งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การมีส่วนร่วมของประชาชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การมีส่วนร่วมของประชาชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การมีส่วนร่วมของประชาชน
ณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2 โครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก

3 โครงการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย

4 กลุ่มต่อต้านการแปรรูป กฟผ.

5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

6 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 6. กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 8. กฎหมายข้อมูลข่าวสารราชการ 9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

7 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ?
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และ 2550 ? รับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค - เปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองเป็นการเมืองของพลเมือง - ขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครอง ทำให้ระบบการเมืองและราชการมีความสุจริต ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ฉบับร่าง 2550 มีหมวดเฉพาะว่าด้วยการมีส่วนร่วม

8 รูปแบบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)
ประชาธิปไตยทางอ้อมหรือแบบผู้แทน (Representative Democracy) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ข้อจำกัดของแบบผู้แทน ข้อมูลครบถ้วน การตัดสินใจที่ดีขึ้น ธรรมาภิบาล ลดความขัดแย้ง สังคมสมานฉันท์

9 สามเสาหลัก(Three Pillars) ของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
First pillar สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร Second pillar สิทธิในกระบวนการตัดสินใจ Third pillar สิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

10 ระดับการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ให้ข้อมูลข่าวสาร Inform หารือ Consult เข้ามามีบทบาท Involve สร้างความร่วมมือ Collaboration เสริมอำนาจ Empower เป้าหมาย : เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางเลือกและทางแก้ไข เพื่อได้รับข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับสภาพปัญหาทางเลือกและแนวทางแก้ไข เพื่อร่วมทำงานกับประชาชนเพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชนว่าความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะได้รับการพิจารณา เพื่อเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา พัฒนาทางเลือกและแนวทางแก้ไข เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ

11 ประชาชนกับการการมีส่วนร่วม
1. ระดับพื้นฐาน: เลือกตั้ง 2. ระดับปานกลาง 3. ระดับสูง

12 ประชาชนที่มีส่วนร่วมระดับปานกลาง
ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐ: กฎหมายข้อมูลข่าวสารราชการ ร่วมแสดงความคิดความเห็น - ประชาพิจารณ์กับประชามติ - รับรู้ ข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผล - นำเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น

13 การมีส่วนร่วมในระดับสูง
ริเริ่มและร่วมตัดสินใจ - เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย - เข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น - ร่วมเป็นกรรมาธิการร่างกฎหมาย เด็ก สตรี คนชรา ร่วมลงมือดำเนินการ - ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม - เข้าร่วมเป็นกรรมการในภาครัฐ ที่ปรึกษา ฯลฯ

14 ร่วมเป็นหูเป็นตาคอยตรวจสอบ
- ร้องเรียน - ฟ้องร้อง - เข้าชื่อถอดถอน ระดับสูงกว่านี้คือ ประชาชนเข้าสู่กลไกการตัดสินใจเองเช่น ลงสมัครเลือกตั้ง

15 หลักการบริหารจัดการการมีส่วนร่วม 4 s
Starting Early : เริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก Stakeholders : ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสียหลัก Sincerity : จริงใจ เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ Suitability : ความเหมาะสมของเทคนิคและการจัดการ

16 ข้อคิดก่อนจะดำเนินการ...
-ประสานงานกับหน่วยงานของเรา อย่าให้มีข้อมูลสวนทางกัน -เริ่มต้นเร็ว -ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เข้ามาร่วม -ให้ความสนใจกับกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม -อธิบายกระบวนการมีส่วนร่วมก่อนเริ่มจัดทำ เพื่อลดข้อสงสัยและระแวง -เปิดใจรับข้อมูลใหม่ -คอยติดตาม และกลับไปหาชาวบ้าน ทำตามสัญญาที่ให้ไว้

17 -ให้ข้อมูลเพียงพอเท่าที่ชาวบ้านเรียกร้อง -พูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา
-ให้คำมั่นสัญญาเฉพาะที่เราจะทำได้เท่านั้น -ให้ข้อมูลเพียงพอเท่าที่ชาวบ้านเรียกร้อง -พูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา -รับฟังในสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกำลังบอกเรา -หลีกเลี่ยงการทำประชุมลับๆ เพราะจะสร้างความระแวง

18 เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชน
เทคนิคการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็น เทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ

19 ตัวอย่างเทคนิคการให้ข้อมูล
เอกสารข้อเท็จจริง จดหมายข่าว รายงานการศึกษา การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การแถลงข่าว การสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าว การชี้แจงให้ประชาชนในการประชุมของทางราชการ

20 ตัวอย่างเทคนิคการรับฟัง ความคิดเห็น
การสัมภาษณ์รายบุคคล การสนทนากลุ่มย่อย การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซด์ การสำรวจความคิดเห็น สายด่วนสายตรง ประชาพิจารณ์

21 การรับฟังความคิดเห็น
ในอนาคต การรับฟังความคิดเห็นจะมีสองลักษณะคือ 1. กรณีที่กฎหมายบังคับ ศาลควบคุมอย่างเต็มที่ ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ศาลเพิกถอน สั่งระงับ 2. กรณีที่เป็นดุลพินิจของหน่วยงาน จะทำหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าทำต้องทำให้ถูกต้อง

22 ตัวอย่างเทคนิคการปรึกษาหารือ
เวทีสาธารณะ การพบปะอย่างไม่เป็นทางการ การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนแก่ชุมชน การประชุมเชิงปฎิบัติการ คณะที่ปรึกษา

