ปรัชญาสัจนิยมทางกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปรัชญาสัจนิยมทางกฎหมาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปรัชญาสัจนิยมทางกฎหมาย
กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ปัญหาของนิติปรัชญา โปรดสังเกตว่าสำนักปรัชญากฎหมายแต่ละสำนัก ต่างมี “กรอบคิด” และเป้าหมายเชิงอุดมการณ์ของตนเอง นักกฎหมายธรรมชาติเชื่อมั่นว่ามีสัจจะที่อยู่เหนือกว่ากฎหมาย นักกฎหมายปฏิฐานฯ เชื่อในมนุษย์ รัฐ และวิทยาศาสตร์ นักกฎหมายประวัติศาสตร์ เชื่อว่ามีจิตวิญญาณประชาชาติอยู่ เชื่อๆๆๆ ฯลฯ นำไปสู่การเกิดขึ้นของวิธีคิดทางปรัชญาอีกกระแสหนึ่ง

3 ต้นทางของสัจนิยมทางกฎหมาย
Legal realism มองว่า ทัศนะที่นักปรัชญากฎหมายพิจารณากฎหมายต่างๆ ล้วนแต่มีมิติทางอุดมการณ์ ซึ่งทำให้อธิบายกฎหมายคลาดเคลื่อนออกไป เช่น สัจนิยมจะมองว่านักกฎหมายธรรมชาติอธิบายกฎหมายราวกับกฎหมายสัมพันธ์กับศีลธรรม และมองนักกฎหมายปฏิฐานว่างมงายใน “ตรรกะของนักกฎหมาย” ทั้งที่เอาเข้าจริง ผลของกฎหมายนั้นไม่ได้เกิดจากการตีความตามศีลธรรมหรือตรรกะพิเศษแต่อย่างใด

4 นักสัจนิยมทางกฎหมายพยายามค้นหา เหตุที่ทำให้เกิดผลทางกฎหมายที่แท้จริงว่าคืออะไร
คำถามแรกสำหรับนักสัจนิยมทางกฎหมายจึงเริ่มจากการถามว่า “ผลทางกฎหมาย” คืออะไร?

5 ผลทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญไทยไม่ได้กำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ทุกศาสนาจึงเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย (all religion are equal before the Law) นักสัจนิยมมองว่าการที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่ได้แปลว่า.. ประเทศไทยไม่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติจริงๆ เพราะมีข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่า ศาสนาพุทธได้รับการอุดหนุนจากรัฐมากกว่าศาสนาอื่นๆ เช่น งามศพสมเด็จพระสังฆราชฯ กษัตริย์ต้องทรงเป็นพุทธมามะกะ

6

7 กฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ทีเสมอภาคกัน
“สัญญา” คือ นิติกรรมสองฝ่ายที่เอกชนแต่ละฝ่ายมีความเสมอภาคและอำนาจต่อรองเท่าเทียมกัน นักสัจนิยม เห็นว่าไม่จริงเสมอไป เพราะสัญญาสัมพันธ์กับธุรกิจและอำนาจในการให้บริการ เช่น สัญญาสำเร็จรูป

8

9 ลอน ฟูเลอร์ บอกว่ากฎหมายต้องใช้เป็นการทั่วไป (Generality) คือไม่ได้ใช้กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
นักสัจนิยมกลับเห็นว่า เรามีกฎหมายมากมายที่ใช้กับบุคคลโดยเฉพาะเจาะจง เช่น เรามีกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อกำกับและตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจพลังงาน แต่ในไทยเรามีผู้ประกอบการดังกล่าวเพียงรายเดียว เช่น รัฐธรรมนูญ 2557 มาตรา 48 กลับนิรโทษกรรมให้บุคคลโดยเฉพาะเจาะจง

10

11 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติว่า คุ้มครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น นักสัจนิยมบอกเราว่าจริงๆ แล้ว ม.112 คุ้มครองบรรพกษัตริย์ด้วย รวมถึงสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระนเศวร, พระเจ้าตากฯ ฯลฯ

12

13 ผลทางกฎหมายไม่ได้พิจารณาจาก บทบัญญัติของกฎหมาย, แนวคิดทฤษฎีทางกฎหมาย
เพราะมีคดีความมากมายที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติหรือทฤษฎี ดังนั้น สำหรับนักสัจนิยมการพิจารณาผลทางกฎหมายต้องไม่พิจารณาจากลำพังบทบัญญัติหรือทฤษฎีเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่เป็นตัวแปรที่ทำให้แต่ละคดีเกิดผลทางกฎหมายต่างกัน

