ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยShanna Harrison ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การดูแลสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาล :Update องค์ความรู้ (Violence)
นางเดือนฉาย อ้วนเจริญกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลระยอง
2
ความรุนแรงคือ ? พฤติกรรม หรือการกระทำใดๆ ที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางกาย จิตใจ หรือทางเพศ
3
ประเภท กาย จิตใจ ทางเพศ
4
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง
ผู้ถูกกระทำ ผู้กระทำ ญาติ เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่
5
สาเหตุ ลักษณะส่วนตัว ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ
ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดความรุนแรง
6
ผลของความรุนแรง ผล องค์กร ร่างกาย จิตใจ
7
จุดเริ่มต้นของความรุนแรง
สัมพันธภาพที่ไม่ดี สื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน เกิดการขัดแย้ง ความรุนแรง
8
แนวคิดสันติวิธี 1. ความขัดแย้งเป็นธรรมดาของชีวิตและสังคมมนุษย์ 2. ในความขัดแย้ง ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดโดยสมบูรณ์ 3. ความขัดแย้งนั้นจะระงับไปได้ต่อเมื่อทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจแก้ไข 4. ทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เมื่อ “เรา” เห็นว่า “คนอื่น” ไม่ใช่คนเหมือนเรา การที่จะใช้ความรุนแรงกับเขาก็กลายเป็นเรื่องไม่ยาก
9
ฆ่านางบัวคลี่เพื่อที่จะเอาในครรภ์มาทำเป็นกุมารทอง
ตัวอย่าง ความรุนแรงในสังคมไทย กรณีขุนแผน ฆ่านางบัวคลี่เพื่อที่จะเอาในครรภ์มาทำเป็นกุมารทอง ฆ่าปาดคอชิงไอโฟน อุ้มสาวทอม ทั้งสามกรณี มองเหยื่อ เป็นเพียงสิ่งของ ไม่ใช่มนุษย์
12
ความขัดแย้ง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะแฝง เริ่มปรากฏ ปรากฏชัดเจน
13
ความขัดแย้งแฝง (Latent conflict)
มีความขัดแย้งแล้ว แต่ยังมองไม่เห็น เริ่มตึงเครียด ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เก็บไว้ยังไม่แสดงออก คู่กรณียังไม่รับรู้ว่ามีความขัดแย้ง เกิดขึ้นแล้ว
14
ความขัดแย้งเริ่มปรากฎ (Emerging conflict)
ความขัดแย้งเริ่มชัด แสดงออกจน คู่ขัดแย้งเริ่มรู้สึก เหมือนฟางเส้นสุดท้าย แม้มีแค่ขนนกเบาๆ หล่นทับมาก็ไม่ไหว
15
ความขัดแย้งที่ปรากฎชัดเจน (Manifest conflict)
ความขัดแย้งชัดเจนแล้ว กระบวนการไกล่เกลี่ยเริ่มเข้ามา การจัดการความขัดแย้งอาจสำเร็จ หรือ ถึงทางตัน ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
16
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การจัดการความรุนแรงในงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การประกาศนโยบายและการมีส่วนร่วมจากบุคลากร การบ่งชี้ความเสี่ยงและการวิเคราะห์พื้นที่งานเสี่ยงต่อความรุนแรงในงาน การป้องกัน ควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายจากความรุนแรงในงาน การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
17
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การประกาศนโยบายและการมีส่วนร่วมจากบุคลากร ผู้บริหารควรประกาศนโยบายบริหารจัดการด้านความรุนแรงในงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจกับบุคลากรทุกคน นำไปสู่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น การรายงานเมื่อเกิดเหตุ การเข้ารับการบำบัดหลังเกิดเหตุ ทำความเข้าใจกับบุคลากรให้ชัดเจนว่าความรุนแรงในงานเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ไม่ว่าจะเกิดกับใคร
