งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

2 แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา(Ideology in criminal procedure)
Crime Control Model ถ้าปล่อยให้มีการกระทำความผิด/ผู้กระทำความผิดไม่ถูกลงโทษ สังคมจะเกิดความไม่สงบสุข เพื่อระงับ ปราบปรามอาชญากรรม ต้องยอมให้ จนท รัฐ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ได้บ้าง Due Process Model กระบวนการนำตัวผู้กระผิดมาลงโทษ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายย่อมได้รับการปฏิเสธ

3 ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)
ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ สังคมไม่สงบสุข การไม่เคารพเชื่อฟังกฎหมาย การกระทำความผิด -เลียนแบบ -ทำผิดซ้ำอีก -กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ -ผู้เสียหายไม่พอใจ -การแก้แค้นด้วยตนเอง

4 ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)
ผู้กระทำผิดถูกลงโทษ สังคมสงบสุข การเคารพเชื่อฟังกฎหมาย การกระทำความผิด -ไม่กล้าทำผิด -เข็ดหลาบ -ผู้เสียหายพอใจ -กฎหมายศักดิ์สิทธิ์

5 ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)
-ให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อเท็จจริงในชั้นตำรวจกับอัยการ -ยอมรับให้เจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพได้บ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่า บุคคลนั้นเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ มีหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษหรือไม่ -เฉพาะบุคคลซึ่งมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เพียงพอที่จะถูกลงโทษเท่านั้นที่จะถูกส่งดำเนินการขั้นต่อๆไปของกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไม่เพียงพอ บุคคลนั้นก็จะถูกคัดกรองออกจากระบบ(Screening)

6 ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)
สอบสวน อัยการ ศาล ? ? ? Screening Process

7 กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model)
-การค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการ หรือฝ่ายปกครองจะเชื่อถือได้เพียงใด เพราะวิธีปฏิบัติของตำรวจ และ อัยการเป็นการดำเนินงานในที่รโหฐาน (ไม่เปิดเผย) และจะมีความแน่ใจ ได้อย่างไรว่า การค้นหาข้อเท็จจริงของพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้เกิดจาก อคติ ไม่ใช้วิธีการล่อลวง ขู่เข็ญ และสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

8 กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model)
-บุคคลไม่ควรจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรมเพียงเพราะ มีหลักฐานว่าเขากระทำความผิด บุคคลจะมีความผิดต่อเมื่อได้รับการ พิจารณาคดี หรือไต่สวนอย่างเป็นทางการและกระทำโดยองค์ที่มีความ เป็นกลาง ภายใต้การให้ความคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่แล้ว

9 กระบวนการนิติธรรม(Due Process Model)
รูปแบบกระบวนการนิติกรรมเห็นว่ากระบวนการนำตัวผู้กระทำผิดมา ลงโทษจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย เช่น - การให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนตัวของบุคคล( Privacy right ) - การไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการสืบสวนที่มิชอบ (The exclusionary rule) การแจ้งให้ผู้ถูกซักถามหรือสืบสวนทราบถึงสิทธิของตนก่อน (Miranda warning)

10 ใครเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา(หลักการดำเนินคดีอาญา)
Private Prosecution ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีอาญาได้ มาจากแนวคิดแก้แค้นทดแทน ถ้าผู้เสียหายไม่ดำเนินคดี ผู้กระทำผิดก็ไม่ถูกลงโทษ Popular Prosecution ประชาชนทุกในสังคมมีสิทธิดำเนินคดีอาญาได้ แม้ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ, การกระทำความผิดเป็นการกระทำต่อคนทุกคนในสังคม คนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง อาจทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ Public Prosecution ความสงบสุขเป็นเรื่องของรัฐ รัฐจึงเป็นผู้เสียหาย ถ้ารัฐไม่ดำเนินคดี คนอื่นก็ดำเนินการไม่ได้

11 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

12 รูปแบบการดำเนินคดีอาญา
การดำเนินคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มี 2 ลักษณะ การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ เป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานของรัฐ (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) ทั้ง ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และเอกชนเป็นผู้เสียหาย ในความผิดที่เอกชนเป็นผู้เสียหาย รัฐจะดำเนินคดีแทนเอกชนได้ต่อเมื่อ ผู้เสียหายได้มอบคดี ให้รัฐดำเนินคดีแทน โดยการร้องทุกข์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

13 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

14 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน(ผู้เสียหาย) เป็นการดำเนินคดีโดย เอกชน เป็นผู้ฟ้องผู้ต้องกระทำผิดต่อศาลด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเกิด จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง หรือเจ้าพนักงานไม่ ดำเนินคดีให้ ราชทัณฑ์ ฟ้อง คุมประพฤติ ศาล ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

15 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ผู้เสียหาย ป.วิ.อ. ม.2(4) “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานใดฐาน หนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” จากมาตราข้างต้นผู้เสียหาย จึงมี 2 ประเภท 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำ ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง(โดยตรง) 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง แต่ กฎหมายให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

