งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความสำคัญของ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความสำคัญของ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบรรยายหัวข้อ “การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน (Liaison Officer)”

2 ความสำคัญของ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ

3 ความสำคัญของเจ้าหน้าที่ LO
เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ ทำหน้าที่เสมือนเจ้าหน้าที่พิธีการทูตประจำคณะ รับรองและต้อนรับแขกต่างประเทศที่มาประชุมให้ได้รับความสะดวกอย่างสมเกียรติ ตามหลักพิธีการทูต มีส่วนทำให้การประชุมประสบความสำเร็จด้วยดี

4 หลักพิธีการทูตกับ การรับรองการเยือน
ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนการเยือนก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ การได้พบปะหารือกันนำมาซึ่งความใกล้ชิดสนิทสนม ความไว้เนื้อเชื่อใจ และสานต่อไปยังความร่วมมือระหว่างกัน

5 พิธีการทูต (Protocol)
พิธีการทูต คือ กฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่สังคมยอมรับและถือเป็นมาตรฐานสำหรับรัฐบาลและผู้แทนของรัฐบาลใช้ถือปฏิบัติในการดำเนินกระบวนการทางการทูต ทั้งในส่วนที่เป็นงานพิธี (Ceremonials) ที่จัดอย่างเป็นทางการและที่จัดเป็นการส่วนตัว พิธีการทูต คือ กฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่สังคมยอมรับและถือเป็นมาตรฐานสำหรับรัฐบาลและผู้แทนของรัฐบาลใช้ถือปฏิบัติในการดำเนินกระบวนการทางการทูต ทั้งในส่วนที่เป็นงานพิธี (Ceremonials) ที่จัดอย่างเป็นทางการและที่จัดเป็นการส่วนตัว

6 พิธีการทูต (Protocol)
ระเบียบแบบอย่างหรือขนบธรรมเนียมที่ถือเป็นหลักเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นหลักเกณฑ์ด้านพิธีการทางความประพฤติ (ไม่ใช่กฎหมาย) มุ่งหมายที่จะกำหนดแนวทางปฏิบัติให้แต่ละคนที่ทำหน้าที่ทางการทูตของแต่ละประเทศให้ได้รับเกียรติ ได้รับการปฏิบัติอันเหมาะสมและถูกต้อง - ระเบียบแบบอย่างหรือขนบธรรมเนียมที่ถือเป็นหลักเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ - เป็นหลักเกณฑ์ด้านพิธีการทางความประพฤติ (ไม่ใช่กฎหมาย) - มุ่งหมายที่จะกำหนดแนวทางปฏิบัติให้แต่ละคนที่ทำหน้าที่ทางการทูตของแต่ละประเทศให้ได้รับเกียรติ ได้รับการปฏิบัติอันเหมาะสมและถูกต้อง

7 พิธีการทูต (Protocol)
พิธีการทูต มีความสำคัญอย่างมาก การละเมิดระเบียบพิธีการทางการทูตอาจจะนำไปสู่วิกฤติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากถือเป็นการดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติกัน พิธีการทูต มีความสำคัญอย่างมาก การละเมิดระเบียบพิธีการทางการทูตอาจจะนำไปสู่วิกฤติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากถือเป็นการดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติกัน

8 หลักพื้นฐานของพิธีการทูต
การแสดงอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อกัน (Hospitality) การให้เกียรติ (Honor) การให้ความคุ้มครอง ปกป้องให้ปลอดภัย (Protection) การอำนวยความสะดวก (Facilitation) การถ้อยทีถ้อยประติบัติ (Reciprocity) - การมีอัธยาศัยไมตรี Service Mind จิตใจใฝ่บริการ - การให้เกียรติผู้มาเยือน การให้เกียรติผู้มารับบริการ - การปกป้องคุ้มครอง ความปลอดภัย ในบุคคล สถานที่ - การอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เช่น การเดินทาง การจราจร ที่พัก ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ข้อมูล ข่าวสาร - การประติบัติต่างตอบแทน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

9 การแสดงอัธยาศัยไมตรีที่ดีต่อกัน (Hospitality)
การมีอัธยาศัยไมตรี การมีจิตใจใฝ่บริการ (Service mind) ความเป็นเจ้าของบ้าน (ต้อนรับแขกผู้มาเยือน) การเอาใจใส่

