งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายวิชา 9560206 ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
รายวิชา   ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม  อ.โสภณ มหาเจริญ บทที่ 5 วงจรอิเล็กทรอนิกส์และการออกแบบ

2 วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านสัญลักษณ์ทางวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง 5.2 เพื่อให้ผู้เรียนเขียนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ร่วมกับ Arduino ได้อย่างถูกต้อง 5.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ใช้ประโยชน์ในงานไมโครฯ

3 เนื้อหาประจำบท ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบอร์ด Arduino

4 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ผู้เรียนสามารถออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในงานไมโครโปรเซสเซอร์และบอร์ด Arduino ได้

5 พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์
อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การควบคุมไฟฟ้า ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยใช้วงจรไฟฟ้า การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะทำงานได้นั้น จะเกี่ยวข้องกับการไหลของกระแสไฟฟ้า โดยไฟฟ้าจะไหลก็ต่อเมื่อมีความต่างศักดิ์เกิดขึ้น หรือมีแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากันในแต่ละจุด ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลจากที่แรงดันสูง ไปหาที่แรงดันต่ำ พื้นฐานของไฟฟ้า จะมีค่าอยู่ 3 ค่าเป็นไปตามความสัมพันธ์ตามกฎของโอห์ม ที่ถือเป็นพื้นฐานของอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด นั่นคือ แรงดันไฟฟ้า : E (มีหน่วยเป็นโวล์ : V) กระแสไฟฟ้า : I (มีหน่วยเป็น แอมป์ : A) ค่าความต้านทาน : R (มีหน่วยเป็นโอห์ม : Ω)

6 พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์
จากรูปสามเหลี่ยมกฎของโอห์ม หากต้องการหาตัวใด ให้ปิดตัวนั้น เช่น ต้องการหาค่าแรงดันไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าและค่าความต้านทาน เมื่อนำมือมาปิดที่ตัว E จะพบว่า I และ R อยู่ใกล้กัน หมายถึง E = I * R หรือ หากต้องการหาค่าความต้านทาน จากแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ปิดที่ตัว R พบว่า E และ I อยู่คนละระดับกัน หมายถึง R = E / I นอกจากนี้ I = E / R อีกด้วย

7 สัญลักษณ์ต่างๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

8 สัญลักษณ์ต่างๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์

9 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เนื้อหาในรายวิชานี้ จะยกมาเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการเรียนรู้ระบบสมองกลฝังตัว หากนักศึกษามีความสนใจในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ โดยสามารถหาอ่านได้จากหนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน ซึ่งจะมีตั้งแต่ แนะนำอุปกรณ์ สัญลักษณ์ต่าง ๆ การตรวจเช็ค และการทำแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)

10 การใช้งานโปรโตบอร์ด โปรโตบอร์ด(Protoboard) หรืออาจจะเรียกทับศัพท์ว่า เบรดบอร์ด (Breadboard) เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อวงจรเพื่อทดลองง่ายขึ้น ลักษณะของบอร์ดจะเป็นพลาสติกมีรูจำนวนมาก ภายใต้รูเหล่านั้นจะมีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างมีรูปแบบ เมื่อนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาเสียบ จะทำให้พลังงานไฟฟ้าสามารถไหลจากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอุปกรณ์หนึ่งได้ ผ่านรูที่มีการเชื่อมต่อกันด้านล่าง พื้นที่การเชื่อมต่อกันของ โปรโตบอร์ดจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

11 การใช้งานโปรโตบอร์ด กลุ่มแนวตั้ง เป็นกลุ่มที่เป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมต่อวงจร วางอุปกรณ์ จะมีช่องเว้นกลางกลุ่มสำหรับเสียบไอซีตัวถังแบบ DIP และบ่งบอกการแบ่งเขตเชื่อมต่อ กลุ่มแนวนอน เป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมต่อกันในแนวนอน ใช้สำหรับพักไฟที่มาจากแหล่งจ่าย เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อไฟจากแหล่งจ่ายเลี้ยงให้วงจรต่อไป และจะมีสี สัญลักษณ์สกรีนเพื่อบอกขั้วที่ของแหล่งจ่ายที่ควรนำมาพักไว้ โดยสีแดง จะหมายถึงขั้วบวก และสีดำ หรือสีน้ำเงิน จะหมายถึงขั้วลบ