16 ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี
ผู้มีอำนาจดำเนินคดี ผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้เสียหายตาม ป.อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดี ผู้มีอำนาจดำเนินคดี 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

17 หลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง
พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ประการแรกต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้กระทำมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็น ความผิด(อาญา) หรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

18 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา กฎหมายสาร บัญญัติ (ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ) อาจมีผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา ไม่มีผู้เสียหายทางอาญา อาจมีผู้เสียหายในทางแพ่ง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

19 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น เมื่อพบว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ก็พิจารณาต่อไป ว่า บุคคลใดเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดนั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

20 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายในทางแพ่ง (ม.420) 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

21 การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร
แนวทางการวินิจฉัยการเป็นผู้เสียหาย แนวทางของ ดร.คณิต ณ นคร แนวทางของศาลยุติธรรม การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร อ.คณิต ณ นคร ให้พิจารณาจากคุณธรรมของกฎหมายในเรื่องนั้นๆว่า คือ อะไร คุณธรรมทางกฎหมาย ได้แก่ สิ่งที่กฎหมายมุ่งจะคุ้มครอง ผู้เสียหาย คือ บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของคุณธรรมทางกฎหมาย 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

22 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
เช่น ก. ใช้ปืนยิง ข. หนึ่งนัด ถูกต้นขาแต่ไม่ถูกอวัยวะสำคัญรักษา 30 วันก็หายเป็นปกติ การกระทำของ ก. เป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย กฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร คุณธรรมของกฎหมาย เจ้าของคุณธรรม ชีวิต ร่างกาย นาย ข. ความสงบสุขของประชาชน รัฐ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

23 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
นาย ก. ยืมรถของนาย ข. ไปซื้อตั๋วรถที่สถานีรถไฟระหว่างจอดรถเพื่อลงไปซื้อตั๋ว นาย ค. ได้ขโมยรถคันดังกล่าวไป เช่นนี้ถ้า นาย ก. เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ ติดตามจับกุมนาย ค. มาดำเนินคดีหรือไม่ มีการการะทำผิดอาญาหรือไม่ ตอบ มี ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพย์ มีสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครองอะไรบ้าง(คุณธรรมทางกฎหมาย) 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

24 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์ คุณธรรมของกฎหมาย เจ้าของคุณธรรม กรรมสิทธิ์ นาย ข. สิทธิครอบครอง นาย ก. ความสงบสุขของประชาชน รัฐ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

25 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
สรุป แนวทางของอาจารย์คณิต ต้องรู้ว่า ความผิดแต่ละเรื่อง แต่ละฐานความผิด มีวัตถุประสงค์คุ้มครองเรื่องอะไร ความผิดเรื่องหนึ่ง ฐานหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรมทางกฎหมายเรื่องเดียว เท่านั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

26 การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาล
ศาลพิจารณาจากประเภทของกฎหมาย ก. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิของเอกชน เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ สิ่งดังกล่าวเป็นของบุคคลใด บุคคลนั้น คือ ผู้เสียหาย ข้อสังเกต ความผิดที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิเอกชนบางฐานความผิด รัฐก็เป็นผู้เสียหายได้ หาก ความผิดนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

27 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ข. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่คุ้มครองรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยเฉพาะ โดย ปกติรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้ เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิด เกี่ยวกับเงินตรา เป็นต้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

28 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำ ความผิดนั้น ก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ คือ การกระทำความผิดกระทบต่อสิทธิของปัจเจก ชนในทางหนึ่งทางใด เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ผลกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชน นั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงมาจากการ กระทำความผิดอาญานั้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

29 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง 227/2531 นายดำไม่พอใจที่บิดาของตน ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ พี่น้องของ นายดำ เท่าๆกัน ทั้ง ที่ได้เคยขอทรัพย์มรดกบางชิ้นจากบิดา แล้ว นายดำจึงไปขอให้นายขัน ปลัดอำเภอซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ให้ช่วยทำให้นายดำ ได้รับมรดกของบิดา เพียงคนเดียว นายขันได้อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าช่วยนายอำเภอทำพินัยกรรมให้ชาวบ้านให้แก่ชาวบ้าน ปลอม พินัยกรรมของบิดานายดำ ว่ายกมรดกให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว หลังจากบิดาตาย นายดำ ได้นำพินัยกรรมปลอมไปรับโอนมรดกที่สำนักงานที่ดิน เจ้าพนักงาน ที่ดินไม่ทราบว่าเป็นพินัยกรรมปลอม จึงโอนที่ดินให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

30 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง 227/2531 การกระทำของ นายขัน มีความผิดหรือไม่ ความผิดดังกล่าวมีคุณธรรมทางกฎหมายอะไร ใครเป็นเจ้าของคุณธรรมดังกล่าว พี่น้องของนายดำ เป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวหรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

