งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
บทที่ 3 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Network System อาจารย์หลักสูตรสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

2 Outline 1. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล 2. ช่องทางการสื่อสารข้อมูล 3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5. ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้งานเครือข่าย 6. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสำหรับองค์กร

3 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลและการโทรคมนาคม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ทุกประเภทไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล ดังนั้น องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล จะประกอบไปด้วย ข้อมูล/ข่าวสาร ผู้ส่ง ผู้รับ สื่อกลางรับ/ส่งข้อมูล

4 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล มีดังนี้ 1. ผู้ส่ง (Sender) ได้แก่ อุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ของฝ่ายส่ง เช่น โมเด็ม 2. ผู้รับ (Receiver) ได้แก่ อุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ของฝ่ายรับข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ 3. ข้อมูล/ข่าวสาร (Data) ได้แก่ ข้อมูลทุกรูปแบบที่ต้องการส่ง อาจอยู่ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอ 4. โปรโตคอล (Protocol) เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงของการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 5. สื่อกลางรับ-ส่งข้อมูล (Medium) ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่เป็นตัวนำหรือพาหะนำสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งไปถึงผู้รับได้

5 องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
รูปภาพแสดงการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

6 ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล (Communication Channel) หมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยความเร็วในการสื่อสารข้อมูลขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ชนิดของข้อมูล (formatted data) รูปภาพแสดงเปรียบเทียบการสื่อสารข้อมูล

7 ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบมีสาย (Physical Wire) เป็นช่องทางที่ใช้ “สัญญาณ (Transmission Medium)” เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูล แบบไร้สาย (Wireless) เป็นช่องทางที่ใช้คลื่นหรือแสงเป็นกลาง

8 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารสามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังนี้ 1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology) ประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลักที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยแลนการ์ดและสายหลักผ่านจุดเชื่อมต่อต่างๆ ดังรูป

9 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology) ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบบัสคือใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง ใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ โดยรวม ข้อเสีย คือการตรวจจุดที่มีปัญหากระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมาก เกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ใน กรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ ทั้งระบบทำงานไม่ได้

10 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลจะเป็นลักษณะวงกลมเช่นเดียวกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องต้นทางไปสู่เครื่องปลายทาง

11 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring Topology) ข้อดี ใช้สายเคเบิลน้อย และไม่มีการชนกันของข้อมูล ข้อเสีย หากวงแหวนชำรุดหรือเสียหาย จะส่งผลกระทบ ต่อระบบทั้งหมด

12 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology) ภายในเครือข่ายจะมีศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คือ ฮับ (Hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ

13 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology) ข้อดี การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีคอมพิวเตอร์หรือจุดเชื่อมต่อเกิดความเสียหายก็ สามารถตรวจสอบได้ง่าย ข้อเสีย กรณีฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย

14 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (Mesh Topology) มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีช่องส่งสัญญาณจำนวนมาก เพื่อใช้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ข้อดี คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระ ไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว ข้อเสียใช้สายสัญญาณเยอะและสิ้นเปลืองค่าสายสัญญาณ

15 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid Topology) เป็นการผสมผสาน ข้อดีของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

16 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. เซิร์ฟเวอร์ (Server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ให้บริการต่าง ๆ โดยแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ได้มากกว่า 1 เครื่อง แล้วแต่ความต้องการของหน่วยงานนั้นๆ ประเภทของ เซิร์ฟเวอร์ที่นำไปใช้งานมีดังนี้ 1.1 ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File server) ทำหน้าที่ให้บริการ แฟ้มข้อมูลแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ1.2 ดาตาเบส เซิร์ฟเวอร์ (Database server) ทำหน้าที่ให้บริการ ฐานข้อมูล แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายเพื่อ เรียกดูข้อมูล หรือทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ 1.3 พริ้นเซิร์ฟเวอร์ (Print server) ทำหน้าที่ให้บริการ เครื่องพิมพ์ ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ

17 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.4 อินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet server) เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และทำหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการ ใช้อินเทอร์เน็ต เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) ทำหน้าที่เก็บข้อมูล เว็บไซต์และทำหน้าที่ส่งข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ต้องการเรียกดู เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail server) ทำหน้าที่เก็บจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการรับส่งระหว่างบุคคลหรือองค์การต่างๆ และจะให้บริการรับส่งจดหมายเหล่านั้นไปยังเจ้าของ จดหมายเมื่อมีการใช้งาน โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain name system server : DNS) ทำหน้าที่เก็บชื่อโดเมน และแปลชื่อโดเมน ให้เป็นไอพีแอดเดส (IP address)

