ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
2
ความรู้และการจัดการความรู้
ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-Based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัย การสร้าง การกระจาย และการใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเติบโต ความรู้จึงเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีอีทธิพลสำคัญอย่างมาก และเป็นปัจจัยชี้ขาดของความได้เปรียบในการแข่งขัน
3
ความรู้คืออะไร เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับประสบการณ์การเรียนรู้และบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้อื่นๆ จนเกิดเป็นความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้น “ความรู้” จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งขององค์การ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์การสามารถพัฒนาได้เหนือคู่แข่ง
4
ลำดับขั้นของความรู้ Zack ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
5
Hideo Yamazaki (2006) ที่อธิบายถึง ลำดับขั้นของความรู้ ซึ่งมักจะเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล (data) แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เป็นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่องาน จากนั้นหากมีการนำข้อมูลและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้งานจริง ก็จะเกิดเป็นความรู้ และความรู้เป็นสิ่งที่ฝั่งอยู่ในตัวบุคคลจนเกิดเป็นปัญญา (Wisdom) คือ องค์ความรู้ที่ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติหรือความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ประสบการณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้
6
ยุคของความรู้ ความรู้ยุคที่ 1 เป็นความรู้ที่สร้างขึ้นโดยนักวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นความเป็นเหตุผล พิสูจน์ได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิชาการ มีการจำแนกแยกแยะเป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาการ เป็นความรู้ที่เน้นความลึก ความเป็นวิชาการเฉพาะด้าน (specialization) เน้นความรู้ในกระดาษ (explicit knowledge) ความรู้ยุคที่ 2 เป็นความรู้ที่ผูกพันอยู่กับงานหรือกิจกรรมของบุคคลและองค์การ เป็นความรู้ที่ใช้งานและสร้างขึ้นโดยผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเอง โดยอาจสร้างขึ้นจากการเลือกเอาความรู้เชิงทฤษฎีหรือความรู้จากภายนอกมาปรับแต่งเพื่อการใช้งาน หรือสร้างขึ้นโดยตรงจากประสบการณ์ในการทำงาน ความรู้เหล่านี้มีลักษณะบูรณาการและมีความจำเพาะต่อบริบทของงาน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงานและองค์การนั้นๆ ความรู้ยุคที่ 2 เน้นความรู้ในคน (tacit knowledge)
7
ประเภทของความรู้ 1. Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สร้างขึ้นโดยนักวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นความเป็นเหตุผล 2. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ผูกพันอยู่กับงานหรือกิจกรรมของบุคคลและองค์การเป็นความรู้ที่ใช้งานและสร้างขึ้นโดยผู้ปฏิบัติงานหรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเอง ความรู้ที่ถูกผลิตและเป็นที่นิยมในการบริโภคจึงกลายเป็นความรู้แบบ “how to” ที่เน้นเทคนิควิธีการทำมากกว่าการเสริมสร้างสติปัญญาให้เกิดการรู้เท่าทัน หรือการสร้างฐานรากของความรู้ที่จะสามารถนำไปคิดให้งอกงามต่อได้ หรือเรียกว่า เป็นระบบที่เน้นการเรียนเรื่อง Know-how มากกว่า Know-why
8
เพิ่มเติม know-what: เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วนๆ เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาตรีมาหมาดๆ เมื่อนำความรู้เหล่านี้ไปใช้งาน ก็จะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง know-how: เป็นความรู้ที่มีทั้งเชิงทฤษฎี และเชิงบริบทเปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาและมีประสบการณ์การทำงานระยะหนึ่ง เช่น 2-3 ปี ก็จะมีความรู้ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท know-why: เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผลได้ ว่าทำไมความรู้นั้นๆ จึงใช้ได้ผลในบริบทหนึ่ง แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง care-why: เป็นความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ ซึ่งจะเป็นแรงขับดันมาจากภายในจิตใจให้ต้องกระทำสิ่งนั้นๆ เมื่อเผชิญสถานการณ์