31 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2531 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำต่อหน้าที่ราชการในการปลอมแปลง พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแล้วนำไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฉบับที่แท้จริง ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มี วัตถุประสงค์คุ้มครองรัฐ ดังนั้นปกติถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย แต่การปลอมพินัยกรรมยัง มีผลกระทบต่อโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทในฉบับที่แท้จริงด้วย ดังนั้น โจทก์ จึงเป็นผู้เสียหาย 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

32 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ทำไม ? กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหลายฉบับมีข้อความขัดกัน ให้ถือ ว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง (ป.พ.พ. ม.1697) ดังนั้นการการทำพินัยกรรมปลอมจึงมีผลกระทบต่อโจทก์ เพราะจะทำให้ถูกเพิก ถอนสิทธิในการรับมรดกโดยกฎหมายดังกล่าว 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

33 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
นาย ก. อยากได้เงินจากบริษัทประกันภัยที่ตนได้ทำประกันความรับผิดของตนเองที่มีต่อผู้อื่น(ประกันภัยค้ำจุน) ไว้ นาย ก. จึงสร้างเรื่องว่าตนขับรถชนรถของนาย ข. บาดเจ็บซึ่งมีผลทำให้บริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ นาย ข. แทนนาย ก. ตามสัญญาประกันภัย แต่ตามสัญญาประกันภัยจะต้องมีหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ นาย ก. จึงไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงเรื่องดังกล่าว แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอรับเงินประกันที่ บริษัทจะต้องจ่ายให้แก่นาย ข. บริษัทไม่ทราบว่าเป็นความเท็จได้จ่ายเงินให้แก่นาย ก. ไป ต่อมาบริษัทรู้ความจริง จึงฟ้องนาย ก. ข้อหาแจ้ง ความเท็จตาม มาตรา 137 และ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และเอกสาร ราชการ มาตรา 267 บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสียหายในความผิดทั้งสองหรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

34 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547  จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชน จำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงาน ประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อ เจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย โดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึง โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ใน ส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้า พนักงานตำรวจและ เจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการ กระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

35 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่าง ฎีกาที่ 2415/2535 นายเอ ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า รถจักรยานยนต์ของตนถูกนาย บี ขโมยไป ซึ่งเป็น ความเท็จ นายบี จึงเป็นโจทก์ฟ้องนาย เอ ข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 173 นายบีเป็นผู้เสียหาย หรือไม่ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

36 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 จำเลย ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความ เท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จ โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

37 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ความแตกต่างระหว่าง ฎีกาที่ 9179/2547 กับ ฎีกาที่ 2415/2535 ฎีกาที่ 9179/2547 แจ้งความ แสดงหลักฐานเท็จ ได้เงิน ฎีกาที่ 2415/2535 แจ้งความ ชื่อเสียง 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

38 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ค. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้กระทำ หรือมิให้กระทำการใดเพื่อ ประโยชน์ในทางปกครอง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหาย ได้เลย เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

39 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
ตัวอย่างเช่น นาย ก. ขับรถด้วยความประมาทชน นาย ข.ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรากฏว่ารถที่ นาย ก. ขับ ไม่มี พ.ร.บ. ประกันบุคคลที่ 3 และ นาย ก. ก็ไม่มีใบอนุญาต ขับรถด้วย นาย ข. เป็นผู้เสียหายในความผิดใดบ้าง มีการกระทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่ 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

40 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 คุณธรรมทางกฎหมาย ? 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

41 3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานใดหรือไม่ มิได้พิจารณาเพียงแต่ว่าได้มีการกระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิด เท่านั้น แต่บุคคลนั้นจะต้องมีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย กล่าวคือจะต้องมิได้เป็นผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้

42 ก. ผู้เสียหายที่มีส่วนในการกระทำความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับบาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาท โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิตินัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสีย หายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4)

43 ข. ผู้เสียหายที่ยินยอมสมัครใจกระทำความผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญายอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมายโดยสมัครใจผู้กู้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496, /2497 ผู้สมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

44 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตาย

45 ค. ผู้เสียหายที่ร่วมกระทำผิด หรือใช้ให้กระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502 หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524 ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้

46 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2523 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้าโรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และเรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตรผู้เสียหายให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

47 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1
End ขอบคุณครับ 1/55 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

48 ไม่มีส่วนในการกระทำความผิด(ผู้เสียหายโดยนิตินัย)
ไม่เป็นผู้มีส่วนในการกระทำความผิด ไม่เป็นผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ไม่มีส่วนรู้เห็นการกระทำความผิด

49 ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับผู้เสียหายโดยนิตินัย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับ บาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาท โจทก์จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิติ นัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญายอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมาย โดยสมัครใจผู้กู้ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496, /2497 ผู้สมัครใจเข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำ ร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

50 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510 ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502 หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดา ของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524 ผู้เสียหายใช้ให้จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2523 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้า โรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และเรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตร ผู้เสียหายให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้า พนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

51 ตั้งแต่หน้านี้นำมาจาก Facebook: Absolute LAW

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67 END


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google