งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
KHANTHONG JAIDEE, PH.D

2 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
Nicholas Henry ( Nicholas Henry, 1980 : 27 ) George S. Gordon ( George S. Gordon, 1975 : 8 ) James W. Fesler ( James W. Fesler, 1980 : 2-12 ) Felex A. Nigro and Lloyd G.Nigro (Felex A. Nigro and Lloyd G. Nigro ,1977 : 18)

3 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
รัฐประศาสนศาสตร์มีความหมาย 2 ลักษณะ นัยยะแรก เป็นการพิจารณาในแง่ของสาขาวิชา ( Discipline ) วิชาการการศึกษา ( Study ) “Public Administration (P.A)” จากการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ วิชาที่ว่าด้วยการบริหารและการปกครองบ้านเมือง ที่เน้นในเรื่องของระบบราชการ หรือกิจการงานที่รัฐเป็นผู้ปฏิบัติจัดทําเพื่อประโยชน์สาธารณะ จุดเริ่มต้นวิชารัฐประศาสนศาสตร์ Woodrow Wilson เขียนบทความ “The Study of Administation,1887” เสนอกรอบเค้าโครงความคิด (Paradigm พาราไดม์) การแยกการบริหารออกจากการเมือง

4 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
โครงสร้างวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มีองค์ประกอบสำคัญจาก 3 ศาสตร์ เป็น “รากฐาน (Roots)” สำคัญของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ (Social Science) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) ศาสตร์ทางการบริหาร (Administration Science)

5 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
เมื่อนำทั้ง 3 ศาสตร์มาต่อยอดที่เป็นหัวใจสำคัญของวิชานี้ ได้มีการพัฒนามุ่งสู่การนำความรู้และหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ 3 ประการสำคัญ แนวคิดทฤษฎีองค์การ (Organization) การบริหารจัดการ (Management) การเมืองกับการบริหาร (Politics And Administration) แนวคิดทฤษฎีองค์การ + การบริหารจัดการ = โครงสร้างและระบบในการบริหารกิจการภายในองค์กร มุ่งเน้นการบริหารจัดการภายใน เช่น การบริหารงานและพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการงบประมาณ การเมืองกับการบริหาร = ภาคการเมือง (เน้นกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ) ภาคบริหาร,ข้าราชการ (มุ้งเน้นนำนโยบายไปปฏิบัติ)

6 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
ซึ่งในอดีตผู้ที่รับผิดชอบในการ จัดทําคือหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง ได้แก่กระทรวง ทบวงกรม กองต่าง ๆ ปัจจุบัน การจัดทำบริการสาธารณะได้ขยายหรือถ่ายโอนไปยังองค์ การปกครองส่วนท้องถิ่น และ ชุมชนซึ่งกิจการบางอย่างได้มีการมอบอํานาจให้ภาคเอกชนมาร่วมดําเนินการกับรัฐหรือจัดทำแทนรัฐ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานประเภทอื่น ๆ เช่น องค์กรมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณะกุศล มูลนิธิสมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ

7 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
Public Administration รัฐประศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์ประยุกต์ ( Applied Science ) เนื่องจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่มีการนําองค์ความรู้แนวความคิด จากสาขาวิชาต่างๆ ที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ กับการบริหารมารวมไว้ โดยสาขาวิชาส่วนใหญ่จะนํามาจากสาขาวิชาในสายสังคมศาสตร์ (Social Science) เช่น สาขาวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ฯลฯ โดยมีวัตถประสงค์เพื่อที่จะนําองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานหรือแก้ไข

8 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration

9 รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration
กระบวนการบริหาร (วิทยการจัดการ) นโยบายสาธารณะ พฤติกรรมองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตคน เป็นนักบริหารในหน่วยงานของราชการและรัฐวิสาหกิจ