10 การให้เกียรติ (Honor)
การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีระหว่างประเทศ สิ่งใดที่เกี่ยวกับเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศ เช่น ธงชาติ ประมุขรัฐและบุคคลสำคัญของรัฐ ควรจะได้รับความเคารพนับถือและปฏิบัติต่ออย่างถูกต้องตามพิธีการทูต

11 การให้ความคุ้มครองให้ปลอดภัย (Protection)
เพื่อให้การเยือนเป็นไปอย่าง “ราบรื่น” เพื่อให้แขกผู้มาเยือนเกิดความ “อุ่นใจและสบายใจ” อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ หากเกิดเหตุอันตราย

12 การอำนวยความสะดวก (Facilitation)
การอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เช่น การเดินทาง การจราจร ที่พัก ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ข้อมูล ข่าวสาร เมื่อได้รับความสะดวก จะรู้สึกสะดวกสบายใจ

13 การถ้อยทีถ้อยประติบัติ (Reciprocity)
การประติบัติต่างตอบแทน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

14 เป้าหมายของพิธีการทูต
เรียบร้อย สะดวก สมเกียรติ พิธีการทูตมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้กระบวนการและงานพิธีต่างๆ สามารถดำเนินสำเร็จลุล่วงได้อย่างเรียบร้อย สง่างาม สมเกียรติและฐานะ พิธีการทูตจึงถือระเบียบพิธีอย่างเคร่งครัด

15 คุณสมบัติของ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ

16 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
1. ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต 2. การแต่งกาย บุคลิกภาพ กิริยามารยาท 3. การใช้ภาษา 4. มีความรู้เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ 5. มีความรู้เกี่ยวกับการประชุม 6. มีทักษะความรู้อื่นๆ ที่จำเป็น

17 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
1. ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีความอดทนสูง สามารถทำงานอย่างตรากตรำภายใต้ความกดดันสูงได้ต่อเนื่องหลายวัน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นโรคติดต่อ มีวินัย ตรงต่อเวลา จิตใส ร่าเริง รักการให้บริการ และมองโลกในทางบวก

18 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
2. การแต่งกาย บุคลิกภาพ กิริยามารยาท แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจใช้ชุดสูทสีกรมท่า หรือสีดำ ผู้ชายไม่ไว้ผมยาว หรือหนวดเครา ผู้หญิงควรรวบผม ตัดเล็บให้สั้น บุคลิกภาพสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน มีความละเอียดรอบคอบ ปฏิภาณไหวพริบดี แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างแนบเนียน

19 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
3. การใช้ภาษา มีความรู้และสื่อสารภาษาอังกฤษ และ/หรือ ภาษาของคณะที่ตนเป็น LO ให้ได้อย่างดี ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เรียบร้อย เหมะสมกับกาลเทศะและสถานการณ์ มีไหวพริบที่จะสามารถสื่อสารกับฝ่ายต่างประเทศได้ แม้มีอุปสรรคทางภาษา

20 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
4. มีความรู้เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ ข้อมูลชีวประวัติ ศาสนา และวัฒนธรรมของบุคคลสำคัญ ข้อมูลด้านการแพทย์ กลุ่มเลือด การแพ้ยา การแพ้อาหาร ชอบ/ไม่ชอบ อะไร โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศของบุคคลสำคัญ ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลด้านสถานะความสัมพันธ์กับประเทศไทย

21 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ LO
5. มีความรู้เกี่ยวกับการประชุม จุดประสงค์ของการประชุม องค์กรที่จัดการประชุม เอกสารที่สำคัญ กำหนดการการประชุม ขั้นตอน พิธีการ กิจกรรมต่างๆ สถานที่จัดการประชุม ห้องต่างๆ สถานที่สำคัญที่น่าสนใจในพื้นที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ ร้านอาหาร สถานที่ shopping

22 บทบาทของเจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะในการรับรอง บุคคลสำคัญต่างประเทศ
ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนการเยือนก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ การได้พบปะหารือกันนำมาซึ่งความใกล้ชิดสนิทสนม ความไว้เนื้อเชื่อใจ และสานต่อไปยังความร่วมมือระหว่างกัน

23 แนวทางในการรับรองบุคคลสำคัญต่างประเทศ
การจัดโรงแรมที่พัก การจัดยานพาหนะ การจัดอาหาร การจัดมาตรการรักษาความปลอดภัย

