งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ
ศิลปะการพูดและการนำเสนอ อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ

2 การบรรยายสรุป การบรรยายสรุป (Brief )เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร ในลักษณะที่เป็นการชี้แจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความยาวหรือละเอียดมากและมีความสลับซับซ้อน ให้สั้นลงและกระชับขึ้น แต่ยังคงครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ

3 การบรรยายสรุป วิรัช ลภิรัตนกุล การบรรยายสรุปเป็นการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้รับสาร ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นนั้นหมายความว่า ก่อนที่จะมีกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป นั่นเอง

4 การบรรยายสรุป เช่น ในการเยี่ยมชมโรงงานแห่งหนึ่งของคณะสื่อมวลชน ก็จะมีการบรรยายสรุปให้แก่คณะสื่อมวลชนผู้เข้าเยี่ยมชม ก่อนที่จะนำชมโรงงาน เป็นต้น

5 การบรรยายสรุป สั้นและกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและ
ลักษณา สตะเวทิน .....การบรรยายสรุป คือ กระบวนการในการตระเตรียมเรื่องราวที่ยืดยาวและมีความสลับซับซ้อน โดยการจัดเรียบเรียงข้อเท็จจริงให้ดีที่สุด สั้นและกระชับ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและ ให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสาร

6 การบรรยายสรุป ประเภทของการบรรยายสรุป 5 ประเภท คือ
ประเภทของการบรรยายสรุป 5 ประเภท คือ การบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร (Information Brief) คือ การบรรยายสรุปที่มีความมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อเท็จจริง ให้แก่ผู้อ่านและผู้ฟังเพื่อให้ผู้รับสารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือข้อมูลข่าวสารจากผู้บรรยายสรุป การบรรยายสรุปประเภทนี้จึงไม่ต้องการการตัดสินใจใด ๆ แต่จะเป็นการแถลงและรายงานให้ทราบเท่านั้น

7 การบรรยายสรุป 2. การบรรยายสรุปเพื่อการตัดสินใจ (Decision Brief) เป็นการบรรยายสรุป เพื่อหามติหรือข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งจากการตัดสินใจหลังจบการบรรยายสรุป การบรรยายสรุปประเภทนี้ จึงต้องเริ่มจากการบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในแบบแรก ขึ้นมาก่อน ผู้รับสารจึงจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้การบรรยายสรุปที่ค่อนข้างจะละเอียดถี่ถ้วน

8 การบรรยายสรุป การบรรยายสรุปแบบนี้จะมีลักษณะของการแสวงหาคำตอบจากปัญหาที่ยกขึ้นมา เพื่อหาข้อตกลงใจ หรือหาหนทางปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นในการบรรยายสรุปประเภทนี้ ในเบื้องแรกจึงต้องชี้แจงให้ผู้รับสารทราบอย่างชัดเจนก่อนว่าต้องการค้นหาข้อตกลงใจหลังจากการบรรยายสรุปจบลง เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสารที่บรรยายสรุปได้ใช้ ความรอบคอบระมัดระวังในการพิจารณาสารจากการบรรยายสรุป จะได้นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นได้อย่างถูกต้อง

9 การบรรยายสรุป 3. การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (Staff Brief) เป็นการบรรยายสรุปที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการทหาร คือ จะเป็นการบรรยายสรุปเพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การบรรยายสรุปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับ information brief และยังคล้ายคลึงกับ dicision brief เพื่อจะนำไปเสนอผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ

10 และเพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา เป็นส่วนรวม
การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้ในหน่วยงาน องค์กร และสถาบันเกือบทุกระดับ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบข่าวสารและสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกัน ผลที่ต้องการจากการบรรยายสรุปแบบนี้ คือ การประสานงาน และเพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา เป็นส่วนรวม

