งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานศึกษา EA 5103

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานศึกษา EA 5103"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานศึกษา EA 5103

2 หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หน่วยที่ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2.2 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา 2

3 มาตรา 47 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ
มาตรา 47 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ ที่กำหนดว่า ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงนั้นได้นำไปสู่การจัดทำกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ และมี การปรับปรุงแก้ไขโดยรวมระบบการประกันคุณภาพภายในขององค์กรหลักที่รับผิดชอบการศึกษาในแต่ละระดับ คือ การศึกษา ขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษาและระบบการประกันคุณภาพภายนอกเข้าด้วยกัน โดยกฏกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ ระบุว่า 3

4 การดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 4

5 4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา 5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 5

6 7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สถานศึกษายึด หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด 6

7 1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษามีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการจัดการศึกษาที่ใช้หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาโดยที่ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรเองและบริหารการใช้หลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น รัฐจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติเพื่อเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประเมินคุณภาพทางการศึกษา 7

8 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นำสู่การปฏิบัติให้เกิดผล โดยนำมาจัดทำเป็นมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ประกาศให้สถานศึกษาทุกแห่งที่เปิดสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้เป็นเป้าหมายใน การพัฒนา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ดังนั้นสถานศึกษาต้องนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยที่ประกาศใช้นี้เป็นเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษา อย่างไรก็ตามเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเองอาจต้องการเพิ่มเติมมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดเฉพาะเจาะจงตามบริบทและ ความต้องการของท้องถิ่นอีกได้ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกลักษณ์ของสถานศึกษา โดยกำหนดให้เหมาะสมครอบคลุมสาระการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียน สถานศึกษาและท้องถิ่น 8

9 2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1) มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว 9

10 2) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย การพัฒนาและสภาพความสำเร็จของการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม 10

11 3) กำหนดวิธีการดำเนินงาน โดยอาศัยหลักวิชาหรือผลการวิจัยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดปราบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและ การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ 11

12 4) เสาะหาและประสานสัมพันธ์กับแหล่งวิทยากรภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการได้ และระบุไว้ในแผนให้ชัดเจน 5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคน รวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 12

13 7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน 7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 8) มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและ การนำผลไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 13

14 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ สารสนเทศนั้น มีอยู่มากมาย เช่น ข้อมูลผู้เรียน ครูและบุคลากร ข้อมูลอาคารและสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลงบประมาณ ฯลฯ สถานศึกษาควรมีการจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ให้ครอบคลุมและข้อมูลมีความสมบูรณ์ ค้นได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว มีการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์อยู่เสมอ การจัดหมวดหมู่ข้อมูลสารสนเทศอาจแบ่งเป็นด้าน เช่น ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านคุณภาพการเรียนการสอน ด้านคุณภาพ การบริหารจัดการและด้านคุณภาพการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้หรือจัดโดยวิธีอื่นที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสมก็ได้ 14

15 4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนนั้น สถานศึกษาต้องสร้างระบบการทำงานที่เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการบริหารและการจัดการที่จะทำให้การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษาบรรลุเป้าหมาย 15

16 4.1 วงจรการพัฒนาคุณภาพ PDCA ของเดมิ่ง (Deming Cycle) เป็นเทคนิคที่ผู้บริหารส่วนใหญ่นิยมใช้กันแพร่หลาย เพราะเป็นกระบวนการที่มีการตรวจสอบตนเองอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ขั้นการวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผนหรือขั้นตอนที่วางไว้ (Do) การตรวจสอบหรือ การประเมิน (Check) และการนำผลการประเมินย้อนกลับไปทบทวน ปรับปรุงแก้ไขวางมาตรฐานหรือมาตรการกำหนดขั้นตอนใหม่ (Act) เพื่อการดำเนินงานต่อ ๆ ไป 16

17 4.2 แนวคิด Balanced Scorecard สถานศึกษาหลายแห่งใช้แนวคิดในการกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน (Balanced Scorecard) เป็นเทคนิคการบริหาร เช่น โรงเรียนในฝัน โดยใช้ การกำหนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของ การดำเนินงาน 4 ด้าน คือ 1) มุมมองด้านนักเรียน โดยพิจารณาความต้องการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียนที่คาดหวัง 17

