งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ความหมายและลักษณะของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ข้อดี ข้อจำกัด ของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ความหมายและลักษณะของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ข้อดี ข้อจำกัด ของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวางแผนและควบคุมทางการเงิน Financial Planning and controlling FIN 3302

2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ความหมายและลักษณะของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ข้อดี ข้อจำกัด ของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ขั้นตอนของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - วิธีของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน

3 การวางแผนและควบคุมทางการเงิน
- ความสำคัญของงบการเงิน - ขั้นตอนของการวางแผนและควบคุมงบการเงิน - ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวางแผนและควบคุมงบการเงิน

4 - ความสำคัญของงบการเงิน
เพื่อใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายในรูปตัวเงินของกิจการ และเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถในการทำกำไรให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ - องค์ประกอบของงบการเงินมี 5 หมวด คือ 1. สินทรัพย์ 2. หนี้สิน 3. ส่วนของเจ้าของ 4. รายได้ 5. ค่าใช้จ่าย

5 หมวดสินทรัพย์ มีรายการทางการเงินที่สำคัญๆ ดังนี้
- เงินสด - ลูกหนี้ - เงินฝากธนาคาร - อื่นๆ (หามาเพิ่มเติม) หมวดหนี้สิน มีรายการทางการเงินที่สำคัญๆ ดังนี้ - เจ้าหนี้ - ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ - อื่นๆ (หามาเพิ่มเติม)

6 ส่วนของเจ้าของ มีรายการทางการเงินที่สำคัญๆ ดังนี้
- หุ้นสามัญ - กำไรสะสม - อื่นๆ (หามาเพิ่มเติม) รายได้ มีรายการทางการเงินที่สำคัญๆ ดังนี้ - ยอดขาย - ดอกเบี้ยรับ - อื่นๆ (หามาเพิ่มเติม)

7 ค่าใช้จ่าย มีรายการทางการเงินที่สำคัญๆ ดังนี้
- วัตถุดิบ - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายในการขาย - ค่าใช้จ่ายในการบริการ - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ - อื่นๆ (หามาเพิ่มเติม)

8 - ขั้นตอนการวางแผนและควบคุมงบการเงิน
ในการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุนนั้น ก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆต้องมีการวางแผน เพื่อมุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนหรือผลกำไรจากการประกอบการ และมีการควบคุมรายการต่างๆในงบการเงินให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ - ขั้นตอนที่สำคัญและควรพิจารณา มีดังนี้ 1. ต้องจำแนกและระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนในการดำเนินธุรกิจประเภทนั้น 2. ต้องประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ทุกรายการให้ใกล้เคียงความเป็นจริงให้ มากที่สุด 3. ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างเหมาะสม 4. ในบางกรณีอาจจะต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่สามารถที่จะ คำนวณเป็นตัวเงินด้วย

9 - ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวางแผนและควบคุมงบการเงิน
ในการดำเนินงานทางธุรกิจนั้น มักจะมีปัจจัยที่ทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เสมอ ปัจจัยที่มีผลกระทบนั้นมีทั้งที่เป็นผลกระทบที่เกิดมาจากภายในกิจการเองและภายนอกกิจการ ปัจจัยต่างๆที่มักพบบ่อยๆ เช่น - ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงิน - นโยบายในการสนับสนุนของภาครัฐ - ต้นทุนวัตถุดิบที่ราคาไม่สม่ำเสมอ - การตีค่าของกลุ่มสินค้าที่เสียโอกาสมีมูลค่าไม่เท่ากัน - ข้อจำกัดในการนำเข้า-ส่งออก ของวัตถุดิบหรือสินค้าและบริการที่ผลิตได้ - การปรับค่าของเงินในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ฯลฯ (หามาเพิ่มเติม)

10 การวางแผนและควบคุมสินทรัพย์
- การวางแผนและควบคุมเงินสด - การวางแผนและควบคุมลูกหนี้ - การวางแผนและควบคุมสินทรัพย์ต่างๆ - ตัวอย่างกรณีศึกษา

11 - การวางแผนและควบคุมเงินสด
เงินสด เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ดังนั้นในธุรกิจทุกประเภทมักต้องมีการจัดการรายการของเงินสด เพื่อให้เห็นความเคลื่อน ไหวของรายการเงินสด จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการใช้เงินสดอยู่ตลอดเวลา เช่น - งบกระแสเงินสด โดยจะแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสด อันเนื่องมาจากกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมการดำเนินงาน 2. กิจกรรมการลงทุน 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน

12 1. กิจกรรมการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย
1. กิจกรรมการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย 1.1 แหล่งได้มาของเงินสด เช่น - การขายและบริการ - ดอกเบี้ยรับ - เงินปันผลรับที่ได้มาจากการลงทุนในกิจการอื่น 1.2 แหล่งใช้ไปของเงินสด เช่น - การจัดหาวัตถุดิบ - ค่าจ้าง ค่าแรงงาน - การจ่ายดอกเบี้ยจ่ายให้เจ้าหนี้ - การจ่ายภาษีให้รัฐบาล - รายจ่ายอื่นๆที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน

