งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ บรรยายให้กับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2559

2 สังคม นิยาม : คนกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และหรือการอยู่รวมกันภายใต้องค์ประกอบต่างๆ เช่น กฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยแต่ละคนซึ่งอยู่เป็นหน่วยหนึ่งของประชากรในสังคมต่างมีสิทธิและหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติต่อกันเพื่อให้สังคมนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความผาสุขและสงบเรียบร้อย สังคมที่ดีเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีของคนและการดำรงอยู่ของสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืน 2

3 การเปลี่ยนแปลง นิยาม: คลื่นพลวัตรของการเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีผลต่อ การครอบงำทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งในระดับ ครัวเรือน ชุมชน เมือง ประเทศ และภูมิภาค หากเป็นในระดับโลกเป็น กระแสการเปลี่ยนแปลงภายใต้โลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่ง กระแสการเปลี่ยนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนใน สังคมในเรื่องหนึ่งเรื่องใด กระทบทั้งบวกและลบต่อการดำรงชีวิต ร่วมกัน ตลอดจนความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม 3

4 ทิศทางและกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมไทย
1 สังคมต่างความคิด (Differentiate Thinking) 2 สังคมดิจิทัลและสมาร์ทโฟนอัจฉริยะ (digital society) 3 สังคมบนบริบทโลกาภิวัตน์ยุคที่ 4.0 (New Wave Globalization) 4 สังคมสามานย์ยึดค่านิยมทางวัตถุ (Evil Society) 5 สังคมสูงอายุ (Hi-Aging Society) 4

5 1. สังคมต่างความคิด (Differentiate Thinking Society) : เป็นปัจจัย ไห้สังคมแตกแยกเกิดการต่อต้าน ขาดความปรองดอง นำไปสู่สังคม ล้มเหลวและประเทศอ่อนแอ คิดต่างทางวัย เช่น Baby Boomer, Gen-X, (Vedio Game Era), Gen-y (Internet/Smartphone), Gen-Z (High-tech Era) คิดต่างจากวุฒิภาวะ : ประสบการณ์และการศึกษา คิดต่างจากสภาพแวดล้อม : ค่านิยมและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คิดต่างจากความเชื่อ : เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ฯลฯ คิดต่างบนความครอบงำทางความคิดและอุดมการณ์ 5

6 2.สังคมดิจิทัลและสมาร์ทโฟนอัจฉริยะ (Digital & Smart-Online Society) : การหักเหเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คนบนสังคมออนไลน์ สังคมสมาร์ทโฟนและโซเซียลมีเดีย : สังคมยึดโทรศัพท์มือถือเป็นสรณะ คนจะ สื่อสารกันด้วยภาษาใหม่ที่ยอมรับกันในโลกโซเซลียลผ่าน Smart Application อัจฉริยะ และจะเชื่อข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์มากกว่าสื่ออื่นๆ สังคมสื่อสารอินเตอร์เน็ตออฟติง (IoT) การเข้าถึงและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างไร้ ขอบเขตทั้งด้านการเมือง,เศรษฐกิจ,การศึกษา,การค้า,ความมั่นคง, ข่าวสาร,บันเทิง ฯลฯ ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ธุรกรรมบนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) จะกลายเป็นเส้นทางค้าขายหลักใน อนาคต รวมทั้งธุรกรรมต่างๆ สังคมซึ่งไม่มีความแตกต่างด้านระยะทางและเวลา ทุกคนสามารถเข้าถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและทั่วโลกพร้อมกัน ทำให้เกิดการสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ ของสังคมทั้งทางบวกและทางลบ สังคมเสมือนจริง โลกดิจิทัลหากไม่สมดุลจะทำให้คนไม่สื่อสารกับคน แต่สื่อสารกับ ภาพ-เสียงในสื่อดิจิทัล คนในอนาคตจะมีชีวิตโดดเดียวบนโลกเสมือนจริง กระทบต่อ ความปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ซึ่งเป็นแกนหลักทำให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน 6

