ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 4 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
บทที่ 4 ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัยเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดำเนินการวิจัย โดยปกติการตั้งสมมติฐานจะเป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้มีการกำหนดปัญหาและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว การทบทวนวรรณกรรมเปรียบเหมือนความพยายามที่จะเข้าใจในสาเหตุและคำตอบที่อาจเป็นไปได้สำหรับปัญหาที่กำหนดเพื่อการวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัยเป็นผลพวงมาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง บทที่ 4 ตัวแปร
2
เมื่อผู้วิจัยเข้าใจปัญหาการวิจัยเป็นอย่างดี
การกำหนดสมมติฐานการวิจัยย่อมทำได้ง่าย สมมติฐานที่สร้างขึ้นสามารถจะบ่งบอกทิศทางหรือแนวทางในการกำหนดตัวแปร ลักษณะของข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ตัวแปร
3
ความหมายของสมมติฐาน สมมติฐาน (Christensen,2001, p.64)
คือ ข้อความที่แสดงการคาดทำนายความสัมพันธ์ซึ่งปรากฏระหว่างตัวแปร สมมติฐาน (Brewerton & millward,2001, p.6) คือ การคาดเดาอย่างมีเหตุผลและประสบการณ์ ซึ่งอาจบอกทิศทางให้คิดและหาทางแก้ปัญหา บทที่ 4 ตัวแปร
4
ความหมายของสมมติฐาน สมมติฐาน (Labovitz & Hagedom,2001, p.25)
คือ ข้อความซึ่งสามารถทำการทดสอบได้ในทางปฏิบัติของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป สมมติฐาน (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ,2540,หน้า 44) คือ ข้อความที่บอกหรือคาดคะเนไว้ว่า ตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร ทั้งนี้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริง เงื่อนไขหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น บทที่ 4 ตัวแปร
5
สรุปความหมายของสมมติฐาน
สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คำตอบสรุปของผลการวิจัยที่ผู้วิจัยคาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีรากฐานของทฤษฎี ผลการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น - การตั้งสมมติฐานจะต้องเป็นข้อสรุปที่ตรงตามวัตถุประสงค์ - เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในแง่ใดแง่หนึ่ง - สามารถทดสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่จริงด้วยวิธีการทางสถิติ บทที่ 4 ตัวแปร
6
ความสำคัญของสมมติฐานการวิจัย
1. การมีสมมติฐานในการทำวิจัยจะทำให้เกิดขั้นตอนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การกำหนดปัญหาการวิจัย สมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล หาเหตุผลมายืนยันสมมติฐาน บทที่ 4 ตัวแปร
7
ความสำคัญของสมมติฐานการวิจัย
2. สมมติฐานเปรียบเสมือนเครื่องมือสำหรับนักวิจัยที่จะเชื่อมโยงแนวความคิดหรือทฤษฎีเข้ากับเรื่องที่สนใจศึกษา 3. สมมติฐานการวิจัยทำหน้าที่คล้ายกรอบคอยควบคุมผู้วิจัยให้ดำเนินการวิจัยให้อยู่ในขอบเขตที่แน่นอน 4. สมมติฐานการวิจัยเป็นได้ทั้งจุดเริ่มต้นและเส้นชัยในการทำวิจัย บทที่ 4 ตัวแปร
8
ประเภทของสมมติฐานการวิจัย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญ
ประเภทของสมมติฐานการวิจัย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทที่สำคัญ (ในตำราราชภัฎสวนสุนันทา) สมมติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่ต้องมีการทดสอบทางสถิติ (research - problem - oriented hypothesis) สมมติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ (statistically - oriented hypothesis) บทที่ 4 ตัวแปร
9
สมมติฐานของการวิจัยมี 2 ประเภท
สมมติฐานของการวิจัยมี 2 ประเภท 1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research Hypothesis) ข้อความที่คาดเดาอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับลักษณะของเหตุการณ์ ที่เราต้องการศึกษาว่าผลการวิจัยจะเป็นอย่างไร โดยเขียนออกมารูปประโยคข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) ข้อความที่กล่าวถึง ค่าพารามิเตอร์ (parameter) ซึ่งเป็นค่าต่าง ๆ ในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา เช่น ค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน ความสัมพันธ์ บทที่ 4 ตัวแปร