18
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การประกาศนโยบายและการมีส่วนร่วมจากบุคลากร (ต่อ) -มีการมอบหมายความรับผิดชอบตามแผนงานและมอบหมายอำนาจในการตัดสินใจให้เหมาะสม ตลอดจนจัดสรรทรัพยากร -จัดบริการให้ครอบคลุมทั้งด้านการป้องกันควบคุม การรักษาหลังเกิดเหตุและการบำบัดเยียวยาทางจิตใจทั้งผู้ถูกกระทำและพยานผู้รับรู้เหตุการณ์ -สร้างความมีส่วนร่วมของบุคลากร โดยให้บุคลากรมีความรู้สึกเป็นเจ้าของที่ทำงานนั้นๆ ซึ่งการสร้างการมีส่วนร่วมจะเกิดได้เมื่อบุคลากรมีความเข้าใจต่อมาตรการความปลอดภัย -ให้ข้อเสนอแนะกับมาตรการและเข้าฝึกอบรมทักษะการลดความรุนแรง
19
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การบ่งชี้ความเสี่ยงและการวิเคราะห์พื้นที่งานเสี่ยงต่อความรุนแรงในงาน การบ่งชี้ความเสี่ยง เพื่อประเมินโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุการณ์จริง เพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการป้องกัน ปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมจากงาน สถานที่ตั้ง เช่น ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาอาชญากรรม หรือตั้งห่างจากชุมชน ผู้รับบริการ เช่น ผู้ต้องหา ผู้ติดตามผู้ต้องหาและตำรวจ การบ่งชี้ความเสี่ยง เป็นการประเมินความเสี่ยงที่น่าจะเกิด (ก่อนที่เหตุการณ์จริงจะเกิด) เพื่อมาเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการป้องกันไว้ก่อน
20
ปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมจากงาน (ต่อ)
การจัดผังหรือที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาลให้ปลอดภัย เช่น แผนกห้องบัตร แผนกการเงิน แผนกยา ควรสร้างเป็นห้องที่มั่นคงและแข็งแรง ประตูห้องปิดล็อกได้จากภายใน
21
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
ปัจจัยเสี่ยงจากสภาพงาน จำนวนบุคลากรน้อยในบางช่วงเวลา งานที่ต้องปฏิบัติงานในห้องแยก เปิดโอกาสให้อยู่กับบุคคลอื่น เช่นผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยตามลำพัง งานที่ต้องปฏิบัติในพื้นที่แยกส่วน เช่น งานเยี่ยมบ้าน ทำให้ยากต่อการขอความช่วยเหลือ งานที่ต้องติดต่อกับคนจำนวนมาก เช่นห้องบัตร มีโอกาสเกิดความขัดแย้งได้มาก บุคลากรขาดการฝึกอบรมในการประเมินและจัดการกับความรุนแรงในงาน
22
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
ปัจจัยเสี่ยงจากผู้มารับบริการ ผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในภาวะเจ็บปวดอย่างมาก ผู้ป่วยโรคระบบประสาท หรือจิตเวชที่ควบคุมตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่เมาสุราหรือติดสารเสพติด สัญญาณเตือนของผู้ที่จะก่อความรุนแรง ทัศนคติและท่าทางก้าวร้าว ท่าทางไม่พอใจ หงุดหงิด การเปลี่ยนโทนเสียง กล้ามเนื้อเกร็ง เหงื่อออก ในกรณีผู้ป่วยโรคระบบประสาท
23
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การวิเคราะห์พื้นที่งานเสี่ยงต่อความรุนแรงในงาน วิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว จากข้อมูลการรายงานการอยู่เวรจากฝ่ายการพยาบาลย้อนหลัง นำมาหาข้อมูลความถี่ หน่วยงานที่เกิดเหตุ ตลอดจนช่วงเวลาที่เกิดเหตุ มักพบขนาดของปัญหาต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากมักรายงานแต่เหตุการณ์ที่มีความรุนแรงสูง ส่วนเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงต่ำ มักไม่มีการจดบันทึกไว้
