ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิกฤติการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน
- วิกฤติการณ์ป่าไม้ - วิกฤติการณ์ทะเลไทย - วิกฤติการณ์ดิน - วิกฤติการณ์น้ำ - วิกฤติการณ์แร่ธาตุ - วิกฤติการณ์พลังงาน - วิกฤติการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2
วิกฤติการณ์ป่าไม้
3
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือน และใช้เป็นถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
4
ป่าไม้ยึดไม้เถื่อน-กลางป่าแม่เมาะ-มีนายทุนหนุนหลัง เชียงใหม่นิวส์ วันที่ 14 พฤษภาคม
5
2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เดลินิวส์ วันที่ 11 มีนาคม 2552
6
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร นักธุรกิจเกษตรเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ๆ
7
4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลายๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ก.ทรัพยากรฯ เตรียมจำแนกที่ดินป่าอนุรักษ์ให้เสร็จภายใน 2 ปี ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25 มี.ค.-รัฐมนตรีทรัพยากรฯ เตรียมจำแนกแนวเขตป่าอนุรักษ์ พิสูจน์พื้นที่ให้เสร็จภายใน 2 ปี เผยคาดอาจมีมีหมู่บ้านรุกป่าต้นน้ำ 2,000 แห่ง
8
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง - ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติด้านทิศเหนือเกือบทั้งหมด เป็น ทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนรัชชประภา ซึ่งสร้าง ปิดกั้นคลองพะแสง มีขนาดใหญ่ประมาณ 168 ตาราง กิโลเมตร ก่อให้เกิดเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 162 เกาะ พื้นที่ประมาณ ตารางกิโลเมตร
9
6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
10
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล เป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุด สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะมีค่าโดยเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตยารักษาโรคและสารเคมีตามธรรมชาติ ช่วยรักษาความสมดุล ของสภาพแวดล้อมอื่นๆ เป็นแหล่งปัจจัยในการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้ มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้นานัปการ ในปัจจุบัน ป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติได้ถูกทำลายลงไปมาก ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ภูมิอากาศ เกิดภาวะฝนแล้ง และน้ำท่วม หน้าดินถูกน้ำเซาะพังทลายไปทำให้ผืนดินขาดความ อุดมสมบูรณ์ ประกอบการเกษตรกรรมไม่ได้ผล ขณะนี้จากการสำรวจปริมาณป่าไม้จากแผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม พบว่าเนื้อที่ของประเทศที่เป็นป่าไม้มีเหลืออยู่เพียงร้อยละ 25.2 ของเนื้อที่ประทศไทยทั้งหมด 513,115 ตารางกิโลเมตร คงเป็นเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่เพียง 128,300 ตารางกิโลเมตร ผืนแผ่นดินไทยที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีต เคยมีสินค้าออกที่ทำรายได้สูงสุดของไทยได้แก่ ข้าว ไม้สัก ยางพารา แต่ในปัจจุบันสินค้าที่นำรายได้สูงสุด ได้แก่ การท่องเที่ยว ถึงเวลาแล้วที่คนไทยควรสำนึก และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์ดังเช่นในอดีต
11
ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์
- สาเหตุของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม - ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
12
ปัญหาของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยบนโลกใบนี้ มนุษย์คือผู้ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียสมดุลมากที่สุด เช่น ตัดต้นไม้ทำลายป่าทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์ป่าจึงไม่มีที่อาศัยและขาดอาหาร อากาศเป็นพิษ ดินเสียและเสื่อมสภาพ รวมถึงปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลเพิ่มขึ้น
13
สาเหตุของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. น้ำเสีย เกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารเคมีต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไป ทั้งสี กลิ่น และปริมาณก๊าชออกซิเจนที่ละลายในน้ำ น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม มักพบว่ามีลักษณะดังนี้ มีผงซักฟอกเจือปนอยู่ มีอุณหภูมิสูง มีสารเคมีต่างๆ เจือปนอยู่ เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม โลหะหนักที่พบอยู่ในน้ำทิ้งเป็นพวกโลหะปรอท ตะกั่ว ทองแดงโครเมียม มังกานีส สังกะสี เป็นส่วนมาก ปรอทและแคดเมียม เป็นโลหะหนัก ที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรง มาแล้วกับประชาชน พบในแม่น้ำลำคลอง และทะเล
14
