ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิจัยเชิงคุณภาพ…ไม่ยากอย่างที่คิด
ดร.บรินดา สัณหฉวี
2
ประตูแห่งการเรียนรู้
3
เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ
4
เพราะเหตุใดท่านจึงรู้สึกเช่นนั้น …………………………………………..
เพราะเหตุใดท่านจึงรู้สึกเช่นนั้น …………………………………………..
6
ทำไมต้อง วิจัยเชิงคุณภาพ
ทำไมต้อง วิจัยเชิงคุณภาพ
7
ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
12
วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ แตกต่างกันที่
กระบวนทัศน์
13
กระบวนทัศน์เชิงปริมาณ
สุ่มตัวอย่าง ตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูลเป็นตัวเลข ทดสอบสมมติฐาน สรุปอิง
14
กระบวนทัศน์เชิงคุณภาพ
เลือกตัวอย่าง…ไม่ใช้การสุ่ม ไม่ตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูลเชิงลึก สร้างทฤษฎี ไม่สรุปอิง
15
คำถามที่ต้องตอบก่อนการทำวิจัย
กระบวนทัศน์การวิจัยของท่านคือ ?
23
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
หา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
24
ขั้นตอนการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ระบุพื้นที่ที่ศึกษา ระบุกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูล สร้างกรอบ/เกณฑ์ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เลือกวิธีในการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วางแผนคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลให้เพียงพอและสอดคล้องกับการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ดำเนินการเก็บข้อมูล จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัว
25
พื้นที่ในการศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
วิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ใช้คําว่า “ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง” แต่จะใช้คำว่า “พื้นที่ในการศึกษา” หรือ “สนาม (field)” ซึ่งอาจเป็นชุมชน หมู่บ้าน องค์กร “ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (key informant)” คือ กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ตอบปัญหาที่เราได้กำหนดไว้
26
เกณฑ์การเลือกพื้นที่ศึกษา
สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัย ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล พื้นที่ที่นักวิจัยกำลังพิจารณาอยู่นั้น สามารถให้ข้อมูลที่ต้องการได้ครอบคลุมและเพียงพอหรือไม่
27
ตัวอย่างการเลือกพื้นที่ที่ศึกษา
ชื่อเรื่อง พื้นที่ที่เก็บข้อมูลวิจัย สถานภาพและกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชุมชนภาคตะวันออก เป็นหมู่บ้านที่มีชุมชนเข้มแข็งที่พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ อยู่ในภาคตะวันออก 6 จังหวัดและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ภูมิปัญญา รวม 11 ชุมชน จากชุมชนเข้มแข็งในภาคตะวันออก จำนวน 55 หมู่บ้าน
28
ขอบเขตการได้มาของพื้นที่วิจัย
กำหนดกรอบของชุมชนที่จะศึกษา โดยต้องเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจจากข้อมูลทุติยภูมิ คือ มีการรวมตัวกันของชุมชน มีกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง มีการจัดร้านค้าชุมชนหรือตลาดนัดชุมชน มีกองทุนของชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บุคคลวัยแรงงานมีอาชีพ 90% ชุมชนบรรลุเป้าหมายด้านรายได้ตามเกณฑ์ จปฐ 70%
29
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
สุดขั้ว (สำเร็จ-ล้มเหลว) (ผิดปกติ-อัจฉริยะ) มีประสบการณ์มากในเรื่องนั้นๆ กลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย กลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่มีลักษณะเหมือนกัน
30
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (ต่อ)
5. แสดงลักษณะสำคัญของประชากรทั้งหมด เป็นตัวแทนในทุกๆเรื่อง 6. มีความสำคัญทางการเมืองของสถานที่ 7. เลือกเจาะจง อย่างมีเกณฑ์ 8. เลือกจากการแนะนำต่อๆไป (Snowball) 9. เลือกจากประชากรที่มีการแบ่งช่วงชั้น (Stratified Purposeful)
31
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(ต่อ)
10. เลือกแบบเฉพาะหน้า ขณะอยู่ในเหตุการณ์ 11. เลือกตามความสะดวก 12. เลือกจากที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด (สูง-ต่ำกว่าเกณฑ์)
32
เกณฑ์ในการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นมีความหมายอย่างไรในเรื่องข้อมูล ทำไมถึงควรเลือกหรือไม่ควรเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ คำถามในการวิจัยและกรอบแนวคิดในการวิจัยมากน้อยเพียงใด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นจะสามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วนหรือไม่ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เหมาะสมกว่านี้หรือไม่
33
วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
การเลือกแบบเจาะจง (Criterion Based Selection) นิยมมากสุด โดยกำหนดเป็นเกณฑ์/คุณสมบัติ ว่า เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจและสามารถให้ข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้ลึกซึ้งดีที่สุด เช่น ผู้นํา ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง
34
การกำหนดเกณฑ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง
ต้องกำหนดเกณฑ์อย่างชัดเจน เช่น มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าฝ่าย …. มีประสบการณ์ในเรื่อง..... เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ฯลฯ
35
วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (ต่อ)
การเลือกแบบ Snowball เริ่มต้น…หาผู้ให้ข้อมูลสำคัญรายแรกจากการสอบถามจากคนในพื้นที่ที่รู้เกี่ยวกับเรื่องผู้วิจัยต้องการทราบ เมื่อได้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญรายแรกแล้ว ก็ถามหาผู้ที่จะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรายที่ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งข้อมูลครบถ้วนอิ่มตัว
36
จำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
เก็บข้อมูลจนกระทั่ง ข้อมูลอิ่มตัว สำหรับเรื่องวิจัยที่มีผู้รู้ลึก รู้จริง จำนวนน้อย: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ไม่ควรน้อยกว่า 8 คน (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์, 2551)
37
ข้อมูลอิ่มตัว เมื่อใดที่ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกิดความซ้ำกัน จนเกิดเป็นแบบแผนที่แน่นอน แม้จะสอบถามคนอื่นๆอีก ข้อมูลที่ได้ก็ยังคงมีลักษณะเดียวกัน ไม่มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น ==> ข้อมูลอิ่มตัว
38
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพที่สําคัญ คือ ตัวผู้วิจัยเอง อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องเตรียมเครื่องมือในการสัมภาษณ์ เช่น แบบสัมภาษณ์หรือแนวคําถามในการสัมภาษณ์ ที่บันทึกเสียง สมุดจดบันทึก ปากกา กล้องถ่ายรูป
39
การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
40
การเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกต
1.1 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Participation Observation) 1.2 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
41
การเก็บรวบรวมข้อมูล (ต่อ)
2. การสัมภาษณ์ 2.1 แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) /การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview) 2.2 แบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structured Interview) 2.2.1 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) 2.2.2 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) 2.2.3 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
45
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
คือ การสังเกตที่ผู้สังเกต ไม่ได้แสดงตน ไม่ได้เข้าไปใช้ชีวิตหรือทํากิจกรรมร่วมกับกลุ่มคนที่กําลังศึกษา เนื่องจาก 1. ไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึกว่าถูกรบกวน 2. การเข้าไปร่วมทำกิจกรรมด้วย อาจทำให้ พฤติกรรมของกลุ่มคนที่กำลังศึกษาผิดไป จากปกติได้ “ไม่ได้หมายถึง การไม่ได้เข้าไปในบริเวณสถานที่นั้น”
46
ตัวอย่างการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
การสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียน การดูแลรักษาคนป่วย
47
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
ข้อดี ประหยัดเวลาและทุนทรัพย์ ทำได้ในสังคมเมือง ที่คนไม่สนใจกัน ข้อเสีย ข้อมูลที่ได้อาจไม่สมบูรณ์ ทำได้ยากในสังคมชนบท ที่คนรู้จักกันทั่ว
48
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
คือ การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ศึกษา มีการกระทํากิจกรรมด้วยกัน และมีการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนที่ตนศึกษา (ฝังตัวอยู่ในชุมชนนั้นเป็นเวลานาน อาจเป็นเดือน เป็นปี) จนกระทั่งเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยกําลังศึกษาอยู่
49
คุณสมบัติของผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วม
เป็นผู้ที่เข้าร่วมในชุมชนได้ดี สามารถสร้างความคุ้นเคยและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้ง่าย เป็นนักสังเกตที่ดี ชอบสังเกต
50
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน การสังเกต: สังเกตเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม พฤติกรรม การซักถาม: ซักถามอย่างไม่เป็นทางการในสิ่งที่ไม่เข้าใจที่พบจากการสังเกต การจดบันทึก: อาจจดบันทึกในระหว่างการสังเกตหรือในภายหลังก็ได้
51
ตัวอย่างการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
การศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมุสลิมในภาคใต้ การศึกษาชีวิตของคนในหมู่บ้านไทยพวน จ.ลพบุรี
52
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
ข้อดี ได้ข้อมูลที่แท้จริง ข้อเสีย เกิดความผูกพันระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย ทำให้อาจเกิดอคติเข้าข้างกลุ่มคนที่ตนศึกษาอยู่ ทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความเที่ยงตรง (แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้)
53
ข้อแนะนำ การสังเกตแบบใดแบบหนึ่ง อาจทำให้ได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
ควรใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในระยะแรกของการวิจัย แล้วใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในภายหลัง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
54
การบันทึกข้อมูลจากการสังเกต
จดบันทึก จดแบบเรียงความ ระบุวันที่ เวลา สถานที่ กลุ่มคน พฤติกรรมที่สังเกต ถ่ายภาพ เพื่อเป็นหลักฐานในการนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดและนำเสนอผลงาน บันทึกเสียง เพื่อป้องกันการจดบันทึกตกหล่น และน้ำเสียงของผู้ให้ข้อมูลแสดงถึง การรับรู้ ความมั่นใจ อารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี
55
โครงการวิจัย.............................. วันที่ ........ เดือน ........ พ.ศ........