18 2) มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายใน โดยพิจารณาผลสำเร็จและแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการบริหารจัดการและการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ 3) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยพิจารณาปัจจัยที่ใช้ขับเคลื่อนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพตามที่คาดหวัง ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพและทักษะของครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา การเพิ่มสมรรถนะของสถานศึกษาในการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ การพัฒนา 18

19 4) มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยพิจารณาปัจจัยส่งเสริมให้การดำเนินงานบรรลุภาพความสำเร็จในด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยคำนึงถึงแหล่งสนับสนุน อัตรากำลัง ค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพใน การใช้ทรัพยากรและงบประมาณ 19

20 5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาควรตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อวางแผนติดตามและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศการดำเนินงาน/โครงการตลอดปีการศึกษาโดยใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นนกรอบการติดตามตรวจสอบ ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นปะโยชน์ในการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา โดยควรมีการตรวจสอบทุกปี และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเป็นระบบ สนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและผู้แทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนั้นสถานศึกษาควรมีการตรวจสอบคุณภาพภายในเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ เพื่อให้ก้าวทันสภาวการณ์ปัจจุบันด้วย 20

21 1) วิสัยทัศน์และภารกิจของสถานศึกษา เช่น วิเคราะห์ดูว่าวิสัยทัศน์และภารกิจสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและสอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันหรือไม่ ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง จัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะเหมาะสม 21

22 2) แผนพัฒนาสถานศึกษา เช่น แผนพัฒนาสะท้อนความต้องการของชุมชนจริงหรือไม่ มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนนำผลมาใช้ในการวางแผนครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ กิจกรรมตามแผนสัมพันธ์กันและสอดรับกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายหรือไม่ แผนพัฒนาโดยรวมมีความชัดเจน เข้าใจง่ายและมี ทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนหรือไม่ 22

23 3) การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เช่น บรรยากาศและสภาพแวดล้อม สนับสนุนการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด สะท้อนความสำเร็จของผู้เรียนอย่างไร ครูเลือกใช้ยุทธศาสตร์การสอนหลากหลายและสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนหรือไม่ ครูและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร การจัดการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกแก้ปัญหา ฝึกการคิดสร้างสรรค์ ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ตลอดจนพัฒนานิสัยรักการเรียนรู้หรือไม่ เป็นต้น 23

24 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นอย่างไร ผลงานของผู้เรียนมีความหมาย บ่งบอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนรู้ เข้าใจ และทำได้หรือไม่ ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ไปใช้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น 24

25 5) การพัฒนาองค์กร เนื่องจากสถานศึกษาเป็นแหล่งหรือศูนย์ การเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชน ดังนั้นสถานศึกษาต้องมุ่งเน้นสถานศึกษาโดยเฉพาะห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นประเด็นในการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในจึงควรวิเคราะห์ดูว่า ผู้บริหารอุทิศตนเพื่อองค์กร เพื่อนร่วมงานและเพื่อการพัฒนาการศึกษาอย่างไร เป็นผู้นำในการสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้และสามารถแนะนำนวัตกรรมหรือแหล่งนวัตกรรมสำหรับผู้สอนได้หรือไม่ มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเปิดโอกาสให้ผู้สอน/คณะทำงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใน เชิงบริหารหรือไม่มากน้อยเพียงใด เป็นต้น 25

26 6) การพัฒนาวิชาชีพครู มีการใช้แหล่งวิทยาการภายนอกช่วยให้ครูเกิดการเรียนรู้อย่างไรบ้าง มีการ เปิดโอกาสให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดในการพัฒนาวิชาชีพด้วยวิธีการใดบ้าง สนับสนุนให้ครูมีการวิจัยค้นคว้าความรู้ใหม่เกี่ยวกับ การเรียนการสอนและการประเมินผลบ้างหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น 26

27 การติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ดำเนินการอย่างจริงจังจะช่วยให้สถานศึกษามีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอในการวางแผนพัฒนาสถานศึกษาที่เน้นคุณภาพการศึกษาในรอบปีถัดไป นอกจากนี้ ผลจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษายังมีส่วนช่วยกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึง การกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการศึกษาในระดับท้องถิ่นและระดับชาติอีกทางหนึ่งด้วย 27

