ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เทคนิคการทำวิจัยสถาบัน
ดร.บุญรอด ชาติยานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2
ความเข้าใจเรื่องการวิจัยสถาบัน
เราทำงานวิจัยสถาบันเพื่ออะไร ? เพื่อสิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่ ? เพื่อหาความรู้ใหม่ ?? เพื่อให้มหาวิทยาลัย/คณะ มีชื่อเสียง ?? เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ??
3
ความหมายของวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบัน หมายถึง การศึกษาและวิเคราะห์เพื่อตอบโจทย์ การบริหารของหน่วยงานหรือสถาบันนั้นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ ในการสนับสนุนการวางแผนการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจ ต่างๆของผู้บริหารโดยใช้กระบวนการวิจัย
4
หลักการสำคัญเกี่ยวกับการทำวิจัยสถาบัน
การทำวิจัยสถาบันผู้วิจัยต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญต่อไปนี้ คือ 1. ใช้ระยะเวลาสั่น หวังผลเร็วเพราะต้องการใช้ข้อมูล 2. ขั้นตอนการนำเสนอโครงร่างต้องรวดเร็ว ไม่มีขั้นตอนมาก 3. งบประมาณต้องอนุมัติเร็วและเพียงพอ 4. การดำเนินการวิจัยสามารถดำเนินการเป็นรายบุคคลเป็นร่วมทีม คณะวิจัยก็ได้ 5. ต้องมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
5
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยสถาบัน
๑. เพื่อใช้แก้ปัญหา เมื่อหน่วยงานหรือสถาบันมีปัญหาหรืออุปสรรคจำเป็นต้อง มีการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อติดตามปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน ของสถาบัน ๒. เพื่อการตัดสินใจ ในกรณีที่ไม่มีปัญหา แต่ต้องการตัดสินใจบางเรื่อง ๓. เพื่อวางแผนอนาคต สำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาได้ อย่างเหมาะสม ๔. เพื่อการประกันคุณภาพในการจัดการศึกษา (ตามตัวชี้วัดของหน่วยงาน)
6
เกณฑ์การเลือกปัญหาเพื่อการวิจัย
ผู้วิจัยมีความรู้ความสามารถ มีความสนใจ และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะทำ มีกำลังทั้งแรงกาย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีคุณค่าในเชิงวิชาการ สภาพแวดล้อมและเครื่องอำนวยความสะดวก มีความเป็นไปได้ที่จะศึกษา น่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์
7
แหล่งของปัญหาการวิจัย
จากการสังเกตโดยตรงของผู้ทำวิจัย จากทฤษฎี โดยเอามาจากหลักการของทฤษฎี จากประเด็นสถานการณ์ปัจจุบัน จากสถานการณ์ที่ปฏิบัติอยู่ จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงอาชีพ จากเอกสารทางวิชาการ จากการประชุม สัมมนา อบรม จากการกำหนดหัวข้อหรือปัญหาจากผู้อื่น
8
องค์ประกอบของปัญหาที่ดี
กะทัดรัด สื่อความหมายในประเด็นที่จะวิจัยได้ดี หัวเรื่องไม่แคบและไม่กว้างจนเกินไป มีตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวที่แสดงความสัมพันธ์กัน และสามารถทดสอบได้ ตรงกับความสามารถ สามารถออกแบบวิจัยได้จริงในทางปฏิบัติ มีเวลา แรงงาน งบประมาณเพียงพอ มีประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือชุมชน ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
9
แนวทางการตัดสินใจเลือกหัวข้องานวิจัย
เป็นประโยชน์ หรือไม่ ไม่มีประโยชน์ ไม่ควรทำ แก้ปัญหาได้ ประเด็นน่าสนใจ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มีประโยชน์ ทำได้หรือไม่ ทำไม่ได้ ไม่ควรทำ มีความเชี่ยวชาญ มีข้อมูลสนับสนุน มองทะลุถึงตอนจบได้ อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์การ เลือกหัวข้องานวิจัย ทำได้ คุ้มค่าหรือไม่ ไม่คุ้มค่า ไม่ควรทำ ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ทันต่อเหตุการณ์ ใช้ทรัพยากรในการวิจัย อย่างคุ้มค่า คุ้มค่า หัวข้องานวิจัย
10
ตัวอย่างหัวข้อ ในการทำวิจัยสถาบัน
จากงานประจำ
11
ด้าน เรื่อง 1) นักศึกษา -วิเคราะห์นักศึกษาใหม่ -วิเคราะห์นักศึกษาเต็มเวลา -วิเคราะห์การตกออกซ้ำชั้น -วิเคราะห์การสละสิทธิ์ของ นักศึกษา -วิเคราะห์ลักษณะนักศึกษา ที่เหมาะสม -วิเคราะห์บัณฑิตที่พึง ประสงค์ -วิเคราะห์ความเห็นของ นักศึกษาต่อการให้บริการ ของ.....(ระบุชื่อหน่วยงาน)
12
ด้าน เรื่อง 2) คณาจารย์ และ บุคลากร -การประเมินการสอน -การประเมินประสิทธิภาพ ของอาจารย์ -การศึกษา สภาพ ขวัญ กำลังใจ ของอาจารย์/ บุคลากร อื่นๆ -การพัฒนาอาจารย์/ บุคลากร -ศักยภาพของบุคลากร
13
-การวิเคราะห์หลักสูตร -การประเมินหลักสูตร -พัฒนาการด้านหลักสูตร
