งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 223204 การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า
การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี-ศรีวัฒนา สถาบันทางการตลาด (Marketing Institution) Create by : Punika Chaemchumrus

2 Contents สถาบันทางการตลาด สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก ประเภทของสถาบันการค้าปลีก สถาบันคนกลางผู้ค้าส่ง ประเภทของสถาบันการค้าส่ง

3 สถาบันทางการตลาด สถาบันการตลาด ( Marketing Institution)
เป็นหน่วยงานธุรกิจซึ่งทำหน้าที่ทางการตลาดทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน เพื่อทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม หรือ เป็นธุรกิจที่ช่วยในการขาย (Selling) สินค้าหรือบริการ ช่วยในการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าของเรา ทำการจำหน่าย (Distribution) หรือการทำให้สินค้าและบริการเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค

4 สถาบันทางการตลาด สถาบันการตลาด ( Marketing Institution)
อาจเรียกว่า ตัวกลางทางการตลาด ( Marketing intermediaries) ซึ่งหมายถึง หน่วยธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสถาบันการค้าส่งหรือการค้าปลีก ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ผลิตสินค้าและ ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม ซึ่งบางครั้งเรียกว่า (Middleman)

5 ประเภทของสถาบันทางการตลาด
สถาบันการค้าปลีก (Retailing Institution) ได้แก่ พ่อค้าปลีกประเภทต่าง ๆ  สถาบันการค้าส่ง หรือ สถาบันที่ประกอบธุรกิจการค้าส่ง (Wholesaling Institution)  สถาบันที่ทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกทางการตลาด (Facilitators) ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับ การวิจัยตลาด ตัวแทนโฆษณา ที่ปรึกษาทางการตลาด ขนส่ง คลังสินค้า ธนาคาร การเงิน ประกันภัย เป็นต้น

6 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การค้าปลีก หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ลูกค้าหรือผู้ซื้อเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปเพื่อใช้ส่วนตัว หรือใช้ในครอบครัว มิใช่ เพื่อการขายต่อหรือใช้ในการประกอบธุรกิจ

7 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
หัวใจสำคัญของการค้าปลีก การสร้างความแตกต่างระหว่างตนเองกับคู่แข่ง ซึ่งธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในตลาดมีข้อได้เปรียบในการต่อรองกับผู้จัดหา มากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก แต่หากธุรกิจค้าปลีกเน้นการสร้างความแตกต่างด้านคุณค่า (value) ด้วยประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเอาใจลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและเกิดความประทับใจ และพยายามดึงดูดใจลูกค้ารายใหม่ให้ซื้อสินค้า/บริการในร้านได้มากขึ้น

8 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
แนวโน้มการค้าปลีกและกลยุทธ์ของผู้นำการค้าปลีก รูปแบบการค้าปลีกแบบใหม่ ( New retail Form) ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นมาให้มีรูปแบบการค้าใหม่ ๆ เช่น บริการจัดอาหารถึงบ้านหรือสำนักงาน บริการของธนาคารที่มาให้บริการลูกค้าโดยตรงถึงบ้านหรือตามสำนักงาน

9 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
วงจรชีวิตของธุรกิจการค้าปลีกบางอย่างค่อนข้างสั้น (Shortening retail life cycle) รูปแบบของธุรกิจการค้าปลีกมีแนวโน้มว่า วงจรชีวิต (อายุของธุรกิจ) ค่อนข้างสั้น เช่น มิสเตอร์โดนัทซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีก ขนาดเล็กขายสินค้าคุณภาพต่ำ เมื่อมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นทำให้ต้องมีการปรับปรุงธุรกิจและพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า

10 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การเพิ่มขึ้นของการค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า (Non-store retailing) ปัจจุบันลูกค้ามีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้นมีการสั่งซื้อทาง โดยที่ลูกค้าไม่เสียเวลาในการเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้าที่มีความต้องการ

11 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งขันระหว่างช่องทางที่แตกต่างกัน (Increasing intertype competition) เป็นการแข่งขันกันเองระหว่างร้านขายของชำ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และการค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า การเพิ่มขึ้นของธุรกิจการค้าปลีก (Polarity of retailing) จำนวนของธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ค้าปลีกต้องกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของตนให้เด่นชัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างกันทางการแข่งขัน (Competitive differentiation)