9
ดังนั้น “ความรู้” สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit) และความรู้ฝังลึก (Tacit) Hirotaka Takeuchi และ Jkujiro Nonaka ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “เกลียวความรู้” (Knowledge Spiral) หรือ SECI Model
10
กระบวนการเกลียวความรู้
1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการแบ่งปันและในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานหรือผู้ที่สื่อสารระหว่างกันโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge 3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ 4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
11
ทักษะการเรียนรู้ในชีวิตสมัยใหม่
การเปลี่ยนแปลงภายนอก และแรงผลักดันต่างทำให้องค์การต้องมีการปรับตัว หรือตายจากไป มีเพียงแค่องค์การที่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ถึงจะอยู่รอด แรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้องค์การต้องมีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 คือ 1. กระแสโลกาภิวัตน์ และสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก 2. เทคโนโลยี 3. การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของการทำงานทั่วโลก 4. ลูกค้าจะมีอิทธิพลต่อองค์การเพิ่มขึ้น 5. ความรู้ และการเรียนรู้จะเป็นสินทรัพย์หลักขององค์การ 6. การเปลี่ยนแปลงของบทบาท และความคาดหวังของพนักงาน 7. ที่ทำงานที่มีความหลากหลาย และความเปลี่ยนแปลง 8. การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และสับสน
12
ความหมายและความสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ และเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้ในอนาคต จากคำนิยามดังกล่าวการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ 1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการไม่ใช่ผล 2. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเชื่อ พฤติกรรม หรือทัศนคติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะต่อยเป็นค่อยไป แต่จะมีผลต่อวิธีคิดและการกระทำระยะยาว 3. การเรียนรู้ไม่ใช่สิ่งที่ให้แก่นักศึกษา แต่เป็นสิ่งที่นักศึกษาลงมือทำให้แก่ตนเอง เป็นผลโดยตรงจากสิ่งที่นักศึกษาตีความ และตอบสนองต่อประสบการณ์ของตน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
13
Hergenhahn ได้แยกลักษณะของการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. การเรียนรู้เป็นการบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเรียนรู้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร หรือค่อนข้างถาวร 3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด 5. การเสริมแรงมีความสำคัญมากสำหรับการจัดประสบการณ์หรือการฝึกฝน เพื่อให้มีการเรียนรู้เกิดขึ้น
14
การเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ด้านการตามทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2. ด้านการปรับตัว 3. ด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร 4. ด้านการเลือกรับและปฏิเสธ 5. ด้านการพัฒนาต่อยอดความรู้
15
องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. ผู้เรียน (The Learner) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ หากจัดการเรียนรู้ให้ดี แต่ไม่มีผู้เรียนก็จะไม่มีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในแต่ละด้านต่างๆ ของผู้เรียน 2. กระบวนการเรียนรู้ (The Learning Process) หมายถึง พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนในขณะที่กำลังเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 3. สภาพการเรียนรู้ (The Learning Situation) หมายถึง สภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนในขณะที่กำลังเรียน
16
จากองค์ประกอบของการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถจัดเป็นขั้นตอน