เรื่อง 3) หลักสูตรและการ สอน -การวิเคราะห์หลักสูตร -การประเมินหลักสูตร -พัฒนาการด้านหลักสูตร 4) การประเมินแผน/ โครงการ/กิจกรรม -การประเมินครึ่งแผนฯ/สิ้น แผนฯ ระยะ 5 ปี -การประเมินโครงการตาม แผน -การประเมินโครงการหรือ กิจกรรมต่างๆของคณะ/ มหาวิทยาลัย
14
ด้าน เรื่อง 5) การทะเบียน นักศึกษา -วิธีการสอบคัดเลือก -วิธีการรับสมัคร -ความต้องการในการเรียน วิชาต่างๆ -วิชา/สาขาที่นักศึกษา ต้องการเรียน 6) วิเคราะห์นโยบาย -วิเคราะห์นโยบาย (ระบุเรื่อง) -วิเคราะห์เป้าหมาย
15
-วิเคราะห์ฐานข้อมูล บุคลากร -วิเคราะห์ฐานข้อมูล หลักสูตร
ด้าน เรื่อง 7) ระบบข้อมูล/ ฐานข้อมูล -วิเคราะห์ฐานข้อมูล บุคลากร -วิเคราะห์ฐานข้อมูล หลักสูตร -วิเคราะห์ฐานข้อมูลการเงิน -วิเคราะห์ฐานข้อมูลอาคาร
16
8) งบประมาณและ ค่าใช้จ่าย
ด้าน เรื่อง 8) งบประมาณและ ค่าใช้จ่าย - วิเคราะห์หลักเกณฑ์ วิธีการ จัดสรรงบประมาณของคณะ/ มหาวิทยาลัย -วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในลักษณะ ต่างๆ -วิเคราะห์แนวโน้มงบประมาณ ในปีต่อไป -วิเคราะห์ภาระงบประมาณที่ เป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร -วิเคราะห์แนวทางในการจัดหา รายได้ของคณะ/มหาวิทยาลัย -วิเคราะห์การพึงพาตนเองด้าน เงินรายได้
17
ด้าน เรื่อง 9) อาคารสถานที่
-วิเคราะห์การใช้ประโยชน์ จากอาคารและสถานที่ ตามลักษณะของการใช้ ประโยชน์ของการเรียนการ สอน การบริหาร หารบริการ -วิเคราะห์ความต้องการใช้ พื้นที่ การใช้อาคาร -วิเคราะห์ความต้องการ/ แนวโน้มของสาธารณูปโภค
18
ตัวอย่างงานวิจัยสถาบัน
19
ตัวอย่างงานวิจัยสถาบัน
เรื่อง การศึกษาความพึงพอใจและความผาสุกของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
20
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันระบบราชการต้องเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสนองตอบความต้องการของประชาชน การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจมีผลทำให้ข้าราชการต้องปฏิบัติงานแบบมืออาชีพมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้ศึกษาคุณลักษณะและทักษะเฉพาะที่สำคัญของข้าราชการไทย ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 11 ประการ คือ 1) ทักษะในการใช้ความคิด 2) การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 3) การบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 4) ทักษะในการสื่อสาร 5) ความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ 6) การมุ่งเน้นให้บริการ 7) จริยธรรม 8) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน 9) ความสามารถในการแก้ปัญหา 10) การทำงานเป็นทีม 11) ทักษะพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ (ศุภชัย เยาว์ประภาส, : 59-60)
21
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของบุคลากร
22
1.3 ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในฐานะบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นข้อคำถาม ที่วัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ โดยแยกเป็น ระดับที่คาดหวังและระดับ ที่เป็นอยู่ ในเช่น ด้านการปฏิบัติงาน ด้านสิ่งสนับสนุนการปฏิบัติงาน ด้านสวัสดิการและ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ที่ปฏิบัติงานในคณะพยาบาลศาสตร์ ในรอบปี งบประมาณ ( 1 ต.ค ก.ย. 2554) ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ปัจจัยระดับบุคคล เช่น เพศ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษาตำแหน่ง และระยะเวลาที่รับราชการและ ระดับที่คาดหวังและระดับที่เป็นอยู่ ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านสิ่งสนับสนุน การปฏิบัติงาน ด้านสวัสดิการและด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
23
1.4 คำจำกัดความ 1) คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตมนุษย์ให้เหมาะสมกับความจำเป็น พื้นฐานของแต่ละสังคมตามกาลเวลา เมื่อวันเวลาผ่านไปวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสังคม ทำให้ มนุษย์ดิ้นรนขวนขวายและต้องสู้เพื่อให้การดำรงชีวิตดีขึ้น หรือให้เหมาะสมกับ สภาพสังคมและช่วงเวลานั้นๆ
24
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ทราบถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งทราบถึงข้อคิดเห็น เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ และความแตกต่างของความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ระหว่างช่วงอายุกับตำแหน่งการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงและส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เกิดประสิทธิผล ยิ่งขึ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากร ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