14 ดังนั้น.. นักสัจนิยมปฏิเสธการคิดแบบอักขระนิยม (Black letter approach) (คือ การเชื่อมั่นในตัวอักษรสีดำๆ ในหนังสือ) เพราะพวกเขาเชื่อว่า กฎหมายในตัวหนังสือ ไม่เท่ากับกฎหมายในทางปฏิบัติ (และกฎหมายในทางปฏิบัติก่อให้เกิดผลทางกฎหมายจริงๆ) Law in book ไม่เท่ากับ Law in action ซึ่งตัวอักษรดำๆ ที่ว่านี้หมายความรวมทั้งตัวบทกฎหมาย ตำรากฎหมาย แนวคิดทฤษฎี ฯลฯ

15 ผลทางกฎหมายมาจากไหน? นักสัจนิยมทางกฎหมายสังเกตว่าการรับรองสิทธิใด หรือการห้ามการกระทำใดจะเกิดผลจริงก็ต่อเมื่อเกิดอำนาจบังคับบัญชาจริง บังคับบัญชาจริง คือ คนลักทรัพย์ถูกลงโทษ, คนมีหนี้ถูกบังคับให้ชำระหนี้, แรงงานได้ค่าแรงงานตามเกณฑ์, คนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ฯลฯ และอำนาจบังคับบัญชานั้นเกิดขึ้นจริงต่อเมื่อเกิดมีการวินิจฉัยชี้ขาด (เพราะกฎหมายย่อมปราศจากสภาพบังคับจนกว่าจะมีคำพิพากษา) นักสัจนิยมทางกฎหมายจึงพิจารณาว่า กฎหมายที่แท้จริงคือคำพิพากษาของศาล

16 กฎหมาย = ผลทางกฎหมาย สำหรับนักสัจนิยม ลำพังการที่กฎหมายบัญญัติว่า หญิง-ชาย เท่าเทียมกัน ไม่ได้แปลว่า กฎหมายต้องการให้หญิง-ชาย เท่าเทียมกันจริง เพราะการพิจารณาว่ากฎหมายมีเนื้อหาอย่างไรต้องดูจากผลของการพิจารณาคดีจริงๆ ว่าทำให้หญิงหรือชายเสียเปรียบ และในเมื่อผลทางกฎหมายมาจากการตัดสินของศาล ศาลต่างหากจึงเป็นที่มาของกฎหมายที่แท้จริงในมุมของสัจนิยมทางกฎหมาย การศึกษากฎหมายจึงต้องศึกษาจากคำพิพากษาของศาล

17 แต่... นักสัจนิยมย่อมถามต่อไปว่าแล้ว “ศาล” คืออะไร? กลไกในการทำงานของศาลแท้จริงแล้วคืออะไร? นักสัจนิยมจึงพบว่า ศาลก็คือผู้พิพากษา ผู้พิพากษาก็คือมนุษย์ที่ทำงานในนามของกฎหมาย เมื่อศาลเป็นมนุษย์แล้ว นักสัจนิยมทางกฎหมายยิ่งไม่เชื่อว่ากฎหมายจะทำงานเป็นเชิงกลไกโดยปราศจากอคติ ในระบบตรรกะเฉพาะ (closed and isolated logical system) เพราะชีวิตของมนุษย์ย่อมสัมพันธ์กับอคติบางอย่างที่เลี่ยงไม่ได้

18 เช่น เพศวิถีในคำพิพากษา ของ สมชาย ปรีชาศิลปกุล
ถ้าพิจารณากฎหมายแบบ Black letter approach จะได้องค์ประกอบว่า “ ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตนเป็นผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบทถึงสี่หมื่นบาท การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น”

19 องค์ประกอบ องค์ประกอบภายนอก ผู้กระทำ = ผู้ใด (บุคคล, ชาย-หญิง)
การกระทำ = ข่มขืน (บังคับโดยไม่เต็มใจ), กระทำชำเรา (วรรคสอง-สำเร็จความใคร่ด้วยการใช้อะไรก็ได้กับอวัยเพศหรือทวารหนัก) พฤติการณ์ = โดยใช้กำลังประทุษร้าย, โดยทำให้ไม่อาจขัดขืน, โดยทำให้สำคัญผิด วัตถุแห่งการกระทำ = ผู้อื่น (บุคคล, ชาย-หญิง) องค์ประกอบภายใน = เจตนา