10
สมมติฐานการวิจัย (ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัยอยู่ในรูปข้อความ)
1.เพศที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 2.อายุที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 3.อาชีพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 4.ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพ แตกต่างกัน 5.รายได้ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 6.สถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถ ปิกอัพแตกต่างกัน บทที่ 4 ตัวแปร
11
2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
ประกอบด้วยสมมติฐาน 2 แบบ คือ 2.1 สมมติฐานเชิงปฏิเสธ (Null Hypothesis) ใช้สัญลักษณ์ H0 เป็นสมมติฐานหลักที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นมาโดยหวังจะตัดทิ้งหรือไม่ยอมรับเมื่อไม่เป็นความจริง 2.2 สมมติฐานสำรอง (Alternative Hypothesis) ใช้สัญลักษณ์ H1 เป็นสมมติฐานอีกทางเลือกหนึ่งที่ตรงข้ามกับสมมติฐานเชิงปฏิเสธ บทที่ 4 ตัวแปร
12
สมมติฐานทางสถิติ (ยกตัวอย่างสมมติฐานทางสถิติอยู่ในรูปสัญลักษณ์)
1.เพศที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 2.อายุที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อรถปิกอัพแตกต่างกัน 2 1 = H0 : 2 1 = H1 : 2 1 = H0 : H1 : 3 4 บทที่ 4 ตัวแปร
13
การเขียนสมมติฐาน 1. ควรกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป โดยกำหนดให้ชัดเจนลงไปว่า ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ และตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม โดยอาศัยแนวความคิดและทฤษฎีเป็นพื้นฐานประกอบการตั้งสมมติฐาน 2. ควรระบุทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกหรือเชิงลบ บทที่ 4 ตัวแปร
14
= = < _ > > _ <
สมมติฐานทางสถิติที่เป็นไปได้สำหรับการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม คือ สมมติฐานเชิงปฏิเสธ (H0) และสมมติฐานสำรอง (H1) มี 3 แบบ คือ 1. H0 : ; H1 : 2 1 = 2 1 = เป็นการทดสอบ 2 หาง กรณีไม่ทราบทิศทางแน่ชัด หรือ Two - tail 2 1 < _ 2 1 > 2. H0 : ; H1 : เป็นการทดสอบหางเดียว กรณีที่ทราบทิศทางไปทางบวก หรือ One - tail 2 1 > _ 3. H0 : ; H1 : < 2 1 เป็นการทดสอบหางเดียว กรณีที่ทราบทิศทางไปทางลบ หรือ One - tail บทที่ 4 ตัวแปร
15
ถ้า H1 : 2 1 = หมายความว่า เราจะปฏิเสธสมมติฐานเชิงปฏิเสธ (H0) เมื่อค่าสถิติ t ที่คำนวณได้ตกอยู่นอกพื้นที่ของสมมติฐานเชิงปฏิเสธ (ช่วง 2 หางของพื้นที่ใต้โค้งแรงเงา) H0 : 2 1 = 2 1 = H1 : H0 /2 /2 ค่าวิกฤต บทที่ 4 ตัวแปร
16
2 1 > ถ้า H1 : หมายความว่า เราจะปฏิเสธสมมติฐานเชิงปฏิเสธ (H0) เมื่อค่าสถิติ t ที่คำนวณได้ตกอยู่นอกพื้นที่ของ สมมติฐานเชิงปฏิเสธ (ช่วงหางด้านขวามือแรเงา) H0 : 2 1 < _ 2 1 > H1 : H0 ค่าวิกฤต บทที่ 4 ตัวแปร
17
2 1 < ถ้า H1 : หมายความว่า เราจะปฏิเสธสมมติฐานเชิงปฏิเสธ (H0) เมื่อค่าสถิติ t ที่คำนวณได้ตกอยู่นอกพื้นที่ของสมมติฐานเชิงปฏิเสธ (ช่วงหางด้านซ้ายมือแรเงา) _ H0 : 2 1 > 2 1 < H1 : H0 ค่าวิกฤต บทที่ 4 ตัวแปร
18
การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing)
คือ วิธีการทางสถิติที่จะพิสูจน์ว่าสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้เป็นจริงและยอมรับ หรือเป็นเท็จแล้วตัดทิ้ง ในการพิสูจน์จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากประชากรตัวอย่างโดยมีแบบทดสอบทางสถิติ มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานการวิจัยในรูปของสมมติฐานเชิงปฏิเสธ ขั้นตอนที่ 2 ตั้งสมติฐานสำรอง โดยผู้วิจัยสามารถกำหนดทิศทางความ แตกต่างของข้อมูลเองได้ ขั้นตอนที่ 3 กำหนดระดับนัยสำคัญ หรือ โดยปกติตั้งไว้ที่ .05 ขั้นตอนที่ 4 ผู้วิจัยเลือกแบบทดสอบทางสถิติที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนที่ 5 สรุปตีความจากผลการวิเคราะห์และแปลความหมาย บทที่ 4 ตัวแปร