18 ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. เวิร์กสเตชัน (Workstation) ลักษณะคล้าย computer PC แต่แตกต่างที่สมรรถนะ เครื่อง Workstation จะ ประมวลผลเร็วกว่าบางทีถูกเรียกว่า ซุปเปอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ 3. ไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เทอร์มินัล (Terminal) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย จอภาพ แป้นพิมพ์และอุปกรณ์อื่นๆ เทอร์มินัลไม่สามารถ ประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเอง แต่ใช้การสื่อสารข้อมูลกับ เซิร์ฟเวอร์ทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมทั้งส่งข้อมูลมา ปรากฏบนจอภาพได้

19 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

20 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการ ตลอดจนการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในเครือข่าย เช่น บลูทูธ (Bluetooth) เป็นต้น

21 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. เครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน (Local Area Network : LAN) หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง ประมาณ Mbps สื่อที่ใช้มักจะเป็นสื่อแบบสายสัญญาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในองค์การ สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย หรือเครือข่ายภายในบริษัท

22 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นแบบไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) ปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายระยะใกล้ โดยไม่มีการเดินสายสัญญาณ แต่จะใช้อุปกรณ์ที่ทำ หน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ เรียกว่า แอกเซสพอยท์ (Access point) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ฮับ ในระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบมีสาย

23 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เกิดจากเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่นหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน

24 ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4. เครือข่ายวงกว้าง (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ภายในเครือข่ายประกอบไปด้วยเครือข่ายแบบแลน และแมน พื้นที่ของเครือข่ายแบบแวนสามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการครอบคลุมทั่วโลกก็เป็นเครือข่ายแบบแวนเครือข่ายหนึ่งเช่นกัน

25 ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การนำแนวความคิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ มากมายหลายประการด้วยกัน ดังนี้ 1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เป้าหมายหลักของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประการหนึ่งก็คือ ความสามารถในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยลดต้นทุนด้านงบประมาณรายจ่าย

26 ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดความสะดวกในด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่งผลให้การติดต่อเพื่อดำเนินธุรกรรมใดๆ บรรลุได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์สร้างความปลอดภัยให้แก่ระบบ ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Networks Operating System: NOS) จัดเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่สามารถจัดการสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบป้องกันความปลอดภัย เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่มีสิทธิ์การใช้งานเข้าถึงระบบเครือข่ายได้

27 ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
แต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบลักษณะการใช้งานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและทรัพยากร รูปแบบและลักษณะการใช้งานทั่วไปมีดังนี้ 1. ระบบเครือข่ายแบบเทอร์มินัล (Terminal network system) การประมวลผลจะอยู่ที่ศูนย์กลางซึ่งมักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยตัวเองเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ ปัจจุบันนิยมนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาทำเป็นเครื่องเทอร์มินัลโดยทำการติดตั้งซอฟร์แวร์พิเศษ ข้อดี คือ การประมวลอยู่ที่ศูนย์กลาง สามารถควบคุมซอฟต์แวร์และรับข้อมูลได้ง่าย ข้อเสีย คือ ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมการทำงานทั้งหมดด้วยตนเอง และคอมพิวเตอร์ปลายทางไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่

28 ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
2. ระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server network system) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องทำหน้าที่ให้บริการคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ภายในเครือข่าย นิยมเรียกเครื่องให้บริการนี้ว่า เซิร์ฟเวอร์ และเรียกเครื่องรับบริการว่า ไคลเอ็นต์ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้กับลักษณะเครือข่ายแบบนี้คือ Novell’s NetWare, Microsoft’s Windows NT, IBM’s LAN Server และ Banyan Vines ข้อดี คือ มีโปรแกรมจัดการเครือข่ายที่สามารถควบคุมดูแลการทำงานของระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการบริหารระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงวิธีการเชื่อมต่อลักษณะนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการใช้งานด้านอินเทอร์เน็ต ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการซ่อมบำรุง ค่อนข้างสูง

29 ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
3. ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์หรือจุดต่อจุด (Peer-to-Peer network system) ลักษณะการใช้งานเครือข่ายแบบนี้แต่ละโหนดจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน โดยจะเป็นทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้กับลักษณะเครือข่ายแบบนี้ เช่น Novell’s Lite, Microsoft’s Windows NT และ Apple’s Macintosh Peer-to-Peer LANs ข้อดี ค่าใช้จ่ายไม่สูงและง่ายต่อการติดตั้ง และจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าระบบมีขนาดเล็กไม่เกิน 10 โหนด ข้อเสีย ถ้าจำนวนโหนดเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพของเครือข่ายจะน้อยลง

30 เครือข่ายสำหรับองค์กร
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ พยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสำหรับการทำงานภายในและระหว่างองค์กร โดยการใช้อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต และใช้ไฟร์วอลล์เพื่อปกป้องระบบเครือข่ายจากผู้บุกรุก 1. อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายเฉพาะในองค์กรหนึ่งๆ โดยอินทราเน็ตจะใช้เบราว์เซอร์ เว็บไซด์ และเว็บเพจ อินทราเน็ตจะมีอีเมลล์ บัญชีจ่าหน้า กลุ่มข่าว และบริการโอนไฟล์ที่สามารถเข้าใช้งานได้จากภายในองค์กร องค์กรส่วนใหญ่ใช้อินทราเน็ตเพื่อบริการสารสนเทศแก่พนักงาน