24 การรับรองการเยือน มี 2 มิติ
ด้านพิธีการ ด้านการอำนวยความสะดวก (Logistical arrangements)

25 ด้านพิธีการ พิธีการต้อนรับ-ส่ง ที่ท่าอากาศยาน
การเข้าร่วมการประชุมเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ การเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง การจัดกำหนดการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ - กำหนดการทางการ - กำหนดการส่วนตัว

26 ด้านการอำนวยความสะดวก
การอำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน การจัดยานพาหนะ การจัดที่พัก มาตการรักษาความปลอดภัย

27 พิธีการต้อนรับ–ส่ง ณ ท่าอากาศยาน
พิธีการต้อนรับ–ส่ง ณ ท่าอากาศยาน การต้อนรับที่ท่าอากาศยานถือว่า มีความสำคัญ เนื่องจากจะเป็นการให้การต้อนรับ (Hospitality) อย่างแรกที่แขกผู้มาเยือนจะได้พบเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย การต้อนรับที่เรียบร้อยและสมเกียรติจะช่วยสร้างความประทับใจให้แก่แขกผู้มาเยือนได้ตั้งแต่เริ่มต้น จึงควรให้ความสำคัญและใส่ใจในรายละเอียดอย่างมาก

28 การต้อนรับ–ส่ง ณ ท่าอากาศยาน
การจัดพิธีต้อนรับ-ส่ง การประสานบุคคลผู้มาให้การต้อนรับ-ส่งของฝ่ายไทย การมอบพวงมาลัยข้อมือ/ช่อดอกไม้ การใช้ห้องรับรองพิเศษ การสนทนา

29 การต้อนรับ–ส่ง และการอำนวยความสะดวก ณ ท่าอากาศยาน

30 การต้อนรับ–ส่ง และการอำนวยความสะดวก ณ ท่าอากาศยาน

31 การอำนวยความสะดวก ที่ท่าอากาศยาน

32 การอำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน
การอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออก การอำนวยสะดวกด้านการเข้าเมือง การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร การนำเข้าอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การขออนุญาตใช้วิทยุสื่อสาร การจัดการสัมภาระ ด้านการอำนวยความสะดวก ได้แก่ พิธีการตรวจคนเข้าเมือง พิธีการทางศุลกากร การจัดรถไฟฟ้า หรือรถบัสรับ-ส่งระหว่างสะพานเทียบอากาศยานไปยังห้องรับรองพิเศษ การดูแลสัมภาระ การจัดขบวนรถก่อนออกจากท่าอากาศยาน

33 การต้อนรับ–ส่ง และการอำนวยความสะดวก ณ ท่าอากาศยาน

34 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ก่อน VIP เดินทางถึง)
รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ อาทิ รายชื่อหัวหน้าคณะและบุคคลในคณะ เที่ยวบินที่ใช้เดินทางไป-กลับ การรับการตรวจลงตรา (VISA) ข้อมูลสัมภาระ การนำอาวุธปืนหรืออุปกรณ์สื่อสารเข้ามาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แจ้งให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการเตรียมการล่วงหน้า เช่น การสำรองห้องรับรองพิเศษ การขออนุญาตนำเข้าอาวุธปืนหรืออุปกรณ์สื่อสารเป็นการชั่วคราว

35 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ก่อน VIP เดินทางถึง)
ประสานงานกับฝ่ายท่าอากาศยาน เพื่อขอทราบขั้นตอนพิธีการต้อนรับ-ส่ง ผู้แทนที่ไปรับ-ส่ง การใช้ห้องรับรองพิเศษ พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร การดูแลสัมภาระ การขอบัตรอนุญาตเข้าพื้นที่หวงห้าม ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูตของประเทศนั้นๆ เพื่อการติดต่อประสานงานในอนาคต ตลอดจนแจ้งให้ทราบถึงกำหนดการ และพิธีการต่างๆ

36 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ก่อน VIP เดินทางถึง)
รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ผู้ประสานหน่วยงานต่างๆ เช่น ท่าอากาศยาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สถานเอกอัครราชทูตของประเทศที่รับผิดชอบ ทำความรู้จัก/ความคุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ ของท่าอากาศยาน (หากจำเป็น)