12 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การค้าปลีกมีการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในรูปการเลือกซื้อโดยแวะครั้งเดียว ( Changing definition of one stop shopping) เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองความต้องการของลูกค้า ธุรกิจค้าปลีกมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และศูนย์การค้า

13 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การเจริญเติบโตของระบบตลาดในแนวดิ่ง (Growth of vertical marketing system) บริษัทขนาดใหญ่จะมีการรวมตัวกันระหว่างผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง และผู้ผลิต เป็นการรวมตัวกันด้านสัญญาทำให้กิจการที่มีขนาดใหญ่สามารถขยายการควบคุมสมาชิกในช่องทางได้ดีขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีกรายเล็กทั้งหลายอยู่ไม่ได้ต้องออกจากตลาดไป

14 สถาบันคนกลางผู้ค้าปลีก
การออกแบบร้านค้าปลีกใหม่ (Designing new store format) มีการเพิ่มวิธีการออกแบบและรูปลักษณ์ของร้านค้าให้มีความทันสมัย มีลักษณะแบบนวัตกรรมใหม่ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การเพิ่มความสำคัญในเทคโนโลยีใหม่สำหรับการค้าปลีก (Growing importance of retail technology) เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ถูกนำมาใช้กับการค้าปลีกจนกลายเป็นอาวุธที่สำคัญต่อการแข่งขัน โดยมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยพยากรณ์ยอดขาย ควบคุมสินค้าคงเหลือและการซื้อขายสินค้าในร้านค้า

15 ประเภทร้านค้าปลีก 1. ผู้ค้าปลีกที่มีร้านค้า (Store retailer)
รูปแบบของผู้ค้าปลีกที่มีร้านค้าไว้เพื่อขายสินค้าและบริการของตนเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 11 ชนิด คือ ร้านค้าขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) จะคัดเลือกสินค้ามาขายเฉพาะสายผลิตภัณฑ์หลักๆ เช่น ร้านเฟอร์นิเจอร์ ห้างสรรพสินค้า (Department Store) จัดหาสินค้ามาขายหลากหลายชนิด เช่น เซ็นทรัล โรบินสัน ร้านสรรพหาร (Supermarket) ขายสินค้าที่มีกำไรต่อหน่วยต่ำ แต่ขายในปริมาณมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ สินค้าในครัวเรือน

16 ประเภทร้านค้าปลีก 1. ผู้ค้าปลีกที่มีร้านค้า (Store retailer) ต่อ
ร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience Store) มีขนาดเล็กและตั้งอยู่ใกล้ที่พักอาศัยของลูกค้า เปิดบริการ 24 ชั่วโมงทุกวัน เช่น เอเอ็มพีเอ็ม, เซเว่น-อิเลฟเว่น ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่และไฮเปอร์มาร์ท (Superstore and Hypermarket) หรือเรียกว่าซุปเปอร์สโตร์ นำอาหาร เครื่องใช้ทั่วไป มาขาย มีบริการซักแห้งเสื้อผ้า ซ่อมรองเท้าอยู่ในร้านค้า เช่น จัสโก้ ฟิวเจอร์ปาร์ค

17 ประเภทร้านค้าปลีก 1. ผู้ค้าปลีกที่มีร้านค้า (Store retailer) ต่อ
ร้านค้าให้ส่วนลด (Discount Store) วางขายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด เช่น บิ๊กซี โลตัส ผู้ค้าปลีกราคาต่ำ (Off Price Retailer) ขายสินค้าออกไปจากร้านให้เร็วที่สุด ราคาต่ำกว่าร้านค้า เช่น โรงงานผู้ผลิตมาเปิดขายสินค้าเองตามสถานที่ต่างๆ เพื่อระบายสินค้าโดยเร็วที่สุด โชว์รูมแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog Showroom) คัดเลือกสินค้าที่มีชื่อเสียงในตราสินค้า ลูกค้ารู้จัก กำไรต่อหน่วยสูง ขายออกได้เร็ว เช่น อุปกรณ์กีฬา กระเป๋าเดินทาง