7 3. สังคมบนบริบทโลกาภิวัตน์ ยุคที่ 4
3. สังคมบนบริบทโลกาภิวัตน์ ยุคที่ 4.0 (New Context Globalization) โลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมยุคที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งใหญ่ กระทบต่อเศรษฐกิจและ ความเป็นอยู่ของสังคมในอนาคต นวัตกรรมการผลิตอัจฉริยะ ทำให้มีสินค้าใหม่สนองความต้องการใหม่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ของคน เช่น หุ่นยนต์เชิงพาณิชย์-ครัวเรือน,การแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ (Bio-tech Medical) สังคมแบบเครื่องจักร (Smart & Intelligent Machine) ในอนาคตปฏิสัมพันธ์แบบมนุษย์จะ ลดน้อยลง เทคโนโลยีใหม่คนจะสื่อสารกับเครื่องจักรหรือทำงานอยู่ที่บ้านผ่านกลไกดิจิทัล จะทำให้คนทำงานกับคนน้อยลงทั้งด้านอุตสาหกรรม,การเกษตร,ค้าปลีก-ค้าส่ง ฯลฯ สังคมเมืองจะใหญ่ขึ้นและสังคมชนบทจะลดน้อยลง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ไฮเทคจะทำให้อุตสาหกรรมและภาคบริการจะขยายตัว ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมจะลดน้อย ลงจากเกษตรแปลงใหญ่เชิงอุตสาหกรรม กระทบต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมชนบท ความสัมพันธ์ครัวเรือนจะหายไป สังคมโลกร้อน (Climate Change Society) โลกในอีก 10 ปีข้างหน้าอุณหภูมิจะสูงขึ้นน้ำแข็ง จากขั้วโลกจะน้อยลง ฤดูกาลจะเปลี่ยนไป กระทบต่อผลผลิตทางอาหาร ขณะที่กระแสการดู แลสิ่งแวดล้อมในอนาคตจะเป็นวาระของสังคมโลก 7

8 4. สังคมสามานย์ (Evil Society) ยึดค่านิยมทางวัตถุ มากกว่าคุณธรรมและการเกื้อกูลผู้ด้อยโอกาส
สังคมยอมรับคนรวยเป็นคนดี โดยไม่คำนึงว่าความร่ำรวยจะได้มา อย่างถูกต้องหรือได้มาจากเงินสกปรก ค่านิยมวัดด้วยวัตถุนิยม เป็นวิกฤตสังคมทางจิตใจ ซึ่งวัดคุณค่าคน ด้วยวัตถุ เช่น สินค้า “Brand name” โดยไม่สนใจความคุ้มค่าต่อการใช้งาน รถซุปเปอร์คาร์จะได้ที่จอดVIPหน้าห้างดังๆ ทำให้ต้องขวนขวายเป็นทุกข์ ให้ได้มา เพื่อให้เกิดการยอมรับเป็นปัญหาหนี้สินครัวเรือน, ปัญหา คอรัปชั่น ,ปัญหาโจรภัย ฯลฯ สังคมตีตราความดีงามด้วยการสะสมความมั่นคั่ง มากกว่าสะสม คุณธรรมและความดี คนเลวจะถูกยกย่องทั้งฐานะในสังคม,ยศศักดิ์ และ ได้รับการสรรเสริญ 8

9 5. สังคมสูงอายุ Hi-Aging Society: คนจะอายุยืนมาก ขึ้นคนสูงวัยจะมีสัดส่วนมากขึ้น
สังคมคนแก่ ในอีก 10 ปี (พ.ศ.2569) จำนวนผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มเป็น ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 25% (ปัจจุบันสัดส่วน 14.0%) ขณะที่วัย เด็กจะลดจาก 12.3 ล้านคน เหลือ 9.1 ล้านคน ปัญหาขาดแคลนคนวัยทำงาน กระทบต่อเศรษฐกิจสังคม และความมั่นคง ปัญหาชีวิตหลังเกษียณ ไม่มีรายได้ ไม่มีงาน ไม่มีการออม จะดำรงชีวิต อย่างไร ปัญหาด้านการดูแลคนสูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย ด้านจิตวิทยา กลุ่มแรงงานนอกประกันสังคม แรงงานในระบบประกันสังคมประมาณ 26 % ของแรงงานทั้งระบบกลุ่มที่เหลือจะทำอย่างไร และกลายเป็นปัญหา ของสังคมในอนาคต 9

10 END


ดาวน์โหลด ppt การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google