ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
อาจารย์ศรีนวล ฟองมณี
2
ความหมายของระบบ กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล (2546:23) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ คน (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) ผสมผสานการ ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ เช่น ระบบการเรียนการสอน ระบบบัญชี ระบบจัดซื้อ -ระบบสารสนเทศ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
3
ความหมายของระบบ(ต่อ)
ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ (2551:12) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน โดยความสัมพันธ์ กันในที่นี้ยังสามารถเป็นความสัมพันธ์แบบบางส่วนหรือทั้งหมด แต่ละองค์ประกอบของระบบจะต้องประสานทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์เดียวกัน
4
ความหมายของระบบ(ต่อ)
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2555:18) กล่าวว่า ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละองค์ประกอบจะ ประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน ระบบที่ดีจำเป็นต้องมีองค์ประกอบของระบบที่เรียกว่า ระบบย่อย (Subsystem) ที่สามารถประสาน การทำงานร่วมกันภายในระบบได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปสู่สภาพใหญ่ของระบบให้สามารถทำงานได้ บรรลุตามเป้าหมาย เช่น ระบบงานทางคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยระบบย่อยอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร ส่วนประกอบทั้ง 3 เหล่านี้ จะต้องประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุถึง เป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ หากมีส่วนใดขัดข้องส่งผลกระทบ ต่อระบบโดยรวม และผลกระทบได้พอกพูนมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบได้ในที่สุด
5
ความหมายของระบบ(ต่อ)
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะต้องประสานการทำงาน ร่วมกัน ระบบที่ดี จำเป็นต้องมีระบบย่อยที่สมบูรณ์ในตัว ส่วนประกอบภายในระบบจำเป็นต้องได้รับการประสานการทำงานที่ดี ภาพรวมของระบบ ถูกกำหนดด้วยขอบเขต(System Boundary) ขอบเขตของระบบประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ของระบบเรียกว่าระบบย่อย ระบบย่อยสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างขั้นตอนการออบแบบระบบ โดย สิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตระบบ จึงเรียกว่า สภาพแวดล้อม (Environment)
6
ความหมายของระบบ(ต่อ)
ระบบที่ดีควรมีระบบย่อยต่างๆ ที่มีความสมบูรณ์ในตัว ระบบย่อยจะมีการสื่อสารร่วมกัน การส่งผลป้อนกลับ(Feedback) ระหว่างกัน มีระบบเฝ้าสังเกตการณ์ (Monitoring) เพื่อควบคุมให้ระบบดำเนินการตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ระบบที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบระบบย่อยต่างๆ ให้มีความเป็นอิสระต่อกันมาก ที่สุด ด้วยการลดจำนวนเส้นทางการไหลของข้อมูล (Flows)ระหว่างกัน
7
ชนิดของระบบ 1. ระบบปิด(Closed System) เป็นระบบแบบโดดเดี่ยว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับ สิ่งแวดล้อม
8
ตัวอย่างระบบปิด - ระบบสารสนเทศของธนาคารที่ใช้สำหรับบันทึกการธุรกรรมทางการเงินของ ลูกค้า พนักงานจะเป็นผู้ดำเนินการบันทึกข้อมูลตามขั้นตอนที่ระบบกำหนดไว้ - ระบบสารสนเทศสำหรับการทำบัตรประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการบันทึกข้อมูลตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ -เว็บไซต์สำหรับการแจ้งข่าวประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่มีไว้ สำหรับการแจ้งข่าวประกาศเกี่ยวกับการรับสมัครนักศึกษา การรับสมัคร บุคลากร แจ้งข่าวการเปิดประมูลวัสดุครุภัณฑ์ แจ้งข่าวกิจกรรมต่างๆของ มหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้บันทึกข้อมูล
9
ชนิดของระบบ(ต่อ) 2. ระบบเปิด (Open System) เป็นระบบที่มีลักษณะ ตรงกันข้ามกับระบบปิด โดยจะมีการปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ
10
