ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยUwe Pfeiffer ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การบรรยาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการอำนวยความยุติธรรม
หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง (ยธส.) รุ่นที่ ๘ วิทยาลัยกิจการยุติธรรม สำนักกิจการยุติธรรม วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๐ โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2
“ความยุติธรรม” คืออะไร? ทำอย่างไรจึงจะมี “ความยุติธรรม”?
คำถาม : ต้นมะม่วงของท่านมีกิ่งยื่นข้ามกำแพงไปในบ้านของเพื่อนบ้าน ผลมะม่วงที่ตกลงในบ้านของเพื่อนบ้านจะตกเป็นของใคร? ถ้าตกลงกันไม่ได้ จะทำอย่างไร? ถ้าไม่มีใครยอมใคร จะใช้ “กำลัง” ตัดสินได้หรือไม่? ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๘ ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น คำถาม : ท่านซื้อที่นาจากชาวนาคนหนึ่ง ท่านจะได้ข้าวที่กำลังออกรวงในที่นาแปลงนั้นด้วยหรือไม่? มาตรา ๑๔๕ ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
3
“กฎหมาย” คืออะไร? การอยู่ร่วมกันในสังคมทำไมต้องมีกฎหมาย?
การแข่งฟุตบอลมีคนสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทำไมจึงแข่งกันได้? ฟุตบอลที่แข่งกันได้เพราะใช้ “กติกา” ผู้เล่นต้องเคารพ “กติกา” ถ้าไม่มีกติกา ก็จะเกิดการตัดสินปัญหาโดยใช้ “กำลัง”! ตัวอย่าง : กรุงไคโร ไม่มีไฟเขียวไฟแดง แล้วชาวเมืองขับรถผ่านสี่แยกกันอย่างไร? ใช้ระบบ “ใจถึง” ใครใจถึงกว่าได้ทางไป ใครอ่อนแอ ไม่มีทางไปถึงที่หมาย “กติกา” ก็คือ “กฎหมาย” นั่นเอง การทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันโดยใช้ “กติกา”
4
เราจำเป็นต้องเคารพ “กฎหมาย” เสมอไปจริงหรือ
เราจำเป็นต้องเคารพ “กฎหมาย” เสมอไปจริงหรือ? ประชาชนมีสิทธิที่จะ “อารยะขัดขืน” มิใช่หรือ? การแข่งฟุตบอลมีคนสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทำไมจึงแข่งกันได้? ฟุตบอลที่แข่งกันได้เพราะใช้ “กติกา” ผู้เล่นต้องเคารพ “กติกา”
5
ปัญหาเรื่อง “หลักรัฐศาสตร์” กับ “หลักนิติศาสตร์” และปัญหา “การบังคับใช้กฎหมาย” ในประเทศไทย
การแข่งฟุตบอลมีคนสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทำไมจึงแข่งกันได้? ฟุตบอลที่แข่งกันได้เพราะใช้ “กติกา” ผู้เล่นต้องเคารพ “กติกา”
6
แล้วถ้า “กรรมการ” ตัดสินผิด เราต้องเคารพคำตัดสินนั้นเสมอไปหรือไม่
แล้วถ้า “กรรมการ” ตัดสินผิด เราต้องเคารพคำตัดสินนั้นเสมอไปหรือไม่? หรือเราปฏิเสธได้? การแข่งฟุตบอลมีคนสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทำไมจึงแข่งกันได้? ฟุตบอลที่แข่งกันได้เพราะใช้ “กติกา” ผู้เล่นต้องเคารพ “กติกา”
7
“ความเป็นธรรม” คือ “ความเป็นจริง” แล้ว “ความเป็นจริง” คืออะไร?
“ความเป็นธรรม” คือ “ความเป็นจริง” แล้ว “ความเป็นจริง” คืออะไร?
8
“ความเป็นธรรม” คือ “ความเป็นจริง” แต่เรื่องเดียวอาจจะ “จริง” ทั้งคู่ก็ได้: ภาพนี้คือภาพ อะไร ?
9
“ความเป็นธรรม” คือ “ความเป็นจริง” แต่เรื่องเดียวอาจจะ “จริง” ทั้งคู่ก็ได้: ภาพนี้คือภาพ อะไร ?
