ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิชาภาษาไทย ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ขัตติยพันธกรณี วิชาภาษาไทย ท ๓๓๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ อาจารย์ ดร.บัวลักษณ์ นาคทรงแก้ว
2
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้ทรงพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
4
จุดประสงค์ พระราชนิพนธ์เพื่ออำลาเจ้านาย พระบรมวงศ์ เพราะทุกข์โทมนัส เนื่องจากฝรั่งเศสเข้ามาคุกคามอธิปไตย จนไม่ประสงค์ดำรงพระชนม์ชีพต่อไป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ตอบทันที ทำให้พระองค์มีกำลังพระราชหฤทัยขึ้น
5
เนื้อหา เรื่อง “ขัตติยพันธกรณี” (เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์) เป็นกวีนิพนธ์ที่ผู้ใดได้อ่าน จะประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นบทที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศไทย เหตุการณ์นี้คือ เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทางด้านเขมร
6
เนื้อหา ข้อเรียกร้องที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง ๑. ฝรั่งเศสจะต้องได้ดินแดนทั้งหมดทั้งหมด ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ๒. ไทยจะต้องลงโทษนายทหารทุกคนที่ก่อการรุกรานที่ชายแดน ๓.ไทยต้องเสียค่าปรับให้ฝรั่งเศสเป็นจำนวน ๓ ล้านฟรังค์เหรียญทอง
7
เนื้อหา เหตุการณ์นี้ทำให้รัชกาลที่ ๕ เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจนทรงประชวรหนัก ไม่ยอเสวยพระโอสถใดๆ ในระหว่างนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงและฉันท์ระบายความทุกข์ และส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาพระบรมวงศ์ ส่วนพระนิพนธ์ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้น มีเนื้อความแสดงความวิตกและความทุกข์ของประชาชนชาวไทยในพระอาการประชวรของรัชกาลที่ ๕ ทรงให้กำลังพระราชหฤทัย และถวายพระพร ให้หายจากพระอาการประชวร
8
ลักษณะคำประพันธ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำประพันธ์ประเภท โคลงสี่สุภาพจำนวน ๗ บท อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๔ บท (ไม่เคร่งครัดเรื่อง ครุ - ลหุ)
9
ลักษณะคำประพันธ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์เป็นคำประพันธ์ประเภท อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๒๖ บท (ไม่เคร่งครัดเรื่อง ครุ - ลหุ)
10
ลักษณะคำประพันธ์ แผนผังโคลงสี่สุภาพ
11
ลักษณะคำประพันธ์ แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เช่น พวกราชมัลโดย พลโบยมืใช่เบา สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีระรัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
12
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. การใช้อุปลักษณ์โวหาร เช่น ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึงบ่อาจลีลา คล่องได้ เชิญผู้ที่มีเมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม ทรงเปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองในฐานะที่พระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นตะปูดอกใหญ่ ที่ตรึงพระบาทไว้มิให้ ก้าวย่างไปได้
13
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒. การใช้อุปมาโวหาร เช่น ดุจเหล่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง เหมือนเหล่าลูกเรือ ที่ขาดผู้บังคับบัญชาเรือ ก็จะบังคับเรือไปต่อไม่ได้ ถ้าจะว่าบรรดากิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม เรือแล่นทะเลลม จะเปรียบต่อก็พอกัน
14
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒. การใช้อุปมาโวหาร เช่น เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหนะยาน ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจำหน้าพลับพลาชัย สมเด็จฯ เปรียบตัวเองเหมือนม้าที่เป็นพระราชพาหนะ เตรียมพร้อมที่จะรับใช้รัชกาลที่ ๕
15
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๓. การใช้อติพจน์โวหาร เช่น ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้จะชิงถวาย ถ้าเลือดเนื้อของสมเด็จฯ เจือยาถวายให้หายประชวรได้ก็ยินดีที่จะทูลเกล้าฯ ถวาย
16
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๔. มีความเกี่ยวข้องกับสำนวน สุภาษิต เช่น ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยงอย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี ชีวิตคนเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เหมือนสำนวนโบราณที่ว่า ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
17
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๔. มีความเกี่ยวข้องกับสำนวน สุภาษิต เช่น ไกลใกล้บ่ได้เลือก จะกระเดือกเต็มประดา ตราบเท่าจะถึงวา- ระชีวิตมลายปราณ ตรงกับ สุภาษิตพระร่วงที่ว่า อาสาเจ้าจนตัวตาย
18
แนวคิด ปุถุชนไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งสูงเพียงใด ย่อมประพฤตบกพร่องผิดพลาดได้ในบางโอกาส อารมณ์สะเทือนใจหรือแรงบันดาลใจเป็นปัจจัยสำคัญในการแต่งบทกวี บุคคลพึงฟังคำแนะนำตักเตือนที่มีเหตุผลสมควรจากทุกคน
19
ค่านิยม ผู้นำประเทศต้องมีสำนึกในความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองและความอยู่รอดของประเทศ บุคคลพึงสละแม้ชีวิต เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ บุคคลควรมีความเห็นใจ ไม่สร้างความลำบากใจให้แก่ผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ต่ำกว่า
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.