37 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางถึง)
2 ชั่วโมงก่อน arrival time ตรวจสอบเวลาเที่ยวบิน หลุดจอดอากาศยาน (Gate) และประสานนัดหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ประสานเจ้าหน้าที่ประจำขบวนรถยนต์เพื่อนำรถยนต์ไปรับ VIP ประสานเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตเพื่อนัดหมายเวลา ผู้ต้อนรับการบริหารจัดการสัมภาระ ประสานฝ่ายเลขานุการเรื่องผู้มาต้อนรับ การจัดพวงมาลัย

38 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางถึง)
2 ชั่วโมงก่อน arrival time ประสานเจ้าหน้าที่การท่าอากาศยาน เรื่องห้องรับรองพิเศษ จุดจอดขบวนรถ รถกอล์ฟรับ - ส่ง ประสานเจ้าหน้าที่ ตม./ศุลกากร เรื่องพิธีการเข้าเมือง/ศุลกากร การยกเว้นการตรวจค้นร่างกายและสัมภาระติดตัว (หากมี) ประสานเจ้าหน้าที่สายการบิน เรื่องเที่ยวบิน การขนสัมภาระของคณะ รถรับ – ส่งจากลานบิน (หากจำเป็น) จดจำใบหน้าของ VIP

39 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางถึง)
ดูแลพิธีต้อนรับให้เรียบร้อย ประสานเจ้าหน้าที่บริการเครื่องดื่ม ดำเนินเรื่องพิธีการเข้าเมือง/ศุลกากร เตรียมพร้อมขบวนรถยนต์ เชิญ VIP เมื่อพร้อมเดินทางออกจากท่าอากาศยาน

40 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางกลับ)
3 ชั่วโมงก่อน departure time ประสานตรวจสอบเวลาเครื่องบินออก แล้วแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ ประสานสายการบิน เพื่อเตรียมการ Check in และขนสัมภาระ ประสาน จนท. ตม./ศุลกากร เพื่อเตรียมการอำนวยความสะดวก ประสาน จนท.สถานเอกอัครราชทูตหรือ จนท.ฝ่ายต่างประเทศ เรื่องการนำสัมภาระไป Check in ล่วงหน้า

41 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางกลับ)
เตรียมขบวนรถยนต์ให้พร้อมเดินทางไปท่าอากาศยาน เชิญ VIP ไปยังห้องรับรองพิเศษเมื่อเดินทางถึง ดำเนินเรื่องพิธีการเข้าเมือง/ศุลกากร ประสานสายการบินเชิญขึ้นเครื่องบินเมื่อพร้อม ดูแลพิธีส่งให้เรียบร้อย

42 การจัดยานพาหนะ

43 การจัดยานพาหนะ ความเหมาะสม สมเกียรติ เท่าเทียม
ความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเดินทาง ความปลอดภัย ข้อจำกัดของสถานที่ และกำหนดการ การจัดขบวนรถยนต์สำหรับการเยือนหรือการประชุม ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม/สมเกียรติ ความสะดวก สบายของแขกผู้มาเยือน (จำนวนผู้นั่งรถยนต์) ความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัยระหว่างการเดินทาง

44 การจัดยานพาหนะ รถยนต์สำหรับ VIP รถยนต์สำหรับคณะผู้ติดตาม
ที่นั่งในรถยนต์ของฝ่ายต่างประเทศ ที่นั่งในรถยนต์ของฝ่ายไทย รถยนต์ตำรวจนำ

45 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ก่อน VIP เดินทางถึง)
ทำความเข้าใจกับรูปแบบ/องค์ประกอบของขบวน รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ประสานงานในขบวน เช่น พนักงานขับรถ จนท.ตำรวจรถนำ จนท.ตำรวจอารักขา และ จนท.สถานเอกอัครราชทูต ทำความรู้จักคุ้นเคยกัน ให้ข้อมูลของ VIP และแจ้งกำหนดการ รวมทั้ง ซักซ้อมความเข้าใจ นัดหมายเวลาปฏิบัติหน้าที่

46 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางถึง)
ตรวจสอบความสะอาด สภาพรถยนต์ให้เหมาะสม เตรียมพร้อมขบวนรถยนต์ ตรวจสอบจำนวนให้ครบ เชิญ VIP ขึ้นขบวนรถยนต์ ประสานที่หมาย เส้นทางเดินรถ นัดหมายเวลาเข้าออกสถานที่ต่างๆ

