งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น
ดร.ภาณุ อดกลั้น

2 6 ส.ค –16.30 น. (3 ชม.) บทที่ 2 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 3. ค่านิยมและการทำความกระจ่างในค่านิยม 4. การใช้เหตุผลและเกณฑ์การตัดสินเชิงจริยธรรม 5.การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use)

3 ค่านิยมและการกระจ่างในค่านิยมส่วนบุคคล
ค่านิยม (Value) หมายถึง ความคิดและพฤติกรรมของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ  ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และยอมรับมาปฎิบัติตาม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

4 - กระบวนการให้คุณค่าเริ่มจาก การเลือก การยอมรับ และการปฏิบัติ
- คุณค่าเป็นตัวกำหนดการกระทำ และเป็นตัวสะท้อนความต้องการของบุคคล - อิทธิพลจากสังคม วัฒนธรรม และสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีความสำคัญต่อตนเอง - คุณค่าจึงทำให้บุคคลมีเอกลักษณ์ต่างกัน ให้ทิศทางและความหมายของชีวิตต่างกัน

5 ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 

6 ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง  8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 

7 ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 

8 ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

9 ค่านิยมของพยาบาล แสดงให้เห็นด้วยความคิด และการแสดงออก เช่น การแสดงออกส่วนบุคคล ได้แก่ การแต่งตัว การประหยัด การตรงต่อเวลา ค่านิยมของวิชาชีพพยาบาล เช่น ความสะอาด ยุติธรรม เสมอภาค ความเมตตากรุณา ซื่อสัตย์ มีอุดมการณ์

10 เปรียบเทียบค่านิยมชาติกับพยาบาล
ค่านิยมพยาบาล 1. มีความรักชาติ ศาสนา กษัตริย์  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ 3. กตัญญู  4. ใฝ่หาความรู้ 5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย 6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย 9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ 10. รู้จักดำรงตน 11. มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป 12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ความสะอาด ความยุติธรรม ความเสมอภาค ความเมตตากรุณา ซื่อสัตย์ มีอุดมการณ์

11 ค่านิยมของนักศึกษาพยาบาล
ค่านิยมที่พึงประสงค์ 9 ด้าน พบว่า -ระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านการประหยัด ด้านการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม และด้านความมีวินัย     -ระดับมาก 6 ด้าน คือ ด้านความขยันหมั่นเพียร ด้านความมีสติและปัญญา  ด้านการพึ่งตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสามัคคี ด้านความรักชาติ ค่านิยมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ (สันติ  ยุทธยง,  ศิรินันท์ อัตถาพร และ ภาณุ  อดกลั้น(2554)

12 ค่านิยมของพยาบาล ค่านิยมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรามาธิบดี (สพัตรา บุญเจียม และคณะ, 2553)

13 ค่านิยมของพยาบาล ค่านิยมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรามาธิบดี (สพัตรา บุญเจียม และคณะ, 2553)

14 ค่านิยมของพยาบาล ค่านิยมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรามาธิบดี (สพัตรา บุญเจียม และคณะ, 2553)

15 ความหมายของคุณค่า เป็นความเชื่อของบุคคล กลุ่มคน หรือสังคม เกี่ยวกับความมีค่าของความคิด เจตคติ ประเพณี และได้ลงมือปฏิบัติตามสิ่งที่เชื่อ เป็นความศรัทธายอมรับจากความรู้สึก มากกว่าเหตุผลข้อเท็จจริง

16 ประเภทของคุณค่า คุณค่าส่วนบุคคล Personal values เป็นสิ่งที่บุคคลให้คุณค่าตามความเชื่อและทัศนคติของตน คุณค่าทางวัฒนธรรม Cultural values คุณค่าแห่งวิชาชีพ Professional values เป็นสิ่งที่วิชาชีพให้คุณค่า และจะกำหนดเป็นจรรยาบรรณวิชาชีพ Fry, 1994