12 การใช้งานโปรโตบอร์ด

13 การใช้งานโพรโทบอร์ดนั้น จำเป็นจะต้องรู้วงจรที่จะต่อเสียก่อน จึงจะเริ่มนำอุปกรณ์วางลงบนโพรโทบอร์ดได้ ทั้งนี้การใช้โพรโทบอร์ดเพื่อทดลองวงจร สามารถทำได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างดังรูปด้านล่างนี้ เป็นวงจรขับหลอด LED การใช้งานโปรโตบอร์ด การใช้งานโปรโตบอร์ดนั้น จำเป็นจะต้องรู้วงจรที่จะต่อเสียก่อน จึงจะเริ่มนำอุปกรณ์วางลงบนโปรโตบอร์ดได้ ทั้งนี้การใช้โปรโตบอร์ดเพื่อทดลองวงจร สามารถทำได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างดังรูปตัวอย่างนี้ เป็นวงจรขับหลอด LED

14 การใช้งานโปรโตบอร์ด ต่อแบบจั๊มขั้วไฟที่ขาของอุปกรณ์
ต่อแบบจั๊มขั้วไฟที่จุดเชื่อมของโปรโตบอร์ด

15 การใช้งานโปรโตบอร์ด การวางอุปกรณ์บนโปรโตบอร์ดที่ดี ควรคำนึงถึงความง่ายในการดูเป็นหลัก เช่น การวางตัวต้านทาน ให้วางตามแนวการอ่านค่าแถบสี คือวางแถบสีแรกไว้ทางซ้าย การวางตัวเก็บประจุ ควรวางให้หันหน้าออกจากบอร์ด สายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุด ไม่ควรยาวเกินไป ไม่คดงอ สายตัวนำไม่ควรยาวเกินไป เนื่องจากสานที่ยาวเกินไปจะทำให้เสียบได้ไม่สนิท และอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรกันระหว่างแนวการเชื่อมต่อได้ ควรใช้สีของสายจั้มให้เหมาะสม เช่น สายไฟเลี้ยงบวก ใช้สีแดง สายไฟเลี้ยงลบ ใส่สีดำ เป็นต้น

16 ตัวต้านทาน (Resistor)

17 ตัวต้านทาน ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีขั้ว ทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร มักจะใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องจำกัดกระแสไฟฟ้าในการใช้งาน เช่น หลอด LED จะทำงานได้เต็มที่ ๆ กระแสไฟฟ้าประมาณ 15mA หากน้อยกว่า จะทำงานไม่เต็มที่ หากมากกว่า จะทำให้หลอดขาด นอกจากนี้ หากนำตัวต้านทานมาต่อเป็นวงจรรูปแบบต่าง ๆ ก็จะอาจจะใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกจากการจำกัดกระแส เช่น การใช้ตัวต้านทานต่อเป็นวงจรแบ่งแรงดัน เป็นต้น

18 ตัวต้านทาน ตัวต้านทาน จะเรียกความสามารถในการต้านทานกระแสไฟฟ้าว่า “ค่าความต้านทาน” มีหน่วยเป็น โอห์ม (สัญลักษณ์ : Ω) ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่า “โอห์ม” นั้นมาจากชื่อของผู้คิดค้น ยอร์จ ซี่มอน โอห์ม นั่นเอง นอกจากนี้ตัวต้านทานยังมีตัวบอกค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ โดยจะระบุเป็นร้อยละ (หรือเปอร์เซ็นต์) เช่น ค่าความผิดพลาด ±5% เช่นตัวต้านทานมีค่า 100kΩ จะหมายความว่า ค่าความต้านทานที่สามารถวัดได้นั้นจะอยู่ในช่วง 95kΩ  ถึง 105kΩ นั่นเอง

19 สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน

20 การอ่านค่าความต้านทานจะใช้แถบสีในการอ่านค่า ซึ่งแถบสีแต่ละสี และแต่ละลำดับ จะมีความหมายที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้

