งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สารบัญ ความเป็นมาของประเทศ 1 ภูมิศาสตร์ 2 วัฒนธรรม 3 ภาษา 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สารบัญ ความเป็นมาของประเทศ 1 ภูมิศาสตร์ 2 วัฒนธรรม 3 ภาษา 4"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 สารบัญ ความเป็นมาของประเทศ 1 ภูมิศาสตร์ 2 วัฒนธรรม 3 ภาษา 4
ความเป็นมาของประเทศ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา เมืองน่าเที่ยว ความเชื่อ ของน่ารับประทาน สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ เศรษฐกิจ

3 บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่กองทัพบกอังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ภูมิศาสตร์ บรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเติมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เซอรีเบอกาวัน เมืองท่ามัวรา และเซอเรีย ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก

4 วัฒนธรรม การแต่งกาย ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย ภาษา ภาษาราชการของบรูไนคือภาษามาเลย์ ซึงเป็นภาษาที่ชาวบรูไนใช้กัน มากเนื่องจากชาวบรูไนร้อยละ 66 มีเชื้อสายมาเลย์ อย่างไรก็ตาม ชาวบรูไนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษ ได้ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อธุรกิจได้เช่นกัน รวมไปถึงภาษาจีนซึง เป็นภาษาที่มีการใช้กันมาก เนื่องจากมีชาวบรูไนเชื้อสายจีนอยู่ถึงร้อยละ 11 การเรียนรู้ภาษามาเลย์จะช่วยสร้างความประทับใจให้คู่เจรจา ชาวบรูไนได้

5 เมืองน่าเที่ยวในบรูไน
พิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย สำหรับพิพิธภัณฑ์รอยัลเรกกาเลีย ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพราะเป็นที่ซึ่งรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน ทั้งฉลองพระองค์, เครื่องทรงทองคำ, อาวุธ และเครื่องราชบรรณาการจากประเทศต่าง ๆ ที่มีความวิจิตรงดงาม เช่น คริสตัล หยก งาช้าง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีพระที่นั่งแบบจำลองให้ได้ชมกัน มัสยิดทองคำ มัสยิดทองคำ Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงการครองราชย์ครบ 25 ปี ขององค์สุลต่าน และมัสยิดแห่งนี้ยังยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในประเทศบรูไนด้วย จุดเด่นของมัสยิดทองคำคือหลังคาสีฟ้าน้ำทะเลที่มีโดมทองขนาดยักษ์ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าของตัวมัสยิดนั้นจะมีสระน้ำอยู่ ซึ่งดูคล้ายกับทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย

6 หมู่บ้านกัมปงไอเยอร์ พระราชวัง Istana Nurul Iman
ถือเป็นความเรียบง่ายที่น่าหลงใหลสำหรับหมู่บ้านกลางน้ำกัมปงไอเยอร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำบรูไน โดยจะมีการแบ่งเป็นหมู่บ้านย่อย ๆ อีกกว่า 42 หมู่บ้าน และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละหมู่บ้านนั้นเชื่อมต่อกันหมดด้วยทางเดินที่ทอดยาวกว่าเกือบสามสิบกิโลเมตร บริเวณหมู่บ้านยังประกอบไปด้วยโรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร มัสยิด ฯลฯ และอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านคือการประมงและการเลี้ยงสัตว์  พระราชวัง Istana Nurul Iman พระราชวัง Istana Nurul Iman สร้างขึ้นในปี ค.ศ และมีมูลค่ากว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในของพระราชวังถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยวัสดุชั้นดี และประกอบไปด้วย 1,788 ห้อง, ห้องน้ำ 257 ห้อง และ 5 สระน้ำ นอกจากนี้ยังมีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุได้ถึง 5,000 คนเลยทีเดียว ที่สำคัญยังพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย

7 ชายหาด Muara สวนสนุก Jerudong
อีกหนึ่งสถานที่สำคัญของประเทศบรูไน ได้แก่ สวนสนุก Jerudong ที่ถูกสร้างให้เป็นของขวัญของประชาชน โดยมีพื้นที่กว้างขวางและใหญ่กว่าสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ในฮ่องกงเสียอีก ภายในจะมีเครื่องเล่นมากมาย ทั้งรถไฟเหาะ รถราง เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เพราะสวนสนุก Jerudong ยังมีสนามหญ้าสำหรับครอบครัวที่ต้องการมาปิกนิกอีกด้วย ส่วนค่าผ่านประตูแค่เพียงคนละ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งไม่รวมกับค่าตั๋วของเครื่องเล่นต่าง ๆ ชายหาด Muara หาด Muara ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน เพียง 27 กิโลเมตรเท่านั้น ที่สำคัญหาดทรายยังสวยและพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งที่พัก ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีชายหาดขึ้นชื่อ ได้แก่ หาด Meragang, หาด Serasa และหาด Pantai Seri Kenangan

8 อุทยานแห่งชาติ Temburong อนุสาวรีย์น้ำมันหนึ่งล้านบาร์เรล
อุทยานแห่งชาติ Temburong แหล่งธรรมชาติอันกว้างใหญ่ของประเทศบรูไน ซึ่งถ้าคุณอยากไปเที่ยวชมความงดงามของธรรมชาติละก็ เราขอแนะนำให้คุณจัดสรรเวลาอย่างน้อยสองคืน เพราะผืนป่าในอุทยานแห่งชาติ Temburong นอกจากจะมีพื้นที่กว้างใหญ่แล้ว ยังมีสัตว์ป่านานาชนิดที่จะทำให้คุณตื่นตาตื่นใจได้แน่นอน อีกทั้งคุณยังจะได้ศึกษาวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง รวมทั้งการล่องแพไปตามแม่น้ำ Temburong ให้คุณได้ใกล้กับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น   อนุสาวรีย์น้ำมันหนึ่งล้านบาร์เรล  ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก บรูไนจึงสร้างอนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ขึ้นที่เมืองซีเรีย เพื่อเป็นการฉลองความมั่งคั่งของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และที่สำคัญยังมีการขุดเจาะและค้นพบแหล่งน้ำมันอีกเรื่อย ๆ ด้วย ทั้งนี้อนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ เนื่องจากเป็นปีประวัติศาสตร์สำคัญที่บรูไนสามารถผลิตน้ำมันได้สูงถึง 1 พันล้านบาร์เรล

9 พิพิธภัณฑ์บรูไน ย่านช๊อปปิ้งบรูไน
ภายในพิพิธภัณฑ์จะประกอบไปด้วยหลายโซน ได้แก่ โซนแกลลอรี่ ที่มีรูปภาพประวัติศาสตร์แสดงถึงความเป็นมาของประเทศบรูไน ทั้งทางด้านวัฒนธรรมและการค้า, โซนแสดงโบราณวัตถุอันเก่าแก่และล้ำค่าจากมุสลิมทั่วโลก ทั้งคัมภีร์อัลกุรอานขนาดเล็กที่สุดในโลก, เครื่องประดับที่ทำด้วยทองสมัยโบราณ และหุ่นจำลองวัฒนธรรมประเพณีของชาวบรูไนสมัยก่อน ฯลฯ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ยอดฮิตจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ย่านช๊อปปิ้งบรูไน Yayasan Sultan Haji Hassanal Bolkiah Complex ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน ที่มีสินค้าน่าสนใจมากมายหลากหลายราคา เช่น สินค้าพื้นเมือง, ของโบราณ ไปจนถึงคริสตัลและเครื่องประดับราคาแพงเลยค่ะ ที่สำคัญตัวคอมเพล็กซ์ยังงดงามไปด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว และห้าง Gadong Shopping Mall ก็เป็นอีกสถานที่ช้อปปิ้งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

