งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การทำงานของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การทำงานของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การทำงานของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
บทที่ 2 การทำงานของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต

2 การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย ให้การรับส่งข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยการเชื่อมต่อเข้าสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) สำหรับทางเลือกในการ เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ใช้งาน จะเลือกใช้วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่ อินเทอร์เน็ตลักษณะใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับหลาย ปัจจัย

3 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบหมุนโทรศัพท์ เป็นวิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยการใช้ โทรศัพท์บ้าน ซึ่งจะต้องมีโมเด็ม (modulate and demodulate: modem) ทำหน้าที่ในการแปลง สัญญาณ คือ การแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ฝั่งผู้ส่งให้เป็นสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่ง ข้อมูลไปตามสายโทรศัพท์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเมื่อมีการรับข้อมูลโมเด็มก็จะทำการแปลง สัญญาณอนาล็อกจากสายโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณ ดิจิทัลเพื่อส่งต่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของฝั่งผู้รับ

4 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2.1 ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงที่ สามารถใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคู่สายโทรศัพท์ ธรรมดาได้ตลอดเวลา ในลักษณะที่สามารถ ใช้อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์พร้อมกันได้ในเวลา เดียวกัน โดย ADSL จะรับส่งข้อมูลแบบไม่ สมมาตร (Asymmetric) คือ มีการรับและส่งข้อมูล ด้วยความเร็วที่ต่างกัน

5 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบ ADSL 1. มีความเร็วสูงกว่าการใช้โมเด็มระบบเดิมมาก จึงทำให้ เข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะข้อมูล รูปภาพ หรือมีคลิปวิดีโอ ก็จะสามารถดาวน์โหลด ได้อย่าง รวดเร็วและภาพไม่กระตุก 2. สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้อง หมุนโทรศัพท์และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On) 3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงกว่า การส่ง 4. บริการ ADSL ทำให้ผู้ใช้ยังคงสามารถใช้งาน โทรศัพท์หรือโทรสารได้ตามปกติ ควบคู่ไปกับการใช้งาน อินเทอร์เน็ตบนคู่สายหรือหมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน

6 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
5. บริการ ADSL ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ งานและควบคุมค่าบริการได้ ตามความต้องการจาก ผู้ให้บริการที่หลากหลาย 2.2 เทคโนโลยี FTTx (Fiber to The x) เป็นลักษณะโครงสร้างของระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีการใช้งานสายใยแก้ว (Fiber Optical) ทำให้การรับส่งข้อมูล มี คุณภาพสูงและรองรับความเร็วได้สูงถึง 100 Mbps

7 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบสายเคเบิล เป็นรูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีการ เชื่อมต่อแบบความเร็วสูง (Broadband) ตลอดเวลา ด้วยย่านความถี่ของสายสัญญาณของระบบเคเบิลทีวี ซึ่งสามารถให้ความเร็วสูงถึงประมาณ 2/10 Mbps นั่นคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล (upload) 2 Mbps และความเร็วในการรับข้อมูล (download) 10 Mbps ทำให้เพียงพอสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ ในการสื่อสารและรับส่งข้อมูลสำหรับอินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ ซึ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย เคเบิลโมเด็ม

8 รูปแบบการเชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม มี 5 รูปแบบ ดังนี้
4. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคู่สายเช่า เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) คือวงจรคู่สายเช่าจะเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับ อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยตรง โดย 1 ช่องสัญญาณ จะถูกใช้เพียงผู้เช่ารายเดียวเท่านั้น ไม่ต้องแบ่ง ช่องสัญญาณกับผู้เช่ารายอื่น 5. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เป็นรูปแบบ การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตโดยไม่ใช้สายสัญญาณ แต่จะใช้ คลื่นวิทยุเป็นช่องทาง การสื่อสารแทน

9 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Commercial ISP) ซึ่งผู้ใช้จะต้องเสียค่าบริการรายเดือน หรือตาม ระยะเวลาที่ผู้ให้บริการกำหนด โดยผู้ให้บริการ จะต้องให้รหัสผู้ใช้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ใน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่ อินเทอร์เน็ตสำหรับการใช้งานบริการต่าง ๆ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับ สถาบันการศึกษา การวิจัย และหน่วยงานรัฐ (Non Commercial ISP)

10 โพรโทคอล กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับใช้ใน การสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างกันได้อย่างความถูกต้องและเป็น มาตรฐานเดียวกัน โดยโพรโทคอลที่ใช้เป็นการ ส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือโพรโทคอลที ซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol: TCP/IP) นั่นเอง

11 โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Protocol) ได้รับ การพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลของ โครงการเครือข่าย ARPANET ของ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาเมื่อ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วทุก มุมโลกก็ทำให้โพรโทคอล TCP/IP ถูกใช้สำหรับเป็น มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโพรโทคอล TCP/IP จะมีการแบ่งข้อมูลของ คอมพิวเตอร์ต้นทางออกเป็นขนาดย่อย ๆ เรียกว่า แพ็กเกต (Packet)