23 ข้อสังเกตการใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม
กลุ่มเทคนิคทั้ง 3 มีความต่อเนื่องกัน สามารถใช้เทคนิคมากกว่า หนึ่ง ในกิจกรรมการมี ส่วนร่วมในแต่ละครั้ง

24 ข้อเตือนใจในการใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม
ไม่สำคัญว่าจะเลือกใช้เทคนิคอะไร แต่ ต้องเข้าใจว่า ทำไมเราจึงเลือกเทคนิคนั้น ต้องรู้ว่าจะนำเทคนิคที่เลือกไปใช้อย่างไร พฤติกรรมและทัศนคติที่จริงใจและโปร่งใสของทีมผู้จัด

25 หลักการเลือกเทคนิคการมีส่วนร่วม
เทคนิคที่เลือก เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่แถลงไว้หรือไม่ หน่วยงานมีทรัพยากรพอเพียงที่จะใช้ในการทำเทคนิคนี้หรือไม่ ถ้าใช้เทคนิคดังกล่าว จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังถูกต้องหรือเปล่า มีเวลาเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ในการใช้เทคนิคนี้ หน่วยงานมีเครื่องมือและบุคลากรเพียงพอจะใช้เทคนิคนี้หรือไม่ มีบุคลากรที่มีทักษะในเทคนิคนี้หรือไม่ หรือหน่วยงานต้องอาศัยการสนับสนุนจากภายนอก หลักในการเลือกเทคนิคการมีส่วนร่วม ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ จะเลือกใช้เทคนิคอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งมีข้อสังเกตสำหรับการพิจารณา ดังนี้ เทคนิคที่เลือก เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่แถลงไว้หรือไม่ เช่น เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และทั่วถึง หน่วยงานมีทรัพยากรพอเพียงที่จะใช้ในการทำเทคนิคนี้หรือไม่ ถ้าใช้เทคนิคดังกล่าว จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังถูกต้องหรือเปล่า มีเวลาเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ในการใช้เทคนิคนี้ เช่น ถ้าเลือกทำการให้ข้อมูลทางเว็บไซด์ แต่มีเวลาในการจัดทำเพียง 1 อาทิตย์ อาจไม่เพียงพอ หน่วยงานมีเครื่องมือและบุคลากรเพียงพอจะใช้เทคนิคนี้หรือไม่ มีบุคลากรที่มีทักษะในเทคนิคนี้หรือไม่ หรือหน่วยงานต้องอาศัยการสนับสนุนจากภายนอก

26 มีสถานการณ์พิเศษอะไรที่อาจกระทบกับการใช้เทคนิคนี้หรือไม่
เทคนิคนี้อย่างเดียวจะทำให้ประชาชนพอใจหรือไม่ หรือต้องทำร่วมกับเทคนิคอื่นๆ การใช้เทคนิคนี้จะส่งผลให้ การมีส่วนร่วมที่จัดไป กลายเป็น inputs ที่ผู้ตัดสินใจต้องการ และสามารถนำไปใช้ได้ไหม ในอดีต เคยใช้เทคนิคนี้มาแล้ว และประสบความสำเร็จกับกลุ่มประชาชนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือเปล่า มีสถานการณ์พิเศษอะไรที่อาจกระทบกับการใช้เทคนิคนี้หรือไม่ เทคนิคนี้อย่างเดียวจะทำให้ประชาชนพอใจหรือไม่ หรือต้องทำร่วมกับเทคนิคอื่นๆ (เช่น ให้จัดประชาพิจารณ์เพียงอย่างเดียว และครั้งเดียว อาจไม่เพียงพอ อาจต้องออกไปชี้แจงกับผู้นำชาวบ้านอีกหลายครั้ง) การใช้เทคนิคนี้จะส่งผลให้ การมีส่วนร่วมที่จัดไป กลายเป็น inputs ที่ผู้ตัดสินใจต้องการ และสามารถนำไปใช้ได้ไหม ในอดีต เคยใช้เทคนิคนี้มาแล้ว และประสบความสำเร็จกับกลุ่มประชาชนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือเปล่า มีสถานการณ์พิเศษอะไรที่อาจกระทบกับการใช้เทคนิคนี้หรือไม่ เช่น มีความขัดแย้งในลักษณะเผชิญหน้า อาจไม่เหมาะสมกับการใช้เทคนิคประชาพิจารณ์ ที่เป็นทางการและทำให้สองฝ่ายเผชิญหน้าซึ่งกันและกัน

27 สรุปหลักการเลือกเทคนิค
เทคนิคนั้นเหมาะสมกับกลุ่มประชาชนผู้เข้าร่วม เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของโครงการที่จะจัดทำ เป็นเทคนิดที่เหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของทีมที่จัด เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่จัด โดยสรุป มีข้อที่ควรต้องพิจารณาเป็นพิเศษในการเลือกเทคนิคการมีส่วนร่วม ดังนี้ * เทคนิคนั้นเหมาะสมกับกลุ่มประชาชนผู้เข้าร่วม * เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของโครงการที่จะจัดทำ * เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของทีมที่จัด * เป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่จัด

28 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอขอบคุณ Power Point นี้ ดัดแปลงจากของ รศ.ดร.พัชรี สิโรรส ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt การมีส่วนร่วมของประชาชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google