28 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาที่มีความพร้อมอาจตั้งคณะทำงานขึ้นทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาก็ได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างกระบวนการประเมินตนเองอีกทางหนึ่ง นำผลจากการประเมินไประบุไว้ในรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีต่อไป การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาต้องครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ปฐมวัย ที่กำหนดไว้ และสถานศึกษาอาจทำการประเมินคุณภาพผู้เรียนโดยรวม จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนเป็นรายคน เป็นการตรวจสอบและยืนยันคุณภาพผู้เรียนทางด้านวิชาการ โดย ขอใช้แบบทดสอบจากองค์กรที่มีแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน 28

29 7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน มาตรา 48 ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก 29

30 การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้แนวทางไว้เป็นตัวอย่าง โดย เสนอให้แบ่งรายงานเป็น 4 บท คือ บทที่ 1 สะท้อนสภาพทั่วไปของสถานศึกษา บทที่ 2 ระบุเป้าหมาย การพัฒนาของสถานศึกษา บทที่ 3 ระบุความสำเร็จของ การพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาสถานศึกษา บทที่ 4 ระบุ จุดเด่น จุดด้อยและความต้องการช่วยเหลือ และควรระบุหลักฐานข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาไว้ด้วย 30

31 ประโยชน์สำคัญของการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษาไม่ได้อยู่ที่จัดทำเพื่อรายงานต่อใคร แต่อยู่ที่การนำผลไปใช้วางแผนปรับปรุงงานต่อ ๆ ไป ดังนั้นสถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำรายงานและนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง 31

32 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การที่จะทำให้คุณภาพของสถานศึกษาดำรงอยู่อย่างยั่งยืน สถานศึกษาควรตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมอยู่เสมอ โครงการ/กิจกรรมที่ทำต้องคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ ส่งผลถึงผู้เรียน การพิจารณาโครงการ/กิจกรรมที่จะทำต่อไปหรือไม่นั้นควรพิจารณา ดังนี้ 32

33 1) ถ้าเป็นโครงการที่ดีสมควรดำเนินการต่อไป ก็ดำรงโครงการนั้นไว้
1) ถ้าเป็นโครงการที่ดีสมควรดำเนินการต่อไป ก็ดำรงโครงการนั้นไว้ 2) ถ้าเป็นโครงการที่ดีแต่ยังดำเนินการไม่สำเร็จหรือไม่บรรลุเป้าหมายเพราะมีจุดบกพร่อง ถ้าปรับปรุงแก้ไขสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ก็ดำเนินการต่อไปและทำให้ดียิ่งขึ้น 33

34 3) ถ้าเป็นโครงการที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา ก็พัฒนาดำเนินโครงการนั้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง 4) หากมีเหตุการณ์หรือสิ่งที่ส่อเค้าว่าจะเกิดปัญหา ต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน ก็จำเป็นต้องทำโครงการใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อป้องกันปัญหา 34

35 1) สร้างจิตสำนึกการพัฒนาให้เกิดขึ้นในหมู่ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1) สร้างจิตสำนึกการพัฒนาให้เกิดขึ้นในหมู่ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา 35

36 2) เน้นย้ำหรือกำหนดเป็นนโยบายการทำงานอย่างมีระบบ รวมทั้งต้องทำงานอย่างมีเป้าหมายทำงานเป็นหมู่คณะและต้องทำอย่างต่อเนื่อง 3) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์แห่งการเรียนรู้ โดยต้องทำให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ รู้จักพัฒนาตนเอง ใฝ่รู้ หมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันความรู้กันตลอดเวลา เกิดทีมผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ หลากหลายจนได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่น ๆ สถานศึกษาก็จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความเคลื่อนไหวในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตขององค์กรแห่งการเรียนรู้ เห็นได้จาก 1) ผลสัมฤทธิ์ของงานสูงขึ้น 2) เกิดการพัฒนาคน 3) มีการพัฒนาความรู้ และ 4) องค์กรมีศักยภาพสูง 36

37 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน มี 4 ด้าน รวม 18 มาตรฐาน ดังนี้ 37

38 1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 8 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 8 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม 38

39 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 39

40 มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 40

41 มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา 41

42 2. มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มี 2 มาตรฐาน
2. มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มี 2 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดีและมีครูเพียงพอ มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียน การสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 42

43 3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน คือ
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ ครบวงจร 43

44 มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหารและ จัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 44

45 มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ 45

46 4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน คือ
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในชุมชน 46


ดาวน์โหลด ppt การประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานศึกษา EA 5103

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google