งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องในสัปดาห์รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปี 2547

2 ในขวบปีแรก... เด็กที่กินนมแม่จะเจ็บป่วย น้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลด โอกาสเจ็บป่วยของทารกในขวบปีแรก ได้ ถ้าลดโอกาสเจ็บป่วยได้ จะช่วยให้ การเจริญเติบโตของทารกไม่ชะงักงัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดความกังวล ของพ่อแม่ได้

3 โรคท้องเสีย – ปอดบวม น้อยกว่า 3.5 – 4.9 เท่า
หูชั้นกลางอักเสบ น้อยกว่า – เท่า โรคลำไส้อักเสบ น้อยกว่า เท่า นอนโรงพยาบาลด้วยโรคท้องเสีย น้อยกว่า เท่า เสียชีวิตจากโรคท้องเสีย น้อยกว่า เท่า จากการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก จะมีโอกาสในการเจ็บป่วย นอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ น้อยกว่าทารกที่ไม่เคยได้รับนมแม่เลย กล่าวคือ

4 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ทางอารมณ์ที่ดีให้ลูก
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนา ทางอารมณ์ที่ดีให้ลูก เด็กทุกคนมีพื้นฐานทางอารมณ์ติดตัวมาตั้งแต่เกิดแตกต่างกัน บางคนเลี้ยงง่าย บางคนเลี้ยงยาก บางคนกลางๆ ไม่ง่าย ไม่ยาก แต่สามารถปรุงแต่งได้ด้วยการเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่ตอบสนอง ความต้องการของเด็กได้เหมาะสมและทันการณ์ ทำให้เด็กคาดเดาได้ว่า อะไรจะไป อะไรจะมา เด็กจะเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่น สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างพื้นฐานที่ดี ดังนั้น ทุกครั้งที่แม่กอดลูกขณะให้กินนม ความใกล้ชิดจากแม่จะช่วยเสริมโอกาสด้านนี้

5 “ต้นทุนที่ดีของสมองและเสริมสร้าง IQ”
นมแม่จุดเริ่มต้น “ต้นทุนที่ดีของสมองและเสริมสร้าง IQ” ความฉลาดหรือ IQ หรือพัฒนาการด้านอื่นๆ ของสมองเด็ก มาจากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมถึง 50% และอีก 50% มาจากพันธุกรรม

6 อาหารทารกเป็นสิ่งแวดล้อมของสมองที่สำคัญ ส่วนประกอบที่สำคัญของสมองที่มีผลต่อพัฒนาการและความฉลาดคือ เส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อ ยิ่งมีเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อมากยิ่งดี การสื่อสารระหว่างจุดเชื่อมต้องอาศัยมันสมอง หรือคือไขมันที่หุ้มรอบเส้นใยสมอง ซึ่งจะช่วยทำให้กระแสสื่อไฟฟ้าวิ่งระหว่างจุดเชื่อมได้รวดเร็วในน้ำนมแม่มีสารไขมันที่เหมาะสมกับส่วนของมันสมองนี้ รวมทั้งสารอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการทำงานของสมองโดยส่วนรวม การโอบกอดพูดคุยในทุกครั้งที่ให้ลูกกินนม จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดจุดเชื่อมต่อได้ดีมากขึ้น ดังนั้นสมองที่มีการเจริญเติบโตดี ร่วมกับการเลี้ยงดูที่ใกล้ชิด จึงเป็นต้นทุนที่ดีของการพัฒนาและเสริมสร้าง IQ ในเด็ก

7 สมองทารกโตเร็ว สมองทารกแรกเกิดหนักประมาณ กรัม หนักน้อยกว่าสมองผู้ใหญ่ประมาณ 3 เท่า และมีเซลล์สมองอยู่ประมาณ 1 แสนล้านตัว เป็นจำนวนเท่ากับสมองผู้ใหญ่ แต่ที่สมองผู้ใหญ่หนักกว่าสมองเด็ก เพราะมีการสร้างเส้นใยและจุดเชื่อมต่อของเส้นใยมากขึ้น