10
“ความจริง” ของเรา แน่ใจได้อย่างไรว่ามัน ถูกต้อง
“ความจริง” ของเรา แน่ใจได้อย่างไรว่ามัน ถูกต้อง ? ตัวอย่าง: อะไรคือ “ตะวันออก” อะไรคือ “ตะวันตก”? แผนที่อันนี้ผิดหรือไม่? ตอนนี้อะไรคือตะวันออก อะไรคือตะวันตก? เพราะพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก? “ตะวันออก” และ “ตะวันตก” คือความรู้ ที่เป็นความจริงแท้ หรือเป็นแค่สมมติ?
11
“ความจริง” ของเรา เราแน่ใจได้อย่างไรว่ามัน ถูกต้อง
“ความจริง” ของเรา เราแน่ใจได้อย่างไรว่ามัน ถูกต้อง ? ตัวอย่าง: อะไรคือ “เหนือ” อะไรคือ “ใต้” ? แผนที่อันนี้ผิดหรือไม่? จักรวาลไม่มีเหนือหรือใต้ ดังนั้น “เหนือ” หรือ “ใต้” ก็เป็นแค่ “สมมติ” แล้วทำไมทิศ “เหนือ” จึงเป็น “เหนือ” และทิศ “ใต้” จึงเป็น “ใต้”? จีนอยู่ “เหนือ” หัวเรา และมาเลเซียอยู่ใต้เรา? ความสามารถใน “การเรียนรู้” คือ ต้องรู้ว่าที่รู้มาแล้วอาจจะผิด หรือไม่ได้ถูกตลอดไป เพื่อจะได้เรียนรู้
12
เพราะวัตถุที่หนักกว่าย่อมตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน? ตัวอย่าง: ขนนกกับก้อนหินอะไรตกถึงพื้นก่อน? เพราะวัตถุที่หนักกว่าย่อมตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า Aristotle ( BC)
13
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน? ตัวอย่าง: ขนนกกับก้อนหินอะไรตกถึงพื้นก่อน? เพราะวัตถุที่หนักกว่าย่อมตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า Aristotle ( BC) ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ David R. Scott ทดลองทิ้ง ค้อน และ ขนนก บนดวงจันทร์ นักศึกษาคิดว่าอะไรตกถึงพื้นก่อน? ก่อนจะเฉลยคำตอบ ขอเล่าให้ฟังถึง Experiment อีกอัน ที่ทำ ก่อน หน้านั้น
14
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน? ก่อนจะถึงการทดลองบนดวงจันทร์ มีการทดลองก่อนหน้านั้น เพราะวัตถุที่หนักกว่าย่อมตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า Aristotle ( BC) วัตถุที่หนักกว่าตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า จริงหรือ? Galileo Galilei ( ) Galileo ทดลองทิ้งลูกเหล็กหนัก ๑๐ กก. และ ๑ กก. จากหอเอนปิซาพร้อมๆ กัน ลูกเหล็กลูกไหนถึงพื้นก่อน?
15
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน
เราจะหา “ความจริง” ได้ด้วยวิธีไหน? วัตถุไม่ว่าเบาหรือหนักจะตกถึงพื้น พร้อมกัน! เพราะวัตถุที่หนักกว่าย่อมตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า Aristotle ( BC) วัตถุที่หนักกว่าตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า จริงหรือ? Galileo Galilei ( ) แต่ ทำไม ขนนกถึงตกถึงพื้นทีหลังก้อนหินล่ะ? เราเรียนรู้ อะไร จากเรื่องนี้? “ความจริง” ต้อง “พิสูจน์” ไม่ใช่มโน หรือนึกเอา!
16
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน?
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน?
17
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน?