17 คุณค่าส่วนบุคคล (Personal Value) บุคคลจะซึมซับเอาคุณค่าจากสังคม กลุ่มคนเข้ามาไว้เป็นคุณค่าภายในตน
- คุณค่าภายนอก (Extrinsic Value) เช่น วัตถุ เงิน - คุณค่าภายใน (Intrinsic Value) เช่น จิตใจ ความรู้สึก คุณค่าแห่งวิชาชีพ (Professional Value) เป็นคุณค่าที่วิชาชีพนั้น ๆ ให้ความสำคัญ ได้จาก - การเรียนรู้เป็นทางการ เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพในห้องเรียน - การรู้อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การสังเกตจากอาจารย์ - คุณค่าแห่งวิชาชีพที่สำคัญที่สุด คือ ความรับผิดชอบ

18 การสร้างคุณค่า เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลภายในครอบครัว จากอิทธิพลจากวิธีการเลี้ยงดูในแต่ละวัย ภายนอกครอบครัว เด็กได้รับอิทธิพลจากโรงเรียน และองค์กรทางสังคมอื่น ๆ จากประสบการณ์ชีวิตที่บุคคลค่อย ๆ เลือกและรับเอาคุณค่าเหล่านั้นเข้ามาในตนเอง กระบวนการเกิดคุณค่าในตัวบุคคล มี 6 ประการ ต้องเลือกคุณค่าได้โดยอิสระ เลือกจากตัวเลือกหลายประการ เกิดความรู้สึกทะนุถนอม ภาคภูมิใจ เต็มใจที่จะแสดงคุณค่าให้ปรากฏแก่ผู้อื่น นำสู่การปฏิบัติได้ ผสมกลมกลืนไปกลับแบบแผนการดำเนินชีวิต

19 การถ่ายทอดคุณค่า การถ่ายทอดแบบอย่าง เช่น จากพ่อ แม่ และบุคคลที่ประทับใจ การสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การให้เสรีภาพในการเลือกเรียนรู้ และรับคุณค่า การให้อิสระในการเรียนรู้ แต่ให้อยู่ในขอบเขตที่จำกัด การให้รางวัลและการลงโทษ  หลักการพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจ หลักการตัดสินใจด้วยตนเอง หลักของความปลอดภัยและความสุขสบาย หลักของความยุติธรรม

20 ความกระจ่างในค่านิยม
หมายถึง การที่บุคคลเลือกค่านิยมอย่างอิสระ เต็มใจ เกิดจากการเห็นคุณค่า เลือกด้วยความรู้สึกภูมิใจและยืนยันการตัดสินใจเลือกอย่างเปิดเผย และการปฏิบัติตามค่านิยม ตามทางเลือกที่ตนตัดสินใจเลือก และกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก จนเป็นลักษณะนิสัยปกติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

21 การทำความกระจ่างในค่านิยม
การทำความกระจ่างในค่านิยมหมายถึงพยาบาลมีความเข้าใจ มีเหตุผลชัดเจนในการแสดงความคิด และการแสดงออก 1. เลือกค่านิยมโดยอิสระ มีทางเลือก 2. ให้คุณค่าโดยการชื่นชม ยอมรับอย่างเปิดเผย 3. ทำตามค่านิยมในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งกาย ตรงต่อเวลา ประหยัด การมีความรู้ชัดในค่านิยมตนเองจะทำให้เข้าใจผู้ป่วยที่มีค่านิยมคล้ายกัน หรือแตกต่างกัน ส่งเสริมให้การสื่อสาร การดูแลผู้ป่วยอื่นๆกระทำได้อย่างมีเหตุผล

22 กระบวนการสร้างความกระจ่างในค่านิยม แรทส์ (Raths, 1966) มี 7 กระบวนการ ดังต่อไปนี้
การเลือกค่านิยม (Choosing) ขั้นที่ 1 เลือกกระทำอย่างอิสระ ไม่บังคับ ขั้นที่ 2 ก่อนปฏิบัติพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากทางเลือกที่จะปฏิบัติว่ามีผลเป็นอย่างไร ขั้นที่ 3 เลือกด้วยความเต็มใจ พอใจในการเลือก ไม่ได้เลือกเพราะถูกบังคับจากใครทั้งสิ้น ไม่ได้หวังผลตอบแทนไม่ได้กลัวถูกลงโทษ