24
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
วิเคราะห์จากการเดินสำรวจหน่วยงาน พิจารณาข้อมูลจากการรายงานเดิม เพื่อกำหนดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่ต้องการการสำรวจอย่างละเอียด
25
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การป้องกันควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายจากความรุนแรงในงาน หลังจากวิเคราะห์พื้นที่งานเสี่ยงแล้ว ทำให้สามารถระบุขนาดของปัญหาได้ ขั้นตอนต่อไปคือ การออกแบบการควบคุมป้องกันความเสี่ยง การควบคุมเชิงวิศวกรรม (Engineering Control) การควบคุมเชิงบริหารจัดการ (Administrative Control) รวมทั้งมาตรการดูแลบุคลากรหลังเกิดเหตุ (post- incident response)
26
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การควบคุมเชิงวิศวกรรม (Engineering Control) การออกแบบเชิงโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก การออกแบบภายในตัวอาคารและเส้นทางเข้ารับบริการ มีการกำหนดเขตชัดเจนว่าเขตใดเป็นเขตสาธารณะหรือเฉพาะเจ้าหน้าที่ เช่น บริเวณที่พัก บุคลากรควรล็อกได้จากภายในและไม่สามารถเปิดได้จากภายนอก บริเวณประชาสัมพันธ์ ควรกำหนดให้ตั้งอยู่ในระยะสายตาของบุคลากรอื่นหรือฝ่ายรักษาความปลอดภัย ตั้งกระจกนูนบริเวณทางแยกหรือจุดอับ วางสิ่งของเครื่องใช้ ไม่กีดขวางทางหนีของบุคลากร เลือกสิ่งของเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบาและไม่มีเหลี่ยมมุมที่คม เพื่อป้องกันการเอามาทำเป็นอาวุธได้
27
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
ระบบเตือนภัยและเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉิน ติดตั้งและเปิดกล้องวงจรปิด เพื่อเฝ้าระวังบริเวณงานที่เสี่ยงตลอดเวลาทำการ ติดตั้งระบบสัญญาณความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่มีความเสี่ยง เช่นกริ่งเตือน ควรใช้สัญญาณเตือนภัยที่ไม่มีเสียงดัง ณ จุดเกิดเหตุ แต่สามารถส่งเสียงสัญญาณไปยังที่ที่ต้องการขอความช่วยเหลือได้ ปิดล็อกประตูรถโรงพยาบาลที่จอดไว้ตลอดเวลา
28
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
การควบคุมเชิงบริหารจัดการ (Administrative Control) โดยการปรับปรุงวิธีปฏิบัติงาน ดังนี้ จัดตั้งคณะทำงานไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ความขัดแย้งและเข้าเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อได้รับการรายงาน ประเมินความเสี่ยงในพื้นที่งานของตน (area-based risk management) เพื่อทำการแก้ไขเบื้องต้นหรือรายงานตามสายบังคับบัญชาหากไม่สามารถแก้ไขได้ เตรียมเบอร์โทรฉุกเฉินไว้ในที่ที่บุคลากรมองเห็นได้ชัดเจนหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น เช่นเบอร์ทีมไกล่เกลี่ยและฝ่ายรักษาความปลอดภัย รวมถึงเบอร์โทรสถานีตำรวจ
29
แนวทางการจัดการความรุนแรงในที่ทำงาน
ขณะทำหัตถการใดๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด ควรกันญาติออกและปิดล็อกประตูก่อนทำหัตถการทุกครั้ง โดยไม่อนุญาติให้บุคลากรอยู่เพียงลำพัง กำหนดนโยบายสำหรับเยี่ยมบ้านหรืองานรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ ระบบคู่หู (buddy system), จัดให้มีการรายงานตัวเป็นระยะขณะออกปฏิบัติการนอกสถานที่ และมีการติดตามเมื่อบุคลากรขาดการติดต่อนานเกินไป
30
ระบบความรุนแรงระหว่างจนท.กับจนท.