12 โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี โดยโพรโทคอล TCP/IP จะเป็นการทำงานร่วมกัน ของโพรโทคอล 2 ตัว ดังนี้ 1. โพรโทคอล TCP (Transmission Control Protocol) ซึ่งทำงานอยู่ในระดับชั้นทรานสปอร์ต (Transport Layer) จะทำหน้าที่ในการจัดการและ ควบคุมการรับส่งข้อมูล โดยมีกลไกควบคุมการ รับส่งข้อมูลให้มีความถูกต้อง และมีการสื่อสาร อย่างเป็นกระบวนการ

13 โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี 2. โพรโทคอล IP (Internet Protocol) ซึ่งจะ ทำงานอยู่ในระดับชั้นเน็ตเวิร์ค (Network Layer) มีหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่และควบคุมการส่ง ข้อมูลด้วยการหาเส้นทางในการส่งแพ็กเกต ซึ่ง กลไกในการหาเส้นทางของโพรโทคอล IP นั้นจะมี ความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และ สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่ง ข้อมูล

14 ที่อยู่ไอพี ในการรับส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตนั้นเพื่อให้ข้อมูลไปยัง จุดหมายปลายทางได้ถูกต้องจำเป็นจะต้องมีระบบที่อยู่ เช่นเดียวกับการบริการไปรษณีย์ซึ่งผู้ส่งจะต้องระบุที่อยู่ของ ผู้รับ จึงจะสามารถส่งไปยังปลายทางได้ โดย ระบบที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นเรียกว่า ที่อยู่ไอพี (Internet Protocol Address: IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลข ประจำตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของอุปกรณ์ ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความสะดวกและถูกต้องใน การรับส่งข้อมูล ดังนั้นอุปกรณ์ทุกตัวที่จะเชื่อมต่อ เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องถูกกำหนดที่อยู่หรือ หมายเลขประจำตัวสำหรับอุปกรณ์นั้น ซึ่งแต่ละเครื่องของ อุปกรณ์จะมีเลขที่ไม่ซ้ำกัน ในปัจจุบันเลขที่อยู่ ไอพีมี 2 รุ่น คือ IPv4 และ IPv6

15 ในปัจจุบันเลขที่อยู่ ไอพีมี 2 รุ่น คือ IPv4 และ IPv6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
IPv4 (Internet Protocol Version 4) เป็นรุ่นที่ใช้กันมายาวนาน จะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าตั้งแต่ และจะมี เครื่องหมายจุด “.” คั่นระหว่าง โดยตัวเลข 4 ชุดนี้จะ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหมายเลขเครือข่าย (Network ID) ทำหน้าที่ระบุว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อนั้นอยู่บน เครือข่ายใด และกลุ่มหมายเลขเครื่องแม่ข่าย (Host ID) ซึ่งเป็นการระบุว่าเป็นเครื่องใดบนเครือข่ายนั้น ตัวอย่างเช่น หมายเลขเครือข่ายคือ ในขณะที่ 1 คือหมายเลขเครื่องแม่ข่าย ซึ่งที่อยู่ไอพี (IP Address) จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่นั้นจะ ขึ้นอยู่กับคลาสของเครือข่ายนั้นด้วย

16 ในปัจจุบันเลขที่อยู่ ไอพีมี 2 รุ่น คือ IPv4 และ IPv6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ด้วย ที่อยู่ไอพี (IP Address) ของรุ่นนี้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับชั้น ดังนี้ Class A มีขนาดใหญ่สุด เลขตั้งแต่ แต่จะนำมาใช้งานเพียงแค่ เท่านั้น ในขณะที่ จะไม่ถูกใช้งานจริงแต่จะถูกจองไว้สำหรับการ ทดสอบ (Loopback) เท่านั้น Class B มีขนาดกลาง เลขตั้งแต่ Class C มีขนาดเล็ก เลขตั้งแต่ Class D ใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เลขตั้งแต่ Class E เป็นส่วนที่เก็บไว้ใช้ในอนาคต เลขตั้งแต่

17 ในปัจจุบันเลขที่อยู่ ไอพีมี 2 รุ่น คือ IPv4 และ IPv6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
IPv6 (Internet Protocol Version 6) เนื่องด้วยในปัจจุบันการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าสู่ระบบ เครือข่ายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบ สมาร์ท แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่นๆ จึงทำให้การกำหนด หมายเลขแบบ IPv4 เริ่มไม่เพียงพอ จึงนำไปสู่การพัฒนา IPv6 เพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทน ซึ่ง IPv6 จะใช้เลขฐาน 2 จำนวน 128 บิต แปลงเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 8 ชุด โดยแต่ละชุดจะคั่นกันด้วยเครื่องหมายโคลอน “:” ซึ่งทำ ให้ IPv6 สามารถรองรับที่อยู่ไอพีได้มาก ถึง 340 ล้าน ล้านล้านล้านล้านล้านเลขหมาย ซึ่งเพียงพอสำหรับทุกคนบน โลกนี้เชื่อมต่อ เข้าสู่อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังสามารถ รองรับ การสื่อสารข้อมูลแบบ Broadcast และสนับสนุน การกำหนดค่าความปลอดภัยข้อมูลที่มากขึ้น