11 การบรรยายสรุป 4. การบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย (Mission Brief)
เป็นการบรรยายสรุปที่เกิดขึ้น เพื่อผสมผสานความมุ่งหมายต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น การบรรยายสรุปงานก่อนเริ่มดำเนินการ การบรรยายสรุปเพื่อปฏิบัติภารกิจในระดับต่าง ๆ การบรรยายสรุป แบบนี้มักจะเป็นการบรรยายสรุปสุดท้าย ก่อนการลงมือปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งนั้น มีความเข้าใจตรงกันแล้ว การ บรรยายสรุปแบบนี้ใกล้เคียงกับ Information Brief

12 การบรรยายสรุป 5. การบรรยายสรุปในการประชุม (Meeting Brief) การบรรยายสรุปในการประชุม หรือ Meeting Brief ก็คือ การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (staff brief) และการบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย (mission brief)

13 การบรรยายสรุป ประโยชน์ของการบรรยายสรุป การบรรยายสรุป เป็นการทำเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องง่ายในเวลาที่จำกัด ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลามาอ่านเอกสารที่มีความหนามาก ซึ่งท่านจะต้องนำไปพิจารณาต่อ จึงเป็นการประหยัดเวลา และเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน องค์กร และสถาบัน

14 การบรรยายสรุป การบรรยายสรุปยังมีประโยชน์ในการแจ้งข่าวสาร การหาข้อตกลงใจการพิจารณาตรวจสอบแผนและสถานการณ์ การให้ข้อมูลผู้มาเยี่ยมชมหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน การให้ข้อมูลผู้บังคับบัญชา การให้ข้อมูลประธานในที่ประชุม การบรรยายสรุปเพื่อของบประมาณเพิ่มเติม การบรรยายสรุปเพื่อโยงไปสู่การเจรจาต่อรองและโยงไปสู่การขอความเห็นชอบ

15 การบรรยายสรุป การเขียนบรรยายสรุปที่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์ อาจจะนำไปใช้ในการจัดทำเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ กับประชาชน หรือกับหน่วยงานอื่น ๆ ปัจจุบันการประชาสัมพันธ์โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก ในการให้ความรู้โดยสังเขปแก่กลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา คณะที่มาตรวจงาน และคณะบุคคลที่มาเยี่ยมชมกิจการ เป็นต้น

16 การบรรยายสรุป วิธีการเขียนบรรยายสรุป
การบรรยายสรุปมีอยู่ 2 ชนิด คือ การบรรยายสรุปด้วยการเขียน และการบรรยายสรุปด้วยวาจา 1.การบรรยายสรุปด้วยการเขียนมักจะมาก่อนการบรรยายสรุปด้วยวาจา กล่าวคือ การบรรยายสรุปด้วยการเขียน คือ ร่างสำหรับการบรรยายสรุปด้วยวาจา หากการบรรยายสรุปด้วยการเขียนในครั้งนั้นไม่ได้นำไปใช้พูด แต่มุ่งให้ผู้รับสารอ่านเองจะต้องใช้การเรียบเรียงเป็นภาษาเขียนที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เนื้อหาต้องไม่ซ้ำและวกวน ซึ่งจะต่างจากการบรรยายสรุปด้วยวาจาที่ผู้พูดสามารถจะใช้ภาษาพูดที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว และอาจพูดซ้ำไปซ้ำมาได้บ้าง

17 การบรรยายสรุป 2.การบรรยายสรุปด้วยวาจาหรือการพูดจะใช้สำหรับบรรยายโดยผู้พูดคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ทั้งนี้ โดยทั่วไปมักจะใช้บรรยายลักษณะงานของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ ให้กลุ่มบุคคลฟัง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลที่มาเยือน กลุ่มบุคคลที่มาดูงาน ผู้บังคับบัญชาระดับสูง คณะบุคคลสำคัญ คณะติดตามผลงาน การบรรยายสรุปด้วยการพูดอาจมีผู้พูดเพียงบุคคลเดียว หรือพูดเป็นคณะก็ได้