ตัวอย่างระบบเปิด - ระบบการลงทะเบียนเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย - ระบบรับฝากประกาศขายสินค้าออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกฝากข้อความประกาศ ขายสินค้า และเปิดให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งข้อมูลที่เกิดขึ้นมาจาก สมาชิกที่ไม่สามารถคาดเดาได้ - ระบบการขายสินค้าออนไลน์ ที่ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ กระบวนการซื้อขายสินค้าจะเกิดจากลูกค้าเป็นผู้กำหนด
11
แนวทางการศึกษาระบบ อะไร (What)
วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงานขั้นตอนอะไรบ้าง ที่สามารถ นำพาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไร (How) มีวิธีการทำงานอย่างไร จำเป็นต้องนำเครื่องมือใดมาใช้บ้าง เพื่อให้งาน สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
12
แนวทางการศึกษาระบบ (ต่อ)
เมื่อไร (When) จะเริ่มดำเนินงานเมื่อไร และผลสำเร็จของงานจะสำเร็จลุล่วงได้เมื่อไร ใคร(Who) บุคคลหรือทีมงานใดที่รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่คืออะไร
13
ระบบสารสนเทศ (Information System)
หมายถึง การรวบรวมองค์ประกอบต่างๆ (ข้อมูล การประมวลผล การเชื่อมโยง เครือข่าย) เพื่อนำเข้า (Input) สู่ระบบใดๆ แล้วนำมาผ่านกระบวนการบางอย่าง (Process) ที่อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อเรียบเรียง เปลี่ยนแปลง และจัดเก็บ เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ (Output) ที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจได้
14
แสดงกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ
15
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ
Input คือ การเก็บรวบรวมสมาชิกหรือองค์ประกอบของระบบ เช่น ข้อมูล (Data) หรือ สารสนเทศ (Information) เพื่อนำไปทำการประมวลผลต่อไป เช่น การเก็บ ข้อมูลที่เป็นคะแนนสอบของนักศึกษา เพื่อที่จะนำไปสู่การคำนวณให้เป็นเกรด ต่อไป
16
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)
Processing คือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ (Input) เพื่อให้ ได้ผลลัพธ์ (Output) ที่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพ นั้นอาจจะเป็นการคำนวณ เปรียบเทียบหรือวิธีการอื่น ๆ ก็ได้
17
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)
Output คือ ผลลัพธ์ที่ได้เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลหรือสารสนเทศ แสดงอยู่ใน รูปแบบของรายงาน (Report) หรือเป็นแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อนำไปใช้ใน การดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป
18
กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ(ต่อ)
Feedback คือ ผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ในการนำข้อมูลเข้า หรือ การประมวลผลข้อมูล เช่น ข้อผิดพลาดที่พบจากรายงานต่างๆ นั้น ทำ ให้ทราบได้ว่า ในขณะนำข้อมูลเข้า หรือการประมวลผลนั้น อาจมี ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมในการทำงานของ องค์กรเพื่อให้มีความถูกต้องมากขึ้น Feedback จึงมีความสำคัญอย่งยิ่งในการทำงานเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ
19
ชนิดของระบบสารสนเทศ 1. ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems: TPS) 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) 4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) 5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems:OAS) 6. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS)
20
1. ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems: TPS)
เป็นระบบที่ช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากเหตุการณ์ประจำวันของ ธุรกิจ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Data Processing System เช่น - การจัดซื้อวัตถุดิบ - ยอดสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า - ยอดขาย - การส่งของ - การจอง - ลงทะเบียน - การออกใบแจ้งรายการสินค้า (Invoice) - ใบสำคัญจ่ายเงิน
21
แสดงการทำงานของวงจรการประมวลผลระบบสารสนเทศรประมวลผลรายการ
22
คุณลักษณะของระบบการประมวลผลรายการ
1. สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นประจำวันของการดำเนินธุรกิจได้ เช่น ประวัติลูกค้า รายการสั่งซื้อสินค้าจาก ลูกค้า 2. สามารถสร้างข้อมูลเพื่อดำเนินธุรกิจได้ เช่น ออกใบกำกับภาษี ออก ใบแจ้งหนี้ ออกใบรายการสินค้า 3. บำรุงรักษาข้อมูล (Data maintenance) โดยการปรับปรุงข้อมูล (เพิ่ม ลบ แก้ไข) ให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้า ชื่อที่อยู่ของลูกค้า รหัสสินค้า เป็นต้น 4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงการสร้าง