1. การรับรู้ การเปิดใจรับข้อมูล บุคคลต้องสนใจ ตั้งใจที่จะรับและเห็นคุณค่าความสำคัญของข้อมูล เห็นคุณค่าความสำคัญของความรู้ 2. การบูรณาการความรู้ โดยการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองจนเข้าใจ เมื่อเปิดใจรับข้อมูลแล้วต้องคิดใคร่ครวญ แยกแยะ วิเคราะห์หาเหตุผลจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือนำข้อมูล ข่าวสารความรู้ใหม่ที่ได้รับมาผสมผสานเชื่อมโยงกับประสบการณ์หรือโครงสร้างของความรู้เดิม เพื่อขยายหรือสร้างความรู้ใหม่ 3. การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วไปปรับใช้ในเชิงสร้างสรรค์/เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม การนำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิต หรือการแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งการปรับใช้ในทางสร้างสรรค์
17
แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้
1. ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid) - การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้เพียง 5% - การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10% - การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูทีวีฟังวิทยุ จำได้ 20% - การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30% - การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50% - การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75% - การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%
18
2. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้และพัฒนาการทางทักษะด้านเชาวน์ปัญญา สามารถด้านการระลึกหรือสังเกตจดจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ ในการเรียนรู้ทางเชาวน์ปัญญา มี 6 ลำดับขั้นคือ ความรู้ ความเข้าใจความ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน จิตพิสัยหรือการเรียนรู้ทางอารมณ์ เป็นการเรียนรู้อารมณ์ และเจตคติ ถูกจัดรูปแบบการเกิดเป็นลำดับขั้นดังนี้ การรับรู้สึกปรากฏการณ์ การตอบสนองต่อปรากฏการณ์ การให้คุณค่า การจัดระบบ ค่านิยมฝังลึกภายใน
19
ทักษะพิสัย เป็นการเรียนรู้ทักษะทางกาย การพัฒนาพิสัยเกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนา 7 ขั้นตอนดังนี้ 1. การรับรู้ (Perception) 2. การตั้งค่า (Set) หรือความพร้อมในการกระทำ 3. การตอบสนองจากตัวชี้แนะ (Guided Response) 4. กลไก (Mechanism) 5. พฤติกรรมซับซ้อน (Complex Overt Response) 6. การปรับเปลี่ยน (Adaptation) 7. ต้นฉบับ (Origination)
20
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
Humanism มีสมมติฐานความเป็นมนุษย์เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของมนุษย์ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดี มีความเป็นอิสระ มีทางเลือกของตน และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนอย่างไม่มีขีดจำกัด มี มโนทัศน์ว่าตนเองเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตและพัฒนาไปสู่ความเข้าใจตนเอง (Self – Actualization) มนุษย์จะให้คำจำกัดความต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่างกัน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นต่างกัน และมโนทัศน์ของการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (คณาพร คมสัน, 2540: 31) ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า ดีงาม มีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพตนหากมีอิสระและเสรีภาพ
21
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญา
ทฤษฎีปัญญาหรือทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theory) หรือกลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีนี้เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ ทฤษฎีปัญญาเป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองด้วยการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ 2 ลักษณะ คือ การหยั่งรู้ (Insight) และการรับรู้ (Perception) ได้ดีขึ้น ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
22
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ
1. I am in my position คือ การที่คนในองค์การตั้งใจที่จะทำงานในหน้าที่ของตนเองให้แล้วเสร็จ แต่ไม่เข้าใจถึงเป้าหมายรวมของการทำงานว่าทำไปเพื่ออะไร 2. The Enemy is out there คือการที่คนในองค์การเมื่อมีปัญหาไม่มองกลับมาปัญหาที่เกิดขึ้นว่าส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องของการทำงานของพนักงานแต่กลับมองว่าเป็นปัญหาจากสิ่งที่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเขาที่จะควบคุมได้ 3. The Illusion of Taking Charge: การที่เกิดความล้มเหลวอันเนื่องมาจากการที่คนไม่รู้ตัว 4. The Fixation on The event: การที่ยอมให้สถานการณ์มากำหนดเรา มากกว่าการเรียนรู้ที่จะป้องกันและกำหนดสถานการณ์