เวลา กิจกรรม หมวดกิจกรรม ......
56
แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้รับการสังเกต : ด. ช. /ด. ญ. ………………………. เกิด………
แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้รับการสังเกต : ด.ช. /ด.ญ. ……………………….เกิด……….อายุ……ปี………เดือน ผู้สังเกต : ………………………วันที่ เดือน พ.ศ กิจกรรม พฤติกรรม ก่อนเข้าเรียน วางกระเป๋าแล้วออกไปวิ่งเล่น จึงต้องไปตามมาจัดเครื่องใช้เข้าที่ สนทนาเวลาเช้า - การเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำตามคำสั่งได้ เต้นได้ถูกจังหวะเพลง กิจกรรมสร้างสรรค์ วาดภาพค่อนข้างเล็ก การลากเส้นเป็นรูป ยังไม่มั่นคง เล่นตามมุมบ้าน ทะเลาะกับเพื่อนเพราะแย่งหมวกของเพื่อน แล้วร้องไห้ไปฟ้องครู เล่นตามมุมธรรมชาติ เล่นเปลือกหอยตามลำพัง กิจกรรมในวงกลม ตอบคำถามจากนิทานที่ฟังได้ ลำดับภาพตามเรื่องในนิทานได้ถูกต้อง เล่นกลางแจ้ง เล่นตั้งเตได้ดี วิ่งรวดเร็วชนเพื่อนแล้ววิ่งหนี
60
การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview)
หรือการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้เตรียมคําถามและข้อกําหนดไว้แน่นอนตายตัว
61
การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview)
โดยปกตินักวิจัยเชิงคุณภาพ มักจะไม่ใช้วิธีการนี้เป็นหลัก เนื่องจาก ไม่ได้ช่วยให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและครอบคลุมเพียงพอ โดยเฉพาะในแง่ของ วัฒนธรรม ความหมายและความรู้สึกนึกคิด
62
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview)
มักจะใช้ควบคู่ไปกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม โดยการเตรียมคําถามแบบกว้าง ๆ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การตะล่อมถาม ซึ่งเป็นการพูดคุยซักถาม เพื่อล้วงเอาส่วนลึกของความคิดออกมา หรือการเงี่ยหูฟัง ซึ่งเป็นการฟังคําสนทนาของผู้อื่นโดยผู้วิจัยไม่ต้องตั้งคําถามเอง
63
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) (ต่อ)
มีความยืดหยุ่นมาก ผู้สัมภาษณ์เพียงเกริ่นคำถาม แล้วให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าเรื่องโดยอิสระ ดังนั้น ผู้วิจัยต้องวางแนวคำถามไว้คร่าวๆ
64
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)
เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (key informants) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีข้อมูลในเรื่องที่ผู้วิจัยกําลังศึกษาดีที่สุดหรือมีความเกี่ยวข้องมากที่สุด กําหนดตัวผู้ตอบบางคนแบบเจาะจงเอาไว้ล่วงหน้า
65
การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
เป็นการระดมสมองและการอภิปรายในเรื่องที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา ผู้เข้าร่วมสนทนาควรมีพื้นฐานประสบการณ์ที่ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน ในการจัดกลุ่มสนทนา จะใช้คนประมาณ คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดําเนินการสนทนาและมีผู้ช่วยอีก คน
66
ที่มา: ดร.โยธิน แสวงดี
67
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์
การเตรียมการสัมภาษณ์ เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่จะไปสัมภาษณ์ ว่า คือ ใคร มีจำนวนประมาณเท่าไหร่ เขียนรายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่จะไปขอสัมภาษณ์ทุกคน เตรียมคำถามที่จะสัมภาษณ์ เตรียมอุปกรณ์ในการจดบันทึก เช่น ที่บันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป สมุด ปากกา โทรนัดเวลากับผู้ให้ข้อมูลทุกคนให้เรียบร้อยล่วงหน้า
68