10 ความเชื่อ ประเทศบรูไนมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูมุสลิม ทั้งนี้ก่อนการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ผู้คนในดินแดนนี้มีความเชื่อในสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ มีการบูชายัญด้วยสัตว์ที่มีชีวิต ปัจจุบันบรูไนมีชาวมลายูมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (Sunni) ราวร้อยละ 67 มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาราวร้อยละ 13 และผู้นับถือศาสนาคริสต์ราวร้อยละ 10 แม้ว่าศาสนาอิสลามจะเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ชาวบรูไนสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้อย่างเสรี ขณะเดียวกันนอกจากวันสำคัญทางศาสนาอิสลามจะเป็นวันหยุดราชการแล้ว วันคริสต์มาสของคริสต์ศาสนายังถือเป็นวันหยุดราชการด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าศาสนาอิสลามยังคงเป็นศาสนาที่มีบทบาทสูงที่สุดในบรูไน ถือเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแห่งชาติ มีอิทธิพลต่อการปกครอง กฏหมาย การศึกษา สถาปัตยกรรม และเทศกาลสำคัญต่าง ดังนั้นในหัวข้อความเชื่อและศาสนาในบรูไนนี้จึงมุ่งกล่าวถึงศาสนาอิสลาม เพื่อขยายความถึงการเข้ามาเผยแผ่และอิทธิพลที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันตามลำดับดังต่อไปนี้ ศาสนาอิสลามเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้ในปีใดไม่เป็นที่แน่ชัด หากแต่จากบันทึกของจีนในปีค.ศ.977 ชี้ให้เห็นว่ากษัตริย์บรูไนส่งคณะทูตไปยังจีน โดยมีผู้นำคณะเป็นมุสลิม นอกจากนี้บันทึกของเขาจูกัว ได้บรรยายว่า“ชาวจีนใช้เวลา วันเดินทางจากแผ่นดินใหญ่มายังบรูไน และตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวจีนจำนวนมากตั้งถิ่นฐานตลอดแนวชายฝั่งแม่น้ำคินาบาตันกัน(Kinabatankan) ในบอร์เนียวเหนือ น้องสาวของอองซัมปิง (Ong Sum Ping) ผู้ปกครองชาวจีนได้แต่งงานกับสุลต่านมุฮัมมัด(ค.ศ ) เป็นสุลต่านองค์แรกที่ยอมรับศาสนาอิสลามเข้าสู่ราชวงศ์บรูไน เปลี่ยนพระนามจาก อะวัง อะลัก เบอตาตาร์ เป็นสุลต่านมุฮัมหมัดชาห์ จากบันทึกดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าศาสนาอิสลามอาจเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 แต่มีหลักฐานชัดเจนเป็นบันทึกของชาวจีนดังที่กล่าวมาว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ปกครองได้เปลี่ยนมารับนับถือศาสนาอิสลามทั้งยังเปลี่ยนพระนามตามรูปแบบชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บรูไนถูกเรียกว่าเป็นประเทศ “ราชวงศ์แห่งอิสลามมาเลย์” มีองค์สุลต่านเป็นประมุขและปกครองด้วยระบบการปกครองแบบอิสลาม ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า “ช่วงแห่งสันติภาพและความสงบสุข” ประเทศนี้จึงได้ชื่อว่า “บรูไนดารุสซาลาม”