25
กรอบแนวคิดในการวิจัย
สถานภาพของ บุคลากร 1. เพศ 2. อายุ 3. ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงาน 4. ระดับการศึกษา 5. ตำแหน่งของท่าน 6. ตำแหน่งทางวิชาการ ความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิต 1. ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ 2. ด้านสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร 3. ด้านผู้นำ 4. ด้านการประเมินผลการ ปฏิบัติงาน 5. ด้านสวัสดิการ 6. การพัฒนาบุคลากร/การสร้าง ความก้าวหน้าในสาย งาน
26
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของ บุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวประกอบการศึกษา ดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 2.3 ความหมายของคุณภาพชีวิต 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิตกับการทำงาน (Quality of working life) 2.5 องค์ประกอบและเครื่องบ่งชี้ความมีคุณภาพชีวิต 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
27
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ
Webster’s New World Dictionary (1988 :1193) ให้ ความหมายว่า ความพึงพอใจ (Satisfaction) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ ที่ ก่อให้เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ เกิดความพอใจ ความ สนุกสนานสำราญใจ เทพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ (2540 : 98) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นภาวะของความพึงพอใจ หรือภาวะที่มีอารมณ์ในทางบวกที่เกิดขึ้น เนื่องจาก การประเมินประสบการณ์ของคนๆ หนึ่งสิ่งที่ขาด หายไประหว่างการเสนอให้กับสิ่งที่ได้รับจะเป็น รากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้
28
2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
2.2.1 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow (Maslow’s Hierarchy of Needs) มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ และไม่มีที่ สิ้นสุด ขณะที่ความต้องการสิ่งใดได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นก็จะเกิดขึ้นอีกไม่มีวันจบสิ้น ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ ไม่เป็นสิ่งจูงใจสำหรับพฤติกรรมอื่นต่อไป ความต้องการที่ ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรม ความต้องการของมนุษย์จะเรียงเป็นลำดับ ขั้นตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ เมื่อความต้องการ ในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการ ระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนอง ซึ่งลำดับขั้น ความต้องการของมนุษย์มี 5 ขั้นตอนตามลำดับขั้นจากต่ำ ไปสูง
29
2.3 ความหมายของคุณภาพชีวิต
2.3 ความหมายของคุณภาพชีวิต คุณภาพ หมายถึง คุณภาพในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง และศาสนา ซึ่งเป็นค่าเทียบเคียงไม่มีเกณฑ์ ตายตัว กล่าวคือ ทุกคนหรือทุกประเทศอาจ กำหนดมาตรฐานต่างๆ กันไปตามความต้องการ และความต้องการในคุณภาพชีวิตนี้ย่อมจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาและภาวะ (ยุพา 2516) คุณภาพชีวิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทาง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และต้องอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ดี มีครอบครัวและสังคมที่ดี เพื่อฝึกอบรมตนเอง ช่วยตนเองและมีส่วนร่วม ในภารกิจของสังคม (ลดา 2518) คุณภาพชีวิตประชากรขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบ ปริมาณทรัพยากรของประเทศกับจำนวนประชากร ในประเทศนั้น ถ้ามีทรัพยากรมากแต่ ประชากรน้อยคุณภาพชีวิตประชากรก็จะสูงขึ้นดัง สมการ (เย็นใจ 2533)
30
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิพาพร โฝดสูงเนิน (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครูที่ปฏิบัติหน้าที่ใน โรงเรียนกันดาร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ครูมีแรงจูงใจระดับปานกลาง 6 ด้าน คือ ปัจจัยพื้นฐาน เงินเดือนและสวัสดิการ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงใน หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความต้องการมีชื่อเสียงและได้รับการยกย่อง สุทัศน์ ตุรงค์เรือง (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาเขตการศึกษา 5 คือ ลักษณะงานที่ ปฏิบัติ และการยอมรับนับถือ