“ยุติ” + “ธรรม” = ยุติความขัดแย้งด้วยธรรม “ความยุติธรรม” คืออะไร? ทำไมการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องมี “ความยุติธรรม”? คำถาม : “กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน? ถ้ากฎหมายมาก่อน แปลว่าเราไม่ได้มีกฎหมายเพื่อความยุติธรรม แล้วมีกฎหมายไปทำไม? ตัวอย่าง : ชาวมอแกนที่หมู่เกาะเพตรา ซึ่งประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และอยู่มาก่อนประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ถูกจับข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ถ้าท่านเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้ ท่านจะตัดสินอย่างไร? พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ มาตรา ๑๖ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด (๓) นำสัตว์ออกไป หรือทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ มาตรา ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
18
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน? ถ้า “กฎหมาย” ไม่ “ยุติธรรม” จะทำอย่างไร? พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๖ บรรดาป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าที่กำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาตินั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท มาตรา ๑๒ บุคคลใดอ้างว่ามีสิทธิ หรือได้ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใดอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ให้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ ถ้าไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดดังกล่าว ให้ถือว่าสละสิทธิหรือประโยชน์นั้น มาตรา ๑๔ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ
19
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน? ถ้า “กฎหมาย” ไม่ “ยุติธรรม” จะทำอย่างไร? คดีพนักงานเก็บขยะ กทม. ขายซีดีโดนปรับแสนกว่าบาท พนักงานอัยการได้ฟ้องว่า วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ นายสุรัตน์ได้ตั้งแผงจำหน่ายซีดีเพลง ๑๓ แผ่น และวีซีดีภาพยนตร์จำนวน ๘๓ แผ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.หัวหมาก ได้มาขอตรวจดูใบอนุญาตจำหน่ายซีดี แต่ทางนายสุรัตน์ไม่มี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวไปดำเนินคดี ศาลชั้นต้น : นายสุรัตน์รับสารภาพศาลชั้นต้นจึงพิพากษาปรับเงินจำนวน ๒ แสนบาท และลดอัตราส่วนโทษให้เหลือ ๑๓๓,๔๐๐ บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนไม่เกิน ๑ ปี ศาลอุทธรณ์ : นายสุรัตน์ได้อุทธรณ์ต่อสู้ว่า ไม่ใช่ผู้ประกอบการแต่เป็นเพียงผู้เสนอขาย จึงไม่ต้องรับโทษตามมาตร ๓๘ วรรคหนึ่งนั้น ศาลเห็นว่า สภาพของกลางมีแผ่นพลาสติกหุ้มไว้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าเชื่อว่า แผ่นซีดีดังกล่าวจะถูกเก็บมาจากกองขยะ แต่น่าจะเป็นแผ่นที่ได้มาจากแหล่งผลิตแล้วนายสุรัตน์นำมาจำหน่ายมากกว่า ซึ่งหลังจากที่ได้ลองเปิดแผ่นดู ก็พบว่า ซีดีเหล่านั้นสามารถรับชมรับฟังได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะวางปนกับสินค้าอื่น ๆ แต่ก็ถือว่า นายสุรัตน์เป็นผู้จำหน่าย และเป็นผู้ประกอบการตามความหมายในมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง ที่นายสุรัตน์ต่อสู้ว่า โทษปรับสูงเกินไป ศาลเห็นว่า มาตรา ๗๙ ของกฎหมายนี้ มีโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึง หนึ่งล้านบาท ศาลชั้นต้นได้ลงโทษปรับสองแสนบาท และลดอัตราส่วนโทษให้เบาที่สุดแล้ว
20
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน
“กฎหมาย” กับ “ความยุติธรรม” อะไรมาก่อน? ถ้า “กฎหมาย” ไม่ “ยุติธรรม” จะทำอย่างไร? พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๘ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง หรือประกอบกิจการดังกล่าวในระหว่างถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ภาพยนตร์” หมายความว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รวมถึงวีดิทัศน์ “วีดิทัศน์” หมายความว่า วัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบหรือลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
21
“กฎหมาย” มาจากไหน? ทำอย่างไร “กฎหมาย” จึงจะ “ความยุติธรรม”?
22
“นิติรัฐ” หรือ “การปกครองโดยกฎหมาย” (The Rule of Law) คืออะไร?
การมีอำนาจเป็นเรื่องยกเว้น คือต้องมีเพียงเท่าที่จำเป็น หลักนิติรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย The Rule of Law การจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องยกเว้น คือต้องจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็น ผู้บริหารประเทศจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมาจำกัด การปกครองโดยกฎหมาย ? รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใครเป็นคนเขียน ? มาตรา ๑๗ ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒
23
“นิติรัฐ” หรือ “การปกครองโดยกฎหมาย” (The Rule of Law) คืออะไร?
มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หลักนิติรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย The Rule of Law ผู้บริหารประเทศจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมาจำกัด มาตรา ๑๗ ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวนหรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒
24
= การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน
“นิติรัฐ” หรือ “การปกครองโดยกฎหมาย” เกี่ยวข้องกับการปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย” อย่างไร? หลักนิติรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย The Rule of Law ผู้บริหารประเทศจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมาจำกัด “โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อที่บ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้ มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ๒๔๗๕ (๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) ประชาธิปไตยคืออะไร? ประชา + อธิปไตย = การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน = การปกครองตนเองของประชาชนเจ้าของประเทศ
25
ทำไมต้อง “ประชาธิปไตย”?