11 อิทธิพลศาสนาอิสลามในปัจจุบัน                                                                                                                     ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพลในบรูไนมาเป็นเวลาช้านานอย่างน้อยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 จนกระทั่งปัจจุบัน ด้านการเมืองการปกครองสุลต่านทุกพระองค์ล้วนแล้วแต่รับนับถือศาสนาอิสลามทั้งสิ้น โดยเฉพาะ สุลต่านฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันทรงได้รับการอภิบาลตามรูปแบบอิสลามและขนบธรรมเนียมประเพณีของบรูไน ดังนั้นในสายตาของประชาชนแล้ว พระองค์เป็นสุลต่านที่เคร่งครัดในศาสนาเป็นอย่างมากทั้งยังเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรในด้านการอุทิศตนเพื่อ     อัลลอฮฺ เช่น การละหมาด และ การปฏิบัติตามหลักการอิสลามข้อที่ 5 คือการทำพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ถึง 6 ครั้ง ทั้งยังแสดงถึงพระราชศรัทธาในโอกาสงานเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 25 ปี ทรงมีพระราชดำรัสว่า “พระองค์จะยึดมั่นในศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ประจำพระราชวงศ์และประจำตระกูลของข้าราชบริพาร อีกทั้งเป็นศาสนาของประชาชนทั่วไปอีกด้วย” ขณะที่ด้านภาษาเมื่อศาสนาอิสลามเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้ ทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนอยู่บนพื้นฐานความเชื่อตามหลักศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหลักการปกครองรัฐและหลักในการดำรงชีวิต กฏหมายต่างๆ กระทั่งภาษาพูด ถูกแทนที่ด้วยรูปแบบอิสลาม ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของวรรณกรรมงานเขียนต่างๆ เช่น ศิลาจารึก ตำราด้านการศึกษา หนังสือราชการระหว่างประเทศ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เขียนขึ้นด้วยภาษามลายูตัวอักษรยาวีทั้งสิ้น ส่วนด้านการศึกษาพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของโรงเรียนสอนศาสนาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1950 มี 7 แห่ง กระทั่งปีค.ศ.1971 มีจำนวนมากขึ้นถึง 80 แห่ง (Marie-Sybille de Vinne, 2015:269) ปัจจุบันมีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนมัธยมศึกษาภาษาอาหรับ วิทยาลัยครูสอนศาสนา และสถาบันอิสลามศึกษา ทั้งนี้บรูไนมีโรงเรียนรัฐบาลราว 170 แห่ง มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสซาลาม(Universiti Brunei Darussalam : UBD) มหาวิทยาลัยอิสลามสุลต่านชารีฟ อาลี (Universiti Islam Sultan Sharif Ali : UNISSA) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งบรูไน(Institut Teknologi Brunei : ITB) (สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558:142) ทั้งนี้การจัดตั้งสถาบันอิสลามศึกษาชั้นสูงโดยการใช้ภาษาอาหรับเป็นหลักนั้นประสบความสำเร็จตั้งแต่ปีค.ศ.1988 มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง 3 ประการ คือ (ดลมนรรจ์ บากา และ ชัยวัฒน์ มีสันฐาน

12 ของอร่อยประเทศบรูไน อาหารบรูไน จะมีลักษณะคล้ายกับอาหารของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมมาจากอินเดีย จีน ไทย และญี่ปุ่น มีข้าวและปลาเป็นอาหารหลัก เนื่องจากเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม อาหารที่นี่จึงเป็นอาหารฮาลาล หลีกเลี่ยงเนื้อหมู และห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในบรูไน อาหารบรูไนมักจะมีรสเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เมนูอาหารที่นิยมในประเทศคืออัมบูยัต ทำจากสาคูห่อด้วยไม้ไผ่และจิ้มซอสผลไม้รสเปรี้ยว เครื่องดื่มทั่วไป ได้แก่ น้ำผลไม้ ชาและกาแฟ นาซิ เลอมัก เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ทำจากข้าวหุงกับกะทิและใบเตย รับประทานคู่กับไก่ทอด หรือแกงกะหรี่ไก่ พร้อมเครื่องเคียงต่างๆ เลอมัก แบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า

13 อุดัง ซามบาล ซีไร เบอซานตาน เป็นอาหารประจำชาติของประเทศบรูไนที่มีหน้าตาคล้ายแกงกะหรี่กุ้งราดข้าว นิยมรับประทานร่วมกับไข่ต้ม แตงกวา และถั่วลิสง อัมบูยัต (Ambuyat) อาหารขึ้นชื่ออีกอย่างของบรูไนและมาเลเซีย ตัวแป้งจะเหนียวข้นและมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตไม่มีรสชาติ เหมาะกับการรับประทานตอนร้อนๆ ด้วยการใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขา ม้วนแป้งเป็นวงกลม แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยว หรือซอสที่ทำจากกะปิ รับประทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด เป็นต้น