31
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และคุณภาพชีวิตของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผู้วิจัยจะ เสนอวิธีดำเนินการวิจัยตามลำดับ ดังนี้ ลำดับขั้นตอนในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเสนอผลการวิจัย
32
ลำดับขั้นตอนในการวิจัย
1. ศึกษาหลักการ สภาพปัจจุบัน ปัญหา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากร 2. กำหนดกรอบเกี่ยวกับความคิด หัวข้อปัญหา และ วัตถุประสงค์การวิจัย 3. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4. สร้างเครื่องมือในการวิจัย 5. เสนอเครื่องมือต่อที่ปรึกษาโครงการ แก้ไขเครื่องมือ และปรับปรุง 6. นำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูล 7. วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลข้อมูล 8. สรุปผลการวิจัยและรายงานผลการวิจัย
33
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปฏิบัติงานในทุก หน่วยงาน ในรอบปีงบประมาณ 2554 ประกอบด้วย - บุคลากรสายผู้สอนที่ปฏิบัติงาน (ไม่นับลา ศึกษาต่อ) จำนวน 95 คน - บุคลากรสายสนับสนุน (ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้าง) จำนวน 168 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 263 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้ ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 263 คน
34
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือและคุณภาพของเครื่องมือ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหลักการ ทฤษฎี เอกสารตำรา และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเป็นกรอบแนวคิดใน การสร้างแบบสอบถาม 2) กำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างเครื่องมือ 3) นำข้อมูลจากการศึกษามาสร้างแบบสอบถาม เสนอที่ปรึกษาโครงการวิจัย 4) เสนอร่างเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) รูปแบบ (Format) ตรวจสอบด้านภาษา (Wording) และ ความเหมาะสมในเรื่องเวลา (Timing) 5) ปรับปรุงเครื่องมือตามขอเสนอแนะของ ผู้เชี่ยวชาญ 6) ทำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ ไปเก็บข้อมูลกับ กลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัย
35
คุณภาพของเครื่องมือ ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นเสนอต่อที่ปรึกษาโครงการตรวจสอบเพื่อ ให้ข้อเสนอแนะ เป็นแนวทางแก้ไขและปรับปรุง ตรวจสอบ ความตรงเชิง โครงสร้าง (Construct Validity) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) รูปแบบของแบบสำรวจ (Format) ตรวจสอบด้านภาษา (Wording) และ ความเหมาะสมในเรื่องเวลา (Timing) ในการตอบแบบสอบถาม จากนั้น ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเครื่องมือ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เสร็จแล้วนำเครื่องมือไปทดลองใช้ (Tryout) ที่คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.958
36
ลักษณะของเครื่องมือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจและความ ผาสุกในฐานะบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นข้อคำถามที่วัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆ ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพ ชีวิตในด้านต่าง ๆ เป็นข้อคำถามที่วัดคุณภาพ ชีวิตในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ข้อคำถามเป็น แบบประมาณค่า (Rating Scale) มีการวัด 5 ระดับ คือ น้อยมาก น้อย ปานกลาง มากและมากที่สุด
37
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยตนเองโดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ ประจำในสาขาวิชา และประสานงานกับหัวหน้างาน หัวหน้าหน่วยในสำนักงานคณบดี โดยใช้แบบสอบถามที่ พัฒนาขึ้นตามกรอบการวิจัยซึ่งผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถาม จำนวน 263 ชุด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ได้รับ กลับคืน จำนวน ชุด คิดเป็นร้อยละ
38
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป โดยใช้สถิติดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามนำมาแจก แจงหาค่าความถี่และร้อยละ ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจและความผาสุก นำมาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ในด้านต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ
39