13 2. กิจกรรมการลงทุน ประกอบไปด้วย
2. กิจกรรมการลงทุน ประกอบไปด้วย 2.1 แหล่งได้มาของเงินสด เช่น - การขายสินทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ - การขายหน่วยลงทุนที่ไปลงทุนในกิจการอื่น 2.2 แหล่งใช้ไปของเงินสด เช่น - การซื้อสินทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ - การซื้อหน่วยลงทุนในกิจการอื่น

14 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน ประกอบไปด้วย
3. กิจกรรมการจัดหาเงิน ประกอบไปด้วย 3.1 แหล่งได้มาของเงินสด เช่น - การเรียกชำระและการออกหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ของกิจการ - การออกหุ้นกู้ หรือก่อหนี้สิน เช่น ตั๋วเงินจ่าย 3.2 แหล่งใช้ไปของเงินสด เช่น - การจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น - การซื้อคืนหุ้นสามัญของกิจการจากบุคคลอื่น - การจ่ายชำระคืนหนี้สินของกิจการ เช่น หุ้นกู้ ตั๋วเงินจ่าย

15 - การวางแผนและควบคุมลูกหนี้
ลูกหนี้ หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าเป็นเงินเชื่อ ในการวางแผนและควบคุมลูกหนี้นั้น มีความจำเป็นต้องมีนโยบายในการบริหารเกี่ยวกับลูกหนี้ให้เหมาะสมและเข้มงวด เพื่อให้กิจการเกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด จึงได้มีการกำหนดแนวทางในการบริหารลูกหนี้ได้ 2 วิธี คือ 1. นโยบายการให้เครดิตและการจัดเก็บหนี้ 2. วิธีพิจารณาเครดิตและการจัดเก็บหนี้รายตัว

16 1. นโยบายการให้เครดิตและการจัดเก็บหนี้
ระดับของลูกหนี้ในบัญชีจะมากน้อยเพียงใดจะถูกกำหนดโดย ภาวะเศรษฐกิจและนโยบายการให้เครดิตของธุรกิจ โดยที่ภาวะเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก แต่ก็ยังสามารถกำหนดได้โดยนโยบายการให้เครดิตของกิจการเอง ในการวางนโยบายการให้เครดิตนั้น จะเป็นการตัดสินใจเลือกระหว่างความ สามารถในการหากำไรกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ ส่วนประกอบของการวางนโยบายในการให้เครดิต มีดังนี้ 1.1. มาตรฐานในการให้เครดิต (Credit Standards) โดยปกติจะใช้เพื่อส่งเสริมการขาย โดยการพิจารณากำไรจากการขยายการให้เครดิตมากขึ้น 1.2. เงื่อนไขในการให้เครดิต (Credit Terms) ประกอบด้วย - ระยะเวลาในการให้เครดิต - การกำหนดส่วนลดและระยะเวลาการให้ส่วนลด

17 1.3. ความเสี่ยงภัยในการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk) หมายถึง
โอกาสที่ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด ถ้าธุรกิจมรการเปลี่ยนแปลงการ ให้เครดิต นโยบายการจัดเก็บหนี้ (Collection Policy) เมื่อได้ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นนโยบายในการดำเนินธุรกิจแล้ว มักจะต้องทำการบริหารลูกหนี้ให้ได้ผล โดยต้องมีการติดตามการชำระหนี้ของลูกค้า ในวิธีการต่างๆที่ปฏิบัติกันอยู่

18 2. วิธีการพิจารณาเครดิตและการจัดเก็บหนี้รายตัว
เป็นการวิเคราะห์ว่าลูกค้าแต่ละรายมีโอการชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขในการขายหรือไม่และมีโอกาสเกิดหนี้สูญขึ้นมาก-น้อยเพียงใด เพื่อลดการสูญเสียและความเสี่ยงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ จึงต้องมีวิธีการที่จะประเมินเครดิตของลูกค้าและการจัดเก็บหนี้ ดังนี้ 2.1. การรวบรวมข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เช่น - แหล่งที่มาของข้อมูล (Sources of information) งบการเงิน ประสบการณ์ของธุรกิจ สถาบันการเงิน หน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลทางเครดิต

19 2.2. การวิเคราะห์เครดิต (Credit Analysis)
เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของลูกค้าแต่ละราย แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของลูกค้าในด้านต่างๆ เช่น - Character คือ คุณสมบัติของผู้ขอเครดิต - Capital คือ ทุนของธุรกิจ - Capacity คือ ความสามารรถในการชำระหนี้ - Collateral คือ หลักประกัน - Condition คือ สภาวการณ์ทั่วๆไป - Country คือ เมืองหรือประเทศที่ลูกค้าอยู่