23 กระบวนการสร้างความกระจ่างในค่านิยม
การเห็นคุณค่า (Prizing) ขั้นที่ 4 ผู้เลือกรู้สึกภูมิใจและมีความยินดีที่ได้เลือกกระทำสิ่งนั้น ความภาคภูมิใจในสิ่งที่เลือกนั้น คือ เมื่อบุคคลตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติใดแล้วสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เขามีความสุข รู้สึกภาคภูมิใจ ขั้นที่ 5 ผู้เลือกยืนยันการตัดสินใจเลือกอย่างเปิดเผย คือ เมื่อบุคคลมีความสุข รู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนได้เลือก ก็อยากจะบอกให้บุคคลอื่นได้รับรู้ด้วยพยายามที่จะประกาศให้บุคคลอื่นได้ทราบถึงการตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติของตน

24 ความกระจ่างในค่านิยม
กระบวนการสร้างความกระจ่างในค่านิยม การปฏิบัติตามค่านิยม (Action) ขั้นที่ 6 ผู้เลือกกระทำตามทางเลือกที่ตนตัดสินใจเลือก พยายามลงทุนด้วยการเดินทาง ยอมเสียเงิน เสียเวลา ทุกอย่างในการถ่ายทอดทัศนะของตนให้บุคคลอื่นได้ปฏิบัติตาม เป็นการยืนหยัดสนับสนุนหรือส่งเสริมค่านิยมของตน ขั้นที่ 7 ผู้เลือกกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก จนเป็นลักษณะนิสัยปกติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

25 ทฤษฎีในการปลูกฝังและเสริมสร้างจริยธรรม
มี 4 รูปแบบ (ชัยพร วิชชาวุธ, 2530)  1. วิธีการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification)  2. วิธีการให้เหตุผลทางจริยธรรม (Moral Reasoning)  3. วิธีการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)  4. วิธีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) 

26 การหาความกระจ่างในคุณค่าจะช่วยพยาบาลได้อย่างไร?
ตระหนักถึงความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคล ลดความขัดแย้งระหว่างคุณค่า ส่งเสริมให้พยาบาลได้แสดงบทบาท advocacy ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่สอดคล้องกับคุณค่าของตน รู้จักและเข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง การพิจารณาคุณค่าความเชื่อของพยาบาลและผู้ป่วยเป็นสิ่งแรกในการเตรียมสำหรับการตัดสินใจทางจริยธรรม พยาบาลมีจรรยาบรรณเป็นแนวทางในการตัดสินใจสำหรับความขัดแย้งในคุณค่า

27 ตัวอย่างคุณค่าที่พบในสถานการณ์บนคลินิก
คุณค่าเกี่ยวกับชีวิต : การทำแท้ง การใส่เครื่องช่วยหายใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ คุณค่าเกี่ยวกับสุขภาพ: การกินเจ การออกกำลังกาย คุณค่าเกี่ยวกับความเจ็บป่วย : เป็นตามครรลองของชีวิต ถูกกำหนดมา ถูกลงโทษ ความตาย : สู้ถึงที่สุด ตายอย่างสงบ