47 การจัดที่พัก

48 การจัดที่พัก ขั้นตอน การคัดเลือกโรงแรม ระดับห้องพักที่เหมาะสม
การสำรวจโรงแรม การจัดเตรียมห้องพักสำหรับเจ้าหน้าที่ รายละเอียดอื่น ๆ

49 การสำรวจโรงแรม ทางเข้า – ออก/ จุดขึ้น – ลงรถยนต์
พื้นที่จัดขบวนรถยนต์/ จอดรถยนต์ เส้นทางการเดิน ลิฟต์ บริการการเช็คอินสำหรับบุคคลสำคัญ ห้องพักสำหรับบุคคลสำคัญ บรรยากาศโดยรวม ห้องปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่

50 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ก่อน VIP เดินทางถึง)
ประสานงานกับ จนท.โรงแรม เพื่อขอรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น หมายเลขห้องพัก วิธีการ Check In พิธีการและ ผู้บริหารโรงแรมที่อาจมาต้อนรับ VIP จุดจอดขบวนรถยนต์ ตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องพัก VIP สำรวจเส้นทาง นัดหมายเวลาตามกำหนดการ Check in ล่วงหน้าให้แก่ VIP หากจำเป็น

51 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางถึง)
ประสานเวลาเข้าถึงโรงแรมกับเจ้าหน้าที่โรงแรม ดูความเรียบร้อยของการต้อนรับ (หากมี) เชิญ VIP เข้าห้องพัก ประสานการขนสัมภาระของ VIP ประสานอำนวยความสะดวกในการ Check in แก่คณะผู้ติดตาม

52 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (ระหว่างพำนักอยู่ในโรงแรม)
ดูแลความเรียบร้อยด้านอาหาร ห้องพักให้แก่ VIP (และคณะผู้ติดตาม) ดูแลการจัดสถานที่รับประทานอาหาร และห้องพักสำหรับ จนท. ฝ่ายไทยในคณะ ประสานการจัดเก็บ และขนย้ายสัมภาระของ VIP ในโอกาสต่างๆ ประสานรายละเอียดต่างๆ กับ จนท. ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย

53 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO (เมื่อ VIP เดินทางกลับ)
นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการขนสัมภาระ และการ check out ของ VIP อำนวยความสะดวกในการขนสัมภาระ ตรวจสอบเวลาเดินทางและจัดเตรียมขบวนรถยนต์ เชิญ VIP เดินทางไปยังท่าอากาศยานเมื่อได้เวลา

54 มาตรการรักษาความปลอดภัย (และการรักษาพยาบาล)

55 การรักษาความปลอดภัย เหตุผล
เพื่อให้การเยือนเป็นไปอย่าง “ราบรื่น” เพื่อให้แขกผู้มาเยือนเกิดความ “อุ่นใจและสบายใจ” อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ หากเกิดเหตุ การจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่แขกผู้มาเยือนก็เป็นสิ่งสำคัญในการต้อนรับ เพื่อให้เกิดความอุ่นใจสบายใจระหว่างการเยือน หากบุคคลสำคัญผู้มาเยือนประสบภัยอันตรายระหว่างการเยือน ก็จะทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สิน อันจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมการให้รอบคอบ รัดกุม เหมาะสม และครบถ้วน

56 การรักษาความปลอดภัย รูปแบบ
รถตำรวจนำขบวน เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดอารักขาบุคคล เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดอารักขาสถานที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจวัตถุระเบิด (หากจำเป็น) ส่วนรูปแบบของการจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยจะขึ้นกับระดับของแขกผู้มาเยือน ระดับความเสี่ยงของภัยคุกคามที่อาจเกิดกับแขกผู้มาเยือน และระดับความเสี่ยงของสถานที่ที่แขกผู้มาเยือนจะไปประกอบภารกิจ

57 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO
ประสานขอรับข้อมูลความเสี่ยง/ภัยคุกคามของแขกต่างประเทศจากฝ่ายต่างประเทศ ขอข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ผู้ประสานงานหน่วยงานต่างๆ ของตำรวจ เช่น ตำรวจรถนำ ตำรวจสันติบาล สำหรับการประสานงาน