18 ระบบชื่อโดเมน คือชื่อที่กำหนดเป็นตัวอักษรสำหรับใช้แทนเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานจดจำได้ ง่าย เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นหมายเลขประจำอุปกรณ์ ที่เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายนั้นเป็นตัวเลข 4 ชุด ในกรณี IPv4 ตัวอย่างเช่น และเป็นตัวเลข 8 ชุดสำหรับ IPv6 ชื่อโดเมนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดเมน 2 ระดับ ซึ่งชื่อโดเมนนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน กั้นกันด้วย “.” ชื่อโดเมน 3 ระดับ ซึ่งชื่อโดเมนจะประกอบด้วย 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนกั้นกันด้วย “.”

19 กระบวนการส่งผ่านข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทาง กับผู้รับ ปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูล เหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic Data) จากนั้นจึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง ซึ่งในการส่งผ่านข้อมูลนั้นจะประกอบด้วยองค์ประกอบ ผู้ส่ง ผู้รับ ข้อมูลข่าวสาร โพรโทคอล สื่อกลาง

20 เวิลด์ไวด์เว็บ 1. ความหมายของเวิลด์ไวด์เว็บ การบริการค้นหาและแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ ใช้หลักการของไฮเปอร์เท็กซ์ โดยมีการทำงานด้วย โพรโทคอลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ที่เรียกว่า HTTP (HyperText Transfer Protocol) ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทั้ง ภายในเว็บไซต์เดียวกันและไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ เป็นใยแมงมุม ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของเอกสารที่เป็น ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) เรียกว่าเว็บไซต์ (Website) และภาษาที่นำมาใช้ในการจัดรูปแบบ เอกสารนี้เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language)

21 เวิลด์ไวด์เว็บ 2. ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
1. Web 1.0 เป็นยุคแห่งการเริ่มต้น 2. Web 2.0 ยุคแห่งการพัฒนาและการเชื่อมโยง 3. Web 3.0 เป็นยุคของการนำแนวคิดของ Web 2.0 มา พัฒนาและต่อยอด ให้ดีขึ้น 4. Web 4.0 เป็นยุคของเว็บไซต์ที่ฉลาดมากขึ้น หรือเป็น ยุคที่เรียกว่า “A Symbiotic Web”

22 เวิลด์ไวด์เว็บ 3. เว็บไซต์ ข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเรียกดูได้จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย หน้าหลักของเว็บไซต์จะเรียกว่าโฮมเพจหรือหน้าโฮม (Home Page) ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บอื่นๆ ผ่านทาง ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) 4. ภาษามาร์กอัป ภาษามาร์กอัป หรือภาษาไฮเปอร์เท็กซ์มาร์กอัป (Hypertext Markup Language: HTML) คือภาษา มาตรฐานที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจ ซึ่งเป็นที่มาของ นามสกุล .html หรือ .htm

23 เวิลด์ไวด์เว็บ 5. เว็บเบราว์เซอร์
เว็บเบราว์เซอร์ (Browser) เป็นโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ ในการอ่าน ประมวลผลและแสดงผลเว็บเพจ สำหรับการ ใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจะต้องใช้โปรแกรมเว็บ เบราว์เซอร์สำหรับการเข้าถึงข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้จากการทบทวน วรรณกรรมพบว่าเว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยม ดังนี้ Internet Explorer Mozilla FireFox Opera Google Chrome

24 เวิลด์ไวด์เว็บ 6.ยูอาร์แอล
ในการที่ผู้ใช้จะเรียกดูข้อมูลบนเว็บไซต์ผ่าน โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ได้นั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้อง ระบุโพรโทคอล ชื่อโดเมน และชื่อไฟล์เว็บเพจที่ อาจจะมีนามสกุลเป็น .html, .php, .htm เป็นต้น รวมถึงชื่อของโฟลเดอร์หรือไดเร็คทอรีที่ใช้สำหรับ จัดเก็บไฟล์เหล่านั้นด้วย ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดนี้ เมื่อรวมกันจะถูกกำหนดให้มีรูปแบบเดียวเรียกว่า ยู อาร์แอล (URL)

25 อินทราเน็ต อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายภายใน องค์กรที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมา ประยุกต์ใช้งาน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายย่อยภายในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันและสามารถ แลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการ ใช้งานอุปกรณ์ ข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น โดยผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายอินทราเน็ตได้ จากระยะไกลภายนอกองค์กร

26 เอกซ์ทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่ง เชื่อมต่อเครือข่ายอินทราเน็ตเข้ากับระบบ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบ คอมพิวเตอร์ของหุ้นส่วนธุรกิจ องค์กรคู่ค้า ลูกค้า หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt การทำงานของเครือข่าย อินเทอร์เน็ต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google