ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่
1. สิบโทหญิงมัณฑนา น้ำประสารไทย รหัส 2. นางสาวสุนิดา ภาคภูมิ รหัส 3. นางสาวอินทิรา เพียรสุข รหัส 4. นางสาวรมิตา สกุลนี รหัส 5. นางสาวกมลวรรณ สุขทรรศนีย์ รหัส 6. นายธนา พัชนะพานิช รหัส
2
ประวัติความเป็นมา Michael Hammer เกิดเมื่อปี ค.ศ and James Champy ผู้มีแนวคิดกับการ Re-Engineering กล่าวคือวงการธุรกิจในอเมริกา กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ ที่พลิกฟื้นสถานการณ์โดยเร็วที่สุด ซึ่งมีพลังผลักดัน 3 ประการคือ (1) ลูกค้า (Customer) (2) การแข่งขัน (Competitions) (3) การเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนในหมู่นักบริหารปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการเปลี่ยนกรอบเค้าโครงของความคิด ( Paradigm )จากที่เคยเฉื่อยชา ต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ( Globalization )
3
ความหมายของการ Reengineering
รีเอ็นจีเนียริ่ง คือ การรื้อปรับระบบ การรีเอ็นจีเนียริ่ง คือ รูปแบบการนำกระบวนการจัดการใหม่มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิม อย่างถอนรากถอนโคน
4
หลักการของรีเอนจีเนียริ่ง
แฮมเมอร์และแชมฟี ได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้ 1. ต้องไม่ยึดติดอยู่กับหลักการเก่า ๆ และแนวคิดเดิม 2. ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นของใหม่ทั้งหมด 3. ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร 4. ต้องเน้นที่กระบวนการทำงานโดยใช้บุคลากรน้อยที่สุด 5. ต้องนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงาน 6. ต้องกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติให้ชัดเจน 7. ต้องจัดสายการบังคับบัญชาในองค์การให้สั้นลง โดยจัดองค์กรแบบแนวราบ (Flat organization) 8. ต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
5
กระบวนการของรีเอนจีเนียริ่ง
แฮมเมอร์ได้บรรยาย ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเดือนพฤษภาคม ได้กำหนดกระบวนการของรีเอนจีเนียริ่ง ไว้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นระดมพลัง 2. ขั้นวิเคราะห์ 3. ขั้นออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ 4. ขั้นนำไปใช้
6
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง
1.ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอะไรแบบไหนในอนาคต และพยายาม มองหาวิธีการที่จะสร้างผลกำไรจากธุรกิจนี้ 2.ต้องอาศัยการเริ่มและบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน ดังนั้นผู้บริหารที่มีอำนาจเพียงพอเท่านั้นจึงสามารถดูแลตรวจสอบ กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงรอยต่อระหว่างหน่วยงาน 3.สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน ผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศให้งานต่างๆมีความเร่งด่วน ผลักดันงานให้มีความต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
7
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง(ต่อ)
4.การออกแบบและกระบวนการจากภายนอก การที่องค์การจะหาความต้องการของลูกค้าได้นั้นจะต้องใช้วิธีการสำรวจวิจัยหลาย รูปแบบ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนักกับการศึกษาขั้นตอนต่างๆของงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ ทิ้งระบบเก่าโดยเร็ว ระบบอาจนำมาพิจารณาจุดที่สำคัญของงานได้บ้างในบางขั้นตอน 5.การดำเนินการกับที่ปรึกษาผู้บริหารควรจะเข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ คือ เริ่มตั้งแต่การออกแบบงาน การนำแผนไปปฏิบัติ และให้การอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การ เพื่อถ่ายทอดหลักการเหล่านั้นไปยังระดับล่าง 6.ทำการผนวกกิจกรรมของระดับบนลงสู่ระดับล่างการรีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่สามารถเริ่มต้นได้จากระดับล่าง เพราะอาจจะมีการ ขัดขวางจากกลุ่มคนหรือหน่วยงานภายในองค์การแต่การบริหารจากระดับบนสู่ระดับล่าง หรือจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนนั้น ไม่ได้มีความขัดแย้งกันโดยแท้จริงแล้ว การรีเอ็นจิเนียริ่งให้ดีนั้น ต้องอาศัยสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของการปรับปรุงงาน อย่างต่อเนื่องของระบบ TQM การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับบนลงสู่ระดับล่า ขณะเดียวกันวิธีการทำงาน เป็นเรื่องของการบริหารจากระดับล่างสู่ระดับบน
