งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เรื่องเครื่องปรับอากาศในอาคาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เรื่องเครื่องปรับอากาศในอาคาร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เรื่องเครื่องปรับอากาศในอาคาร
Air Condition System ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์

2 เนื้อหา ชนิดเครื่องปรับอากาศในอาคาร
การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศในอาคาร การเลือกชนิดเครื่องปรับอากาศในอาคาร ค่า EER และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ การเลือกตำแหน่งที่ติดตั้ง

3 ชนิดเครื่องปรับอากาศ
1. แบบติดหน้าต่าง (Window Type) 2. แบบแยกส่วน (Splite Type) 3. แบบเคลื่อนที่ได้ (Portable Type) 4. แบบคลาสเซ็ท (Cassette Type) 5. แบบเปลือย 6. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น (Water Chiller)

4 1. แบบติดหน้าต่าง (Window Type)
ตัวเครื่องจะมีขนาด ประมาณ ตัน เหมาะกับห้องที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง มีกระจกช่องแสงปิดตาย บานกระทุ้งหรือบานเกล็ด ข้อดี - การติดตั้งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว ข้อเสีย - หากเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง - กินไฟสูงและมีเสียงดังกว่าทุกประเภท

5 2. แบบแยกส่วน (Splite Type)
แยกเอาส่วนที่เป่าลมเย็นออกจากตัวเครื่องระบายความร้อน โดยมีขนาดตั้งแต่ ตัน ข้อดี : - ไม่ค่อยมีเสียงดังรบกวน เหมาะกับห้องนอนที่ต้องการความเงียบ ข้อเสีย : - มีความยุ่งยากในการติดตั้ง เพราะต้องคำนึงถึงการเดินท่อระหว่าง เครื่องที่แยกส่วน

6 3. แบบเคลื่อนที่ได้ (Portable Type)
ตัวเครื่องมีขนาดกระทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ง่าย เนื่องจากติดตั้งตัวล้อไว้ที่ฐาน ข้อดี : - เคลื่อนย้ายไปทุกที่ได้สะดวก น้ำหนักเบา ใช้งานง่ายและกินไฟน้อย ข้อเสีย : - ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ประมาณ ตารางเมตร

7 4. แบบคลาสเซ็ท (Cassette Type)
การทำงานเหมือนชนิดแยกส่วน (Splite Type) แต่จะติดตั้งฝังไว้ในเพดาน

8 5. แบบเปลือย การทำงานเหมือนชนิดแยกส่วน (Splite Type) แต่จะติดตั้งฝังไว้ในฝ้า เพื่อความสวยงาม พบได้ตามโรงแรม และ สถานที่ที่ต้องการความสวยงาม

9 6. แบบเครื่องชนิดทำน้ำเย็น (Water Chiller)
ระบบนี้ใช้น้ำเป็นตัวกลางในการสร้างความเย็น เหมาะใช้กับอาคารขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีน้ำหนักตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป 1. Air Cooled Water Chiller 2. Water Cooled Water Chiller ข้อดี : - กินไฟน้อยกว่าประเภทอื่น ข้อเสีย : - มีความยุ่งยากในการติดตั้งมาก และต้องเตรียมโครงสร้างให้แข็งแรง

10 บีทียู ( Btu : British Thermal Unit )
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วย บีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h )

11 ขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง
1. ดูได้จากตาราง ขนาดพื้นที่ห้องเทียบความสูงของห้องปกติ ( ไม่เกิน 3เมตร ) พื้นที่ห้อง (ความสูงปกติ) ขนาดเครื่องปรับอากาศ

12 ขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง (2)
2.คำนวณจากสูตรสำเร็จ แบ่งเป็น 2.1) สำหรับผนังห้องที่เป็น คอนกรีต ขนาดเครื่องปรับอากาศ (Btu/hr) = (พื้นที่ห้อง  ตรม. x 700) - 800  2.2) สำหรับผนังห้องที่เป็น กระจก ขนาดเครื่องปรับอากาศ (Btu/hr) = (พื้นที่ห้อง  ตรม. x 850)   ** ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)

13 การเลือกชนิดเครื่องปรับอากาศในอาคาร
1. ห้องที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ห้องชุด คอนโดมิเนียม - ควรใช้แบบแขวนใต้ฝ้าเพดาน (Cassette Type) 2. ห้องนอน - ควรเน้นประเภทที่เงียบเป็นพิเศษ และให้ความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิเพื่อการพักผ่อนยาวนานตลอดคืน (แบบแยกส่วน, Split Type) 3. อาคารขนาดใหญ่ - นิยมใช้เป็นระบบปรับอากาศส่วนกลาง (Central Air)

14 ค่า EER และ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ
ค่า EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio คือ ขนาดทำความเย็น (บีทียู/ชั่วโมง) EER = กำลังไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด ( วัตต์ ) * เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูง ก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี  ประหยัดพลังงาน ** สามารถดูค่า EER ได้จากเอกสารของเครื่องปรับอากาศแต่ละยี่ห้อ *** ถ้ารู้ค่า Btu/hr กับ ค่า EER  รู้ค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้

15 ค่า EER และ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ
ค่า EER ตั้งแต่ 7.6 ลงไป ถือว่าอยู่ในระดับ 1 มีเกณฑ์ต่ำ ค่า EER ตั้งแต่ ถือว่าอยู่ในระดับ 2 มีเกณฑ์พอใช้ ค่า EER ตั้งแต่ ถือว่าอยู่ในระดับ 3 มีเกณฑ์ปานกลาง ค่า EER ตั้งแต่ ถือว่าอยู่ในระดับ 4 มีเกณฑ์ดี ค่า EER ตั้งแต่ 10.6 ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในระดับ 5 มีเกณฑ์ดีมาก

16

17 การเลือกตำแหน่งที่ติดตั้ง
1. บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก 2. ไม่โดนฝนสาดได้ง่าย 3. บริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา 4. บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนเป่าออกมาได้โดยไม่ รบกวนบริเวณข้างเคียง 5.ตำแหน่งติดตั้งควรมีโครงสร้างแข็งแรง หรือใกล้คานหรือเสา เพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี

18 6. ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร
หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง และในบริเวณที่สามารถซ่อมบำรุง ได้ง่าย 7. หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสติดไฟเนื่องจากแก๊สรั่ว 8. หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่น บริเวณท่อระบาย น้ำทิ้ง 9. ตำแหน่งที่ไม่กีดขวางทางเดิน


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เรื่องเครื่องปรับอากาศในอาคาร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google