีกำลังทหารตั้งอยู่
54
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.