8 - สมองทารกจะมีการสร้างเส้นใย และจุดเชื่อมต่อมากนับแต่หลังเกิด โดยเฉพาะในระยะขวบปีแรก เช่น
- สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเห็น เมื่อแรกเกิดมีจุดเชื่อมต่อ 2,500 จุด ต่อเซลล์สมอง 1 ตัว และจะเพิ่มเป็น 18,000 จุด เมื่อทารกอายุ 6 เดือน - สมองส่วนแขนขา มีจุดเชื่อมต่อมากที่สุดเมื่อระยะอายุ 2 เดือน - สมองส่วนเกี่ยวกับความจำ คือ ที่ฮิปโปแคมปัส มีการสร้างเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากที่อายุ 8 เดือน - จากแบเบาะ ทารกจึง เห็น พูด และเดิน ได้เมื่ออายุ 1 ปี

9 สารที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง เช่น DHA AA Taurine Nucleotides ฯลฯ สารเหล่านี้เราคงได้เห็นว่ามีการนำมาเติมในนมผสมหลายยี่ห้อ จนอาจเข้าใจผิดว่าจะมีประโยชน์ทัดเทียมนมแม่ แต่ในความเป็นจริง ประโยชน์จากการเติมสารต่างๆ ไม่สามารถทำได้เช่นในน้ำนมแม่ เนื่องจาก 1 ไขมันในน้ำนมแม่ถูกนำไปใช้ได้เต็มที่ เพราะมีสารช่วยย่อยอยู่ในน้ำนมแม่ด้วย 2 ไขมันในน้ำนมแม่ระยะ 2-3 เดือนแรก มีขนาดโมเลกุลเล็ก ทำให้มีสัดส่วนของไขมัน Phospholipid ที่สำคัญต่อการสร้างเครือข่ายใยสมอง และน้ำนมแม่ในระยะ 6 เดือนแรก ยังมีปริมาณไขมันสูงสุด คือประมาณ 50-55% หลังจากนี้จะลดลง จึงเหมาะสมกับสมองในระยะ 6 เดือนแรกที่มีอัตราการเติบโตสูง 3 ลูกที่กินนมแม่ไม่ค่อยป่วยบ่อย เมื่อไม่ป่วยบ่อย ทำให้มีเวลาโต เด็กเล็กๆ ไม่สบายแต่ละครั้ง เสียเวลาโตและพัฒนาการมาก 4 การโอบกอด การได้อยู่ใกล้ชิดลูกทำให้ลูกได้รับความรัก ความมั่นใจจากแม่ในทุกอิ่ม ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง น้ำนมแม่มีชนิดของไขมัน โปรตีน สารอาหารต่างๆ ที่ส่งเสริมให้สมองได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่

10 เมื่อ ปีที่แล้ว คนไทยเริ่มนิยมใช้นมผสมเลี้ยงทารก สมัยนั้นนมผสมยังไม่มีการเติมสารต่างๆ เด็กสมัยนั้นก็เสียโอกาส ในการได้รับอาหารที่ดีที่สุด แม้แต่ตอนนี้ถ้าจะคิดว่าการเติมการดัดแปลงที่มีอยู่เพียงพอก็อาจเป็นการเข้าใจผิด เพราะในน้ำนมแม่มีส่วนประกอบต่างๆ มากกว่า 200 ชนิด จึงเป็นการยากที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้ การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างเพียงพอในระยะ 6 เดือนแรก เป็นการให้อาหารและการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดกับสมองลูกที่กำลังโตอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงนาทีทองที่สำคัญสำหรับพื้นฐานพัฒนาการทางสมองที่ดี

11 การศึกษาผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับพัฒนาการและ IQ
ในระยะ ปีที่ผ่านมา มีการศึกษามากกว่า 30 การศึกษา ที่แสดงให้เห็นว่า ทารกที่กินนมแม่ มีระดับพัฒนาการและเชาว์ปัญญาที่ดีกว่าทารกที่ได้รับนมผสม มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 2-3 จุด จนถึง จุด

