ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสมบัติ สมิธ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
แนวทางการพัฒนาระบบราชการ ของกรมอนามัย และหน่วยงานในสังกัด
ประชุมกรมอนามัย วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
2
แนวทางการพัฒนาระบบราชการกรมอนามัย
สาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกรมอนามัย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป ดังนี้ ให้มีการพัฒนาระบบราชการของกรมอนามัยอย่างจริงจัง โดยใช้หลักเกณฑ์/ข้อกำหนดตามมาตรฐานของ PMQA เป็นเครื่องมือ ระบบงานตามหมวดต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาแล้ว ให้หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่หลักในเรื่องนั้น ๆ เป็นเจ้าภาพหลักในการกำกับดูแล ให้มีการดำเนินการต่อไป ได้แก่ การนำองค์กร และการสื่อสาร กพร. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ กองแผนงาน การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สลก. การวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้ กองแผนงาน การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ การจัดการกระบวนการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองคลัง
3
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การนำองค์การ
1) การนำองค์กรต้องเริ่มก่อน โดยผู้บริหารมีส่วนร่วม กองแผนงานจัดประชุมผู้บริหาร ประกาศปฏิญญาอุบลบุรี นำ “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์” 2) ปรับปรุงระบบการสื่อสารภายใน ให้คนกรมอนามัยเข้าใจว่างานที่แต่ละคนทำนั้นตอบสนองการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของกรม หรือสนับสนุนกรมอนามัยอย่างไร 3) ให้มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานว่ามีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมและหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ อย่างไร 4) ให้มีระบบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากกรมถึงหน่วยงาน และจากหน่วยงานถึงบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
4
การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ 1) ให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โดยหัวหน้าหน่วยงาน มีส่วนร่วม และถ่ายทอดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย โดยคำรับรองฯ ให้เสร็จก่อนขึ้นปี และนำประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมทั้งหมดมากำหนดเป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานให้ครอบคลุมเนื้องานของกรม 2) แผนยุทธศาสตร์ควรประกอบด้วยแผนงาน แผนเงิน แผนพัฒนาบุคลากร และแผนพัฒนาองค์กร กองแผนงานได้จัดประชุมผู้บริหาร กลุ่มยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน เพื่อวางแผนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กรมอนามัย 3) ให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางและระบบ DOC เพื่อกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
5
การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1) ให้ทุกหน่วยงานพิจารณางานบริการที่เป็น Core Process ของหน่วยงาน รวมถึงงานบริการที่ตอบสนองลูกค้าภายในกรมด้วย ทำมาตรฐานการให้บริการ (SOP) และประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ งานบริการที่มีอยู่แล้ว ให้ทบทวนและปรับปรุง 2) ให้มีการรวบรวมมาตรฐานงานบริการที่ตอบสนองต่อลูกค้าภายนอกและภายในอย่างเป็นระบบและเผยแพร่ 3) ให้พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของศูนย์อนามัย ให้ได้มาตรฐาน HA ขั้นที่ 2 ภายในปี 2556 โดยมีเป้าหมายที่ ศอ และ 12 4) ให้ สลก. วิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาพรวมของกรม เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการนำองค์กรด้วย
6
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด
การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 1) ให้ทุกหน่วยงานวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลตามยุทธศาสต์หรือพันธกิจของหน่วยงาน รวมถึงแนวโน้มในอนาคต และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานในปีต่อไป ให้ทำอย่างน้อยหน่วย ละ 1 เรื่อง 2) ให้จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางงานเฝ้าระวังด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 3) มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูลกลาง และระบบ DOC ให้รับรู้และใช้ประโยชน์ 4) ในฐานข้อมูลกลางควรมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทราบผู้ที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ เช่น เรื่องส้วมมีใครเก่งหรือศูนย์ฯไหนมีงานเด่นเรื่องอะไร
7
ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 1) การพัฒนาบุคลากร ควรเน้นให้เกาะกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง พัฒนาต่อยอด โครงการที่เคยทำมาแล้วและมีผลดีควรทบทวนเพื่อดำเนินการอีก เช่น นสส. และ นสก. ซึ่งมีความหลากหลายของวิชาชีพในแต่ละรุ่น 2) บุคลากรด้าน back office เป็นกลุ่มสำคัญที่ควรพัฒนาศักยภาพด้วย โดยเฉพาะบุคลากรที่ศูนย์อนามัย 3) การศึกษา ดูงานต่างประเทศ เพื่อให้ก้าวล่วงหน้า 1-2 ก้าวเป็นเรื่องสำคัญ กรมควรสนับสนุนทุนการศึกษา / ดูงานต่างประเทศ 4) การพัฒนาบุคลากร ไม่ควรมองแค่ให้มีความก้าวหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรพัฒนาเพื่อให้บุคลากรสามารถตอบสนองต่อภารกิจของกรมได้ด้วย
8
การจัดการกระบวนการ ข้อเสนอสำคัญที่ควรดำเนินการในหมวด
1) ควรมีการทบทวนคู่มือปฏิบัติงาน (SOP) ของ กรมอนามัยและปรับปรุงให้ทันสมัยครบถ้วน ตามภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งให้ มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานกระบวนการ สนับสนุนที่สำคัญเพิ่มเติมด้วย 2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบ ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการ ได้ตาม SOP ที่กรมกำหนด
9
แนวทางการดำเนินการระดับหน่วยงาน
ให้ทุกหน่วยงานมีการพัฒนาองค์กร โดยมีอิสระที่จะเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการ กพร. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กพร.จะสอบถามสถานการณ์การพัฒนาองค์การของหน่วยงาน และความต้องการสนับสนุน เพื่อจัดทำแผนสนองความต้องการในปีต่อไป กพร.จัดกิจกรรมเพื่อให้มีการสนับสนุน สร้างความเข้มแข็งให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น การเยี่ยมชม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.