บทเรียนจากอุบัติเหตุเครื่องบิน KLM ชนกับ PAN AM ทำไมต้อง “ประชาธิปไตย”? ปี ๒๕๒๐ เครื่องบินโบอิ้ง ๗๔๗ ของสายการบิน KLM ชนกับ PAN AM ที่สนามบิน Tenerife หมู่เกาะ Canary ประเทศสเปน เพราะกัปตัน Veldhuyzen van Zanten ของ KLM นำเครื่องขึ้นโดยยังไม่ได้รับสัญญาณอนุมัติ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๕๘๓ คน
26
“นิติรัฐ” หรือ “การปกครองโดยกฎหมาย” เกี่ยวข้องกับการปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย” อย่างไร?
หลักนิติรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย The Rule of Law ผู้บริหารประเทศจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมาจำกัด “โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อที่บ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้ มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ๒๔๗๕ (๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) “โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อที่บ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยมาตราต่อไปนี้ มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ๒๔๗๕ (๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) ประชาธิปไตยคืออะไร? ประชา + อธิปไตย = การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน โดยประชาชน = การปกครองโดยประชาชน หรือประชาชนปกครองตนเอง
27
กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยคือ การตกลงกันของประชาชน!
“กฎหมาย” ในระบอบ “ประชาธิปไตย” มาจากไหน? หลักนิติรัฐ การปกครองโดยกฎหมาย The Rule of Law ผู้บริหารประเทศจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายมาจำกัด การปกครองโดยประชาชน หลักประชาธิปไตย Government by the People ระบอบประชาธิปไตย = กฎหมายที่ใช้ในการปกครองต้องมาจากประชาชน กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยคือ การตกลงกันของประชาชน!
28
“ภาคประชาสังคม” (Civil Society) จะมีส่วนร่วมในการอำนวย “ความยุติธรรม” ได้อย่างไร?
29
ปัญหา “กฎหมาย” และ “ความยุติธรรม” ของประเทศไทยอยู่ตรงไหน?
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๐ ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยตัวชั่วคราวต้องมีประกันและจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ ปัญหาคดีล้นศาล : ปัจจุบันมีคดีขึ้นไปสู่ศาลปีละประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ คดี : คดีแพ่ง ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คดี คดีอาญา ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คดี และ คดีปกครอง ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คดี คดีไปถึงศาลฎีกาปีละ ๔๐,๐๐๐ คดี ค้างประมาณ ๒๕,๐๐๐ คดี ปัญหานักโทษล้นคุก : คุกของประเทศไทยรองรับคนได้เพียง ๙๐,๐๐๐ คน แต่ปัจจุบันมีคนติดคุก ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน! ประมาณ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นผู้ต้องขังในระหว่าง รอการพิพากษา
30
ปัญหา “กฎหมาย” และ “ความยุติธรรม” ของประเทศไทยอยู่ตรงไหน?
ปัญหาคดีล้นศาล : ปัจจุบันมีคดีขึ้นไปสู่ศาลปีละประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ คดี : คดีแพ่ง ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คดี คดีอาญา ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คดี และ คดีปกครอง ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คดี คดีไปถึงศาลฎีกาปีละ ๔๐,๐๐๐ คดี ค้างประมาณปีละ ๒๐,๐๐๐ คดี ปัญหานักโทษล้นคุก : คุกของประเทศไทยรองรับคนได้เพียง ๙๐,๐๐๐ คน แต่ปัจจุบันมีคนติดคุก ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน! ประมาณ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นผู้ต้องขังในระหว่าง รอการพิพากษา ปัญหากฎหมายเฟ้อ : พระราชบัญญัติมีมากกว่า ๑,๐๐๐ ฉบับแล้ว
31
Civil Society และการมีส่วนร่วม มีความสำคัญในการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างไร : กรณีศึกษาศูนย์พักพิง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวอย่างที่ ๑ : ปัญหาในศูนย์พักพิง น้ำดื่มขวดกำลังจะหมดใน ๑ สัปดาห์ เพราะคนดื่มไม่หมดขวด ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร? ตัวอย่างที่ ๒ : ขยะจากจานโฟม ชามโฟม ช้อนส้อมพลาสติค มีมากมหาศาล ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร?
32
นักกฎหมายไทย เราประเมิน “ผล” การทำงานของเรากันบ้างหรือไม่ : กรณีศึกษาจาก Graylag Goose
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.