18 การบรรยายสรุป สิ่งสำคัญในการบรรยายสรุปด้วยการพูด คือ ต้องพูดให้กระจ่าง ชัดเจน สรุปประเด็นที่เป็นสาระสำคัญให้ชัดเจน และพูดให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาสั้น ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่จะต้องพูดบรรยายสรุป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนร่างข้อความดังกล่าวไว้ล่วงหน้า เพื่อนำข้อความนั้นมาศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ก่อน แล้วจึงสามารถนำไปบรรยายสรุปได้อย่างคล่องแคล่ว น่าฟัง ไม่เยิ่นเย้อ ไม่ออกนอกเรื่อง

19 การบรรยายสรุป วิธี"การเขียนบรรยายสรุป"
1. วิธีการเขียนบรรยายสรุปโดยทั่วไป ก่อนนำไปพูดบรรยายสรุป   ผู้พูดควรเตรียมร่างคำบรรยายสรุปไว้ ด้วยวิธีการดังนี้ 1.1 เขียนเกี่ยวกับความเป็นมาของเรื่องที่จะบรรยายอย่างสั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

20 การบรรยายสรุป        1.2 เขียนถึงการดำเนินการครั้งสำคัญ ๆ การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง การพัฒนา หรือการตัดสินใจ การตกลงใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรบ้าง         1.3 เขียนข้อเสนอแนะความคิดเห็นจากข้อเท็จจริงหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อพัฒนาไปสู่อนาคต

21

22 การนำเสนอ การนำเสนอ (Presentation) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในแวดวงการศึกษา แวดวงวิชาชีพ การทำงานทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความสำคัญกับทักษะการนำเสนอของบุคลากร มีงานศึกษาพบว่าผู้จ้างงานส่วนใหญ่เห็นว่าทักษะการนำเสนอมีส่วนสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในการทำงานมากกว่าทักษะทางวิชาชีพ

23 การนำเสนอ จากการศึกษาของ  Michigan State University ศึกษาความคิดเห็นผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล 479 คนจากบริษัทใหญ่ๆ  หน่วยงานของรัฐ  และองค์กรไม่แสวงหากำไร   พบว่าในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ทักษะการนำเสนอเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าทำงาน

24 การนำเสนอ ในชีวิตการทำงาน การนำเสนอเป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การนำเสนอเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิดไปยังกลุ่มผู้ฟัง ที่อาจจะเป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดเล็กที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่ที่ไม่มีความคุ้นเคยกัน เช่น กลุ่มบุคคลทั่วไป

25 การนำเสนอ ข้อดีของการนำเสนอ 1.เป็นการสื่อสารสองทาง
ระหว่างผู้นำเสนอกับผู้ฟังทำให้ผู้นำเสนอสามารถเห็นปฏิกิริยาของผู้มีอำนาจตัดสินใจได้อย่างทันทีทันใด

26 การนำเสนอ 2.สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างผลกระทบต่อผู้ฟัง รวมทั้งสร้างความจดจำได้ดีกว่าการนำเสนอด้วยการเขียน 3.สามารถปรับเนื้อหาหรือเรื่องราวที่กำลังพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟังได้อย่างทันท่วงที เช่น เมื่อเห็นว่าผู้ฟังแสดงท่าทางไม่เข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอ ผู้นำเสนอก็สามารถปรับปรุงวิธีการนำเสนอเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

27 การนำเสนอ การนำเสนอจะประสบความสำเร็จได้หากมีการเตรียมการที่ดี  “การเตรียมการเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการนำเสนองาน” เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วย 3 ต.  คือ เตรียมกายและใจ  เตรียมเนื้อหา และเตรียมสื่อ

28 การนำเสนอ 1.เตรียมกายและใจ
1.เตรียมกายและใจ  ผู้นำเสนอจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจก่อนที่จะนำเสนองาน       1.1เสียง (Voice) เสียงของผู้นำเสนอเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการนำเสนองาน ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง ความดังของเสียง และการออกเสียงโดยธรรมชาติแล้วเวลาพูดเสียงของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงเหมือนเส้นกราฟที่มีขึ้นสูงและลงต่ำ ผู้นำเสนอควรฝึกการใช้เสียงให้มีการใช้ระดับเสียงสูงต่ำอย่างเป็นธรรมชาติเพื่อให้น่าสนใจ และเสียงไม่ราบเรียบเกินไป