20 2.3. การตัดสินใจ (Decision)
เป็นการพิจารณาที่จะให้ความไว้ใจต่อลูกค้าหลังจากมีการวิเคราะห์แล้วว่า ลูกค้ารายนี้จะได้รับความไว้ใจได้ ในระดับใดและจะใช้นโยบายการให้เครดิตแบบใดกับลูกค้ารายนี้ 2.4. การจัดเก็บหนี้รายตัว เป็นการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ให้เครดิตกับลูกค้าแต่ละราย ว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้นกับลูกค้ารายนั้นๆบ้างเพื่อที่จะหาทางช่วยเหลือได้อย่างทันเวลา

21 - การวางแผนและควบคุมสินทรัพย์ต่างๆ
นอกจากสินทรัพย์ที่ได้กล่าวไปแล้ว 2 ประเภท คือ เงินสด และลูกหนี้แล้ว ยังมีสินทรัพย์อีกหลายประเภทที่มีความสำคัญในการวางแผนทางการเงินของธุรกิจ เช่น สินค้าคงเหลือ อุปกรณ์สำนักงาน อาคาร ที่ดิน และสินทรัพย์อื่นๆที่มีมูลค่าสูง แต่มีสภาพคล่องที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะขอกล่าวถึงพอสังเขป ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเป็นหลักก่อน คือ สินค้าคงเหลือ (Inventory) หมายถึง - วัตถุดิบ - สินค้าระหว่างผลิต - สินค้าสำเร็จรูป

22 ในทางธุรกิจ ถ้ามีสินค้าคงเหลืออยู่มากมักจะได้เปรียบคู่แข่งทางการค้าเพราะว่า สามารถทำการผลิตและให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานมากขึ้นด้วย ปัจจัยที่จะมากำหนดขนาดของสินค้าคงเหลือ มีดังนี้ 1. ระดับของยอดขาย 2. ระยะเวลาและเทคนิคของกระบวนการผลิตหรือซื้อ 3. อายุของสินค้า

23 ต้นทุนในการเก็บรักษา
เพื่อให้การดำเนินงานในการวางแผนและควบคุมทางการการเงิน ในการบริหารสินค้าคงเหลือให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นการลดรายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น ธุรกิจจึงต้องควบคุมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือเหล่านี้โดยจะต้องควบคุมในด้านต่างๆดังนี้ 1. Cost of Inventory คือ ต้นทุนของสินค้า 2. Carrying cost คือ ต้นทุนในการเก็บรักษา 3. Ordering cost คือ ต้นทุนในการสั่งซื้อ หลักสำคัญในการควบคุมสินค้าคงเหลือ คือ - ต้องมีการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity) - ต้องมีสินค้าเหลือเพื่อความปลอดภัย (Level of Safety Stock) - ต้องวางแผนในการสั่งซื้อ (Reorder Point)

24 สินทรัพย์อื่นๆนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องน้อยหรือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมราคาในตัวมันเอง เช่น อุปกรณ์สำนักงาน อาคาร ฯลฯ เพื่อให้การวางแผนและควบคุมทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพจึงควรที่จะมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำมีปริมาณเท่าที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น หรือถ้าหากมีความจำเป็นที่จำต้องมีไว้ก็ควรที่จะมีการพิจารณาให้รอบคอบ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเงินทุนในการจัดหามาไว้โดยไม่จำเป็น

25 การวางแผนและควบคุมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
การจัดประเภทหนี้สิน 1. หนี้สินหมุนเวียนหรือหนี้สินระยะสั้น (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาในการชำระคืนไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Overdraft) เจ้าหนี้การค้า (Trade account payable) ตั๋วเงินจ่าย(Notes Payable) เจ้าหนี้อื่นๆ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า 2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว (Long-term loans) หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่นๆ

26 การจัดประเภทส่วนของเจ้าของ
ส่วนของเจ้าของ (Owner’ Equity) ได้แก่ 1. ทุนที่เกิดจากการลงทุนของเจ้าของ (Pain in Capital) เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ 2. ทุนที่เกิดจากผลการดำเนินงาน เช่น กำไรสะสม (Retained Earnings) ในการแสดงรายการในส่วนของเจ้าของนี้ จะแตกต่างกันตามรูปแบบของหน่วยงานธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วย รูปแบบการทำธุรกิจ โดย ธุรกิจเจ้าของคนเดียว เรียกว่า ส่วนของเจ้าของ ห้างหุ้นส่วน เรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน

27 - เจ้าหนี้การค้า เป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด
- ตั๋วเงินจ่ายหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตั๋วเงิน ให้คำมั่นว่า จะชำระเงินให้แก่ ผู้รับตั๋วเงิน ตามจำนวนเงินและวันที่ระบุในตั๋วนั้น นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีรายการของหมวดหนี้สิน ที่น่าสนใจอีกหลายประเภทที่ควรจะต้องมีการบริหารและควบคุมหนี้สินที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น เงื่อนไขในการซื้อ-ขายสินค้า การยืดอายุเจ้าหนี้ เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการวางแผนและควบคุมหนี้สิน พอจะแบ่งออกได้ ดังนี้ 1. เจ้าหนี้การค้าเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ 2. มีความคล่องตัวในการก่อหนี้ กิจการขนาดเล็กก็สามารถกระทำได้ 3. ตราสารทางการเงินจะจ่ายเงินให้กับผู้ถือ ซื้อ-ขายกันได้ในตลาดเงิน และไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน 4. อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ

28 สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ * สิทธิในรายได้
- เงินกู้ยืมระยะยาว โดยปกติจะมีระยะเวลาในการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 1. การกู้แบบธรรมดา มักจะมีการชำระตามระยะเวลาในการกู้ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการนำเงินกู้นั้นไปใช้ประโยชน์ 2. เงินกู้หมุนเวียน ในการกู้ประเภทนี้มักจะมีการต่ออายุการกู้ได้ตลอดระยะเวลาที่กิจการยังดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่อง - หุ้นสามัญ เป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของบริษัท มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ เมื่อต้องการเงินสามารถที่จะนำหุ้นสามัญไปจำหน่ายในตลาดหุ้นได้ สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ * สิทธิในรายได้ * สิทธิในการออกเสียงคณะกรรมการบริหารบริษัท * สิทธิในการแต่งตั้งตัวแทนเมื่อไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

29 - หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นทุนกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ เพราะจะต้องชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการและมีสิทธิเรียกชำระคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญตามราคาที่ตราไว้เท่านั้น สิทธิของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ * สิทธิในการออกเสียง ไม่มีสิทธิเหมือนหุ้นสามัญ * การกระจายรายได้ จะได้รับเงินปันผลตามประกาศ * การกระจายสินทรัพย์ จะได้รับก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่จะได้หลังจากมีการจ่ายให้กับเจ้าหนี้แล้ว - กำไรสะสม เป็นกำไรของกิจการที่ไม่มีการจ่ายปันผลให้กับผู้ร่วมลงทุน จึงเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนทั้งจำนวน ในกรณีนี้สามารถทำให้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นได้

30 การวางแผนและควบคุมการเงิน
- การวิเคราะห์จากงบการเงิน - การวิเคราะห์จากอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ

31 - การวิเคราะห์จากงบการเงิน หมายถึง
การนำรายงานทางการเงินหรืองบการเงินมาวิเคราะห์ งบการเงินที่มักนำมาวิเคราะห์ ได้แก่ * งบดุล * งบกำไรขาดทุน * งบกำไรสะสม * งบกระแสเงินสด * งบประกอบต่างๆ คำอธิบาย หรือหมายเหตุประกอบงบการเงินต่างๆ - การวิเคราะห์จากอัตราส่วนทางการเงิน หมายถึง การเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินในงบการเงินต่างๆที่ทำการวิเคราะห์ (ตามที่ได้ศึกษามาในวิชาการเงินทางธุรกิจทั้งหมด)

32 การวางแผนและควบคุมเงินทุนหมุนเวียน
- แหล่งเงินทุนทางการเงิน - ต้นทุนเงินทุนทางการเงิน - ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยทางการเงิน - การนำต้นทุน เงินทุนถัวเฉลี่ยไปวิเคราะห์

33 - แหล่งเงินทุนทางการเงิน
ปัญหาพื้นฐานที่ผู้บริหารทางการเงินมักพบอยู่เสมอก็คือ 1. การใช้เงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างไรจึงจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด 2. เมื่อธุรกิจขาดเงินทุนมาใช้ในกิจการจะหาเงินทุนได้จากแหล่งใด จากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายการต่างๆในงบการเงิน เช่น - การจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ - การซื้อสินค้า - การสร้างโรงงาน ในส่วนของการหาเงินทุนมักจะมีผลกระทบกับ - การกู้ยืม - การซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ - การออกหุ้นเพิ่มทุนต่างๆ

34 เงินทุน (Funds) มีความหมายพอสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้
1. เงินทุนหมายถึงสินทรัพย์ทั้งสิ้น (Total Assets) แหล่งที่มาของเงินทุนตามความหมายนี้ประกอบด้วย - สินทรัพย์ลดลง - หนี้สินเพิ่มขึ้น - ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น แหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนประกอบด้วย - สินทรัพย์เพิ่มขึ้น - หนี้สินลดลง - ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง

35 2. เงินทุนหมายถึงเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)
แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนประกอบด้วย - สินทรัพย์ถาวรลดลง - หนี้สินระยะยาวเพิ่มขึ้น - ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียนประกอบด้วย - สินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น - หนี้สินระยะยาวลดลง - ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง

36 3. เงินทุนหมายถึงเงินสด (Cash)
แหล่งที่มาของเงินสดประกอบด้วย - สินทรัพย์รวม (ยกเว้นเงินสด) เพิ่มขึ้น - หนี้สินเพิ่มขึ้น - ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น แหล่งใช้ไปของเงินสดประกอบด้วย - สินทรัพย์รวม (ยกเว้นเงินสด) เพิ่มขึ้น - หนี้สินลดลง - ส่วนผู้ถือหุ้นลดลง