58 การรักษาพยาบาล เหตุผล
เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาความปลอดภัย ปัญหาทางสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน จัดมาตรการตามระดับความเสี่ยงของแขกผู้มาเยือน (อายุ / โรคประจำตัว) การจัดมาตรการด้านการรักษาพยาบาลก็ถือเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของการจัดมาตรการรักษา ความปลอดภัยแก่บุคคลสำคัญต่างประเทศ เพื่อเตรียมการไว้ สำหรับกรณีปัญหาทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับบุคคลสำคัญต่างประเทศ หรือการได้รับบาดเจ็บจากการถูกลอบทำร้าย

59 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO
ประสานขอรับข้อมูลทางสุขภาพของแขกผู้มาเยือน เช่น กลุ่มเลือด โรคประจำตัว สิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ตรวจสอบข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ผู้ประสานงานหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

60 การเข้าร่วมการประชุม
ในการเยือนทวิภาคีแต่ละครั้ง เจ้าภาพอาจจัดให้อาคันตุกะมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ โดยหน่วยงานเจ้าภาพจะต้องประสานงาน ดังนี้

61 การจัดห้องประชุมแบบ round table

62 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO
จดจำกำหนดการ และห้องประชุมทั้งหมด ทบทวนขั้นตอน ลำดับพิธี ตำแหน่งที่นั่ง/ที่ยืนของ VIP เชิญ VIP ไปยังห้องประชุมตามกำหนดการ (เตือนเวลาให้แก่ VIP หากจำเป็น)

63 Accommodation and Conference Facilities
SOM meeting will be held at Chadra ballroom 1-2. Lunch for senior officials will be held at Pathumma room. Lunch for other delegates will be held at Chadra ballroom 3. 63

64 การจัดพิธีเปิด/พิธีปิด

65 การเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง

66 การจัดงานเลี้ยงรับรอง ความสำคัญและวัตถุประสงค์
เป็นกิจกรรมทางสังคมที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านการทูตของผู้แทนประเทศ เป็นการแสดงออกซึ่งอัธยาศัยไมตรี และเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ เป็นงานละเอียดอ่อนที่ผู้เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจ และ ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสากล และคำนึงถึงขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม

67 การจัดงานเลี้ยงแบบต่างๆ รูปแบบ
งานเลี้ยงรับรอง (Reception) งานเลี้ยงอาหารกลางวัน/อาหารค่ำอย่างเป็นทางการ (Luncheon/Dinner) งานเลี้ยงอย่างไม่เป็นทางการ (Informal)

68 ภารกิจของเจ้าหน้าที่ LO
ประสานขอบัตรเชิญมาให้ VIP ตรวจสอบข้อมูลทางอาหารของ VIP และแจ้งฝ่ายเลขานุการ จดจำห้องจัดเลี้ยงสำหรับแต่ละมื้อ ตรวจสอบตำแหน่งที่นั่งของ VIP เชิญ VIP ไปยังห้องจัดเลี้ยงตามกำหนดการ และเชิญนั่งในที่ที่กำหนดไว้

69 สิ่งพึงระลึกถึงของเจ้าหน้าที่ LO
การให้เกียรติแก่ VIP ตามหลักพิธีการทูต การวางแผนล่วงหน้า / ความรอบคอบ / To do list ความเป็นมิตรกับทุกหน่วยงาน (เจ้าหน้าที่ “ประสานงาน” = ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นในการปฏิบัติภารกิจ) ฉับไวต่อความเปลี่ยนแปลง การควบคุมสติเมื่อเกิดปัญหา การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยใช้ไหวพริบและเหตุผล

70 การพบหารือแบบทวิภาคี
ในการเยือนทวิภาคีแต่ละครั้ง เจ้าภาพอาจจัดให้อาคันตุกะมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯลฯ โดยหน่วยงานเจ้าภาพจะต้องประสานงาน ดังนี้

71 การพบหารือแบบทวิภาค ประสานหน่วยงานของบุคคลสำคัญเพื่อพิจารณา โดยแจ้งระบุวัตถุประสงค์ของการขอเข้าเยี่ยมคารวะ ประสานรายชื่อและประวัติของผู้ที่จะเข้าเยี่ยมคารวะ รายชื่อผู้เข้าร่วมการเยี่ยมคารวะ ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น ประสานเรื่องอื่นๆ เช่น วัน เวลา และสถานที่ เข้าเยี่ยมคารวะ ทางเข้า-ออกของขบวนรถยนต์ การแต่งกาย ภาษาที่จะใช้