18 ประเภทร้านค้าปลีก 1. ผู้ค้าปลีกที่มีร้านค้า (Store retailer) ต่อ
ร้านค้าสาขา (Chain Store) ขายสินค้ามากกว่า 2 ร้านขึ้นไปภายใต้เจ้าของคนเดียวกัน เช่น ร้านบูทส์ และวัตสัน ร้านค้าแบบสัมปทานสิทธิ์ (Franchising Store) หรือผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไป จะจ่ายเงินทุนในการทำร้าน ค่าสินค้า ค่าธรรมเนียม จ่ายเปอร์เซ็นต์กำไร ให้กับผู้ให้สัมปทาน เช่น ร้านวิดีโอเทปทซึทาญ่า ผู้ค้าปลีกรูปแบบอื่นๆ (Other Retailer) ที่ใช้ร้านค้าของตนเองในการเปิดขายสินค้า เช่น ร้านขายสินค้าทั่วไป ร้านขายของชำ

19 ประเภทร้านค้าปลีก 2. ผู้ค้าปลีกที่ไม่มีร้านค้า (Non store retailer)
ผู้ซื้อหรือลูกค้าส่วนใหญ่มักนิยมวิธีการซื้อที่แตกต่างไปจากเดิม สามารถแยกประเภท ได้ดังนี้ การขายตรง (Direct Selling) เป็นการขายสินค้าและบริการไม่ผ่านคนกลาง เช่น การขายตรงเครื่องสำอาง เอวอน โดยใช้พนักงานขายอิสระที่เป็นทั้งผู้ขายและซื้อไปใช้เอง การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เป็นการขายปลีกที่ไม่ใช้บุคคลขายหรือพนักงานขายเข้ามาช่วยในการผลักดันในการเกิดการขาย จะใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและบริการ เช่น การขายทางโทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น

20 ประเภทร้านค้าปลีก 2. ผู้ค้าปลีกที่ไม่มีร้านค้า (Non store retailer) ต่อ เครื่องหยอดเหรียญอัตโนมัติ (Automatic Vending Machine) เป็นการนำเอาเครื่องจักรและอุปกรณ์เข้ามาช่วยให้เกิดการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยผ่ายเครื่องหยอดเหรียญอัตโนมัติ

21 ประเภทร้านค้าปลีก 3. สาขาหรือสำนักงานขายของผู้ผลิต ( Manufacturer's Sales Branches and Office) ผู้ผลิตดำเนินการค้าส่งเอง เช่น สาขาของผู้ผลิตที่มีสินค้า ผู้ผลิตจะเก็บสินค้าไว้ที่สาขาด้วย เพื่อจะขายส่งได้ทันทีที่มีคำสั่งซื้อ สำนักงานขายของผู้ผลิตที่ไม่มีสินค้า เป็นเพียงสำนักงานขายที่รับคำสั่งซื้อ แล้วส่งไปสำนักงานใหญ่หรือโรงงาน

22 สถาบันคนกลางผู้ค้าส่ง
การค้าส่ง (Wholesaling) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าและบริการไป ยังผู้ที่ซื้อไปเพื่อขายต่อหรือซื้อไปใช้ในการทำธุรกิจ สถาบันการค้าส่งทำหน้าที่เป็นผู้ขายต่อ (Reseller) โดยการซื้อ สินค้าจำนวนมากจากผู้ผลิตหรือตัวแทนแล้วนำไปขายต่อให้ ลูกค้า สถาบันการค้าส่งมีลูกค้า ได้แก่ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ใช้ทาง อุตสาหกรรม และสถาบันต่าง ๆ

23 สถาบันคนกลางผู้ค้าส่ง
หน้าที่การตลาดของสถาบันการตลาด ได้แก่ การขาย (Selling) การซื้อ (Buying) การเงิน (Financing) การรับภาระเสี่ยงภัย (Risk taking) การขนส่ง (Transportation) , การเก็บรักษา (Storage) การจัดมาตรฐานและระดับชั้นของสินค้า (Standardization and grading) และสารสนเทศทางการตลาดและการวิจัยการตลาด (Marketing information and research)

24 ประเภทของสถาบันการค้าส่ง
การจัดประเภทสถาบันการค้าส่ง ตามกรรมสิทธิ์ในสินค้า แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท (1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant wholesaler) หมายถึง พ่อค้าที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขาย ได้แก่ พ่อค้าส่งจ๊ อบเบอร์ และผู้จัดจำหน่าย จ๊อบเบอร์ ( Jobber) เป็นพ่อค้าส่งที่ขายสินค้าพร้อมกับบริการ จัดวาง ตกแต่งร้าน ดูแลไม่ให้สินค้าขาดสต็อก