20 แต่ถ้าพิจารณาว่าแบบสัจนิยมจะได้ความว่า องค์ประกอบในการวินิจฉัยจริงๆ แล้วมิใช้องค์ประกอบตามกฎหมาย แต่เป็น... 1. ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยก่อนเกิดเหตุ 2. บาดแผลจากการต่อสู้ขัดขืน 3. ระยะเวลาระหว่างเวลาเกิดเหตุกับเวลาแจ้งความ เพราะประเด็นเหล่านี้สัมพันธ์กับ “ความยินยอม” ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่สุดในการต่อสู้คดี

21 Oliver Wendell Holms Jr.
พิจารณาว่ากฎหมายมีลักษณะสองประการ 1. กฎหมายเป็นประสบการณ์ในทางปฏิบัติ เพราะในทางปฏิบัติผู้พิพากษามีอิสระและสามารถใช้ทัศนะหรือประสบการณ์ของตนแทนที่จะใช้หลักการหรือหลักวิชา แต่แน่นอนว่าภายใต้ภาษากฎหมายแล้ว ทัศนะหรือประสบการณ์ส่วนตนจะถูกบดบังด้วยวาทศิลป์และศัพท์แสง (jargon) ของภาษากฎหมาย

22 2. ข้อสอบกฎหมายเป็นบททดสอบคนชั่ว (bad man’s test)
เพราะการทำความเข้าใจกฎหมายที่แท้จริง (ตามแนวทางสัจนิยมทางกฎหมาย) ต้องศึกษาให้เห็นชุดของผลลัพท์ (set of consequences) ทางกฎหมาย ที่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับคุณค่าทางสังคม ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมเลย การเข้าใจกฎหมายต้องทุ่มเทให้เข้าใจจากผลลัพท์ โดยไม่คำนึงถึงคุณค่า เพื่อทำนายผลลัพท์ของคดีจากการทำงานของศาลเท่านั้น

23 กฎหมายในทัศนะของสัจนิยมทางกฎหมาย
ประการแรก การพิจารณากฎหมายแท้จริงแล้วมิได้พิจารณาจาก “ตัวบท” หรือ “หลักการ” ในลักษณะอักขระนิยม แต่ต้องเน้นที่ผลลัพท์ของกฎหมายซึ่งมาจากคำพิพากษาของศาล ประการที่สอง ศาลคือผู้พิพากษาและผู้พิพากษาก็เป็น “มนุษย์” การตัดสินปัญหาทางกฎหมายจึงไม่ใช่เรื่องของการให้เหตุผลในเชิงรูปแบบ (formalism) หรือกลไกที่เป็นภววิสัย บางครั้งกฎหมายจึงมากจากมนุษย์ ซึ่งมิได้มีเหตุผลเสมอไป อาจมีทั้งอคติหรือฉันทคติก็ได้

24 ข้อเสนอของสัจนิยมทางกฎหมาย
จากฐานคิดดังกล่าว สัจนิยมทางกฎหมายมีข้อเสนอสี่ประการ ต่อการศึกษากฎหมายเพื่อให้เข้าใจ “ผลลัพท์แห่งกฎหมาย” ได้แก่ การตั้งข้อสงสัยต่อกฎเกณฑ์ (rule skepticism) การตั้งขอสงสัยต่อข้อเท็จจริง (fact skepticism) การแสวงหาเหตุผลของการวินิจฉัย (judicial reasoning) การทำนายคำพิพากษา (predictation of decision)

25 การตั้งข้อสงสัยต่อกฎเกณฑ์
ขั้นแรก คือเริ่มตั้งคำถามต่อ “กฎหมาย” เสียก่อน การตั้งของสงสัยว่าคดีความปัญหาทางกฎหมายทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมจะถูกจัดการไปตามแนวทางของบทบัญญัติหรือกระบวนการของกฎหมายหรือไม่ เพราะเรามักเชื่อกันว่ากฎเกณฑ์ทั้งหลายถูกศาลนำไปใช้อย่างปราศจากอคติ และมีแบบแผนในการใช้ที่ชัดเจน เช่น ตั้งคำถามต่อรัฐธรรมนูญว่าให้สิทธิเสรีภาพหญิง-ชาย เท่าเทียมกัน

26 การตั้งคำถามต่อข้อเท็จจริง
เมื่อพบว่ากฎเกณฑ์อาจไม่ใช่ที่มาของคำวินิจฉัย จากนั้นจึงตั้งคำถามต่อข้อเท็จจริง เพราะข้อเท็จจริงเป็นส่วนสำคัญในการวินิฉัยปัญหาทางกฎหมาย (การวินิจฉัยต้องปรับกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง) แต่นักกฎหมายต้องตั้งข้อสงสัยเสมอว่าข้อเท็จจริงที่ศาลได้รับนั้นมีอะไรที่หลุดรอดไปจากการพิจารณาหรือไม่ (elusiveness of fact) และกระบวนการในการพิจารณาความนั้นจำเป็นต้อง “เลือก” ข้อเท็จจริงบางส่วนคงไว้และการตัดข้อเท็จจริงบางส่วนออก