14 สิ่งที่ควรทำ 1. คนบรูไนจะกล่าวคำทักทายว่า "ซาลามัต ดาตัง" เมื่อพบปะกัน 2. เมื่อไปบ้านของชาวบรูไน เชื้อสายมาเลย์หรือจีน ควรถอดรองเท้าก่อนไปในบ้าน 3. การจัดงานตามประเพณีและวัฒนธรรมอื่นๆ ในที่สาธารณะ จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อมิให้ผิดหลักศาสนาอิสลาม 4. เมื่อไปเยี่ยมชมศาสนสถานหรือสถานที่สำคัญของชาวบรูไน ควรแต่งกายให้เรียบร้อยและรัดกุมรวมทั้งถอดรองเท้า เพศหญิงควรคลุมผมและแต่งกายให้มิดชิด โดยคลุมหัวเข่าและแขน 5. ควรให้คนบรูไนเป็นคนสั่งอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งเนื้อหมู และแอลกอฮอล์ 6. ควรใช้นิ้วโป้งมือขวา แทนการใช้นิ้วชี้ ชี้ไปยังสถานที่ สิ่งของ หรือคน 7. ในการส่งสิ่งของ โดยเฉพาะอาหาร ควรส่งด้วยมือขวา และ/หรือ สามารถใช้มือซ้ายประคองข้อมือขวา และไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีชาวบรูไนยื่นอาหารหรือเครื่องดื่มให้และควรรับจานอาหารด้วยมือขวา 8. ควรแต่งกายอย่างสุภาพในทุกโอกาส และในช่วงอากาศร้อนสามารถสามารถใส่ชุดที่สวมใส่สบายได้ หากเมื่อเข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเมื่อนัดหมายทางธุรกิจควรแต่งกายอย่างสุภาพเช่นกัน 9. เมื่อเดินทางไปประเทศบรูไนดารุสซาราม ทั้งชายและหญิงจะต้องแต่งกายตามเพศสภาพของตน มิฉะนั้นจะผิดกฎหมายอาญาอิสลาม 10. ควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายอาญาอิสลามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวบังคับให้ทั้งชาวบรูไนและชาวต่างชาติ สิ่งที่ไม่ควรทำ 1. ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง เพศ ศาสนา และควรหลีกเลี่ยงการชักชวนให้ชาวมุสลิมนับถือศาสนาอื่น 2. ไม่ควรดื่มหรือรับประทานอาหารต่อหน้าคนมุสลิมในช่วงถือศีลอด เดือนรอมฎอน 3. ไม่ควรเดินผ่านหรือตัดหน้าผู้ที่กำลังสวดมนต์อยู่และไม่ควรแตะต้องคัมภีร์อัลกรุอาน 4. สตรีไม่ควรนั่งให้ปลายเท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ควรหัวเราะเสียงดังเพราะไม่สุภาพ 5. ห้ามถ่ายภาพภายในศาสนสถาน 6. การใช้ไสยศาสตร์ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย 7. ชาวบรูไนจะไม่แต่งกายด้วยชุดสีเหลือง เพราะเป็นสีสัญลักษณ์ของสุลต่าน 8. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มิใช่คู่สมรส หรือการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันถือเป็นความผิดทางกฎหมายอาญาอิสลามและต้องได้รับโทษ 9. การแสดงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ เช่น การสัมผัสหรือการกอดจูบ ถือว่ามีความผิด 10. ไม่ควรดื่มสุราในที่สาธารณะ และไม่มีการขายสุราในประเทศบรูไน ยกเว้นผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมสามารถดื่มในที่มิดชิดส่วนตัว

15 เศรษฐกิจ บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เล่าเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย

16

17

18

19


ดาวน์โหลด ppt สารบัญ ความเป็นมาของประเทศ 1 ภูมิศาสตร์ 2 วัฒนธรรม 3 ภาษา 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google