12 Quinn-PJ et al ได้ติดตามเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี จำนวน 3,880 คน พบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่นาน 6 เดือน มีระดับพัฒนาการดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่เลย จุด Rao MR et al ติดตามพัฒนาการของเด็กน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่แรกเกิด จำนวน 220 ราย พบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่นาน 6 เดือน เมื่ออายุ 5 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเบื้องต้นดีกว่าเด็กที่ได้รับนมแม่เพียง 3 เดือน ถึง 11 จุด Mortensen EL; et al ในประเทศเดนมาร์ก ศึกษาในผู้ใหญ่ที่โตๆ แล้วประมาณ 3,000 คน ที่เกิดเมื่อ 40 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2503) กลุ่มที่มีประวัติกินนมแม่นานจะมีระดับเชาว์ปัญญา ดีกว่าที่กินได้น้อยกว่า โดยพบว่าถ้ากินนมแม่นานกว่า 9 เดือน มีระดับเชาว์ปัญญาดีกว่ากลุ่มที่กิน นมแม่น้อยกว่า 1 เดือน ประมาณ 5 จุด Anderson JW et al วิเคราะห์การศึกษาที่มีคุณภาพดี จำนวน 20 การศึกษา พบว่าทารกที่กินนมแม่ โดยเฉลี่ยมีระดับพัฒนาการทางสมองดีกว่าทารกที่ได้รับนมผสม 3.2 จุด และในกลุ่มทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักตัวน้อย จะมีระดับที่ดีกว่าถึงประมาณ 5 จุด พญ.ศุภกาญจน์ ศิลปรัศมี โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ศึกษาในศูนย์เลี้ยงเด็กพบว่า เด็กที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการเมื่ออายุ 1 ปี ปกติทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มได้รับนมผสมจะมีพัฒนาการช้า ร้อยละ 17

13 ถึงแม้ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวจะมีการกระจายของผลลัพธ์ค่อนข้างมาก แต่แสดงให้เห็นทิศทางผลลัพธ์ในทางบวกว่า ลูกที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการและระดับเชาว์ปัญญาที่ดี ทารก ควรได้กินนมแม่อย่างเดียว อย่างเต็มที่ถึงอายุ 6 เดือน จึงเริ่ม ให้อาหารตามวัยเพิ่มเติม ควบคู่กับนมแม่จนลูกอายุ 2 ปี โดยแม่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วย การให้ลูกกินนมแม่ เป็นการเริ่มต้นชีวิต ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย ลดโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้และมีพัฒนาการทางสติปัญญาดี

14 เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้
ในระยะทารกอายุ 4-6 เดือน ยังมีข้อจำกัดในการย่อยสลายโปรตีนแปลกปลอมเพราะ เยื่อบุทางเดินอาหารมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เซลล์เยื่อบุยังมีช่องว่าง ระหว่างเซลล์กว้างกว่าปกติ ระบบน้ำย่อยยังพัฒนาไม่ดีพอ ย่อยไม่ได้เต็มที่ สารภูมิคุ้มกันที่เยื่อบุลำไส้ โดยเฉพาะ secretory IgA ที่จะคอยดักจับสารแปลกปลอมยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับอาหารอื่น เช่น นมผสม โปรตีนเหล่านี้นับเป็นโปรตีนแปลกปลอมสำหรับลูกคน การได้รับนมผสมในระยะนี้ ซึ่งทารกมีข้อจำกัดในการย่อย จึงทำให้โปรตีนยังคงสภาพโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีโอกาสหลุดลอดเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นผลให้เกิดโรคกลุ่มภูมิแพ้ได้ โปรตีนในนมแม่เป็นโปรตีนของคนจึงไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมกับลูกคน ถึงแม้ว่าทารกจะมีข้อจำกัดในการย่อยก็ไม่กระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้ การที่มีรายงานว่าลูกกินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4-6 เดือนแล้ว ยังเกิดปัญหาแพ้ได้ อธิบายว่าน่าจะเป็นโปรตีนจากนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ของนมวัว เล็ดลอดผ่านนมแม่มาสู่ลูกได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้คำแนะนำแม่ ถ้าแม่จะกินนมวัว ก็ควรกินแต่พอประมาณ วันละ 1-2 แก้ว การกินมากจนเกินไป จะไปเพิ่มโอกาสให้โปรตีนนมวัวผ่านสู่น้ำนมแม่และก่อปัญหาได้ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้