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
2. การเริ่มสัมภาษณ์ แนะนำตนเองต่อผู้ให้สัมภาษณ์ สร้างบรรยากาศให้รู้สึกเป็นกันเอง แจ้งวัตถุประสงค์ในการมาสัมภาษณ์ พร้อมให้คำสัญญาว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ถ้าจะจดบันทึก บันทึกเสียง ถ่ายภาพ ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อน
69
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
3. ขั้นสัมภาษณ์ ใช้คำถามที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ ตั้งใจฟังและติดตาม รู้จักป้อนคำถามให้เหมาะสมกับจังหวะของผู้ตอบ ใช้ภาษาที่สุภาพ เข้าใจง่าย (กรณีไม่ทราบภาษาของผู้ตอบ ให้ใช้ล่าม) ทำให้ผู้ให้ข้อมูล มั่นใจว่า เราจะเก็บเรื่องทุกอย่างเป็นความลับ เพื่อให้เกิดความเต็มใจที่จะให้ข้อมูลที่เป็นความจริง (ควรหาทางติดต่อกับผู้ให้ข้อมูลหรือมีจดหมายแนะนำตัวก่อนล่วงหน้า)
70
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
4. ขั้นบันทึกข้อมูลและสิ้นสุดการสัมภาษณ์ จดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง จดเฉพาะใจความสำคัญ รีบทำการบันทึกการสัมภาษณ์ให้สมบูรณ์ หลังจากการสัมภาษณ์เสร็จสิ้นทันที รวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆที่ได้จากการสัมภาษณ์แนบไว้กับบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย ถ้าพิจารณาเห็นว่า การจดบันทึกจะทำให้ผู้ตอบมีปฏิกิริยา ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสัมภาษณ์ ต้องงดการจดบันทึก แต่ใช้ความจำแทน
71
การแนะนำตัว ต้องบอกว่าผู้สัมภาษณ์มาจากองค์กรใด การวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากใครหรือจากสถาบันใด ซึ่งหลักโดยทั่วไป ใช้หนังสือแนะนำตัว (ให้สถาบันสนับสนุนการวิจัยออกให้ หรือ ในกรณีเป็นนักศึกษา ให้ มหาวิทยาลัยออกหนังสือแนะนำตัวให้)
72
การแนะนำตัว (ต่อ) 2. อธิบายเรื่องและวัตถุประสงค์ในการวิจัยกว้างๆ (อย่าบอกละเอียด เพราะจะเป็นการชี้แนวคำตอบให้ผู้ถูกสัมภาษณ์) ในการแจ้งวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ ต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมด้วย และแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ทราบถึงกระบวนการในการสัมภาษณ์ด้วย ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องทำอะไรบ้าง
73
การแนะนำตัว (ต่อ) อธิบายเหตุผลแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ทราบว่า เหตุใดจึงได้รับการคัดเลือกในการสัมภาษณ์ เนื่องจาก หากผู้ให้กสัมภาษณ์ประหลาดใจ สงสัย ว่าทำไมตนจึงถูกสัมภาษณ์ อาจไม่เต็มใจให้สัมภาษณ์และคำตอบอาจบิดเบือนได้
74
การแนะนำตัว (ต่อ) ชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่า การสัมภาษณ์นี้ ถือเป็นความลับ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกว่า การวิจัยมีความสำคัญ การวางตัวและการแต่งตัวของผู้สัมภาษณ์ ต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ วางตัวเป็นกลาง ไม่ควรแต่งตัวที่แสดงว่าตนมาจากชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูงกว่าผู้ให้สัมภาษณ์
75
การเลือกสถานที่สัมภาษณ์
สถานที่ควรสงบ สบาย เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ใช้ความคิด ที่ทำงาน/บ้านของผู้ให้สัมภาษณ์
76
จรรยาบรรณในการสัมภาษณ์
ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องเป็นความลับ ไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ ต้องไม่บังคับ ขู่เข็ญ หรือหลอกลวงผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวร้ายใคร ผู้สัมภาษณ์ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่กล่าวเสริมหรือสนับสนุน ควรหาของตอบแทนเล็กๆน้อยๆ เป็นการขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์/ชุมชน