19
ความหมายของตัวแปรในการวิจัย
เพ็ญแข แสงแก้ว (2540, หน้า 27) ให้ความหมายของตัวแปรในการวิจัยว่า ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติของหน่วยตัวอย่างซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป ถ้าคุณสมบัติใดไม่มีความแตกต่างกันหรือไม่มีความผันแปร คุณลักษณะนั้นไม่ถือเป็นตัวแปร บทที่ 4 ตัวแปร
20
ความหมายของตัวแปรในการวิจัย
ซิคมันต์ (Zigmund,2000,p.91) ให้ความหมายของตัวแปรในการวิจัยว่า ตัวแปร หมายถึง ... สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถมีค่าแตกต่างกันหรือมีค่าแปรเปลี่ยนได้ บทที่ 4 ตัวแปร
21
ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของหน่วยตัวอย่างซึ่งผู้วิจัยสนใจศึกษา โดยมีคุณค่าแตกต่างกันหรือผันแปรไปในเชิงคุณค่า ถ้าคุณลักษณะใดไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความผันแปร คุณลักษณะนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นตัวแปร ตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต้อง สามารถวัดค่าออกเป็นตัวเลขได้ บทที่ 4 ตัวแปร
22
อายุ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นตัวแปรหรือไม่ ?
หัวข้อ “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือก ตั้งของวัยรุ่นอายุ 18 ปี” อายุ ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นตัวแปรหรือไม่ ? กรณีนี้ ได้มีการกำหนดว่าจะศึกษาเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 18 ปี เท่านั้น อายุของหน่วยตัวอย่างจึงไม่มีการผันแปร เพราะจะไม่มีหน่วยตัวอย่างใดที่มีอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า ปี บทที่ 4 ตัวแปร
23
เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ของหน่วยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีความผันแปร
เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจมีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีระดับการศึกษาและอาชีพแตกต่างกันออกไป บทที่ 4 ตัวแปร
24
ประเภทของตัวแปร ตัวแปรในการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ตัวแปรในการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ตัวแปรที่มีค่าเป็นหน่วยจำนวนเต็ม (Discrete variable) 2. ตัวแปรที่มีค่าเป็นหน่วยต่อเนื่อง (Continuous variable) แต่ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประเภทของการวิจัยที่ถูกนำไปใช้มากที่สุด คือ…??? บทที่ 4 ตัวแปร
25
ประเภทของตัวแปร (Extraneous variable) 5. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก
1. ตัวแปรอิสระ (Independent variable) 2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) 3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable) 4. ตัวแปรองค์ประกอบ (Component variable) 5. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous variable) บทที่ 4 ตัวแปร
26
ตัวแปรอิสระ คือ ผู้บริโภค อาจได้แก่ เพศ อายุ รายได้
1. ตัวแปรอิสระ (Independent variable) คือ ตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมาในการทำวิจัย เพื่อดูว่ามีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น ๆ อย่างไรบ้าง เช่น ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีการดื่มชาเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรอิสระ คือ ผู้บริโภค อาจได้แก่ เพศ อายุ รายได้ บทที่ 4 ตัวแปร
27
2. ตัวแปรตาม (Dependent variable)
คือ ตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะวัดอิทธิพลของตัวแปรอิสระ โดยพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตัวนี้ว่าเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระอย่างไร เช่น ความคิดเห็นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ตัวแปรตาม คือ ความคิดเห็นของผู้บริโภค บทที่ 4 ตัวแปร