25 ประเภทของสถาบันการค้าส่ง
(2) ตัวแทนคนกลาง ( Agent middleman) และนายหน้า มักเป็นพ่อค้าส่งที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ได้แก่ นายหน้า ตัวแทนผู้ผลิต ตัวแทนขายหรือตัวแทนจำหน่าย (3) ผู้ผลิตค้าส่งเองในรูปสาขา และสำนักงานขาย (Manufacturers' sales branches and offices) เป็นลักษณะที่ ผู้ผลิตจะดำเนินการค้าส่งเอง ได้แก่ สาขาของ ผู้ผลิตที่มีสินค้า สำนักงานขายของผู้ผลิตที่ไม่มีสินค้า

26 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
ผู้ผลิตสามารถนำมาช่วยในการกระจายสินค้าและบริการให้แก่ ผู้ผลิตได้ เราสามารถแบ่งประเภทของผู้ค้าส่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant Wholesaler) จะมีความเป็นอิสระในการเป็นเจ้าของธุรกิจการค้าของตนเอง มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น พ่อค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย ทำหน้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งรายอื่น ๆ เพื่อขาย ต่อไปยังผู้ค้าปลีก และผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ

27 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant Wholesaler) ต่อ แบ่งย่อยได้ดังนี้ - ผู้ค้าส่งให้บริการเต็มที่ ( Full Service Wholesaler) จะช่วยอำนวย ความสะดวกในด้านการให้บริการเก็บรักษาสินค้ามีพนักงานขายเป็น ของตนเองมีการให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อบริการขนส่งให้ และให้ความ ช่วยเหลือด้านการบริหารงานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ => พ่อค้าขายส่ง (Wholesaler Merchant) => ผู้จัดจำหน่ายทางอุตสาหกรรม (Industrial Distribution)

28 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant Wholesaler) ต่อ - ผู้ค้าส่งให้บริการอย่างจำกัด ( Limited Service Wholesaler) จะ ให้บริการน้อยมากแก่ผู้ผลิตและผู้ใช้ทางอุตสาหกรรมทั่วไป สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ดังนี้ 1=> ผู้ค้าส่งขายเงินสดไม่บริการส่ง (Cash and Carry Wholesaler) มีการให้บริการอย่างจำกัด ผลิตภัณฑ์ที่ขายมีไม่กี่ ประเภท ขายง่ายและขายให้กับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก เช่น แม็คโคร 2=> ผู้ค้าส่งรถบรรทุก (Truck Wholesaler) ประเภทของสด และเน่าเสียง่าย เช่น นม ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ โดยขายเป็นเงินสด

29 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant Wholesaler) ต่อ 3=> ผู้ค้าส่งรับคำสั่งซื้อ (Drop Shipper) เกี่ยวกับวัตถุดิบ ธรรมชาติ เช่น หิน ทราย ไม้ซุง ถ่านหิน อุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก ไม่มีการผ่านมือผู้ค้าส่งก่อนนำไปส่งมอบแก่ลูกค้า 4=> ผู้ค้าส่งฝากขาย (Rack Jobber) ให้บริการผู้ค้าปลีกโดยนำ สินค้าไปฝากขาย มีการจัดตกแต่งร้านให้ดึงดูดใจผู้ซื้อ มักเป็น สินค้าที่ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ตกแต่งภายใน

30 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(1) พ่อค้าส่งที่ทำการค้าส่ง ( Merchant Wholesaler) ต่อ 5=> สหกรณ์ผู้ผลิต (Producer’s Cooperative) ส่วนใหญ่เป็น สมาชิกชาวเกษตรกร กำไรจะนำมาจัดสรรให้สมาชิกในกลุ่มตาม จำนวนหุ้นที่ถืออยู่เมื่อสิ้นงวดบัญชี 6=> ผู้ค้าส่งทางไปรษณีย์ (Mail order Wholesaler) จะส่ง แค็ตตาล็อกสินค้าไปให้ผู้ค้าปีกและลูกค้าทางอุตสาหกรรม ดู รายการสินค้าที่มีจำหน่าย เช่น เครื่องประดับ เครื่องสำอางค์ ทำ การส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อผ่านทางธนาณัติ ใช้วิธีการโอนเงินผ่าน ทางธนาคาร หรือไปรษณีย์