72 การจัดให้เข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ (หากมี)

73 กำหนดการส่วนตัว

74 การจัดกำหนดการ/กิจกรรมอื่น ๆ ขั้นตอน
ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตฝ่ายผู้มาเยือน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำกำหนดการ / ลำดับพิธี การสำรวจสถานที่ (หากจำเป็น) ในการจัดทำกำหนดการ ผู้จัดทำต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ ที่จะมีการพบหารือ และการจัดงานเลี้ยงอาหารที่จังหวัดเป็นเจ้าภาพ หรือผู้แทนจะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้มาเยือน นอกจากนั้น ต้องประสานกับทั้งหน่วยงานภายใน และภายนอกกระทรวง ตลอดจนสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้มาเยือนด้วย เพื่อจัดทำกำหนดการอื่น ๆ ไว้ก่อนล่วงหน้าและเตรียมการต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การนัดหมายเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ การศึกษาดูงาน การเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ฯลฯ เมื่อจัดทำกำหนดการลงตัวแล้ว อาจต้องมีการสำรวจสถานที่ การจัดทำลำดับพิธี และการเตรียมความพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดพลาด

75 การจัดกำหนดการของคู่สมรส รูปแบบ
ตามความประสงค์ของคู่สมรส Show case ประเทศไทย การจัดทำกำหนดการทางการของคู่สมรส ก็ต้องประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้มาเยือน และหน่วยงานเจ้าของสถานที่ที่จะไปเยี่ยมชม เช่น พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินในพระที่นั่งอนันตสมาคม ห้างสรพสินค้าชั้นนำ ฯลฯ เพื่อจัดทำกำหนดการไว้ก่อนล่วงหน้า และเตรียมการต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นกัน หากมีกำหนดการแน่นอนก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดพลาดได้มากกว่าการมีกำหนดการที่ไม่ได้เตรียมพร้อมไว้

76 Check List สำหรับ เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน (Liaison Officer)

77 Check List: ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ ประวัติ ตำแหน่งของ VIP และคู่สมรส (หากมี) ข้อจำกัดด้านอาหาร ข้อมูลทางการแพทย์ ความสนใจ ภัยคุมคาม

78 Check List: ข้อมูลทั่วไป
กำหนดการ - กำหนดการเดินทาง - กำหนดการทางการ - กำหนดการส่วนตัว รายชื่อ และตำแหน่ง พร้อมลำดับอาวุโสคณะผู้ติดตาม สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง

79 Check List: การต้อนรับที่ท่าอากาศยาน
กำหนดเวลาเดินทางถึง - กลับ ลำดับพิธีการต้อนรับ – ส่ง ผู้แทนฝ่ายไทย/ ต่างประเทศที่มารอรับ-ส่ง การสำรองห้องรับรองของการท่าอากาศยาน/ สายการบิน การบริหารจัดการสัมภาระ

80 Check List: การประชุม สถานที่ การแต่งกาย ลำดับการเข้า – ออก
ลำดับพิธีเปิด – ปิด การใช้ล่าม การถ่ายภาพหมู่ แผนผังที่ประชุม - เส้นทางเดิน - ห้องต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ที่สูบบุหรี่ ผังที่นั่ง การกล่าวถ้อยแถลง/ สุนทรพจน์ การแถลงข่าว

81 Check List: งานเลี้ยงรับรอง
บัตรเชิญ สถานที่จัดงาน การแต่งกาย ผังที่นั่ง ลำดับพิธีการ ข้อจำกัดทางอาหาร

82 Check List: กำหนดการทางการอื่นๆ
การหารือทวิภาคี การเข้าเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน วัน เวลา สถานที่ ผู้เข้าร่วม การเดินทาง ผู้ประสานงาน

83 Check List: กำหนดการส่วนตัว
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว กีฬา ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า/ ศูนย์การค้า การจัดยานพาหนะ ผู้ติดตามฝ่ายไทย

84 Check List: เบอร์ติดต่อที่สำคัญ
ฝ่ายต่างประเทศ ที่เป็น counterpart ผู้จัดการประชุม โรงแรมที่พัก ผู้จัดยานพาหนะ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สายการบิน ท่าอากาศยาน สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า/ ศูนย์การค้า ร้านอาหาร

85 ขอบพระคุณ


ดาวน์โหลด ppt ความสำคัญของ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำคณะ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google