8
Reengineering
9
ทีมงานกระบวนการให้บริการของสาขา
ผู้นำการรีเอนจิเนียริ่งในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยนั้นมีบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำการ รีเอนจีเนียริ่ง ได้แก่ คุณบัณฑูร ล่ำชำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในการรีเอนจีเนียริ่งได้เริ่มจัดตั้งทีมงาน 5 ทีม ทีมงานกระบวนการให้บริการของสาขา ทีมงานกระบวนการให้บริการที่ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีมงานกระบวนการอนุมัติเครดิต ทีมงานกระบวนการแก้ไขหนี้ ทีมงานกระบวนการโอนเงินและชำระเงินทุกประเภท
10
สำหรับกระบวนการที่ได้ดำเนินการและเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว คือ กระบวนการให้บริการที่สาขา
โดยได้กำหนดขั้นตอนและเนื้องานที่สำคัญ ดังนี้ การปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการปฏิบัติงาน การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารบุคลากรและอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ การออกแบบงานและรูปแบบงานใหม่ การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบข้อมูลที่จำเป็นสำหรับสาขา
11
ความสำเร็จจากการใช้ระบบ Reengineering
ธนาคารกสิกรไทย ได้เริ่มทำรีเอนจีเนียริ่งเป็นครั้งแรกที่สาขาสนามเป้า กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งปรากฏว่าประสบความสำเร็จด้วยดี ดังต่อไปนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ปรากฏผลดังนี้ ลดแบบพิมพ์จาก 7 แบบ เหลือเพียง 1 แบบ ลดใบคำขอถอนเงินจาก 4 แบบ เหลือ 1 แบบ ลูกค้าได้รับบริการรวดเร็วขึ้น โดยเฉลี่ย 60 – 70%
12
เป้าหมาย ทำการตั้งทีมงานขึ้นมา 4 ชุด ดังนี้
1. ด้านการตลาด ทำหน้าที่ศึกษาถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงงานบริการโดยธนาคารกำหนดกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงไว้ 5 กระบวนการซึ่งแต่ละกระบวนการต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รัดกุมที่สุด ต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อให้ได้การบริการที่ดีที่สุด
13
2. ด้านการเงิน ทำหน้าที่วางแผน และพัฒนาด้านการเงิน และด้านงบประมาณ 3. ด้านบุคลากร เพื่อให้ระบบการบริหารรวดเร็วขึ้น 4. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการลงทุนเทคโนโลยีของธนาคาร
14
ปัจจัยสำคัญที่จะให้การ Re-engineering ของธนาคารกสิกรไทยประสบความสำเร็จ
15
ผลจากการทำ Re-engineering ครั้งนั้น ก่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ กระจายอำนาจในการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมงาน พนักงานทุกคนทุกระดับ ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีเป้าหมาย องค์กรขนาดใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทย ที่มีพนักงาน 16,000 คน จึงประสบความสำเร็จในการทำ Re-engineering อย่างดี ผลประกอบการ รายได้ และกำไร เพิ่มขึ้นอย่างมาก
16
นอกจากนี้ แบงก์ได้มอบหมายให้บริษัท โอกิลวี่แอนด์เมเธอร์ (ประเทศไทย) จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ชื่อชุด "เพื่อบริการที่เป็นเลิศ" ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท แนวคิดภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้สะท้อนปรัชญา REENGINEERING กล่าวคือหัวใจสำคัญที่สุดของธุรกิจบริการคือการให้บริการที่เป็นเลิศ พนักงานผู้ให้บริการจะต้องผ่านการฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานใหม่หรือผู้บริหารระดับสูง ต้องมีการหมุนเวียนเข้ารับการอบรมเพื่อรับทราบถึงยุทธศาสตร์การแข่งขันและบริการใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาและคิดค้นออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าในมาตรฐานสากลได้นั่นเอง ธนาคารกสิกรไทย ทำรีเอนจีเนียริ่งทั้ง 5 ทีมงาน สำเร็จภายใน 7 ปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท ผลจากการทำรีเอนจีเนียริ่ง นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว ยังจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณปีละ 1,000 ล้าน นับว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนทำรีเอนจีเนียริ่ง
17
The End.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.