29 การนำเสนอ -ความดังของเสียง ระดับความดังเสียงของผู้นำเสนอ  ควรให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่ ถ้าเป็นการนำเสนอในห้องประชุมขนาดเล็ก ควรใช้ความดังของเสียงระดับปกติ แต่ถ้าเป็นการนำเสนอในห้องประชุมขนาดใหญ่ ควรใช้เสียงที่ดังขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังในห้องทุกคนได้ยินเสียงของผู้นำเสนอชัดเจน ทั้งนี้ เสียงที่ดังจะฟังดูมีอำนาจและกระตุ้นความสนใจได้ดี

30 การนำเสนอ -การออกเสียง เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการนำเสนองาน ถ้าผู้นำเสนอพูดออกเสียงไม่ชัด ผู้ฟังก็จะไม่สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้อง นอกจากนั้นความเร็วในการพูดก็มีความสัมพันธ์กับการออกเสียง ถ้าพูดเร็วเกินไปคำที่พูดต่างๆที่พูดออกมา จะฟังไม่รู้เรื่อง  ควรมีการหยุดเว้นช่วงในการนำเสนอ โดยเฉพาะหัวข้อสำคัญ  อาจจะเป็นการหยุดเพื่อจะเริ่มหัวข้อใหม่ หรือหยุดเว้นช่วงเพื่อเปลี่ยนอารมณ์จากอารมณ์หนึ่งเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง

31 การนำเสนอ 1.2ภาษากาย (Body Language)
ภาษากายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความประทับใจแรกพบ (First Impression)ให้เกิดขึ้นใน การนำเสนองาน ก่อนที่ผู้นำเสนอจะเริ่มพูด ควรที่จะประสานสายตา      (Eye Contact) กับผู้ฟังเพื่อแสดงความเป็นมิตรและความเข้าใจ   

32 การนำเสนอ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดผนวกกับมีความคล่องตัว
ผู้นำเสนอที่ดีต้องมีการประสานสายตากับผู้ฟังอย่างสม่ำเสมอ การวางท่า หรือการปรากฏกายของผู้นำเสนอในขณะที่นำเสนองานต่อผู้ฟังที่เหมาะสม คือควรวางท่าอย่างสบายๆ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดผนวกกับมีความคล่องตัว พร้อมจะสื่อสารกับผู้ฟัง ควรใช้ท่าทางให้เป็นธรรมชาติ แสดงถึงความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และมั่นใจ

33 การนำเสนอ เทคนิคในการใช้ภาษากายเพื่อสร้างความประทับใจ
-เมื่อนำเสนองาน ควรลุกขึ้นยืนอย่างสง่างาม -เดินไปที่เวทีด้วยท่าทางกระตือรือร้น -ก่อนจะเริ่มพูดควรยิ้มอย่างอบอุ่นกับผู้ฟัง -ควรสบสายตากับผู้ฟังก่อนจะพูด

34 การนำเสนอ -ภาษากายควรสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ ในคำพูดของผู้นำเสนอ
-วิธีการพูดและภาษากายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง -ภาษากายควรสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจ ในคำพูดของผู้นำเสนอ

35 การนำเสนอ หาจุดเด่น จุดด้อยในการใช้เสียง บันทึกภาพและเสียง
-วิธีการสื่อสารที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกฝนบ่อยๆ ฝึกการอ่านออกเสียงดังๆ เพื่อฟังเสียงของตัวเอง หาจุดเด่น จุดด้อยในการใช้เสียง  บันทึกภาพและเสียง การนำเสนองานของตนเองเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในการสื่อสาร