21 ตัวต้านทาน ในงานด้านระบบสมองกลฝังตัว จะนิยมใช้ตัวต้านทานอยู่ 2 ค่า คือ 220 – 330Ω ใช้สำหรับจำกัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอด LED 10kΩ ใช้ในวงจร Pull-up Pull-down ดังนั้นผู้อ่านอาจจะศึกษา และจดจำเฉพาะแถบสีของตัวต้านทาน 2 ค่านี้ ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว สำหรับตัวต้านทานขนาด 1/4 วัตต์ ค่าความผิดพลาด ±5% จะเป็นที่นิยมใช้งานในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด เนื่องจากมีขนาดที่พอเหมาะ สามารถอ่านค่าได้ง่าย และไม่ตัวใหญ่เกินไปจนทำให้เปลืองพื้นที่วงจร และมีราคาถูกกว่าแบบค่าความต้านทานที่มีค่าความผิดพลาด ±1% ตัวต้านทาน 1/4W ค่า 220Ω ±1% ตัวต้านทาน 1/4W ค่า 10kΩ ±1%

22 ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Variable Resistor)
เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้ นิยมใช้งานแบบวงจรแบ่งแรงดัน เช่น ใช้ปรับค่าความดังของเสียง ปรับค่าแรงดันเอาต์พุต เป็นต้น ตัวต้านทานปรับค่าได้มีตัวถังหลายรูปแบบ รูปตัวอย่าง เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวอลุ่ม จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือชนิด A และชนิด B ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวอลุ่มชนิด A ลักษณะการปรับค่าความต้านจะไม่เป็นเชิงเส้น นิยมใช้ในการปรับค่าความดังของเสียง จะหาซื้อได้ยากกว่าชนิด B ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวอลุ่มชนิด B ลักษณะของการปรับค่าความต้านทานจะเป็นแบบเชิงเส้น นิยมใช้งานทั่วไป สามารถหาซื้อได้ง่าย

23 ตัวต้านทานปรับค่าได้
ตัวต้านทานปรับค่าได้ มีขาใช้งานอยู่ 3 ขา โดยขากลาง จะเป็นขาที่ต่ออยู่กับแกนเพื่อหมุนเลือกค่าความต้านทาน ส่วนอีก 2 ขา จะต่ออยู่กับแถบคาบอนที่มีค่าความต้านทาน ตัวต้านทานปรับค่าได้

24 ตัวต้านทานปรับค่าได้
ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวอลุ่ม จะมีค่าความต้านทานระบุอยู่ที่ตัวถัง โดยค่าความต้านทานที่ระบุ คือค่าที่สามารถปรับได้สูงสุด หากนำ มัลติมิเตอร์มาวัดที่ขาทั้ง 2 ด้าน ค่าความต้านทาน จะตรงกับค่าที่ระบุบนตัวถัง หมายเหตุ ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวอลุ่ม ค่านิยมใช้มากที่สุดคือ 100kΩ แบบชนิด B ซึ่งในในงานไมโครฯ ทั่วไปจะใช้ค่านี้

25 ไดโอดเปล่งแสง (LED : light-emitting diode)
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขั้วต่อใช้งาน 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode: A) หรือขั้วบวก ขั้วแคโธด (Cathode: K) หรือขั้วลบ หลักการทำงานมาจากพื้นฐานของไดโอดคือมีสานกึ่งตัวนำชนิด P และ N ต่อชนกัน มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ทางเดียว ตัวหลอด LED นั้นถือเป็นไดโอดชนิดหนึ่ง เมื่อต่อแบบไบอัสตรง (ต่อถูกขั้ว) มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะปล่อยแสงที่มองเห็นได้ออกมา สีของแสงนั้นขึ้นอยู่กับสารที่นำมาทำหลอด LED ไดโอดเปล่งแสง (LED)

26 ไดโอดเปล่งแสง (LED) การดูขั้วของหลอด LED นั้น สามารถดูได้จากความยาวของขา โดยขายาว จะเป็นขาแอโนด หรือขั้วบวก ขาที่สั้นกว่า จะเป็นขาแคโธด หรือขั้วลบ และสามารถดูได้จากรอยตัดบนฐานของหลอด LED โดยด้านที่เป็นขั้วลบ จะมีรอยตัดออกไป