77
ท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันบ่อยขนาดไหน
แบบสัมภาษณ์ คำถามแบบปลายปิด (Close-ended): มีแนวคำตอบกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ต้องตอบตามแนวที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันบ่อยขนาดไหน อ่านทุกวัน อ่านบ่อยๆ อ่านนานๆครั้ง ไม่อ่านเลย
78
ท่านมีความรู้สึกต่อระบบประชาธิปไตยอย่างไร
แบบสัมภาษณ์ คำถามแบบปลายเปิด (Open-ended): ไม่ได้กำหนดแนวคำตอบแต่ประการใด เปิดช่องว่างให้ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบได้ตามใจชอบ เช่น ท่านมีความรู้สึกต่อระบบประชาธิปไตยอย่างไร
79
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
ได้คำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนในมาตรฐานเดียวกัน ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจความหมายของคำถามปลายปิดได้ดีกว่าปลายเปิด ผู้วิจัยได้รับคำตอบครบถ้วนสมบูรณ์
80
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
บางคำถามอาจสร้างความไม่พอใจให้ผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น คำถามเกี่ยวกับอายุ รายได้ จึงควรทำเป็นช่วง เช่น รายได้ของท่านอยู่ในช่วงไหน 1,000-2,999 3,000-5,999 6,000-8,999 9,000 ขึ้นไป
81
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
บางคำถามอาจสร้างความตะขิดตะขวงใจแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ หรือ อายที่จะตอบอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งถ้าใช้แบบสัมภาษณ์ปลายปิด จะช่วยลดความรู้สึกดังกล่าวได้ เนื่องจาก ผู้ให้สัมภาษณ์เพียงกาเครื่องหมายเท่านั้น
82
ข้อเสียของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
หากข้อคำถาม มีตัวเลือกมากเกินไป ผู้ให้สัมภาษณ์อาจเบื่อ ถ้าคำตอบที่ตรงกับความจริงของผู้ให้สัมภาษณ์ ไม่ปรากฎในแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์กาจไม่พอใจหรือสับสน และไม่สามารถขยายความเพิ่มได้ ไม่สามารถรู้ได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามผิดมากน้อยเพียงใด เช่น ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับมติของคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
83
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด
ทำให้ได้คำตอบในแง่ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการคาดคะเนของผู้วิจัย ทำให้ได้คำตอบที่ละเอียดในทุกแง่มุม
84
ข้อเสียของแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด
ผู้ให้สัมภาษณ์ อาจพูดออกนอกเรื่องมากไป ผู้วิจัยต้องทำงานหนัก ในการดึงการสนทนาให้กลับเข้ามาสู่ประเด็นคำถามในแบบสัมภาษณ์ ได้ข้อมูลมาก จนอาจทำให้การกำหนดรหัส หรือการเปรียบเทียบเป็นไปได้ยาก ใช้เวลาในการสัมภาษณ์นานกว่าแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
85
การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
ปรุง การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
88
ตัวอย่างการถอดเทปแบบคำต่อคำ