23
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ในระบบการประมวลผลรายการได้แก่
1. การตอบสนองการทำงาน (Response time) ต้องมีความรวดเร็ว 2. สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก 3. ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีความถูกต้อง (Accuracy) 4. กรณีที่ประมวลผลพร้อมกันจากผู้ใช้หลายคนข้อมูลจะต้องมีความ สอดคล้องกัน (Consistency)
24
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่นำสารสนเทศมาช่วยใน การจัดทำรายงานลักษณะต่างๆ วางแผน และควบคุมการดำเนินงาน ทางธุรกิจ
25
คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. สามารถสร้างสารสนเทศที่อ้างอิงได้ตามหลักการด้านการ จัดการ ด้านคณิตศาสตร์ หรือสถิติ ที่เป็นที่ยอมรับได้ 2.ข้อมูลมาจากระบบประมวลผลรายการ หรือแหล่งข้อมูล ภายนอก
26
คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
3. ส่วนของรายงานประกอบด้วย 4 ส่วนดังนี้ (1) ส่วนรายละเอียด เป็นส่วนแสดงรายละเอียดงานด้านการปฏิบัติงานที่เป็น กิจวัตรประจำวันขององค์กร วัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานขององค์กร (2) ส่วนผลสรุป เป็นส่วนที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ แนวโน้มและความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาในด้านต่างๆ (3) ส่วนกรณีเฉพาะ เป็นข้อมูลที่เกิดจากการกรองตามเงื่อนไขที่ต้องการ (4) ส่วนการพยากรณ์ เป็นข้อมูลการคาดคะเนตามเงื่อบไขที่ต้องการ 4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
27
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่สร้างแนวทางการตัดสินใจให้แก่ผู้ใช้ โดยมีการ สร้างสถานการณ์จำลองการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก เพื่อให้ผู้ใช้ มั่นใจในการตัดสินใจทางเลือกที่ต้องการ ส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจใน เหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
28
ส่วนประกอบของ DSS
29
คุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1) จัดเตรียมสารสนเทศจากระบบประมวลผลรายการ หรือคลังข้อมูล 2) มีการสร้างแบบจำลองการตัดสินใจโดยจะสร้างทางเลือกในการตัดสินใจ หลายๆ ทางและแสดงผลลัพธ์ของการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก 3) มีความยืดหยุ่นสามารถสนองตอบความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหามีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ 4) เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน 5) สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 6) สนับสนุนตัดสินใจแบบกึ่งมีโครงสร้างและการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
30
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การทำงานของ DSS ต้องอาศัยสารสนเทศจากฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมีการเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสำหรับการ ตัดสินใจไว้โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดึง สารสนเทศนั้นมาใช้งาน จึงได้มีการแยกฐานข้อมูลของ สารสนเทศที่เตรียมไว้สำหรับ DSS และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ เราเรียกฐานข้อมูลนั้นว่า “คลังข้อมูล (Data Warehouse”
31
คลังข้อมูล (Data Warehouse)
คือ ฐานข้อมูลที่ได้มีการเตรียมสารสนเทศเพื่อระบบสนับสนุนการตัดสินใจไว้ โดยเฉพาะมีลักษณะดังนี้ 1)สามารถอ่านข้อมูลจากคลังข้อมูลได้อย่างเดียว 2)สารสนเทศที่จัดเก็บในคลังข้อมูล ประกอบด้วยสารสนเทศที่มีส่วน รายละเอียด ส่วนผลสรุปและส่วนสารสนเทศกรณีเฉพาะ 3)สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งผู้ใช้ลำดับสุดท้ายและผู้บริหาร 4)เตรียมเครื่องมือที่สนับสนุนการตัดสินใจ
32
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES)
เป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจแทนผู้ใช้ โดยทำ การลอกเลียนแบบเหตุผลและความคิดนั้นจากสารสนเทศที่ เก็บรวบรวมมาจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจริง และ นำมาเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ
33
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) กฎขั้นพื้นฐาน (Rule Base) กลไกในการวินิจฉัยข้อมูล (Interface Engine) องค์ความรู้ (Knowledge Base) ผู้ใช้ (User)
34
ระบบผู้เชี่ยวชาญ - กฎขั้นพื้นฐาน (Rule Base) เป็นการควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการตัดสินใจ ตามกฎขั้นพื้นฐานที่สร้างลอกเลียนเหตุผลการตัดสินใจในการแก้ปัญหาจาก ผู้เชี่ยวชาญ - กลไกลการวินิจฉัยข้อมูล (Interface Engine) เป็นส่วนที่ทำการวินิจฉัยข้อมูลที่ทำ การป้อนเข้าสู่ระบบจากผู้ใช้ โดยใช้อาศัยข้อมูลจากองค์ความรู้ที่รวบรวมไว้และใช้ วิธีการตัดสินใจจากกฏขั้นพื้นฐาน - องค์ความรู้ คือความรู้และเหตุผลของการตัดสินใจ ที่รวบรวมจากผู้เชี่ยวชาญ จัดเก็บไว้เป็นระบบเพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในกลไกลการวินิจฉัยข้อมูล
35
คุณลักษณะของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1)เลียนแบบวิธีการคิดและเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญจากประสบการณ์ ในการแก้ปัญหาจริงในด้านต่างๆ 2)ใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 3)สนับสนุนการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ เช่น ระบบวินิจฉัยโรคที่ใช้ในวงการแพทย์ ผู้ใช้เพียงป้อน ข้อมูลอาการของโรค ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการตัดสินใจว่าอาการนั้น ป่วยเป็นโรค อะไร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการรักษา และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนั้น เป็นต้น
36
ความแตกต่างระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบที่เสนอทางเลือกในการ ตัดสินใจให้แก่ผู้ใช้ ส่วนระบบผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินใจแทนผู้ใช้ โดย อาศัยประสบการณ์จริงของผู้เชี่ยวชาญ
37
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS)
เป็นระบบสนับสนุนกิจกรรมการทำงานในสำนักงานที่เกิดขึ้นใน แต่ละวัน รวมทั้งช่วยในการติดต่อสื่อสารของบุคลากรไม่ว่าจะ อยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ก็ตาม
38
คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อสำนักงาน
1)เก็บรวบรวมสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลทุกกลุ่มไว้เพื่อการใช้งาน 2)ช่วยการทำงานอัตโนมัติด้านต่างๆ ได้แก่ - การประมวลผลคำ (Word Processing) - ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ - การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Work Group Computing) - การกำหนดการทำงานร่วมกัน (Work Group Scheduling) - การจัดการกระแสการทำงาน (Work Flow Management) 3) สนับสนุนการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
39
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง ระบบสำนักงานอัตโนมัติกับระบบประมวลผลรายการ
1)เทคโนโลยีการสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการช่วยสร้างแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลของระบบประมวลผลรายการ 2)เทคโนโลยีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม (Work Group Technology) เช่น การทำงานที่มีการใช้งานของผู้ใช้หลายคนเพื่อเข้าถึงและปรับปรุงข้อมูลร่วมกันจากการทำงานที่เกิดขึ้นประจำวัน 3)เทคโนโลยีข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Messing Technology) พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยการส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ 4)เทคโนโลยีชุดโปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Suite Technology) นำโปรแกรมที่ใช้ในสำนักงานมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน 5)เทคโนโลยีรูปภาพ (Imaging Technology) เป็นการผสมผสานกันระหว่างรูปภาพและแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการทำงาน หรือการสแกนรูปภาพ ช่วยทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย
40
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS)
เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูง มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย สารสนเทศที่ได้สามารถช่วยพยากรณ์ และวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมนโยบาย และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง โดยใช้งานร่วมกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