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษา เรื่องการศึกษาความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากร คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 263 คน แบ่งเป็น บุคลากรสายผู้สอน จำนวน 95 คน และบุคลากรสาย สนับสนุน จำนวน 168 คน ผลการวิเคราะห์แบ่ง ออกเป็น 4 ตอน ซึ่งแต่ละส่วนมีความแตกต่างกัน ดังนี้
40
4.1 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของ บุคลากรสายผู้สอน
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความพึงพอใจและความผาสุก ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ 4.2 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของ บุคลากรสายสนับสนุน
41
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (n = 203) ร้อยละ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบอบถาม ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของข้อมูล ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป จำนวน (n = 203) ร้อยละ 1. เพศ ชาย 4 5.89 หญิง 64 94.11 2. อายุ น้อยกว่า 30 ปี 7 10.29 31 – 40 ปี 20 29.41 41 – 50 ปี 27 39.70
42
ตอนที่ 2 ความพึงพอใจและความผาสุกของบุคลากร ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของความพึงพอใจและความผาสุกของบุคลากร จำแนกโดยภาพรวม ประเด็นความพึงพอใจรายด้าน สายผู้สอน สายสนับสนับ รวม จำนวน ร้อยละ ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ 61 89.7 115 85.2 175 86.2 2. ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร 60 88.9 3. ด้านผู้นำ 88.2 112 82.97 172 84.7 ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 58 85.3 109 80.8 167 82.3 ด้านสวัสดิการ 120 181 89.2 ด้านการพัฒนาบุคลากร/การสร้างความก้าวหน้าในสายงาน 117 86.7 177 87.2 ความพึงพอใจและความผาสุกในชีวิตการทำงานโดยภาพรวม 116 86.0 176
43
ภาพรวมด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละความพึงพอใจและความผาสุกของบุคลากรสายผู้สอน จำแนกด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ ประเด็นความพึงพอใจ สายผู้สอน สายสนับสนับ รวม S.D. แปลความ 4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 4.1 ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อขึ้นค่าตอบแทนมีความเหมาะสมและเป็นธรรม 4.22 0.64 มาก 3.99 0.76 4.03 0.80 4.2 ได้รับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยปราศจากอคติ 3.94 0.57 3.76 0.63 0.66 ภาพรวมด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.84 0.79 3.87 0.62 3.86 0.85
44
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและ คุณภาพชีวิตของบุคลากร คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพ ชีวิตของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชากร ที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปฏิบัติงาน ในทุกหน่วยงาน ในรอบปีงบประมาณ ประกอบด้วย 1) บุคลากรสายผู้สอน จำนวน คน 2) บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 168 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่ม ตัวอย่าง
45
1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของ บุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ มีอายุ 41 – 50 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ มีระยะเวลาทำงานใน คณะพยาบาลศาสตร์ส่วนใหญ่ 6 ปี – 15 ปี คิด เป็นร้อยละ มีระดับการศึกษาระดับปริญญาเอก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ และส่วนใหญ่มี ตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ คิดเป็น ร้อยละ 42.64
46
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรในคณะ พยาบาลศาสตร์ให้เป็นการเฉพาะเจาะจงและมุ่งเน้น ในเรื่องความสุขในที่ทำงาน 2) ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความพึง พอใจของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์รวมทั้งการ บริหารจัดการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีผลกระทบต่อ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์
47
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร, 2546. ______. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร, 2544. ______. หนังสือคู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร, 2547. กาญจนา อรุณสุขรุจี. ความพึงพอใจของสมาชิก สหกรณ์ ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรไชยปราการจำกัด อำเภอไชย ปราการ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.