31 เครือข่ายสำหรับองค์กร
2. เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายเฉพาะที่ เชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งองค์กรเข้าด้วยกัน องค์กรหลายแห่งใช้เทคโนโลยีเอ็กทราเน็ตเพื่อให้บริษัทจัดส่งสินค้าและบริษัทอื่นๆ ที่มีสิทธิ์เข้ามาใช้งานเครือข่ายได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

32 เครือข่ายสำหรับองค์กร
3. ไฟร์วอลล์ (Firewall) องค์กรต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงการเข้าใช้งานเครือข่ายขององค์กร ไฟร์วอลล์ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ออกแบบมาสำหรับป้องกันเครือข่ายขององค์กรจากการบุกรุกของบุคคลภายนอก ไฟร์วอลล์ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการเข้าไปใช้งานอินทราเน็ตและเครือข่ายภายในอื่นๆ ไฟร์วอลล์หรือบางทีอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ (Proxy server) ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ดูแลประตู การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรและภายนอกจะต้องผ่านพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์นี้ ซึ่งจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งผ่านในแต่ละครั้งและตัดสินใจว่าจะอนุญาตให้ข้อมูลเหล่านี้ผ่านเข้าออกเครือข่ายขององค์กรหรือไม่

33 สรุป ระบบสื่อสาร คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายเชื่อมหรือไม่ใช้ก็ได้ มีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ดังนี้ 1. อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล 2. ช่องทางสื่อสาร 3. อุปกรณ์เชื่อมต่อ 4. การกำหนดรูปแบบในการขนส่งข้อมูล ช่องทางสื่อสาร เป็นเส้นทางขนส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การเชื่อมต่อแบบมีสาย ได้แก่ สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล และสาย เส้นใยนำแสง 2. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย ได้แก่ อินฟราเรด สัญญาณวิทยุ ไมโครเวฟ และ ดาวเทียม

34 สรุป โมเด็มเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณไปมาระหว่างสัญญาณดิจิทัลและแอนะล็อกเพื่อ ส่งผ่านสายโทรศัพท์ แบ่งออกเป็น โมเด็มแบบภายนอก โมเด็มแบบภายใน โมเด็มแบบพีซีการ์ด โมเด็มแบบไร้สาย การเชื่อมต่อโดยการหมุนโทรศัพท์เป็นการเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้สายโทรศัพท์ต่อกับโมเด็มธรรมดาส่วนการเชื่อมต่อบางประเภทจะรองรับการขนส่งข้อมูลความเร็วสูง เช่น บริการคู่สายเช่า ดีเอสแอล เอดีเอสแอล เคเบิลโมเด็ม และดาวเทียม โปรโตคอล เป็นกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โปรโตคอลที่ใช้สำหรับการ สื่อสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ทีซีพี/ไอพี เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามขนาดคือ เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่หรือแลน เครือข่ายบริเวณนครหลวงหรือแมน เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน

35 สรุป สถาปัตยกรรมเครือข่าย อธิบายโครงร่างเครือข่ายแบบต่าง ๆ ว่ามีการจัดการเครือข่าย ทางกายภาพและวิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างไรรวมถึงลักษณะการใช้งานเครือข่ายและแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง ๆ โครงร่างเครือข่ายโดยทั่วไปสามารถจัดโครงร่างเครือข่ายหรือรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายได้หลายวิธีบางครั้งอาจเรียกว่าโทโพโลยี โครงร่างเครือข่ายพื้นฐานมี 5 แบบ คือ แบบบัส แบบวงแหวน แบบดาว แบบเมช และแบบผสม ลักษณะการใช้งานเครือข่าย แต่ละเครือข่ายจะมีรูปแบบลักษณะการใช้งานในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทรัพยากร รูปแบบลักษณะการใช้งานเครือข่ายทั่วไป ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบเทอร์มินัล ระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์

36 สรุป องค์กรต่าง ๆ พยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสำหรับการทำงานภายในและ ระหว่างองค์กรโดยการใช้อินทราเน็ต และ เอ็กทราเน็ต รวมถึงใช้ไฟร์วอลล์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย และควบคุมการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

37 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 1. จงบอกองค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร

38 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 4. จงเขียนภาพ และ บอกโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้ Bus Ring Star

39 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 4. จงเขียนภาพ และ บอกโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้ MESH HYBRID

40 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 5. จงบอกลักษณะของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่อไปนี้ PAN LAN MAN WAN

41 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนบทที่ 3
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 6. จงบอกลักษณะการใช้งานเครือข่ายต่อไปนี้ TERMINAL CLIENT/SERVER PEER-TO-PEER


ดาวน์โหลด ppt เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google