41
คุณลักษณะของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
1)ใช้งานง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง 2)สารสนเทศที่ได้จะอยู่ในรูปแบบของรูปภาพ แผนภาพ ตาราง หรือกราฟ 3)แหล่งข้อมูลที่ใช้มาจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร 4)มีระบบรักษาความปลอดภัยสูง 5)ทำงานร่วมกับระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ 6)สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว 7)สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
42
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
1. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี 2. ระบบสารสนเทศทางการเงิน 3. ระบบสารสนเทศทางการตลาด 4. ระบบสารสนเทศทางการผลิตและการดำเนินงาน 5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
43
1. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
การพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้เพื่อจัดเก็บ รวบรวมและประมวลผล โดยระบบ สารสนเทศทางการบัญชีเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วย ในการตัดสินใจสำหรับผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร และระบบสารสนเทศทางการ บัญชียังมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกันคือ 1.1 ระบบบัญชีการเงิน คือการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน การจัดหมวดหมู่รายการต่างๆ การสรุปผลและ ตีความหมายในงบการเงิน 1.2 ระบบบัญชีบริหาร คือการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่ง ประกอบด้วย บัญชีต้นทุน งบประมาณ เป็นต้น
44
2. ระบบสารสนเทศทางการเงิน
2.1 การพยากรณ์ เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์ คาดการณ์ กำหนดทางเลือก และวางแผนด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการเงินให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด 2.2 การจัดการด้านการเงินเกี่ยวข้องกับการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์ใช้สอย สูงสุด เช่นรายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกเพื่อเพิ่มทุน ไม่ว่าจะ เป็นการกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น 2.3 การควบคุมทางการเงิน เกี่ยวข้องกับการติดตามผล การตรวจสอบ และ ประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่า เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนการวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงระบบให้การดำเนินงานทางการเงินของ ธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของ ธุรกิจก็จะมีระบบการควบคุมภายใน และระบบการควบคุมภายนอก
45
3. ระบบสารสนเทศทางการตลาด
3.1 การปฏิบัติงานคือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยอดขาย และการดำเนินงานด้าน การตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 3.2 การวิจัยตลาด คือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด ที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของ ธุรกิจ 3.3 คู่แข่ง ข้อมูลการดำเนินงานของคู่แข่ง จะช่วยประเมินศักยภาพของเราเพื่อนำมา ปรับใช้กับธุรกิจของเรา 3.4 กลยุทธ์ขององค์กร กลยุทธ์จัดเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และ เป็นฐานสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร 3.5 ข้อมูลภายนอก เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอาจส่งผลต่อ โอกาสหรืออุปสรรคของ
46
4. ระบบสารสนเทศทางการผลิตและการดำเนินงาน
4.1 ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงานคือข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการ 4.2 ข้อมูลสินค้าคงคลังคือการบันทึกปริมาณของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ 4.3 ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบคือข้อมูลที่เกี่ยวกับรปริมาณ คุณสมบัติ และราคา วัตถุดิบ ตลอดจนช่องทางและต้นทุนการลำเลียงวัตถุดิบ 4.4 ข้อมูลแรงงานและบุคลากร คือข้อมูลเกี่ยวข้องกับพนักงานระดับปฏิบัติการ 4.5 กลยุทธ์องค์กร สำหรับแผนกกลยุทธ์ขององค์กร จะเป็นแม่แบบและเป็นแนวทาง ในการกำหนดกลยุทธ์การผลิต และการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