2. อากาศเสีย หมายถึง อากาศที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ฝุ่นละออง เขม่าและควัน ก๊าซพิษต่างๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีจำนวนมากจะทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูงขึ้น เรียกว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนโลก เช่น น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่
15
3. ดินเสีย หรือ มลพิษดิน หมายถึงดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจนการเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม การเผาตอซังข้าวมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพยากรดิน
16
สาเหตุการเกิดมลพิษดิน
1. ดินเสียโดยธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ หรือดินอินทรีย์ ดินที่มีสารกัมมันตรังสี และดินที่เจือปนด้วยโลหะหนัก เป็นต้น 2. ดินเสียเพราะการกระทำของมนุษย์ ดังเช่น 2.1 การใช้ปุ๋ยเคมีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแตสเซียม (K) เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูง 2.2 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) ทำให้ดินเป็นแหล่งสะสมสารเคมีที่มีผลตกค้างนาน เช่น สารประเภทคลอรีนอินทรีย์ (organochlorine) เป็นต้น และสารประเภทอนินทรีย์ที่ใช้ธาตุพิษเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น สารหนู ทองแดง ปรอท ฯลฯ 2.3 การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นน้ำเสียที่เกิดจากการชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ 2.4 การใช้ดินเป็นแหล่งทิ้งวัสดุเหลือใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทิ้งวัสดุเหลือใช้อันตรายซึ่งยากต่อการย่อยสลาย จะเกิดการสะสมในดินจนทำให้เกิดภาวะมลพิษดิน 2.5 การรั่วไหลสารกัมมันตรังสี จากการทดลองหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณู สารกัมมันตรังสีจะถูกดูดซึมไปอยู่ในใบและดอกของพืช แล้วผ่านทางห่วงโซ่อาหารมาจนกระทั่งถึงตัวมนุษย์ 2.6 การทำเหมืองแร่แทบทุกชนิดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ดินหรือทรัพยากรน้ำที่จะต้องเกิดการปนเปื้อนและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศด้วย 4. ปัญหาขยะ การเก็บและการกำจัดขยะ ที่ไม่ดีก่อให้เกิด กลิ่นเหม็นจากการเน่าเปื่อยและเเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การแก้ไขที่ได้ผลคือต้องลดปริมาณขยะและของเสียจากชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม อีกอย่างหนึ่งก็คือการนำขยะบางอย่างกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น แก้ว โลหะ และพลาสติก โดยนำกลับมาหลอมเพื่อทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใหม่ 4. ปัญหาขยะ การเก็บและการกำจัดขยะ ที่ไม่ดีก่อให้เกิด กลิ่นเหม็นจากการเน่าเปื่อยและเเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การแก้ไขที่ได้ผลคือต้องลดปริมาณขยะและของเสียจากชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม อีกอย่างหนึ่งก็คือการนำขยะบางอย่างกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น แก้ว โลหะ และพลาสติก โดยนำกลับมาหลอมเพื่อทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใหม่ คณะเจ้าหน้าที่จากญี่ปุ่น ดูงานการจัดการขยะที่พิษณุโลก เจ้าหน้าที่กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาดูงานการจัดการขยะ และสนใจความร่วมมือและสนับสนุนโครงการ Eco-town ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเวลา น.วันที่ 4 ก.พ.53
17
สาเหตุการเกิดมลพิษดิน
1. ดินเสียโดยธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินพรุ หรือดินอินทรีย์ ดินที่มีสารกัมมันตรังสี และดินที่เจือปนด้วยโลหะหนัก เป็นต้น 2. ดินเสียเพราะการกระทำของมนุษย์ ดังเช่น 2.1 การใช้ปุ๋ยเคมีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแตสเซียม (K) เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูง 2.2 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) ทำให้ดินเป็นแหล่งสะสมสารเคมีที่มีผลตกค้างนาน เช่น สารประเภทคลอรีนอินทรีย์ (organochlorine) เป็นต้น และสารประเภทอนินทรีย์ที่ใช้ธาตุพิษเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น สารหนู ทองแดง ปรอท ฯลฯ 2.3 การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นน้ำเสียที่เกิดจากการชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ 2.4 การใช้ดินเป็นแหล่งทิ้งวัสดุเหลือใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทิ้งวัสดุเหลือใช้อันตรายซึ่งยากต่อการย่อยสลาย จะเกิดการสะสมในดินจนทำให้เกิดภาวะมลพิษดิน 2.5 การรั่วไหลสารกัมมันตรังสี จากการทดลองหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณู สารกัมมันตรังสีจะถูกดูดซึมไปอยู่ในใบและดอกของพืช แล้วผ่านทางห่วงโซ่อาหารมาจนกระทั่งถึงตัวมนุษย์ 2.6 การทำเหมืองแร่แทบทุกชนิดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ดินหรือทรัพยากรน้ำที่จะต้องเกิดการปนเปื้อนและก่อให้เกิดมลพิษในอากาศด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.