31 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ผู้ค้าส่งที่เป็นนายหน้าและตัวแทนจะมีความแตกต่างจากผู้ค้าส่ง สินค้า เพราะจะไม่รับเอาสินค้ามาเก็บไว้เพื่อขาย แต่จะทำหน้าที่ผู้ค้าส่งเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น การอำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย และ ได้รับผลตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้าขาย นายหน้า ตัวแทนจะมีความชำนาญในการขายสินค้าประเภทใดประเภท หนึ่งโดยเฉพาะ

32 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ต่อ นายหน้า ( Broker) มีหน้าที่ในการนำผู้ซื้อมาพบกับผู้ขาย และทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองราคาให้และได้รับเงินค่า นายหน้าหรือผลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างให้มาเป็นนายหน้าในการ ติดต่อซื้อขายอาจจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายจ่ายค่านายหน้าก็ได้ นายหน้าไม่มีการเก็บรักษาสินค้าไว้ขายแต่อาจจะต้อง รับผิดชอบการจ่ายเงินค่าสินค้าคืนผู้ซื้อหรือผู้ขาย

33 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ต่อ ตัวแทน (Selling Agent) ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือตัวแทน ให้กับผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ได้เพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้าเราจึงแบ่ง ชนิดของตัวแทนได้ 5 ชนิด ดังนี้ 1=> ตัวแทนผู้ผลิต (Manufacturer's Agent) ทำหน้าที่เป็น ตัวแทนให้กับกิจการผู้ผลิตหรือเป็นตัวแทนให้กับผู้ผลิตหลาย ๆ ราย ในคราวเดียวกัน สินค้าที่นิยมใช้ตัวแทนช่วยในการกระจายสินค้า เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

34 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ต่อ 2=> ตัวแทนขาย (Selling Agent) ตัวแทนจะทำการบริหารทีม ขาย การกำหนดราคาขาย การแบ่งเขตขาย และวิธีการขาย ที่เป็น ของตนเอง ผู้ผลิตไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่จะกำหนดยอดขายที่ต้องการ ในแต่ละปีสินค้าที่นิยมใช้ตัวแทนขาย เช่น เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์และ เครื่องจักร

35 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ต่อ 3=> ตัวแทนจัดซื้อ (Purchasing Agent) ส่วนใหญ่มักมี ความสัมพันธ์อันยาวนานและคุ้นเคยกับผู้ขายเป็นอย่างดี ทำหน้าที่ ในการจัดซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายให้กับผู้ซื้อ จะตรวจรับ ตรวจสอบ สินค้ามีโกดังเก็บสินค้า และขนส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่ในตลาด ของกลุ่มผู้ซื้อ ผู้พักอาศัย

36 ประเภทของผู้ค้าส่ง (Types of Wholesaler)
(2) นายหน้าและตัวแทน ( Broker and Agent) ต่อ 4=> พ่อค้ารับค่าคอมมิชชั่น (Commission Merchant) มีสิทธิ์ถือ ครองสินค้าเอาไว้และเจรจาต่อรองการขาย ทำหน้าที่เพียงชั่วคราว ให้แก่ผู้ขายเป็นตลาดพืชผลทางการเกษตร พ่อค้าคอมมิชชั่นจะ บรรทุกสินค้าไปขาย ณ ตลาดกลางเพื่อให้ได้ราคาสินค้าที่ดีกว่า 5=> บริษัทประมูล (Auction Company) ผู้ซื้อจะเข้ามาสำรวจ เลือกดูสินค้าก่อนทำการประมูลราคา โดยบริษัทประมูลจะคิด ค่าธรรมเนียมไปตามเงื่อนไขราคาที่ได้ตกลงกันไว้ ส่วนใหญ่ใช้กับ อสังหาริมทรัพย์และรถยนต์

37 ประเภทสถาบันการตลาด การจัดประเภทสถาบันการตลาดตามกรรมสิทธิ์ในสินค้า
1. พ่อค้าคนกลาง (Merchant middleman) เป็นคนกลางที่มี กรรมสิทธิ์ในสินค้ามี 2 กลุ่ม คือ พ่อค้าส่ง [Wholesaler] และพ่อค้า ปลีก [Agent middleman] 2. ตัวแทนคนกลาง (agent middleman) เป็นคนกลางที่ไม่มี กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ขาย ได้แก่ ตัวแทนขาย [Selling] ตัวแทนผู้ผลิต [Manufacturer] นายหน้า [Broker] พ่อค้านายหน้า [Commission merchant] บริษัทประมูล [Auction company]