47
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
5.1 ข้อมูลบุคลากร คือข้อมูลบุคลากรในองค์กรซึ่งประกอบด้วยประวัติ เงินเดือน และสวัสดิการเป็นต้น 5.2 ผังโครงสร้างองค์กร คือผังแสดงถึงโครงสร้างการบริหารขององค์กร การจัด หน่วยงาน และแผนกำลังคน ซึ่งแสดงถึงรปิมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล 5.3 ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรมิใช่ระบบปิดอย่างที่เข้าใจกัน ที่จะ ควบคุมดูแลบุคลากรภายในองค์กรเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่นการสำรวจเงินเดือนขั้นต่ำ อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
48
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
1.ตรงกับความต้องการ (Relevance) 2.ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Timeliness) 3.มีความเที่ยงตรง (Accurate) 4.ประหยัด (Economy) 5.มีประสิทธิภาพ (Efficiency)
49
การใช้ระบบสารสนเทศและหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ผู้บริหารระดับสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบาย การวางแผนเชิง กลยุทธ์เพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ สารสนเทศที่ใช้ส่วน ใหญ่เป็นสารสนเทศผลสรุปที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ แหล่งที่มาของสารสนเทศจะมีทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ส่วนใหญ่จะใช้สารสนเทศจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กร เช่น ประธานบริษัท เจ้าของกิจการ ผู้อำนวยการสูงสุด ประธาน กรรมการบริหารขององค์กร เป็นต้น
50
การใช้ระบบสารสนเทศและหน้าที่ความรับผิดชอบ
2. ผู้บริหารระดับกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น เกี่ยวข้องกับงานจัดการและควบคุม ปริมาณ เวลา และด้านการประเมินผลการทำงาน แหล่ง สารสนเทศที่ใช้จะมาจากทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสารสนเทศจากภายในองค์กร เช่น ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการโรงงาน ผู้อำนวยงานกองงาน ผู้อำนวยการสำนักงาน เป็นต้น
51
การใช้ระบบสารสนเทศและหน้าที่ความรับผิดชอบ
3. ผู้บริหารระดับล่าง เป็นผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและควบคุมดูแลการ ปฏิบัติงาน สารสนเทศที่ใช้จะเกี่ยวกับการพัฒนางานแบบวัน ต่อวัน เช่น หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าคนงาน เป็นต้น
52
การใช้ระบบสารสนเทศและหน้าที่ความรับผิดชอบ
4. พนักงานระดับปฏิบัติงาน เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานกิจกรรมหลักในองค์กร ตาม คำสั่งผู้บริหารระดับล่าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ผู้บริหาร ระดับสูงวางแผนไว้ เช่น พนักงานขาย พนักงานบัญชี พนักงานการเงิน พนักงาน ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
53
ประเภทข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในองค์กร
54
แสดงการใช้งานระบบสารสนเทศชนิดต่าง ๆ ของผู้บริหารแต่ละระดับ
ระดับของผู้บริหาร การใช้งานชนิดระบบสารสนเทศ ผู้บริหารระดับสูง ESS,MIS,DSS,OAS ผู้บริหารระดับกลาง MIS,DSS,OAS ผู้บริหารระดับล่าง MIS,OAS พนักงานระดับปฏิบัติงาน TPS,OAS
55
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision) เป็นการตัดสินใจที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า มีแนวทางการ ตัดสินใจที่ชัดเจน เป็นการตัดสินใจที่รู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิด เหตุการณ์นั้นขึ้น และกำหนดวิธีการปฏิบัติกับเหตุการณ์นั้น
56
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
2. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการตัดสินใจแบบมี โครงสร้างและการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการ ตัดสินใจที่คาดเดาว่าเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้น
57
รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
3. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ เป็น การตัดสินใจที่อาศัยประสบการณ์ของผู้ตัดสินใจ เพราะ เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดขององค์กร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.