10 การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration)
เมื่อเราพูดถึงคําว่าการบริหาร (administration) นั้น มักจะคิดถึง คือ การบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจนั้นจะเป็นเรื่องการศึกษาหรือการบริหารงานในภาครัฐบาล (public sector) ที่เกี่ยวกับกิจการสาธารณะ ส่วนการบริหารธุรกิจนั้นจะเป็นเรื่อง การศึกษาหรือการบริหารงานในภาคเอกชน (private sector) ในการศึกษาการบริหารรัฐกิจ และบริหารธุรกิจนั้น จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ เทคนิคการบริหาร (administration or management)

11 การบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration)
ข้อที่แตกต่างกัน ในเรื่องวัตถุประสงค์ บริหารรัฐกิจ มุ่งในการบริการสาธารณะเพื่อสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิได้ทํากิจการหรือมีเป้าหมายเพื่อเป็นการค้ากําไร การปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นระบบราชการทุนในการ ดําเนินงานก็มาจากภาษีอากรของประชาชน การบริหารธุรกิจ เป็นเรื่องธุรกิจของเอกชน ทุนในการดําเนินงานเป็นของเอกชนผู้เป็นเจ้าของกิจการ การบริหารธุรกิจจึงจุดประสงค์มุ่งที่ผลกําไรเป็นหลักใหญ่

12 พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์
อุทัย เลาหวิเชียร (2547) ได้แบ่งพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกได้ 3 ช่วงเวลา วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ จาก Wilson ถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เน้นอยู่ 2 กรอบเค้าโครงความคิด คือ การแยกการบริหารออกจากการเมือง และหลักหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหาร  วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี 1970 กรอบเค้าโครงความคิดที่เกี่ยวกับ 2 เรื่อง คือ การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง และ การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน กรอบเค้าโครงแนวคิดที่เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีองค์การที่อาศัยหลักมนุษย์นิยม

13 พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ดร.พิทยา บวรวัฒนา ได้เสนอพัฒนาการไว้เป็น 4 สมัยที่สำคัญ 1. สมัยทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) คือ การบริหารแยกจากการเมือง ระบบราชการ วิทยาศาสตร์การจัดการ และหลักการบริหาร 2. สมัยทฤษฎีท้าทาย หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งแรก (ค.ศ – 1960) คือ การบริหารคือการเมือง ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ มนุษยสัมพันธ์ และศาสตร์การบริหาร 3. สมัยวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ – 1970) หมายถึง แนวความคิดทางพฤติกรรมศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ 4. สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ ( ค.ศ – ปัจจุบัน) ครอบคลุมถึงทฤษฎีนโยบายสาธารณะ ทางเลือกสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง

14 พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Nicholas Henry (2013) ได้จำแนกพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็น 6 ยุค กระบวนทัศน์ที่ 1 การแยกการเมืองและการบริหารออกจากกัน (The Politics/Administration Dichotomy) ค.ศ.1900 – ค.ศ. 1926) กระบวนทัศน์ที่ 2 หลักการบริหารงานภาครัฐ (Principles of Public Administration) ค.ศ.1927 – ค.ศ. 1937 กระบวนทัศน์ที่ 3 การบริหารงานภาครัฐในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ (Public Administration as Political Science) ค.ศ.1950 – ค.ศ. 1970 กระบวนทัศน์ที่ 4 การบริหารงานภาครัฐในฐานะส่วนหนึ่งของการจัดการ (Public Administration as Political Management) ค.ศ.1956 – ค.ศ. 1970) กระบวนทัศน์ที่ 5 การบริหารงานภาครัฐคือการบริหารงานภาครัฐ (Public Administration as Public Administration) ค.ศ.1970 – ปัจจุบัน กระบวนทัศน์ที่ 6 รัฐประศาสนศาสตร์ คือธรรมาภิบาล Governance) ค.ศ.1990 – ปัจจุบัน