27 วงจรดิจิตอบในระบบสมองกลฝังตัว
วงจรดิจิตอล คือวงจรที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของสถานะเปิด และสถานะปิด ให้คำนึงถึงการเปิด – ปิดหลอดไฟ หากเปิดสวิตซ์ให้หลอดไฟติด จะหมายถึงมีจ่ายกระแสไฟฟ้าให้หลอดไฟ เรียกสถานะนี้ว่า สถานะลอจิก 1 หรือสถานะ HIGH และเมื่อปิดสวิตซ์ให้หลอดไฟดับ จะหมายถึงไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปที่หลอดไฟ เรียกสถานะนี้ว่า สถานะลอจิก 0 หรือสถานะ LOW

28 คำที่ใช้เรียนสถานะการทำงานของอุปกรณ์
วงจรที่ทำงานแบบดิจิตอล คือมีสถานะเปิด และปิด หรือสถานะทางดิจิตอล ใช้คำเรียกการทำงานได้เป็น 2 แบบ คือ Active HIGH หมายถึง เมื่ออุปกรณ์นั้น ๆ ทำงาน เช่น มีการกดสวิตซ์ มีการตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ ให้สถานะทางขาเอาต์พุตออกมาเป็นลอจิก 1 หรือสถานะ HIGH จะเรียกว่า Active HIGH Active LOW หมายถึง เมื่ออุปกรณ์นั้น ๆ ทำงาน เช่น มีการกดสวิตซ์ มีการตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ ให้สถานะทางขาเอาต์พุตออกมาเป็นลอจิก 0 หรือสถานะ LOW จะเรียกว่า Active LOW Active HIGH / LOW จะสัมพันธ์กับวงจร Pull-up / Pull-down เช่น หากต่อวงจรสวิตซ์แบบ Pull-up เมื่อมีการกดสวิตซ์แล้วสถานะเอาต์พุตเป็น LOW จะเรียกการทำงานแบบนี้ว่า ทำงานแบบ Active LOW แต่หากต่อวงจรสวิตซ์แบบ Pull-down เมื่อมีการกดสวิตซ์ จะให้สถานะทางเอาต์พุตเป็น HIGH จะเรียกการทำงานแบบนี้ว่า ทำงานแบบ Active HIGH

29 วงจรดิจิตอลในระบบสมองกลฝังตัว
ในไมโครคอนโทรเลอร์จะใช้แรงดันที่เทียบขา GPIO กับกราว์ดในการตัดสินสถานะ โดยหากมีแรงดันที่ขา GPIO มากกว่า 2.8V แต่ไม่เกินแรงดัน VCC จะตัดสินให้เป็นสถานะลอจิก 1 หรือสถานะ HIGH แต่หากแรงดันน้อยกว่า 0.4 V และไม่น้อยกว่า 0V จะถือว่าเป็นสถานะลอจิก 0 หรือสถานะ LOW

30 วงจรดิจิตอลในระบบสมองกลฝังตัว
หากเป็นหลอดไฟใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมากในการทำงาน ทำให้เห็นผลการทำงานอย่างชัดเจนเมื่อปิดสวิตซ์ หรือวงจรถูกตัดขาด แต่ในไมโครคอนโทรลเลอร์ จะมีความไวในการตรวจจับมาก การปล่อยให้วงจรถูกตัดขาด จะทำให้เกิดสถานะที่เรียกว่า สถานะไม่แน่นอน คืออาจจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ได้ เพื่อแก้ปัญหาสภาวะไม่แน่นอนแบบนี้ จึงมีวงจร 2 แบบ ที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา โดยหัวใจหลักคือการใช้ตัวต้านทานวางในตำแหน่งต่าง ๆ กัน

31 วงจรPull-up เป็นวงจรที่ใช้ตัวต้านทานต่ออยู่กับขาของแหล่งจ่าย และขาอีกด้านต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ และต่อ SW ลงกราว์ด เมื่อไม่กดสวิตช์จะมีสภาวะลอจิก “1” เมื่อกดสวิตช์จะมีสภาวะลอจิก “0” สวิตซ์แบบ Pull-up

32 วงจรPull-up แหล่งจ่าย (ตามวงจรคือ 5V) ไหลผ่านตัวต้านทาน ไปเข้าขา GPIO แล้วไหลลงกราว์ด แรงดันที่ตกคร่อม GPIO จึงอยู่ที่ 5V ทำให้ได้สถานะคงที่เป็นลอจิก 1 หรือสถานะ HIGH