คุณ(มานี)ต้องเข้าใจ concept ว่า คลื่น เรียนกันไปทำไม เรียนแล้วได้อะไรกับชีวิต เพราะว่าฟิสิกส์ คือ เรียนรู้ธรรมชาติ เด็ก(นักเรียน)ไม่เข้าใจว่า เรียนรู้ฟิสิกส์ไปทำไม ทำให้ไม่อยากเรียน คุณต้องบอกว่า เรียนไปแล้วเกี่ยวข้องกับอะไร ที่จริงไม่ใช่เรียนไปแค่ทฤษฎี ก็เหมือนกับว่า ทำไมเราไม่สนใจเรียน เพราะว่า เราไม่รู้จะเรียนไปทำไม แต่ถ้ามัน(ฟิสิกส์) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มันค่อยน่าสนใจขึ้นมาหน่อย ถ้าคุณไม่เรียนรู้มัน คุณจะใช้มันได้อย่างไร คุณจะได้ประโยชน์สูงสุดจากมันได้อย่างไร (อาจารย์พี่เลี้ยง ก, สัมภาษณ์)
89
ตัวอย่างการถอดเทปแบบคำต่อคำ
111
การวิเคราะห์ข้อมูล/วิเคราะห์เนื้อหา
เทคนิค จำแนกข้อมูลเป็น Matrix โดยการจำแนกต้อง สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย: ตรงกับกรอบแนวคิด นิยามต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาในคำสัมภาษณ์ (ควรอ่านคำสัมภาษณ์ให้จบ จะได้ไม่ต้องสร้างประเภทของคำหรือข้อความใหม่อยู่ตลอด) มีความเด่นชัด ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือเหลื่อมกัน
112
ตัวอย่างของการจำแนกประเภทข้อมูล
ปัญหาของการวิจัย ประเภทย่อยของแนวคิด คำหรือข้อความ วิธีการแจงนับ อุดมการณ์ชาติของไทย สถาบันชาติ รักชาติ, ชาติของเรา, ประเทศของเรา, ขวานทองแผ่นดินไทย ฯลฯ จำนวนครั้ง/ความถี่ที่คำ/ข้อความปรากฎในคำสัมภาษณ์ สถาบันศาสนา พุทธศาสนา, พระบวรศาสนา, รัตนตรัย, ที่พึ่งทางใจ ฯลฯ สถาบันพระมหากษัตริย์ ในหลวง, พระราชวงศ์, พระมหากษัตริย์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
113
ผลิตสินค้าถูกสุขลักษณะ คุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานสากล
คุ้มครองผู้บริโภค ผลิตสินค้าถูกสุขลักษณะ คุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานสากล ฉลากสินค้ามีข้อมูลครบถ้วนและชัดเจน ผลิตอาหารสะอาดปลอดภัยได้มาตรฐานทั้งไทยและสากล มีช่องร้องเรียนสายด่วนผู้บริโภค ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิต 1 P 2 3 4 5 6 7
114
การตรวจสอบข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล: ด้านผู้วิจัย ด้านทฤษฎี ด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล
115
ด้านข้อมูล เวลา : ถ้าเวลาต่างกัน ... ข้อมูลที่ได้จะเหมือนหรือต่างกัน
เช่น ถ้าผู้วิจัยสังเกตผู้ป่วยโรคจิต เวลาเช้า ... ควรตรวจสอบข้อมูลโดยการสังเกตผู้ป่วยในเวลาบ่ายและเวลาอื่นด้วย สถานที่ เช่น ผู้ป่วยโรคจิตมีอาการคลุ้มคลั่งเมื่ออยู่บ้าน...ถ้าผู้ป่วยไปอยู่ที่อื่น ยังจะมีอาการคลุ้มคลั่งหรือไม่ บุคคล เช่น เคยสัมภาษณ์ลูกชายผู้ป่วย ถ้าเปลี่ยนมาถามลูกสาวผู้ป่วย ข้อมูลจะเปลี่ยนไปหรือไม่
116
ด้านผู้วิจัย โดยเปลี่ยนตัวผู้สังเกต ผู้สัมภาษณ์ ว่ายังจะได้ข้อมูลเหมือนเดิมหรือไม่
117
ด้านทฤษฎี ถ้าใช้แนวคิดทฤษฎีต่างไปจากเดิม จะทำให้การตีความข้อมูลแตกต่างไปหรือไม่
118
ด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล
เช่น ใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถาม หรือ เมื่อเขียนรายงานข้อมูลจากการสัมภาษณ์จบ ก็นำรายงานดังกล่าวกลับไปให้ผู้ให้สัมภาษณ์อ่านทบทวน ว่า ข้อมูลในรายงานและการตีความหมายข้อมูลของผู้วิจัย ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ทำการแก้ไข
119
การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ
กิน การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ
120
การเขียนรายงานผล (บทที่ 4)
เนื้อเรื่อง: กล่าวถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรง แยกเป็นประเด็น หรือแยกเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นจุดสำคัญของเนื้อความตามลำดับและต่อเนื่องกัน ห้ามใส่ความคิดเห็นของผู้วิจัย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.