งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ยิ้มก่อนเรียน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ยิ้มก่อนเรียน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ยิ้มก่อนเรียน

2 ระบบเวลา

3 โลกของเราหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ทำให้พื้นผิวโลกได้รับแสงอาทิตย์ไม่พร้อมกัน มีเวลาเช้า เที่ยง เย็น ต่างกัน ดังนั้น ตำบลต่างๆบนพื้นผิวโลกต่างก็มีเวลาท้องถิ่นของตน การศึกษาเกี่ยวกับเวลาบนพื้นโลกจำเป็นต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับลองจิจูดเนื่องจากระบบเวลาบนพื้นโลกนั้นมีความสัมพันธ์กับลองจิจูด

4 1. ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลา
1. ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลา โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ หรือ 360 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง แนวทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนพื้นโลกจะผ่านเส้นเมริเดียนต่างๆบนพื้นโลก 360 องศาลองจิจูด กล่าวคือ เวลา 1 ชั่วโมง ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนจากเส้นเมริเดียนไป 15 องศาลองงจิจูดโดยลองจิจูดที่อยู่ทางด้านตะวันออกจะมีเวลาเร็วกว่าลองจิจูดด้านตะวันตก

5 ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง : โลกหมุนรอบตัวเองได้ =360 องศา
ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลาสรุปได้ดังนี้ ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง : โลกหมุนรอบตัวเองได้ =360 องศา ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง : โลกหมุนได้ = 360 x 1 หาร 24 องศา ดังนั้นในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง : โลกหมุนไปได้ = 15 องศา หรือในทุกๆ 15 องศา : เวลาจะต่างกัน = 1 ชั่วโมง

6 2. เวลาปานกลางกรีนิช (greenwich Mean Time – GMT)
เวลาปานกลางกรีนิช เรียกอีกอย่างว่า “เวลาสากล” เป็นเวลาท้องถิ่นของตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ที่กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 0 องศา ลากผ่านและให้ประเทศต่างๆที่อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตกของตำบลนี้ใช้อ้างอิงเพื่อกำหนดเป็นเวลามาตรฐานสำหรับใช้ในประเทศของตน

7 เวลาปานกลางกรีนิช

8 นาฬิกาโครโนมิเตอร์ คือ นาฬิกาที่ตั้งตามเวลากรีนิชเพื่อใช้ในการจับเวลาในการตรวจวัตถุท้องฟ้าทางดาราศาสตร์และใช้ในการเดินเรือเป็นนาฬิกาที่รักษาเวลาได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงมากที่สุด

9 3. เส้นวันที่สากล (international date line)
เส้นวันที่สากล คือ เส้นสมมุติที่ลากแบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก คือซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกโดยลากทับเส้นเมริเดียนของลองจิจูดที่ องศา เป็นแนวแบ่งและเส้นนี้จะไม่ลากผ่านแผ่นดินเลย นานาชาติกำหนดให้เส้นนี้เป็นเส้นแบ่งวัน ซึ่งใช้เป็นเขตกำหนดการเปลี่ยนวันเมื่อเดินทางข้ามเส้นนี้

10 เส้นวันที่สากล

11 4. เวลาท้องถิ่นและเวลามาตรฐาน
4.1 เวลาท้องถิ่น (local time) เวลาท้องถิ่น หมายถึง เวลาที่กำหนดขึ้นในท้องถิ่นถือตามลองจิจูดที่เป็นศูนย์กลางของท้องถิ่น สำหรับประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานแทนเวลาท้องถิ่นซึ่งเร็วกว่าที่กรีนิช 7 ชั่วโมง

12 4.2 เวลามาตรฐาน (standard time)
เวลามาตรฐาน คือเวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตเวลาโดยมีช่วงห่างของลองจิจูดช่วงละ 15 องศา ในท้องถิ่นที่อยู่ในเขตเวลาเดียวกันให้มีเวลามาตรฐานเดียวกัน

13

14 ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบเวลาประเทศในทวีปต่างๆกับประเทศไทย
ประเทศที่เวลาเร็วกว่าประเทศไทย ทวีปเอเชีย ประเทศมาเลเซีย เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ไต้หวัน เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ประเทศฟิลิปปินส์ เ เร็วกว่า 1 ชั่วโมง ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ประเทศออสเตรเลีย แคนเบอร์รา เร็วกว่า 3 ชั่วโมง เพิร์ท เร็วกว่า 1 ชั่วโมง นิวซีแลนด์ เร็วกว่า 5 ชั่วโมง

15 ประเทศที่เวลาช้ากว่าประเทศไทย
ทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย เวลาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที ประเทศพม่า เวลาช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที ประเทศศรีลังกา เวลาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 30 นาที ทวีปยุโรป ประเทศอังกฤษ ชั่วโมง ประเทศฝรั่งเศส ชั่วโมง ทวีปแอฟริกา ประเทศไนจีเรีย ชั่วโมง ประเทศโมร็อกโก ชั่วโมง

16 ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี. ซี
ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี ชั่วโมง ลอสแอนเจลิส ชั่วโมง ประเทศคิวบา 12 ชั่วโมง ทวีปอเมริกาใต้ ประเทศบราซิล 10 ชั่วโมง ประเทศชิลี 11 ชั่วโมง


ดาวน์โหลด ppt ยิ้มก่อนเรียน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google