15 การได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะอายุ 4-6 เดือนแรก เป็นการให้อาหารที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะภูมิแพ้ได้
การป้องกันนี้จะเห็นได้ชัดในทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ พบว่าถ้าให้ได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 6 เดือนแรกและได้รับนมแม่ต่อไป ลูกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้ มักจะยังไม่มีอาการของโรคภูมิแพ้ในระยะที่กินนมแม่ แต่เมื่อโตขึ้นได้รับสารภูมิแพ้จากแหล่งอื่นก็อาจเกิดปัญหาได้ เรื่องนี้นับเป็นผลดีที่ทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้โดยกรรมพันธุ์ ยังไม่ต้องเจ็บป่วยในวัยที่บอบบาง

16 โดยสรุป การเกิดภาวะภูมิแพ้ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นสิ่งสำคัญร่วมกับปัจจัยทางอาหารและสิ่งแวดล้อม จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าทารกที่กินนมแม่จะไม่เป็นโรคภูมิแพ้ แต่สามารถกล่าวได้ว่าทารกที่กินนมแม่มีโอกาสเป็นโรคกลุ่มภูมิแพ้น้อยกว่าทารกที่กินนมผสม ในภาพรวมประมาณ 2-7 เท่าและในครอบครัวที่มีประวัติพันธุกรรมเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ถ้าทารกจะต้องเป็นโรค ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคได้ การศึกษาในประเทศสวีเดน ติดตามตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ปี จำนวน 4,000 คน พบว่าเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว 4 เดือนแรก มีโอกาสเป็นโรคกลุ่มภูมิแพ้น้อยกว่ากลุ่มได้รับนมผสม เช่น เป็นโรคหอบหืด 4% ภูมิแพ้ผิวหนัง 3% เยื่อบุจมูกอักเสบ 2.5% และจากการศึกษาอื่นพบว่าเป็นโรคภูมิแพ้อาหารน้อยกว่า 5%

17 ถ้าพิจารณาตัวเลขจะพบว่าแตกต่างกันนิดเดียว แต่ถ้าลองคำนวณดูขนาดของปัญหา นำผลการศึกษานี้ทดลองคิดกับเด็กไทย ซึ่งเกิดปีละประมาณ 800,000 คน มีทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก ร้อยละ 16 และที่ไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียว ประมาณ 672,000 คน ทารกจำนวน % ก็คือ 6,720 คน มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่า 4.3 % คือ 28,896 คน มีโอกาสโรคผื่นผิวหนังมากกว่า 3 % คือ 20,160 คน มีโอกาสโรคเยื่อบุจมูกอักเสบมากกว่า 2.5 % คือ 16,800 คน มีโอกาสโรคภูมิแพ้อาหารมากกว่า 5 % คือ 33,600 คน รวมเป็น 99,456 คน ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเราช่วยกันส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในระยะ 4 เดือนแรก น่าจะช่วยลดปัญหาโรคภูมิแพ้จนถึงอายุ 2 ปีได้เกือบ 100,000 คน ซึ่งจะช่วยสร้างความสุขให้กับครอบครัวและประหยัดเงินตราได้เป็นจำนวนมาก

18 ปัจจุบันมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือผลจากการตลาด นมผงดัดแปลงพิเศษที่สื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าใช้ป้องกันภูมิแพ้ ทำให้มีครอบครัวทั้งที่มีความเสี่ยงและไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิแพ้ ลงทุนเลือกนมชนิดนี้ให้ลูก โดยคิดว่ากันไว้ดีกว่าแก้ ผลดีอาจเกิดขึ้นบ้าง แต่ถ้ามองในระดับมหภาค จะเห็นว่าน่าจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเข้าใจผิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะภูมิแพ้ การช่วยกันให้ข้อมูลแม่และช่วยสนับสนุนแม่ให้สามารถให้นมลูกได้ในระยะที่ทางเดินอาหารมีความเสี่ยงสูงต่อการรับสารก่อภูมิแพ้ เป็นการป้องกันภาวะภูมิแพ้ที่ดี ทารกจะไม่เพียงแต่ได้รับนมชนิดที่ไม่แพ้ แต่ยังจะได้รับประโยชน์อื่นๆ ของน้ำนมแม่ด้วย