ด้วยกันเอง ได้รับเรื่องแจ้งเข้ามา จะคุยกับหัวหน้าหน่วยงานก่อน เพื่อขออนุญาต หน.อนุญาต จะเชิญมาพูดคุย ทีละฝ่าย เพื่อหาข้อมูลก่อน จะเชิญมาคุยพร้อมกันอีกครั้ง พอทำเสร็จแล้ว จะรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ ถ้าเรื่องร้ายแรงเสื่อมเสียถึงองค์กร รายงานต่อผู้อำนวยการให้รับทราบ
31
การสื่อสาร การสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้คนเราเข้าใจกัน
ถ้าสื่อสารไม่ดีก็ทำให้ไม่เข้าใจกัน กลายเป็นความขัดแย้ง เมื่อขัดแย้งแล้วการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจกัน เพื่อหาทางออกและแก้ปัญหา เพื่อยุติความขัดแย้ง
32
เกณฑ์การให้คะแนน การกระทำ คะแนน ไม่เคยเลย 1 ทำน้อยมาก 2 บางครั้ง 3
มักจะ 4 ทำเสมอ 5
33
การแปลผลแบบทดสอบการสื่อสาร
ประเมินผล คะแนน ทักษะสื่อความหมายเป็นเยี่ยม 60-75 ทักษะดี 45-59 ทักษะปานกลาง 35-44 ต้องปรับปรุงอย่างมาก ต่ำกว่า35
34
วิชาชีพได้รับการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารน้อยเกินไป
ปัญหาภายในและทางเลือกการสร้างความเข้าใจแก่วิชาชีพ การแพทย์และสาธารณสุข วิชาชีพได้รับการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารน้อยเกินไป มีพื้นฐานทักษะการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งน้อย ควรฝึกทักษะการทนต่อการรับฟังผู้อื่นในสถานการณ์ที่สับสนวุ่นวาย ควรเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อเรื่องการทำตามมาตรฐานวิชาชีพกับการฟ้องร้อง วิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข บางครั้งทำพฤติกรรมคุกคามผู้รับบริการ ทางเลือกในการปรับแก้คือการสื่อสารที่ดี
35
การจัดการ เดินหนีหรือหลีกเลี่ยง พูดระบาย เจรจาเพื่อทำความเข้าใจ
รายงานผู้บังคับบัญชา ขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน ขอความช่วยเหลือจากรปภ.
36
คุณลักษณะที่ดีในการรับมือ
เป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นผู้ตัดสิน มีความอดทน ไม่มองความขัดแย้งในแง่ลบ
37
การฟัง เป็นสิ่งที่มองเผิน ๆ เหมือนจะง่าย แต่กลับกลายเป็นสิ่งปฏิบัติได้ยากที่สุด การฟังต่างจากคำว่าได้ยิน การได้ยินนั้นเป็นเพียงกระบวนการทางการทำงานของสรีระที่ประสาทในส่วนหูได้รับทราบรับรู้ว่ามีเสียงเกิดขึ้น แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในส่วนของความรับรู้ของผู้ที่ได้ยินเลยก็ได้
38
ปัญหาในการฟัง การฟังไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ – แค่ได้ยิน
ฟังแบบผิดๆ (Faulty Listening Behaviors) Pseudolistening ฟังตาใส Selective Listening เลือกฟัง Defensive Listening ไม่ฟัง หรือฟังเพื่อโจมตี Insensitive Listening ฟังไม่ได้ศัพท์
39
การฟังอย่างตั้งใจ 1. ไม่พูดขณะฟัง 2. สบตา 3. พยักหน้า , ส่งเสียง เออ! ออ! 4. ปรับคำพูดใหม่ (เนื้อหาและความรู้สึก) 5. ถามคำถาม / ตอบคำถาม
40
ฟังด้วยหู ฟังด้วยตา ฟังด้วยใจ ให้ความสำคัญ เยี่ยงพระราชา
การฟัง ฟังด้วยหู ฟังด้วยตา ฟังด้วยใจ ให้ความสำคัญ เยี่ยงพระราชา
41
ทดสอบการฟัง
42
ณเดชหรือหมาก รักญาญ่า
43
? ? อย่างนั้นแสดงว่า .... ถ้าณเดชรักญาญ่า
หมากก็ต้องไม่รักญาญ่า ใช่หรือไม่ ? ?