48
ภาคผนวก
49
แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิต ของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำชี้แจง : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะได้ทำการศึกษาวิจัย ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุก ระดับ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของบุคลากร เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและนำไปสู่ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน กระบวนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ (PMQA) แบบสอบถามนี้ประกอบด้วย 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความพึงพอใจและความผาสุก ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ในด้านต่าง ๆ ตอนที่ 4 ความไม่พึงพอใจ/ข้อเสนอแนะ อื่นๆ
50
แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิต ของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ต่อ)
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดกาเครื่องหมาย √ ลงใน [ ] หน้าข้อความที่ เป็นจริงและกรอกข้อความในช่องว่างที่กำหนด 1. เพศ [ ] ชาย [ ] หญิง 2. อายุ ปี (เศษเกิน 6 เดือนปัดเป็น 1 ปี) 3. ระยะเวลาที่ทำงานในคณะพยาบาลศาสตร์ ปี 4. ระดับการศึกษา [ ] มัธยมหรือต่ำกว่าปริญญาตรี [ ] ปริญญาตรี [ ] ปริญญาโท [ ] ปริญญาเอก
51
ตอนที่ 2 ความพึงพอใจและความผาสุก
ตอนที่ 2 ความพึงพอใจและความผาสุก ประเด็นการประเมิน ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ 1.1 ได้รับมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถและมีปริมาณที่เหมาะสม (ภาระงานสอน วิจัย บริการวิชาการ) 1.2 ความมีอิสระในการทำงานและอิสระในการตัดสินใจ 1.3 ท่านมีเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนที่สมดุลกัน 1.4 ท่านสามารถใช้ศักยภาพของท่านอย่างเต็มที่ในการทำงาน 1.5 ท่านสามารถเสนอแนะความคิดเห็นต่างๆ ให้กับผู้บังคับบัญชา 1.6 ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กร 1.7 ท่านได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาสมรรถภาพหรือศักยภาพจากคณะฯ
52
ตอนที่ 4 ความไม่พึงพอใจ/ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ตอนที่ 4 ความไม่พึงพอใจ/ข้อเสนอแนะอื่นๆ
53
กิตติกรรมประกาศ การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ส่วนสำคัญช่วยให้งานวิจัย สำเร็จลงได้คือได้รับคำแนะนำจาก รศ.ดร.เอื้อมพร ทองกระจาย คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผศ.ดร. เสาวมาศ เถื่อนนาดี รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และ ประกันคุณภาพ และนางสุภาวดี ประดับวงศ์ เลขานุการคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้สละเวลามาเป็นที่ ปรึกษางานวิจัย ช่วยให้ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบ และ แก้ไขรายงานการวิจัย ทำให้การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ประสบความสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม คณะผู้วิจัยขอกราบ ขอบพระคุณท่านอาจารย์ไว้ ณ โอกาสนี้
54
บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนา มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากรคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่บุคลากรของคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ ปฏิบัติงานในทุกหน่วยงาน ในรอบปีงบประมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อคำนวณค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
55
บทคัดย่อ(ต่อ) ผลการวิจัย ความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากรสายผู้สอน 1) ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบมากที่สุด คือความ มีอิสระในการทำงานและอิสระในการตัดสินใจ คิด เป็นร้อยละ ) ด้านสภาพแวดล้อมในการ ทำงานและวัฒนธรรมองค์กรมากที่สุด คือ สถานที่ทำงานมีความสะดวกสบายในการ ปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ ) ด้านผู้นำมาก ที่สุดคือ ผู้นำได้ให้ความสำคัญต่อคณาจารย์โดยมี การยกย่องชมเชยและให้กำลังใจในโอกาสต่างๆ คิดเป็นร้อยละ ) ด้านการประเมินผลการ ปฏิบัติงานมากที่สุดเท่ากันคือ ได้รับการ ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อขึ้นค่าตอบแทนมี ความเหมาะสมและเป็นธรรมและได้รับข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานโดย ปราศจากอคติ คิดเป็นร้อยละ )
56
สวัสดี ขอขอบพระคุณมากครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.