23
5. The Parable of The Boiled Frog: เป็นสุภาษิตที่ใกล้เคียงกับสุภาษิตไทยว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย 6. The Delusion of Learning from Experience: การเรียนรู้ที่มีดีที่สุดก็คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 7. The Myth of The Management Team: การไม่มีการทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง ซึ่งก็คือการทำงานเป็นทีมแต่เพียงในนามซึ่งเป็นการทำงานประจำ แต่เมื่อมีวิกฤต หรือเหตุการณ์ที่มีความหลากหลายแตกต่างเกิดขึ้นก็ไม่อาจแก้ปัญหาหรือทำงานเป็นทีมได้
24
ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โลกยุคปัจจุบันกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถานการณ์ของโลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 ระบบการศึกษาจําเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงของสังคม คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ขององค์การ UNESCO รายงานว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นกุญแจสําคัญที่ใช้สําหรับเปิดเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ตอบสนองโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยให้ความสําคัญกับสี่เสาหลักที่เป็นรากฐานของการศึกษาในศตวรรษนี้ ได้แก่ 1. การเรียนเพื่อรู้ (learning to know) 2. การเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติ (learning to do) 3. การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม (learning to live together) 4. การเรียนเพื่อชีวิต (learning to be)
26
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีมุมมองแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความรู้และความสามารถในการแข่งขันของบุคคลที่ปรารถนาเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะ 4 ประการของแนวคิดการเรียนรู้ ได้แก่ 1. มีมุมมองอย่างเป็นระบบ 2. มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3. มีแรงจูงใจที่จะเรียน 4. มีวัตถุประสงค์ของนโยบายการศึกษาที่หลากหลาย
27
เทคนิคและวิธีการสร้างการเรียนรู้ในชีวิตสมัยใหม่
1. ความรู้เดิมส่งผลต่อการเรียนรู้ 2. ความพร้อมในการเรียนรู้ - การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ - การมีมโนทัศน์ของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ - การมีความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ - การยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของตนเอง - ความรักในการเรียน - ความคิดสร้างสรรค์ - การมองอนาคตในแง่ดี - ความสามารถในการใช้ทักษะทางการศึกษาการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา
28
เทคนิควิธีหัวใจนักปราชญ์ สุ. จิ. ปุ. ลิ.
สุ คือ สุตะ แปลว่า ฟัง (รวมทั้งอ่านด้วย) ได้แก่ การแสวงหาความรู้ การฟังเป็นข้อสำคัญ คนที่จะเป็นปราชญ์ได้ก็ต้องได้ฟังมามาก จิ คือ จินตะ แปลว่า จินตนาการ ซึ่งหมายความว่า เมื่อฟังหรืออ่านแล้วต้องคิดตาม รู้จักไตร่ตรอง คิดใช้เหตุผลวิเคราะห์ ช่วยให้เกิดจิตนาการ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ปุ คือ ปุจฉา แปลว่า การถาม ต้องพยายามหาความรู้ในการถามเมื่อฟังหรืออ่าน ถ้าไม่เข้าใจก็ค้นคว้าหาความเข้าใจ ลิ คือ ลิขิต แปลว่า การเขียน บันทึกข้อที่ควรรู้และ ควรจำไว้ การเขียนมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงผลของการฟัง การอ่าน
29
คาถา “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านการสื่อสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ ทักษะการเปลี่ยนแปลง ทักษะการเรียนรู้ ภาวะผู้นำ
30
เทคนิคการอ่านแบบ SQ 3 R S = Survey การสำรวจ คือ การอ่านแบบสำรวจเป็นการอ่านผ่าน ๆ อย่างรวดเร็วว่าต้องเรียนอะไร โดยการกวาดสายตาไปยังหัวข้อ สรุปประเด็นสำคัญ Q = Question การตั้งคำถาม ได้แก่การนำหัวข้อย่อยต่าง ๆ มาทำเป็นคำถาม เช่น การเติมคาว่า “ทำไม?” “อย่างไร” R 1 = Read การอ่าน อ่านช้า ๆ เพื่อค้นหาคำตอบให้แก่คำถาม R 2 = Recall การจำได้ ในการอ่านหนังสือแล้วจำได้นั้นผู้อ่านพยายามระลึกถึงสิ่งที่ตนอ่านไปอย่างสม่ำเสมอ R 3 = Reviews การทบทวน เป็นการตรวจสอบความถูกต้องในการจำสิ่งที่อ่านไปแล้ว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.