44
ณเดชและหมากไม่ได้รักญาญ่า
45
ถามว่า มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรักญาญ่า ใช่หรือไม่
46
จะสลดใจอะไรตายมากที่สุด
หนูตาย แมวตาย คนตาย หมาตาย ช้างตาย เพิ่มหมาที่เรารักตาย จะสลดใจอะไรตายมากที่สุด
47
เคยกินเวเฟอร์ปักกิ่ง คุณคิดว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
มีกี่ชั้น
48
ภาษาการสื่อสาร (การฟังและการพูด)
ภาษาท่าทาง Nonverbal ภาษาพูด Verbal น้ำเสียง Tone
49
เมื่อจะชม ชอบที่คุณมี ที่คุณเป็น เมื่อจะติ อยากให้คุณมี อยากให้คุณเป็น
การสะท้อนกลับ เมื่อจะชม ชอบที่คุณมี ที่คุณเป็น เมื่อจะติ อยากให้คุณมี อยากให้คุณเป็น
50
การชม 1. ชมจากลักษณะภายนอก 2. ชมด้านนิสัยใจคอ
การชม เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถูกชม และ ผู้ชม เมื่อเราชมผู้อื่นบ่อยๆ จะทำให้เรามองโลกในแง่ดี และ สำหรับผู้ถูกชม เมื่อพบเราอีก ความรู้สึกดีก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นเงื่อนไข 1. ชมจากลักษณะภายนอก 2. ชมด้านนิสัยใจคอ
51
ประโยคพิชิต กล่าวคำชมอย่างทันที เมื่อฟัง-เห็นสิ่งดีๆ
“เป็นคำถามที่ดี เป็นคำถามที่ดีมาก...” “เป็นความคิดที่ดี เป็นความคิดที่ดีมาก...” “เป็นความตั้งใจที่ดี เป็นความพยายามที่ดีมาก...” “เป็นการกระทำที่ดี ทำได้ดีมาก...” “ผมรู้สึกดี ที่คุณกล้าทำ ภูมิใจที่คุณทำได้...”
52
ประโยคพิฆาต 1. ที่สั่งไปนะ…ไม่เข้าใจหรือไง 2. แล้วไง...! 3. เอาอีกแล้ว... ! 4. จะเอาอะไรอีก…! 5. พอ...! พอ…! พอ...! 6. ทำไมเธอจึงไม่รู้จัก…! 7. พูดไม่รู้เรื่อง…! 8. จะเป็นแบบนี้อีกนานไหม ! 9. ก็แล้วแต่…! 10. เข้าใจแล้ว...แต่ว่า...