15 พัฒนาการวิชารัฐประศาสนศาสตร์
รศ.ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ แบ่งเป็น 3 แนวคิดทางการบริหารจัดการภาครัฐ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management (OPM))1988 – ปัจจุบัน แยกการบริหารออกจากการเมือง วิทยาศาสตร์การจัดการ หลักการบริหาร ระบบราชการ กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management (NPM))1992 – ปัจจุบัน KPI กระบวนทัศน์การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service (NPS)) 2000 – ถึงปัจจุบัน ความเป็นพลเมือง

16 ยุคแรก ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
  ยุคแรก ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง Thomas Woodrow Wilson 

17 แนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร
โดยเริ่มมีการศึกษารัฐประศาสนศาตร์กันอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐฯ ได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียงในปี ค.ศ เรื่อง The Study of Administration ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร

18 ยุคดั้งเดิมมีจุดเน้น 2 แนวทาง
จุดเน้นของการศึกษาที่โครงสร้างของระบบบริหารโดยจำแนกการศึกษาออกเป็น 2 แนวทาง คือ แนวทางการแบ่งแยกโครงสร้างของฝ่ายบริหารกับฝ่ายการเมืองออกจากกันอย่างเด็ดขาด (นักวิชาการสำคัญที่ศึกษาตามแนวทางนี้เช่น Woodrow Wilson, Frank Goodnow, Leonard White และ Willoughby) แนวทางการแสวงหาโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบขององค์กรแบบระบบราชการ (เน้นที่งาน bureaucracy ของ Weber)

19 ยุคที่สอง ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
Chester Barnard

20 ยุคของพฤติกรรมศาสตร์
เป็นยุคที่นักวิชาการทั่วไปหันมาให้ความสนใจในพฤติกรรมศาสตร์ มีนักวิชาการ Chester Barnard ได้เขียน หนังสือชื่อ Functions of the Executive ชี้ให้เห็นว่าการบริหารเป็น กิจกรรมทางสังคมชนิดหนึ่งที่ต้องการ ความร่วมมือและการจะมีอํานาจนั้นขึ้นอยู่กับความ ยินยอมของผู้ใต้บังคับบัญชา หน้าที่ของนักบริหาร คือ สนใจเรื่องทั้งระบบ เป็นการศึกษาการ บริหารจากมุมมองของนักพฤติกรรมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ในด้านพฤติกรรมศาสตร์ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้พัฒนาไปในแนวทฤษฎีองค์การและพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่

21 แบ่งเป็น 3 ช่วงย่อย ช่วงแรกที่เน้นศึกษาที่พฤติกรรมมีการศึกษาเพื่อค้นหาผลกระทบของทัศนคติและกำลังขวัญของผู้ปฏิบัติงานต่อการบริหารงาน (ดังเช่นงานของ Mayo , W.J. Dickson , Chester I. Barnard , Mary Parker Follett และ Herbert Simon) ช่วงที่สอง เน้นการศึกษาในแง่สภาพแวดล้อมของการบริหาร ซึ่งเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางการเมืองวัฒนธรรมและอื่น ๆ ย่อมมีอิทธิพลต่อระบบและกระบวนการบริหาร (เช่น Fritz Morstein Marx , Dwight Waldo, John Gaus และ Paul Appleby) ช่วงสุดท้ายมีจุดสนใจที่องค์การสมัยใหม่ พร้อมกับศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการประมวลผลข้อมูล และพัฒนาวิธีจัดหาข่าวสารข้อมูลด้วย (เช่น James March, Victor Thompson, Peter Blau และ Amitai Etzioni)

22 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
 ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ มีลักษณะและแนวทางการศึกษาสำคัญ 5 ประการ คือ ลดการเน้นทฤษฎีปทัสถานนิยมให้น้อยลงแต่เพิ่มแนวทางสังเกตวิเคราะห์สถานการณ์จริงเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงขอบข่ายของการศึกษาใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไปสู่วิทยาการทางสังคม เน้นศึกษาเรื่องนโยบายสาธารณะมากขึ้น และ การศึกษามีความคล้องจองมากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google