36 การนำเสนอ 1.3เตรียมใจ  การได้รับมอบหมายให้นำเสนองาน  บ่อยครั้งสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ได้รับมอบหมายว่าจะพูดได้ไหม  จะพูดรู้เรื่องหรือเปล่า จะมีคนสนใจฟังไหม จะมีคนถามคำถามหรือเปล่า สารพัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นและความมั่นใจในการนำเสนองานเพิ่มมากขึ้น  การเตรียมใจด้วยการคิดบวก( Positive Thinking) จึงเป็นสิ่งสำคัญ

37 การนำเสนอ Elizabeth Tierney กล่าวว่าการคิดบวกเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการขจัดความเครียดและความวิตกกังวลในการนำเสนอ ผู้นำเสนอควรคิดเสมอว่าการนำเสนองาน คือการนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาแบ่งปันให้กับผู้ฟัง เช่น ทำให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกชีวิตดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ฟัง  เป็นต้น

38 การนำเสนอ 2. เตรียมเนื้อหา เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนองาน
   เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนองาน ถ้าไม่มีเนื้อหาการนำเสนองานก็เกิดขึ้นไม่ได้ การเตรียมเนื้อหา คือการกำหนดว่าเนื้อหาที่นำเสนอมีประเด็นใดบ้าง ควรมีการจัดลำดับเนื้อหาอย่างไร 

39 การนำเสนอ เนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนอ ผู้นำเสนอจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นอย่างดี เรียกว่า รู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่พูด   เมื่อเรารู้และเข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ จะทำให้เราสามารถถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น

40 การนำเสนอ ก่อนที่จะเตรียมเนื้อหา ผู้นำเสนอควรกำหนดจุดมุ่งหมายในการนำเสนอและศึกษาข้อมูลผู้ฟัง เพื่อกำหนดทิศทางการนำเสนอ การกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นการตอบคำถามที่ว่า “ทำไมถึงต้องนำเสนองาน” ผู้นำเสนอคาดหวังว่า จะเกิดผลอะไรจากการนำเสนอ เช่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อจูงใจ เพื่อขายหรือเพื่อสอน เป็นต้น

41 การนำเสนอ ในการนำเสนองานผู้นำเสนอทุกคนควรจะกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ ซึ่งการวัดความสำเร็จของการนำเสนองานสามารถพิจารณา ได้จากผลของการนำเสนอนั้นว่าตอบสนอง ต่อวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

42 การนำเสนอ 2.1การศึกษาผู้ฟัง
2.1การศึกษาผู้ฟัง  ในการนำเสนองาน ผู้นำเสนอควรที่จะทราบล่วงหน้าว่าใครจะเข้าร่วมฟังบ้าง หากรู้จักกลุ่มผู้ฟังดีเท่าไรก็จะสามารถนำเสนองานให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

43 ผู้ฟังจะมีความหลากหลายทั้งทางด้านภูมิหลัง ลักษณะทางจิตวิทยา ที่สำคัญควรวิเคราะห์ความต้องการของผู้ฟัง (Audiences ’ need)  ว่าผู้ฟังจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างและผู้ฟังต้องการรู้อะไรบ้าง จากการนำเสนอ

44 การนำเสนอ การเตรียมเนื้อหา ผู้นำเสนอควรเขียนโครงร่างเนื้อหาโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ตามโครงสร้างเนื้อหาได้แก่ การเปิด (Opening)  เนื้อหาหลัก (Body) และ การปิด (Closing)

45 การนำเสนอ 2.2การเปิด (Opening) คือ การดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังและทำให้ผู้ฟังสนใจติดตามเนื้อหา   การเปิดที่ดีจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้นำเสนอ การกล่าวเปิดที่ดีนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ -สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง

46 การนำเสนอ -กล่าวถึงประเด็นสำคัญเป็นหลักแต่สามารถเสนอภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด -ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับ จากการนำเสนอ -ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและมั่นใจผู้นำเสนอ

47 การนำเสนอ เนื้อหาหลัก (Body )ในช่วงกลางของการนำเสนอเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการนำเสนอรายละเอียด  แต่ผู้พูดควรระมัดระวังไม่ให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย

48 การนำเสนอ จากผลการศึกษามีประเด็นที่น่าสนใจ 4 ประเด็นคือ
จากผลการศึกษามีประเด็นที่น่าสนใจ 4  ประเด็นคือ 1.การนำเสนองานในระยะเวลาสั้นๆ จะเป็นช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอยู่ในระดับที่สูง 2.การนำเสนอประเด็นสำคัญเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการจดจำควรนำเสนอในช่วงเริ่มต้น และช่วงสุดท้าย ประเด็นที่สาม หลังจาก 10 นาทีแรกระดับความสนใจของผู้ฟังจะลดลง ควรจะใช้สื่อหรือเทคนิคต่างๆ ช่วยในการดึงความสนใจผู้ฟังกลับมา และประเด็นสุดท้ายระดับความสนใจของผู้ฟังจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วงท้ายของการนำเสนอ หากผู้ฟังไม่ทราบว่ากำลังจะถึงช่วงท้ายของการนำเสนอ

49 การนำเสนอ การปิด  (Closing)  การปิดมีความสำคัญเท่ากับการเปิด ซึ่งถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่ผู้นำเสนอจะสามารถสร้างความจดจำและความประทับใจให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง ผู้นำเสนอจำเป็นต้องวางแผนการพูด ควรกล่าวย้ำและทบทวนถึงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอและสรุปประเด็นที่สำคัญ รวมทั้งแนวคิดหลักๆ ซึ่งเชื่อมโยงเนื้อหาทุกส่วนเข้าด้วยกัน

50 การนำเสนอ นอกจากจะเตรียมเนื้อหาแล้ว ผู้นำเสนองานควรเตรียมตัวสำหรับการตอบคำถาม โดยคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับคำถามที่ผู้ฟังจะถาม และเตรียมคำตอบให้พร้อมกับทุกคำถาม ซึ่งการคาดการณ์ล่วงหน้าเกิดขึ้นได้จากการศึกษาผู้ฟัง และจากประสบการณ์ของผู้นำเสนอ

51 การนำเสนอ การคิดบวกต่อการถามคำถามจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการตอบคำถาม ผู้นำเสนอไม่ควรมองว่าการถามคำถามของผู้ฟังเป็นการจับผิดไม่ไว้ใจหรือ มีอคติกับผู้นำเสนอ พยายามมองคุณค่าของการถามคำถามว่า การตอบคำถามเป็นโอกาสที่ได้อธิบายหรือตอกย้ำประเด็นสำคัญ และที่สำคัญการตอบคำถามเป็นวิธีการที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวผู้นำเสนอ เพราะเป็นการแสดงว่าผู้นำเสนอมีความรอบรู้ในเรื่องที่นำเสนอ

52 การนำเสนอ 3.เตรียมสื่อ  การนำเสนองานโดยการพูดหรือบรรยายให้ผู้ฟังฟังแต่เพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจจะไม่สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็นเพราะความยากของเนื้อหาที่นำเสนอหรือ ความสามารถในการอธิบายของผู้นำเสนอไม่ดีพอ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ด้วยการใช้สื่อประกอบในการนำเสนอ

53 การนำเสนอ สื่อที่ใช้ประกอบในการนำเสนอ เช่น -ภาพถ่าย -แผนภูมิ -แผนภาพ
สื่อที่ใช้ประกอบในการนำเสนอ เช่น  -ภาพถ่าย  -แผนภูมิ -แผนภาพ -คลิปภาพ -คลิปเสียง                     

54 การนำเสนอ คุณสมบัติของผู้นำเสนอ
ในการนำเสนอด้วยวาจา  คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ  ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ  เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  เชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก  เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ

55 การนำเสนอ ผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่  จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.มีบุคลิกดี 2.มีความรู้อย่างถ่องแท้ 3. มีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจ 4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

56 การนำเสนอ 5.มีภาพลักษณ์ที่ดี 6.มีน้ำเสียงชัดเจน 7.มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ
8.มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 9.มีความช่างสังเกต 10.มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

57 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google