53
การกล่าวคำขอโทษ
55
หลักของการปรับคำพูดใหม่
1.แสดงออกซึ่งการรับรู้ กล่าวถึงสถานการณ์ ความคิด ความรู้สึกที่เกิดขึ้น 2. แสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเอง 3.แสดงออกซึ่งความต้องการที่แท้จริง 4.เปลี่ยนจากการเผชิญหน้า มาเป็น ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
56
ตัวอย่าง นี่คุณพยาบาล จะให้ฉันต้องรอไปถึงกี่โมงกี่ยามกัน นี่ฉันปวดท้องจนจะไม่ไหวอยู่แล้ว ต้องให้ฉันตายไปตรงนี้ก่อนใช่ไหมถึงจะได้ตรวจ รับรู้ รู้สึก ความต้องการ ร่วมมือ
57
เปลี่ยนเป็น คุณพยาบาลคะ ดิฉันเข้าใจว่าตอนนี้คุณกำลังยุ่งมาก ๆ (แสดงการรับรู้) แต่ตอนนี้ฉันเองรู้สึกปวดท้องมาก (แสดงความรู้สึก) ฉันอยากขอความกรุณาคุณพยาบาลช่วยหาอะไรบรรเทาอาการของฉันในขณะที่รอพบคุณหมอก่อนนะคะ (ความต้องการ) คุณพอจะช่วยฉันเล็กน้อยได้ไหมคะ(ร่วมมือ)
58
ตัวอย่าง นี่คณ !! ที่รออยู่เนี่ยะก็ไม่สบายกันทั้งนั้นแหละ ฉันก็ยุ่งจะตายอยู่แล้วจะเอาอะไรกันหนักหนา รับรู้ รู้สึก ความต้องการ ร่วมมือ
59
เปลี่ยนเป็น ดิฉันเข้าใจว่าตอนนี้คุณกำลังปวดท้องมากและต้องการความช่วยเหลือ แต่วันนี้เรามีคนไข้มาหาหมอจำนวนมาก (แสดงการรับรู้) ดิฉันเองก็รู้สึกไม่สบายใจที่ต้องให้คนไข้รอนาน ๆ (แสดงความรู้สึก) ดิฉันเองก็อยากให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด (ความต้องการ) เอาเป็นว่าตอนนี้อยากให้คุณพยายามผ่อนคลายโดยการหายใจลึก ๆก่อน แล้วดิฉันจะรีบบอกคุณหมอให้นะคะ(ร่วมมือ)
60
ตัวอย่าง เอาอีกแล้ว ไอ้แก่กลับบ้านดึกดื่นทุกวัน
เอาอีกแล้ว ไอ้แก่กลับบ้านดึกดื่นทุกวัน ต้องให้ก.....รอทุกคืน ถ้ามึ...เห็นเหล้าดีกว่านักก็ออกจาก บ้าน ก....ไป แล้วไม่ต้องมา รับรู้ รู้สึก ความต้องการ ร่วมมือ
61
เปลี่ยนเป็น เวลาน้องเห็นพี่กลับดึก แล้วเห็นพี่เมากลับมา (แสดงการรับรู้) น้องเองรู้สึกเป็นห่วง เพราะกลัวพี่อาจจะเจอเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้น (แสดงความรู้สึก) น้องอยากรู้ว่า เมื่อพี่อยู่นอกบ้านปลอดภัยไหม น้องจะได้ไม่ต้องเป็นห่วง (ความต้องการ) พี่ช่วยเล่าให้น้องฟังหน่อยได้ไหม ว่าพี่ไม่สบายใจเรื่องอะไร เผื่อน้องจะช่วยพี่ได้ (ร่วมมือ)
62
ตัวอย่าง วันหยุดทั้งที หัดให้เวลาลูกเมียบ้างได้ไหม วัน ๆ ก็เอาแต่ทำงาน กลับบ้านมาก็บ่นแต่เครียด ๆ ไม่สนใจใคร นี่วันหยุดยังจะทำงานอีกหรือ รับรู้ รู้สึก ความต้องการ ร่วมมือ
63
เปลี่ยนเป็น เวลาน้องเห็นพี่ทำงานหนัก แล้วเครียดกลับมา (แสดงการรับรู้)
น้องเองรู้สึกสงสาร และเห็นใจพี่มาก เพราะพี่ทำทุกอย่าง เพื่อครอบครัว แต่น้องกับลูก ๆ ก็อดน้อยใจไม่ได้ (แสดงความรู้สึก) น้องอยากให้พี่สดใส เวลาที่อยู่กับพวกเรา (ความต้องการ) พี่พอมีเวลาบ้างไหม เราอาจจะมาคิดร่วมกันว่า น้องจะสามารถแบ่งเบาภาระอะไรของพี่ได้บ้าง (ร่วมมือ)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.