28 4. การใช้เหตุผลและเกณฑ์การตัดสินเชิงจริยธรรม
 

29 การตัดสินใจเชิงจริยธรรมเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับคุณค่าซึ่งหมายถึงการให้คุณค่าแก่สิ่งที่เราตัดสินใจ ทำความเข้าใจในคุณค่า และทำความกระจ่างในคุณค่า (values & values clarification) จึงเป็นความสำคัญอันดับแรกในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม มี 3 แนวทางดังนี้ 1. คุณค่าตีกรอบของปัญหาและคนจะมองปัญหาบนพื้นฐานของคุณค่าที่นำมาสู่สถานการณ์ 2. คุณค่าทำให้เกิดทางเลือกที่ว่ามนุษย์พิจารณาแล้วว่าเป็นปัญหาที่มีแนวทางแก้ไขและจะตัดสินบนพื้นฐานของคุณค่าที่นำไปสู่การกระทำที่เป็นไปได้ 3. คุณค่าเป็นตัวตัดสินโดยตรงหรือเป็นการให้เหตุผลในการแก้ปัญหาที่ถูกวางกรอบโดยสิ่งที่เพวกเขาต้องการส่งเสริมคุณค่า (values)

30 การส่งเสริมคุณค่า (values) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1)คุณค่าส่วนบุคคล(Personal value) สะสมมาจาก ประสบการณ์ครอบครัว เพื่อนฝูง การศึกษา วัฒนธรรมและ จากบรรทัดฐานทางสังคม 2)คุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural value) เกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของคน 3) คุณค่าทางวิชาชีพ (Professional Value) มีความสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพ และการปฏิบัติการพยาบาล เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ เป็นต้น

31 การตัดสินใจเชิงจริยธรรม
1. ทำความกระจ่างของคุณค่า(values clarification) เช่น ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา แล้วนำคุณค่าที่เลือกทั้งหมดมาวิเคราะห์ตีความ 2. ความไวต่อประเด็นจริยธรรม (Moral sensitivity) ประกอบด้วย การรับรู้และอารมณ์ความรู้สึกและ ความเอื้ออาทร 3. การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (moral reasoning) วิเคราะห์สถานการณ์รวมถึงคุณค่าของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาว่าคุณค่าใดมีความสำคัญมากที่สุดในสถานการณ์นั้นเพื่อนำไปสู่การตัดสิน 4. การตัดสินใจเชิงจริยธรรม ต้องอาศัยการคิดเชิงวิเคราะห์เชิงการใช้เหตุผลร่วมกับการฝึกทักษะการตัดสินใจในสถานการณ์นั้นๆ

32 กระบวนการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการรักษา ความต้องการของผู้ป่วย พฤติกรรม ความเชื่อ วุฒิภาวะฐานะเศรษฐกิจสัมพันธภาพกับครอบครัวคนใกล้ชิด และการแสดงออกเมื่อเผชิญกับปัญหาและการตัดสินใจรวมถึง สิ่งแวดล้อม นโยบาย และกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน 2. การกำหนดประเด็นขัดแย้ง (State the dilemma) เป็นขั้นตอนของการนำปัญหามากำหนดเป็น ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม ซึ่งประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม ส่วนใหญ่มาจากประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ป่วย และหลักพื้นฐานทางจริยธรรมของการปฏิบัติการพยาบาล

33 3. การพิจารณาทางเลือกในการปฏิบัติ(Consider the choices of action) เป็นขั้นตอนของการหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขประเด็น ขัดแย้งทางจริยธรรม โดยการประชุมระดมสมองร่วมกันจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ 4. การวิเคราะห์ผลดีผลเสียที่จะเกิดตามมาในแต่ละแนวทางที่จะปฏิบัติ(Analyze the advantages and disadvantages of each course of action) เป็นการนำแนวทางปฏิบัติมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ถ้าเป็นไปได้ผลลัพธ์ที่ได้ควรจะเป็นในทางบวก มากกว่าในทางลบ โดยการนำความรู้ทางหลักการจริยศาสตร์ และจรรยาบรรณวิชาชีพมาประกอบการพิจารณา

34 5. การตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ(make decision and act on it) เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในการเลือก ตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกไว้เพราะเมื่อปฏิบัติแล้ว อาจจะมีผลกระทบที่ไม่คาดคิดตามมา อาจทำำให้บางคนพอใจ บางคนอาจจะไม่พอใจ แต่การตัดสินใจทางจริยธรรมของพยาบาลต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ

35 4 คำถามที่จะช่วยให้พยาบาลสามารถตัดสินใจเชิงจริยธรรมได้
1. เรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังของความขัดแย้งในคุณค่า ในสถานการณ์ที่เกิดเป็นมาอย่างไรและนำไปสู่ปัญหาจริยธรรมในเรื่องใด ทำไมสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาจริยธรรม ความขัดแย้งในคุณค่าเกี่ยวข้องกับใครบ้างต้องนำผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์มาพิจารณาให้ครบถ้วน ได้แก่ผู้ป่วย ญาติแพทย์ พยาบาล ผู้ร่วมงานในทีมสุขภาพ และ หน่วยงาน เป็นต้น

36 2. ความสำคัญของคุณค่าที่เกี่ยวข้อง
เป็นการหาความสำคัญของคุณค่าของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง คุณค่าที่ผู้ป่วยต้องการมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน คุณค่า ของวิชาชีพพยาบาล บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการคงไว้ ซึ่งคุณค่าแห่งวิชาชีพ การหาคุณค่าของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์มีความสำคัญมากต่อการแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม นำคุณค่าของบุคคลทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อตัดสินว่าคุณค่าใดเป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์นั้น

37 3. ความสำคัญของความขัดแย้งเกี่ยวข้องกับบุคคลใด
เป็นขั้นของการวิเคราะห์ว่าประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง มีใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในสถานการณ์นี้อะไรคือทาง เลือกที่สามารถทำได้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและต่อบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ต้องกลับไปดูถึงการให้คุณค่าของแต่ละคนที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

38 4. ควรจะทำอย่างไร เป็นการตัดสินใจว่าควร ทำอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจครั้งนี้ต้องนำ ความรู้ทางจริยศาสตร์ หลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ สิทธิผู้ป่วยและสิทธิมนุษยชน เข้ามาร่วมพิจารณาในการตัดสินใจ โดยคำนึงถึงคุณค่าของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และความถูกผิดทางจริยธรรมของแต่ละทางเลือก ซึ่งทางเลือก แต่ละทางเลือกอาจเกิดความขัดแย้งกันเอง

39 รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและการประยุกต์ใช้
1. การตัดสินใจที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered model) เป็นการตัดสินใจของพยาบาล ในบทบาทของการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย เป็นการรักษาสิทธิ์และ ปกป้องสิทธิ์ของผู้ป่วย 2. การตัดสินใจที่เน้นแพทย์เป็นศูนย์กลาง (Physician-centered model) เป็นการตัดสินใจที่คงไว้ ซึ่งคำสั่งและการรักษาของแพทย์แพทย์เป็นผู้มีอำนาจในการวางแผนและสั่งการรักษา 3. แบบการตัดสินใจที่เน้นกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน เป็นศูนย์กลาง(Bureaucratic-centered model) เป็นรูปแบบ การตัดสินใจเน้นที่นโยบายและแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน นั้นๆเป็นหลักแต่ทั้งนี้ยังคงไว้ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยและความรับผิด ชอบตามพันธะหน้าที่แห่งวิชาชีพ

40 5.การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use)

41 คำจำกัดความ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด” “ Patients receive medications appropriate to their clinical needs, in doses that meet their own individual requirements, for an adequate period of time, and at the lowest cost to them and their community” (WHO, 1985)

42 คำจำกัดความ การใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้ประโยชน์ทางคลินิกเหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลัก เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียายังผลอย่างเป็นขั้นตอนตามแนวทางพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะกับผู้รับบริการในแต่ละกรณี ด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ในการให้ยาที่ถูกต้องตามหลักเภสัชวิทยาคลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้รับบริการให้การยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง กองทุนในระบบประกันสุขภาพหรือระบบสวัสดิการสามารถให้เบิกจ่ายยานั้นได้อย่างยั่งยืน เป็นการใช้ยาที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับบริการทุกคนสามารถ ใช้ยานั้นได้อย่างเท่าเทียมกันและไม่ถูกปฏิเสธยาที่สมควรได้รับ บัญชียาหลักแห่งชาติ: 2552