38 ประเภทสถาบันการตลาด การจัดประเภทสถาบันการตลาดตามกรรมสิทธิ์ในสินค้า [ต่อ] 3. ธุรกิจที่ทำหน้าที่กระจายตัวสินค้า (Physical distribution firm) เป็นหน่วยงานที่ช่วยเก็บรักษาสินค้าและทำการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต ไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น DHL รสพ เป็นต้น 4. ธุรกิจให้บริการทางการตลาด (Marketing services agencies) เป็นธุรกิจที่ช่วยในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้กับผลิตภัณฑ์และยัง ช่วยในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ออกสู่ตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การจัด มาตรฐานและเกรดของสินค้า บริษัทวิจัยตลาด บริษัทที่ปรึกษา ทางการตลาด

39 ประเภทสถาบันการตลาด การจัดประเภทสถาบันการตลาดตามกรรมสิทธิ์ในสินค้า [ต่อ] 5. สถาบันการเงิน ( Financial institution) คือบริษัทต่างๆ ที่ช่วย จัดหาเงินหรือประกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า เช่น บริษัทประกันภัย บริษัทเงินทุน ธนาคาร เป็นต้น

40 การจัดประเภทสถาบันการตลาด ตามลักษณะการดำเนินงาน และลักษณะลูกค้า
การจัดประเภทสถาบันการตลาด ตามลักษณะการดำเนินงาน และลักษณะลูกค้า 1. สถาบันการค้าส่ง ( Wholesaling) เป็นกลไกในระบบการตลาดที่ช่วยกระจายสินค้าให้กับผู้ผลิต สถาบันพ่อค้าส่งประกอบด้วย (1) ผู้ผลิตค้าส่งเองในรูปสาขาและสำนักงานขายของผู้ผลิต ตัวแทนและนายหน้า (2) คนกลางค้าส่งที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า (Agent middleman) (3) ผู้ค้าส่งที่เป็นพ่อค้า (Merchant wholesaler) เป็นคนกลางค้าส่งที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า

41 การจัดประเภทสถาบันการตลาด ตามลักษณะการดำเนินงาน และลักษณะลูกค้า [ต่อ]
การจัดประเภทสถาบันการตลาด ตามลักษณะการดำเนินงาน และลักษณะลูกค้า [ต่อ] 2. สถาบันการค้าปลีก ( Retailing) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคสุดท้ายที่ซื้อไปเพื่อใช้เอง มิใช่เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจหรือขายต่อ

42 แนวโน้มการค้าส่งและกลยุทธ์ของการค้าส่ง
สถาบันผู้ค้าส่งมีแนวโน้มจะลดลงเนื่องจากการแข่งขันเพิ่มขึ้น กล่าวคือ (1) ผู้ผลิต มีขนาดขององค์กรที่ใหญ่ขึ้นและมีความสามารถในการ จัดจำหน่ายเองได้จึงไม่ต้องพึ่งพาอาศัย ผู้ค้าส่ง (2) ผู้ค้าปลีกได้ระบบการค้าแบบลูกโซ่และระบบสิทธิทางการค้า เข้ามาใช้ทำให้ผู้ค้าปลีกมีอำนาจเพิ่มในการต่อรอง การซื้อสินค้า โดยตรงจากผู้ผลิตเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องผ่านผู้ค้าส่ง

43 แนวโน้มการค้าส่งและกลยุทธ์ของการค้าส่ง
สถาบันผู้ค้าส่งมีแนวโน้มจะลดลงเนื่องจากการแข่งขันเพิ่มขึ้น [ต่อ] (3) สถาบันการค้าส่ง มีข้อบกพร่องในหน้าที่การตลาด กล่าวคือ ผู้ค้าส่งไม่ให้เพียงพอกับความต้องการ ไม่เข้าไปกระตุ้นหรือรับคำ สั่งซื้ออย่างรวดเร็ว เมื่อลูกค้ามีความต้องการซื้อไม่เก็บรวบรวมข้อมูล ข่าวสารทางการตลาดส่งให้กับผู้ผลิต เช่น ข้อมูลคู่แข่งขัน ความ เคลื่อนไหวในการตลาด และมักจะคิดค่าบริการที่สูงมากเกิน

44 Thank You !


ดาวน์โหลด ppt การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google