ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยดวงกมล ติณสูลานนท์ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2554
ผศ.ดร.ยิ่งมณี ตระกูลพัว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ 1 ธันวาคม 2553
2
การปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
การปรับปรุงกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของหลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการจัดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ (Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF : HEd) โดยปรับปรุงเนื้อหากระบวนวิชาต่างๆ ให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน
3
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF : HEd) กรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ การแบ่งสายวิชา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
มีระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้ บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5
ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2553 เมื่อวันที่ 30 ตค. 2553
การดำเนินการสำหรับการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แบบ มคอ. 2 รายละเอียดของหลักสูตร (13 หลักสูตร เปิดสอนปี พ.ศ. 2554)สภามหาวิทยาลัย อนุมัติการปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2553 เมื่อวันที่ 30 ตค. 2553 แบบฟอร์มที่จัดทำทุกภาคการศึกษา แบบ มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา แบบ มคอ. 4 รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม แบบ มคอ. 5 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา แบบ มคอ. 6 รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม แบบฟอร์มที่จัดทำทุกปีการศึกษา แบบ มคอ. 7 รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร
6
มคอ. 3 แบบเสนอรายละเอียดของรายวิชา
รายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับแนว ทางการบริหารจัดการของแต่ละรายวิชาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็น ไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร ประกอบด้วย 7 หมวดต่อไปนี้ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะการดำเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
7
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มี
ความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อ สื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ และวัฒนธรรมทั้งของไทย และของนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี โดยวิชาศึกษาทั่วไปเกิดจากการผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์ในสัดส่วนที่เหมาะสม
8
โครงสร้างหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
โครงสร้างหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาศึกษาทั่วไปกำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม 1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ม.อ การฟังและการพูดภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต ม.อ การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต ม.อ การอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีประสิทธิผล 3 หน่วยกิต ม.อ ภาษาอังกฤษในบริบททางอาชีพ 3 หน่วยกิต
9
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6-9 หน่วยกิต 3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6-9 หน่วยกิต บังคับ ว.วท. 110 คณิตศาสตร์บูรณาการ 3 หน่วยกิต ว.วท. 111 โลกแห่งวิทยาศาสตร์ หน่วยกิต 3) กลุ่มวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 3 หน่วยกิต ว.วท. 191 การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม (ทำกิจกรรม ปี 1-3 ลงทะเบียนปี 3 เทอม 2) 2(0-4-2) หน่วยกิต และ วิชาเลือกอีก 1 หน่วยกิต โดยเลือก ว.วท. 192 ดอยสุเทพศึกษา 1(0-3-0) หน่วยกิต (เปิดทุกภาคการศึกษา) หรือ วิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมอื่นๆที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย
10
กระบวนวิชา 201191 การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษา 1. มีจิตสำนึกที่ดี ตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2. พัฒนาบุคลิกภาพได้ดี เข้าใจการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในสังคม 3. ประยุกต์ใช้ความรู้จากกิจกรรม เพื่อการดำรงชีพ ได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ 4. มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อตนเอง และพัฒนาจิตสาธารณะพร้อมช่วยเหลือสังคม
11
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. ด้านวิชาการ มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน การศึกษาต่อและในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2. ด้านสังคมและบุคลิกภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์และสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม รู้จักพัฒนาตนเอง รู้จักกาลเทศะ และปฏิบัติตนตามระเบียบของสังคม 3. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจ รวมทั้งมีจริยธรรมทางวิชาการที่สามารถชี้นำและช่วยเหลือสังคมได้
12
การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม
นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาในหมวดต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีจำนวนชั่วโมงกิจกรรมทั้งหมดรวม 45 ชั่วโมง ต่อ 1 หน่วยกิต โดยที่มีบรรยาย หรือ Orientation ของอาจารย์ผู้ควบคุม/ที่ปรึกษา ไม่เกินร้อยละ 20 (9 ชั่วโมง) นักศึกษาสามารถร่วมกิจกรรมในเทอมใดก็ได้ก่อนที่จะลงทะเบียนเรียน กระบวนวิชานี้ โดยมีสมุดบันทึก หรือใบรับรองการร่วมกิจกรรม ที่มีผู้จัดกิจกรรมลงรายมือชื่อรับรองไว้ และลงทะเบียนกระบวนวิชาใน ปี 3 เทอม 2
13
การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม
กิจกรรมมุ่งที่จะพัฒนาเสริมสร้างด้านต่าง ๆ 1. กิจกรรมหมวดเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม วินัย ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น 2. กิจกรรมหมวดจิตสาธารณะ ภาวะผู้นำ ศิลปะการสื่อสาร 3. กิจกรรมหมวดศิลปวัฒนธรรม 4. กิจกรรมหมวดสร้างเสริมสุขภาพกายและจิต 5. กิจกรรมหมวดเสริมทักษะความสามารถทางด้านวิชาการ 6. กิจกรรมหมวดนันทนาการ 7. กิจกรรมการเคารพสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย 8. กิจกรรมอื่นๆที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกระบวนวิชา
14
มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ในวิชา 201191
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์
15
มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ในวิชา SC191
2. ความรู้ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา 3. ทักษะทางปัญญา 3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถสืบค้น รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
16
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
17
การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม
หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนชั่วโมง - ช่วงเวลาครึ่งวัน จำนวนชั่วโมงไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง - ช่วงเวลาทั้งวันและอีกหนึ่งคืน ไม่ควรเกิน 9 ชั่วโมง (มีกิจกรรมตอนกลางคืน) - ในหนึ่งกิจกรรมที่ใช้เวลานานหลายวัน (3-5 วัน) แต่มีกิจกรรมที่ทำซ้ำๆกัน คิดรวม ไม่ควรเกิน ชั่วโมงต่อกิจกรรม 1 หน่วยกิตของกระบวนวิชาควรจะมีอย่างน้อยประมาณ 3 – 5 กิจกรรม การคิดภาระงาน นับภาระงานในส่วนของการพัฒนานักศึกษา (เป็นภาระงานตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด)
18
การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม P ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติมหาวิทยาลัย
การวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ : คะแนนประเภท การร่วมกิจกรรม คิดน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 80 คะแนนประเภท การรายงานและ/หรือร่วมอภิปราย คิดน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 20 เกณฑ์การตัดสินผล ดังนี้: เกณฑ์เป็นที่พอใจ/ไม่เป็นที่พอใจ (S/U) : S = มีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนแต่ละประเภท U = มีคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนในประเภทใดประเภทหนึ่ง ทั้งนี้กระบวนวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสามารถประเมินผลด้วย P ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติมหาวิทยาลัย
21
ขอบคุณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.