43 กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
1. ข้อบ่งชี้ (Indication) ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น (เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ) 2. ประสิทธิผล (Efficacy) ยานั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง ตามกลไกการออกฤทธิ์ มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนเพียงพอ ประโยชน์แตกต่างจากยาหลอกและมีความหมายทางคลินิก –ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง ไม่ใช่ใช้ในโรคที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น RA, OA –พาราเซตามอล ใช้แก้ปวดลดไข้ –กลูโคซามีน ใช้ลดภาวะข้อเสื่อม ยังมีข้อขัดแย้ง

44 กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
3. ความเสี่ยง (Risk) คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก ประโยชน์มากกว่าโทษ ไม่มีข้อห้ามในผู้ป่วย 4. ค่าใช้จ่าย (Cost) ใช้ยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า การใช้ยาตามชื่อสามัญ การใช้ยาต้นแบบที่ผลิตจากต่างประเทศ

45 กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
5. องค์ประกอบอื่น ๆ (Other considerations) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง รับผิดชอบและใช้ยาอย่างเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานทางวิชาการ ไม่ใช้ยาซ้ำซ้อน Combination formulation : Norgesic กับ พาราเซตามอล ไม่ใช้ยาพร่าเพรื่อ: ยาปฏิชีวนะ ใช้ยาตามแนวทางการรักษา Standard guideline, Drug of choice 6. ขนาดยา (Dose) ใช้ยาถูกขนาด ไม่น้อยหรือมากเกินไป ไม่ปรับยาเอง

46 กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
7. วิธีให้ยา (Method of administration) ใช้ยาถูกวิธี มีความสอดคล้องกับข้อมูลทางเภสัชวิทยา ยาก่อนอาหาร กินตอนท้องว่าง ยากินหลังอาหาร วิธีใช้ยา/คำแนะนำพิเศษ หลังพ่นยาสเตียรอยด์ควรบ้วนปาก ยาหยอดจมูกแก้คัดจมูกไม่ควรใช้เกิน 3 วัน เลือกใช้ยารูปแบบ oral ก่อน หลีกเลี่ยงการใช้ยาฉีดโดยไม่จำเป็น

47 กรอบแนวคิดในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
8. ความถี่ในการให้ยา ใช้ยาด้วยความถี่ที่เหมาะสม Time- dependent Antibiotic : around the clock PRN : every … hour, ห่างกันอย่างน้อย … ชั่วโมง 9. ระยะเวลาในการให้ยา (Duration of treatment) ใช้ยาในระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ไม่นานหรือสั้นเกินไป Antibiotic 10. ความสะดวก (Patient compliance) ความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วย อธิบายหรือให้ข้อมูลให้ผู้ป่วยเข้าใจ –เลือกยาที่ใช้สะดวก เช่น กินวันละ 1-2 ครั้งมากกว่ากินวันละ 3-4 ครั้ง –มีการตรวจสอบความเข้าใจและติดตามผลการใช้ยาทุกครั้ง

48

49 RDU Competencies The Consultation Concepts & Principles Options
Communications Effective Prescription 4. Patient Safety 5. Drug Resistance/ Effectiveness 6. Ethical & Professional Prescribing in Context 7. Healthcare system & Equity 8. Interprofessional teamwork 9. Information Resources 10. Always Improving

50 กุญแจสำคัญ 6 ประการ P การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด L การจัดทำฉลากยา, ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน E การจัดทำหรือจัดหาเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล A การสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล S การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชากรกลุ่มพิเศษ 1) ผู้สูงอายุ 2) สตรีตั้งครรภ์ 3) สตรีให้นมบุตร 4) ผู้ป่วยเด็ก 5) ผู้ป่วย โรคตับ และ 6) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการสั่งใช้ยา


ดาวน์โหลด ppt จริยศาสตร์ จริยธรรม จรรยาบรรณการพยาบาล และปัญหา ดร.ภาณุ อดกลั้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google