19 น้ำนมแม่ เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดในระยะเริ่มต้นของชีวิต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทารก
ทารกต้องได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียว 4 – 6 เดือน จึงเริ่มป้อนอาหารอย่างอื่น น้ำ ควบคู่กันไปกับนมแม่ จนลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ในระยะ เดือนแรก ซึ่งเป็นระยะที่ทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว และภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ นมแม่จึงเป็นอาหารอย่างเดียวที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ทารก สรุป

20 ประโยชน์ของนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้ทั้งคุณค่าอาหารและสัมผัสทางใจ มีผลให้ เพิ่มพูนพัฒนาการทางสมอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปกป้องทารกน้อยจากความเจ็บป่วย ซึ่งทำให้ เกิดภาวะทุพโภชนาการเกิดปัญหาในการเรียนรู้และรับรู้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มั่นใจได้ว่าก่อให้เกิดสัมผัสทางใจ ได้ผลดีทั้ง ด้านภาษาและด้านพฤติกรรมทางสังคม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เสริมสร้างพัฒนาการทางสายตาและการมองเห็นที่ดีกว่า ซึ่งนำความพร้อมในการอ่านและการเรียนรู้

21 คำแนะนำสำหรับแม่มือใหม่ในระยะหลังคลอดที่จะเริ่มต้นให้นมลูก
 แม่พร้อมและเต็มใจจะให้ลูกดูดนมทันทีหลังคลอด แม่ขอลูกมานอนกับแม่ตลอดเวลาและให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง ในแต่ละครั้งให้ลูกดูดนมทั้ง 2 เต้า  แม่นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย ลูกดูดนมได้สะดวก ตะแคงตัวลูกให้หน้าหันเข้าหาตัวแม่ ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวเดียวกันหรือก้มได้ เล็กน้อย ช้อนเต้านมโดยให้หัวแม่มือวางอยู่ด้านบน อีกสี่นิ้วอยู่ด้านล่าง ทุกนิ้วอยู่นอกขอบลาน หัวนม ใช้นิ้วชี้รั้งผิวหนังใต้นมเพื่อให้หัวนมยื่นออก  ใช้หัวนมเขี่ยที่กลางริมฝีปากล่างของลูก ลูกจะอ้าปากกว้าง กอดลูกเข้าหาตัว พร้อมสอดหัวนมเข้าปากลูกให้กระชับและลึก จนเหงือกกดลงบน ลานหัวนม ลิ้นอยู่ใต้ลานหัวนม ริมฝีปากลูกไม่เม้มเข้า สังเกตลูกดูดนมแก้มจะไม่บุ๋ม เหงือกจะขยับเข้าลานหัวนมเป็นจังหวะ และจะไม่ได้ยิน เสียงดูดนมเลย นอกจากเสียงกลืนเบาๆ  ให้ลูกดูดนมข้างหนึ่งจนน้ำนมหมดเต้า แล้วจึงเปลี่ยนให้ดูดอีกข้างหนึ่ง  ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่ให้น้ำ นมผสม หรืออาหารอื่น  แม่ควรทำใจให้สบายไม่วิตกกังวล  แม่จะได้รับความช่วยเหลือและกำลังใจจากเจ้าหน้าที่  สามีหรือญาติผู้ใหญ่ควรมีส่วนช่วยในการให้ลูกกินนมแม่ด้วย

22 IQ ที่แบ่งโดยรูปแบบการให้อาหารนม
ทารกเลี้ยงด้วยนมผสม 2.1 จุด 2. เด็กอายุ 3-7 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 2 จุด 3. เด็กอายุ 7½ - 8 ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม 2 จุด 4. เด็กอายุ ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ (มากกว่าหรือเท่ากับ 8 เดือน) จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม จุด 5. เด็กอายุ 9 ½ ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม จุด 6. เด็กอายุ ปี ที่เคยเลี้ยงด้วยนมแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่เลี้ยง ด้วยนมผสม จุด

23 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


ดาวน์โหลด ppt นิทรรศการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google