37 ต้นทุนเงินทุนและต้นทุนถัวเฉลี่ยทางการเงิน
ต้นทุนเงินทุนหมายถึง อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กิจการจะต้องจ่ายคืนให้กับผู้ที่มาลงทุนในกิจการ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ค่าของทุน ค่าของทุน จะประกอบไปด้วย 1. ค่าของทุนของหนี้ (Cost of Debt) หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่ต้องได้จากการลงทุนด้วยหนี้ที่ก่อขึ้นโดยที่ไม่ทำให้กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลง เป็นค่าใช้จ่ายในรูปของ ดอกเบี้ย (ทบทวน เรื่อง ค่าของทุนของหนี้ ในวิชา การเงินทางธุรกิจ เพิ่มเติม) 2. ค่าของทุนของหุ้นบุริมสิทธิ (Cost of Preferred Stock) หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่ต้องได้จากการลงทุนด้วยเงินทุนที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ โดยที่ไม่ทำให้กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลง เป็นผลตอบแทนในรูปของ เงินปันผล (ทบทวน เรื่อง ค่าของทุนของหุ้นบุริมสิทธิ ในวิชา การเงินทางธุรกิจ เพิ่มเติม)

38 3. ค่าของทุนของหุ้นสามัญ (Cost of Equity) หมายถึง
อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กิจการต้องการจากการลงทุนด้วยเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ เป็นผลตอบแทนในรูปของ เงินปันผล ในที่นี้ ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ประกอบไปด้วย หุ้นสามัญและกำไรสะสม (ทบทวน เรื่อง ค่าของทุนของหุ้นสามัญและกำไรสะสม ในวิชา การเงินทางธุรกิจ เพิ่มเติม) 4. ค่าของทุนถัวเฉลี่ย (Weighted Average Cost of Capital) หรือที่มักนิยมเรียกว่า หมายถึง ค่าของการคำนวณที่ได้จากโครงสร้างเงินทุนของกิจการ อันเกิดจากผลรวมระหว่างผลคูณของสัดส่วนแต่ละรายการในโครงสร้างเงินทุน กับค่าของทุนหลังภาษีของรายการนั้นๆ ค่าของทุน (ทบทวน เรื่อง ค่าของทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WACC) และค่าของทุนส่วนเพิ่ม ในวิชา การเงินทางธุรกิจ เพิ่มเติม)

39 การนำต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยไปวิเคราะห์
ผู้บริหารกิจการสามารถที่จะนำค่าของทุนที่คำนวณได้ในส่วนของเงินทุนประเภทต่างๆ ไปกำหนด อัตราลดค่า (discount rate) เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้ โดยเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) กับอัตราค่าของทุนในส่วนต่างๆ โดยที่อัตราผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนสูงกว่าอัตราค่าของทุนส่วนเพิ่มแล้ว ควร รับทำ โครงการนั้น หรือควรรับทำในโครงการที่มีผลตอบแทนที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงที่สุด ภายใต้โครงการที่มีความเสี่ยงเท่าๆกัน (ทบทวน เรื่อง ผลตอบแทนค่า IRR ในวิชา การเงินทางธุรกิจ เพิ่มเติม)

40 การวางแผนและเทคนิคการพยากรณ์ยอดขาย
- การวางแผนการขาย - เทคนิคการพยากรณ์ยอดขาย

41 - การวางแผนการขาย การวางแผนการขายเป็นการดำเนินงานในการหารายได้ให้กับกิจการ โดยทั่วไป มักจะเป็นไปตามเป้าหมายจากฝ่ายบริหาร และต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น 1. ต้นทุน 2. รายได้ 3. ผลกำไร

42 ในส่วนของรายการต่างๆที่มีในองค์ประกอบของการวางแผนการขายนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละกิจการว่าจะมีรายการทางการเงินอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มักจะมีรายการต่างๆที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการเองที่จะต้องดูว่า รายการที่สำคัญๆในกิจการที่ควรจะมีในนั้น มีอะไรบ้าง ในการบริหารการขายนั้น ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า มักจะขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารว่าจะกำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งมักขึ้นอยู่กับผลลัพธ์สุดท้ายในดำเนินกิจกรรม นั่นก็คือ ผลกำไรที่ต้องการ ดังนั้น ก่อนที่จะได้ผลกำไร จึงต้องทราบ จุดคุ้มทุน เสียก่อน ว่า มีจำนวนเท่าใด แล้วจึงไปกำหนดยอดขาย เพื่อให้ได้กำไรตามที่ต้องการ (สำหรับการศึกษาเรื่อง จุดคุ้มทุน ให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนในวิชา การเงินทางธุรกิจเพิ่มเติม)