27 การแสวงหาเหตุผลของคำพิพากษา
นักสัจนิยมทางกฎหมายพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้เสมอที่ผู้พิพากษาจะตัดสินคดีโดยอาสัยทัศนะและประสบการณ์ของตนเอง (ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในการวินิจฉัยคดี เพราะนั้นเท่ากับสิ่งที่จำกัดสิทธิของบุคคลไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นผู้พิพากษา) แต่ไม่มีทางเลยที่ศาลจะแถลงออกมาตรงๆ ว่าได้วินิจฉัยคดีจากทัศนะและประสบการณ์ของตนเอง ทัศนะและประสบการณ์เหล่านั้นจะถูกฉาบหน้าด้วยเหตุผลทางกฎหมาย

28 การศึกษากฎหมายในแนวทางสัจนิยมต้องมองให้ทะลุฉาบหน้านั้นให้เห็นถึงเหตุผลที่แท้จริงในการวินิจฉัยคดี
โดยเครื่องมือที่ช่วยให้มองทะลุเรื่องดังกล่าว เช่น.. ความสอดคล้องตามกันของคำวินิจฉัย (consistency) แบบแผนของสไตล์คำพิพากษา (period style of judicial reasoning) เช่น ทำไมคดีบางคดีถึงตัดสินเหมือนหรือแตกต่างกัน อะไรคือตัวแปรของผลที่แตกต่างกันเหล่านั้น

29 การทำนายผลของกฎหมาย เป้าหมายของการเรียนกฎหมายในมุมของสัจันิยม คือการสามารถทำนายผลของกฎหมายได้ (ว่าวินิจฉัยโจทย์ตุ๊กตาอย่างไร: เป็นการซ้อมไปสู่การทำนายผลของกฎหมายจริงๆ) เหตุผลที่แท้จริงของคำวินิจฉัยที่เป็นชุดและมีความต่อเนื่อง (consistency) จะช่วยในการวิเคราะห์หาแนวโน้มว่าผลทางกฎหมายของคดีจะกลายเป็นอย่างไร

30 เมื่อทำนายผลทางกฎหมายได้...
ในฐานะทนายความก็สามารถให้คำปรึกษากับลูกความได้ ในฐานะอัยการก็สามารถพิจารณาได้ว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ ในฐานะนักเรียนกฎหมายก็ทำให้ทำข้อสอบได้ ในฐานะนักวิชาการก็สามารถรอวิจารณ์ศาลได้ว่า ศาลได้ตัดสินคดีอะไรผิดแปลกไปหรือไม่, หรือทำไมบางคดีตัดสินเหมือนกันหมด ฯลฯ

31 ข้อวิจารณ์เล็กน้อยต่อสัจนิยมทางกฎหมาย
Black letter approach ไม่มีผลต่อการผลทางกฎหมายจริงหรือ? ผู้พิพากษาอาจคำนึงถึงตัวบทกฎหมายเพียงเล็กน้อยในทางปฏิบัติก็จริง แต่ในห้องพิจารณายังประกอบด้วยทนายความโจทก์ ทนายความจำเลย ที่คอยตรวจสอบศาลอยู่ นอกห้องพิจารณาก็มีประชาชน สื่อมวลชล นักการเมือง พระมหากษัตริย์ คอยกำกับอยู่กรายๆ เช่น หลัง รธน. 40 เห็นได้ชัดว่าก่อให้เกิดแรงกระเพื่มในสังคมเรื่องสิทธิชุมชนอย่างมาก ฯลฯ

32 ศาลเท่านั้นหรือที่มีสิทธิขาดในการทำให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง?
ดังที่พิจารณามาแล้วว่า ในและนอกห้องพิจารณายังประกอบด้วยคนอื่นๆ ที่คอยตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจของศาลไม่ใช่อำนาจสารพัดนึก แต่ก็ต้องอาศัยความชอบธรรมทางสังคม ซึ่งหากปราศจากเงื่อนไขนี้คำพิพากษาของศาลย่อมถูกท้าทายได้อย่างง่ายดาย และศาลย่อมสูญเสียอำนาจนำในการพิจารณาคดีดังกล่าว

33 การบ้าน เพราะเหตุใด Law in book จึงไม่เหมือนกับ Law in action? และ Law in action ควรเหมือน Law in book หรือไม่?


ดาวน์โหลด ppt ปรัชญาสัจนิยมทางกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google