28
3. ตัวแปรแทรก (Intervening variable)
คือ ตัวแปรที่พิจารณาโดยตำแหน่งแล้ว จะอยู่ระหว่างการศึกษา ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามในการทำวิจัยอาจจะกำหนดตัวแปรแทรกขึ้นมาเป็นการเด่นชัด เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมที่อาจมีต่อตัวแปรตาม ตัวแปรแทรกอาจทำให้ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีความคลาดเคลื่อน เช่น ความคิดเห็นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ตัวแปรแทรกที่เข้ามามีส่วนร่วมอาจได้แก่ การสนับสนุนส่งเสริมสินค้าไทยของภาครัฐ บทที่ 4 ตัวแปร
29
4. ตัวแปรองค์ประกอบ (Component variable)
4. ตัวแปรองค์ประกอบ (Component variable) คือ ตัวแปรที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรอิสระ พิจารณาโดยบทบาทตัวแปรนี้มีลักษณะคล้ายตัวแปรแทรก แต่เมื่อพิจารณาตามตำแหน่งแล้วตัวแปรทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในการทำวิจัย ผู้วิจัยสามารถควบคุมองค์ประกอบเอาไว้ยังไม่นำไปร่วมทำการวิเคราะห์ คงเลือกเฉพาะตัวแปรอิสระที่ตนเองสนใจศึกษาเท่านั้น หรือนำเอาตัวแปรองค์ประกอบมาร่วมวิเคราะห์กับตัวแปรอิสระอื่น ๆ เช่น กรณีศึกษาปัญหาของธุรกิจขนาดย่อม นอกจากตัวแปรอิสระ จะได้แก่ คุณภาพของสินค้า และต้นทุนของสินค้าแล้ว ยังมีตัวแปรอื่นที่มีอิทธิพลร่วมอยู่กับตัวแปรอิสระดังกล่าวด้วย เป็นต้นว่า ความรู้ของผู้ประกอบการ และฐานะการเงิน ก็เป็นตัวแปรที่มีผลต่อปัญหาของธุรกิจขนาดย่อม แต่เนื่องจากผู้วิจัยสนใจเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในการวิจัยครั้งนี้ ความรู้ของผู้ประกอบการและฐานะการเงินจึงเป็นตัวแปรองค์ประกอบ บทที่ 4 ตัวแปร
30
(Extraneous variable)
5. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous variable) คือ ตัวแปรที่มิได้กำหนดไว้ในรูปแบบการวิจัย แต่อาจทำการวิเคราะห์และพบว่า อิทธิพลที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่กำหนดศึกษาเปลี่ยนแปลงได้ สามารถควบคุมตัวแปรเหล่านี้ได้ เช่น ศึกษาเปรียบเทียบการใช้โทรศัพท์มือถือดิจิตอลในระบบเติมเงิน ตัวแปรเกิน คือ ยี่ห้อของโทรศัพท์มือถือแต่ละยี่ห้อ บทที่ 4 ตัวแปร
31
ความสัมพันธ์ของตัวแปร
1. ความสัมพันธ์แบบไม่สมมาตร (Asymmetrical relationship) เป็นความสัมพันธ์แบบเหตุและผล (Causal relationship) มีตัวแปรอิสระเป็นเหตุที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยตัวแปรทั้งสองมีบทบาทไม่เท่ากัน เช่น คุณภาพของสินค้ามีอิทธิพลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง ขนาดของพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกมีอิทธิพลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิต ตัวแปรเหตุ ตัวแปรผล บทที่ 4 ตัวแปร
32
ความสัมพันธ์ของตัวแปร
2. ความสัมพันธ์แบบสมมาตร (Symmetrical relationship) ความสัมพันธ์ลักษณะนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสอง ตัวแปร ซึ่งมีบทบาทหรืออิทธิพลซึ่งกันและกันแต่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าตัวแปรใดเป็นเหตุและตัวแปรใดเป็นผล คุณภาพของสินค้ามีความสัมพันธ์กับราคาสินค้า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์กับการปฏิรูปทางการศึกษา บทที่ 4 ตัวแปร
33
ความสัมพันธ์ของตัวแปร
3. ความสัมพันธ์แบบโต้ตอบ (Reciprocal relationship) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวที่ต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกัน สามารถเป็นได้ทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเป็นสำคัญ ยอดขายของบริษัทมีอิทธิพลต่อการวางตำแหน่งของสินค้า การวางตำแหน่งของสินค้ามีอิทธิพลต่อยอดขายของบริษัท รายได้ของครอบครัวมีอิทธิพลต่อการศึกษาของสมาชิกในครอบครัว การศึกษาของสมาชิกในครอบครัวมีอิทธิพลต่อรายได้ของครอบครัว บทที่ 4 ตัวแปร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.