43 - เทคนิคการพยากรณ์ยอดขาย
การพยากรณ์ยอดขาย หมายถึง การคาดคะเนยอดขายของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การพยากรณ์ยอดขาย มีเทคนิคที่ใช้ในการพยากรณ์อยู่หลายวิธี วิธีที่นิยมใช้กันมากเช่น 1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม (Trend ForecastS) 2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน (Ratio Forecasts) 3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ (Graphical and Statistical Forecasts)

44 การพยากรณ์โดยวิธีที่กล่าวข้างต้นต่างๆ พอจะอธิบายได้ ดังนี้
1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม (Trend ForecastS) เป็นการพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในยอดขาย ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลที่ผ่านมาทั้งหมด ของรายการทางการเงินต่างๆ ในช่วงเวลาต่างๆ มาวิเคราะห์ ในความสอดคล้องซึ่งกันและกัน และพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในรายการทางการเงินต่างๆเหล่านั้น (ในการพยากรณ์แบบนี้มักจะไม่คำนึงถึงมูลค่าปัจจุบันของเงิน) 2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน (Ratio Forecasts) การพยากรณ์ประเภทนี้ จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการเงินในรูปของอัตราส่วนเป็นหลัก โดยมากมักจะใช้การพยากรณ์รายการต่างๆทางการเงินมาวิเคราะห์ ซึ่งจะมีขั้นตอนการพยากรณ์ ดังนี้ 2.1 ใช้ข้อมูลในอดีตมากะประมาณหรือพยากรณ์อัตราส่วนที่จะเกิดขึ้น 2.2 ใช้ยอดขายเป็นตัวแปรหลักในการพยากรณ์อัตราส่วน 2.3 ใช้อัตราส่วนต่างๆคูณกับตัวแปรหลักคือยอดขาย

45 3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ (Graphical and Statistical Forecasts) โดยดูแนวโน้มจากการวาดกราฟและสถิติที่เกิดขึ้น ในความสัมพันธ์ของรายการต่างๆทางการเงินในอดีต แล้วลากเส้นต่อออกไปถ้าเป็นรูปกราฟ หรือหาค่าเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นถ้าใช้แบบสถิติ (ในเรื่องของการสร้างกราฟและสถิติ ให้ผู้เรียนไปทบทวนในวิชาสถิติธุรกิจและการสร้างกราฟ

46 การวางแผนและเทคนิคการขายเพื่อทำกำไร
- การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน - การวิเคราะห์สมรรถภาพในการขาย - การวิเคราะห์สมรรถภาพในการขายเพื่อทำกำไร

47 - การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายผันแปร จุดคุ้มทุน ณ ระดับการดำเนินงานของกิจการที่ปริมาณการขายสินค้าหรือบริการของกิจการ จะมีรายได้ เท่ากับ ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นของสินค้าหรือบริการในกิจการนั้นๆ และกำไร เพื่อจะได้ทราบว่า (ให้ผู้เรียนไปทบทวนในเรื่อง จุดคุ้มทุน ในวิชา การเงินธุรกิจ) - การวิเคราะห์สมรรถภาพในการขาย (ให้ผู้เรียนไปทบทวนในรายการต่างๆในงบกำไร-ขาดทุน ในวิชา บัญขีและการเงินธุรกิจ) - การวิเคราะห์สมรรถภาพในการขายเพื่อทำกำไร (ให้ผู้เรียนไปทบทวนในเรื่อง DOL และ DFL ในวิชา การเงินธุรกิจ)

48 การวางแผนและควบคุมงบประมาณจ่ายลงทุน
ความหมายและความสำคัญของการวางแผนและควบคุมทางการเงินของ งบประมาณจ่าลงทุน การจัดทำงบประมาณจ่ายลงทุนสำหรับการบริหารเงินทุน การพิจารณาการตัดสินใจลงทุนโดยอาศัยงบประมาณจ่ายเงินลงทุน

49 - ความหมายและความสำคัญของการวางแผนและควบคุมทางการเงินของ งบประมาณจ่ายลงทุน
หมายถึง แผนงานที่แสดงถึงความต้องการสินทรัพย์ต่างๆในการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคต โดยแสดงรายละเอียดของจำนวนเงินลงทุน จำนวนเงินเพื่อจ่ายชำระหนี้ และเวลาที่จะชำระหนี้นั้นด้วย เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเตรียมเงินทุนไว้ได้อย่างเพียงพอ อันจะเป็นข้อมูลในการจัดทำงบประมาณในโอกาสต่อไป

50 ความสำคัญที่มีการวางแผนฯ พอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อเป็นการวางแผนล่วงหน้า 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้ได้ใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานและการวางแผนทำกำไร 5. เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินผลงานของแผนกต่างๆในธุรกิจ