33 วงจรPull-up เมื่อกดสวิตซ์ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวต้านทาน ไหลผ่านสวิตซ์ลงไปที่ กราว์ดทั้งหมด ทำให้แรงดันที่ขา GPIO มีค่า 0V แล้วได้สถานะทางลอจิกเป็น 0 หรือสถานะ LOW

34 วงจรPull-down ลักษณะการทำงานจะคล้ายกลับวงจร Pull-up เพียงแต่เมื่ออยู่ในสภาวะปกติ จะอ่านค่าสถานะทางลอจิกได้เป็น 0 หรือสถานะ LOW เนื่องจากตัวต้านทาน R1 จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าที่มีให้ลงกราว์ด เมื่อค่าความต้านทานของขา GPIO น้อยลง จะทำให้ต้องใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้นจ่ายให้ขา GPIO จึงทำให้สัญญาณรบกวนต่าง ๆ ที่มีกระแสน้อยไม่สามารถผ่านเข้าไปยังขา GPIO แล้วทำให้ได้แรงดันถึง 2.8V เพื่อให้ตัดสินสถานะให้เป็นลอจิก 1 หรือสถานะ HIGH ได้ วงจรสวิตซ์แบบ Pull-down

35 วงจรPull-down เมื่อไม่มีการกดสวิตซ์ สถานะของขา GPIO จะได้รับลอจิก “0” เนื่องต่อตัวต้านทาน 10K ลงกราว์ด หากกดสวิตช์ ก็เท่ากับเป็นการส่งลอจิก “1” ให้กับ GPIO ทิศทางการไหลขอรงกระแสไฟฟ้า ทิศทางการไหลขอรงกระแสไฟฟ้า

36 รีเลย์ (Relay) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า การที่จะให้มันทำงานก็ต้องจ่ายไฟให้มันตามที่กำหนด เพราะเมื่อจ่ายไฟให้กับตัวรีเลย์ การทำงานจะทำให้หน้าสัมผัสติดกัน กลายเป็นวงจรปิด และตรงข้ามทันทีที่ไม่ได้จ่ายไฟให้มัน มันก็จะกลายเป็นวงจรเปิด

37 ส่วนประกอบภายในรีเลย์

38 การต่อรีเลย์เพื่อการใช้งาน

39 โมดูลรีเลย์ โมดูลรีเลย์ ประกอบด้วย วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญเพื่อสามารถใช้กับสัญญาณระดับ TTL ได้ ซึ่งจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวงจรด้านไมโครฯ ได้อย่างเหมาะสม

40 มุมมองภาพเหมือนจริง กับมุมมองวงจรอิเล็กทรอนิกส์

41 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Aduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

42 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Aduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

43 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Arduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

44 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Arduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

45 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Arduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

46 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กับ Arduino
ภาพเหมือนจริง วงจรอิเล็กทรอนิกส์

47 สรุปประจำบท การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ต่อวงจรมีความจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์ มิฉะนั้นจะไม่สามารถออกแบบและวาดวงจรได้ ดังนั้นปัจจุบันโลกของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไป รวมถึงความเก้าหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีมากขึ้น การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบต่อเสมือนจริงจึงสามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยการสร้างจากโปรแกรมเฉพาะด้าน แต่ถึงอย่างไร การศึกษาและการดูการต่อวงจรหากวงจรมีความสลับซับซ้อนการวาดแบบนี้ก็ไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้พัฒนาสามารถออกแบบและเขียนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้จะทำให้การอ่านวงจร และการพัฒนาฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ก็ง่ายมากขึ้น

48 แบบฝึกหัด จงวาดสัญลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ LED LDR Resister ค่าความต้านทาน 279 M -=5% จงวาดวงจรอิเล็กทรอนิกส์จากโจทย์ต่อไปนี้ วงจร LED 4 ดวงกระพริบ ทุก 1 วินาที สลับเรียงกัน 4 ดวง วงจรส่งเสียงดนตรีโน้ต โด เร มี ฟา ซอน รา ซี ออกสู่ลำโพง วงจรรับค่าทางสวิตช์ 1 ตัว เมื่อกดแล้ว หลอด LED ติด พร้อมเสียงบีบดัง 1 ครั้ง


ดาวน์โหลด ppt รายวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์ในงานอุตสาหกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google