51 - การจัดทำงบประมาณจ่ายลงทุนสำหรับการบริหารเงินทุน
มักจะเริ่มจากงบประมาณหลัก (Master Budget) ซึ่งจะประกอบด้วยงบประมาณย่อยๆหลายงบประมาณ โดยทั่วไปจะมีการพิจารณาเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาถึงวัตถุประสงค์และนโยบายหลักของของธุรกิจ โดนเฉพาะเรื่องการวางแผนทางการเงินและการบัญชี เช่น กำไรที่ต้องการ อัตราผลตอบแทน และเงินทุนที่มีอยู่ เป็นต้น 2. ผู้จัดการแต่ละแผนกควรมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในข้อมูลต่างๆในการจัดทำงบประมาณ 3. ประมาณการยอดขาย

52 4. ทางด้านการผลิต ต้องประมาณการเกี่ยวกับต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำงบประมาณกำไรขาดทุน
5. ประมาณการการขยายการลงทุนในแต่ละงวดเวลา เพื่อจัดทำงบประมาณ 6. ปรับปรุงรายการที่บันทึกบัญชีไว้ให้เป็นรายการบันทึกตามเกณฑ์เงินสด เพื่อนำไปคำนวณหาเงินสดในการดำเนินงาน 7. จัดเตรียมงบประมาณย่อยๆทั้งหมดตามที่ฝ่ายบริหารต้องการ 8. เปรียบเทียบงบประมาณที่จัดทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ

53 ประเภทของงบประมาณ โดยส่วนใหญ่ของธุรกิจที่มีการจัดทำงบประมาณสามารถจำแนกตามชนิดของกิจการได้ ดังนี้ คือ 1. กิจการเพื่อการผลิต (Manufacturing Firms) 2. กิจการเพื่อการพาณิชยกรรม (Merchandising Firms) 3. กิจการเพื่อการบริการ (Service Firms) การจัดทำงบประมาณหลักของธุรกิจ มักจะประกอบไปด้วย 1. งบประมาณดำเนินงาน (Operating Budgets) 2. งบประมาณการเงิน (Financial Budgets)

54 1. งบประมาณดำเนินงาน (Operating Budgets)
เป็นงบประมาณที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อนำไปประมาณการผลการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคต ซึ่งประกอบไปด้วย งบประมาณย่อยๆ ดังนี้ 1.1 งบประมาณขาย 1.2 งบประมาณการผลิต 1.3 งบประมาณวัตถุทางตรง 1.4 งบประมาณแรงงานทางตรง 1.5 งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต 1.6 งบประมาณต้นทุนการผลิต 1.7 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1.8 งบประมาณกำไรขาดทุน

55 2. งบประมาณการเงิน (Financial Budgets)
เป็นงบประมาณที่แสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อนำไปประมาณการฐานะของธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย งบประมาณย่อยๆ ดังนี้ 2.1 งบประมาณเงินลงทุน 2.2 งบประมาณเงินสด 2.3 งบประมาณงบดุล 2.4 งบประมาณกำไรสะสม 2.5 งบประมาณแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ 2.6 งบประมาณกระแสเงินสด

56 - การพิจารณาการตัดสินใจลงทุนโดยอาศัยงบประมาณ จ่ายเงินลงทุน
- การพิจารณาการตัดสินใจลงทุนโดยอาศัยงบประมาณ จ่ายเงินลงทุน ในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนนั้น ธุรกิจมักจะใช้งบประมาณของปีที่ผ่านมา นำมาเป็นเกณฑ์ แล้วปรับปรุงจำนวนตัวเลข โดยการคาดการณ์ในปีหน้าว่าจะมีเหตุการณ์ใดบ้างมากระทบ ที่จะทำให้ธุรกิจมีการจัดทำงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีธุรกิจอีกไม่น้อยที่ไม่นำข้อมูลในอดีตมากำหนดงบประมาณในรอบต่อไป ซึ่งเรียกว่า งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-base Budgeting) นอกจากนั้นฝ่ายบริหารยังจะนำงบประมาณที่จะนำมาใช้ มาประเมินกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจริงมาเปรียบเทียบกันอีกด้วย เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่งบประมาณที่กำหนดไว้นั้นสามารถนำมาใช้ได้จริง รวมถึงหาสาเหตุที่เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในการจัดทำงบประมาณด้วย แล้วนำมาแก้ไขได้ทันโดยไม่ชักช้า

57 การวางแผนและควบคุมต้นทุน
- ความหมายต้นทุนและพฤติกรรมต้นทุน - ลักษณะและส่วนต่างของพฤติกรรมต้นทุน - รูปแบบและขั้นตอนในการวิเคราะห์ต้นทุน

58 - ความหมายต้นทุนและพฤติกรรมต้นทุน
ต้นทุน หมายถึง เงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ที่จะนำประโยชน์มาให้กิจการในปัจจุบันหรือในอนาคต ต้นทุนแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs) 1.1 วัตถุทางตรง (Direct Material) หมายถึง วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการแปลงสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป 1.2 แรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่ใช้ในการแปลงสภาพวัตถุดิบให้อยู่ในรูปสินค้าสำเร็จรูป 1.3 ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุทางตรงและแรงงานทางตรงหรือต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป

59 2. ต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนการผลิต (Non-Manufacturing Costs)
2.1 ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมการขาย 2.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (General and Ministrative Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เนื่องจากกิจกรรมการบริหารต่างๆ ต้นทุนของกิจการ แบ่งกิจการออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. กิจการประเภท ซื้อ-ขายสินค้า ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อ - สินค้าคงเหลือปลายงวด 2. กิจการประเภท การผลิต ต้นทุนขาย = สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือต้นงวด + ต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จ - สินค้า สำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด

60 - ลักษณะและส่วนต่างของพฤติกรรมต้นทุน
ในการพิจารณาพฤติกรรมต้นทุนในลักษณะต่างๆนั้น ผู้บริหารมักจะนำงบประมาณที่ยืดหยุ่นได้กับผลการปฏิบัติงานจริง มาหาข้อแตกต่าง และสนใจรายการที่สามารถควบคุมได้เท่านั้น โดยการกำหนดเป็น ราคามาตรฐาน(Standard Price) และ ปริมาณมาตรฐาน (Standard Quantity) ซึ่งแสดงรายละเอียดเป็น - ราคามาตรฐานของวัตถุทางตรง หมายถึง ต้นทุนต่อหน่วยของวัตถุทางตรงที่ควรจะเป็น ขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ราคาตลาด ราคาที่เคยซื้อในอดีต สภาพเศรษฐกิจ จำนวนผู้ขาย เป็นต้น หรืออาจจะเขียนได้ว่า ราคามาตรฐานของวัตถุทางตรง = ราคาซื้อสุทธิ + ต้นทุนค่าขนส่ง + ต้นทุนในการเก็บรักษา - ปริมาณมาตรฐานของวัตถุทางตรง หมายถึง ปริมาณของวัตถุทางตรงที่ควรจะใช้สำหรับการผลิต แสดงอยู่ในหน่วยการวัด เช่น กิโลกรัม ปอนด์ เป็นต้น หรืออาจเขียนได้ว่า ปริมาณมาตรฐานของวัตถุทางตรง = วัตถุทางตรงที่ต้องการใช้ + การสำรองเผื่อการเสียหาย

61 ในการวิเคราะห์ส่วนต่างของต้นทุนนั้น สามารถแยกส่วนต่างได้ 3 ประเภท คือ
1. ผลต่างวัตถุทางตรง สามารถเขียนได้เป็น ผลต่างวัตถุทางตรง = ผลต่างราคาวัตถุทางตรง + ผลต่างปริมาณวัตถุทางตรง 2. ผลต่างแรงงานทางตรง สามารถเขียนได้เป็น ผลต่างแรงงานทางตรง = ผลต่างอัตราค่าแรงทางตรง + ผลต่างประสิทธิภาพในการผลิต 3. ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต สามารถเขียนได้เป็น ผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต = ผลต่างที่ควบคุมได้ + ผลต่างปริมาณผลิต

62 - รูปแบบและขั้นตอนในการวิเคราะห์ต้นทุน
รูปแบบที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนมี 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. วิธี จุดสูงสุด - ต่ำสุด (High – Low Method) เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่จำแนกต้นทุนผสมเป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 เลือกจุด สูงสุด - ต่ำสุด 1.2 คำนวณต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ตามสมการ ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย = 1.3 คำนวณต้นทุนผันแปรรวม ตามสมการ ต้นทุนผันแปรรวม = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย x ปริมาณระดับกิจกรรมสูงสุดหรือต่ำสุด 1.4 คำนวณต้นทุนคงที่ ตามสมการ ต้นทุนคงที่ = ต้นทุนรวม – ต้นทุนผันแปรรวม

63 2. วิธี Scattergraph เป็นวิธีการแจกแจงต้นทุนผสมให้เป็นผันแปรและ ต้นทุนคงที่ โดยใช้กราฟ มีวิธีการดังนี้ นำต้นทุนรวมในทุกระดับกิจกรรมมาวาดลงในกราฟจากนั้นวาดเส้นสมการถดถอย โดยประมาณให้สมการนี้ใกล้เคียงกับจุดต่างๆให้มากที่สุด แล้วคำนวณเพื่อให้สอดคล้องกับกราฟเส้นตรงที่เกิดขึ้น 3. วิธี Least Squares Regression Analysis เป็นวิธีการแจกแจง ต้นทุนผสมโดยใช้หลักการทางสถิติศาสตร์ ซึ่งเป็นสมการถดถอย จะเป็นเส้น ตรงที่ที่ใกล้เคียงจุดต่างๆที่นำมาใช้ในการคำนวณ ในรูปของ Y = a + bx

64 การวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน
- จะใช้กรณีศึกษาของแต่ละกลุ่มนำมาอภิปรายการดำเนินงาน

65

66


ดาวน์โหลด ppt ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ความหมายและลักษณะของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน - ข้อดี ข้อจำกัด ของการวางแผนและควบคุมทางการเงิน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google