งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 9 สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

2 Outline 9.1 ทรัพย์สินทางปัญญา 9.2 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
9.1 ทรัพย์สินทางปัญญา 9.2 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 9.3 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 9.4 ภัยคุกคามออนไลน์ 9.5 แนวทางป้องกันตนเองจากภัยคุกคามออนไลน์ 9.6 กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

3 9.1 ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือ ในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีในการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น (เอกสารหลักสูตรทรัพย์สินทางปัญญา, กรมทรัพย์สินทางปัญญา:

4 9.2 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
9.2 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ 9.2.2 สิทธิบัตร

5 ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นโดยการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

6 การกระทำใดๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์พึงทำได้ คือ
ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

7 ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) งานนาฏกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ) งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ) งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ) งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี) งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง) งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

8 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ความคุ้มครอง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

9 ขอบเขตการคุ้มครอง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

10 อายุแห่งความคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

11 การละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยแพร่ต่อสาธารณชน
การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาผลงาน

12 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
การวิจัยหรือศึกษางานนั้นๆ ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง เพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลในครอบครัว ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ เสนอรายงานข่าวทางสื่อมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ ใช้ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานตามอำนาจของกฎหมาย ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง ใช้เพื่อประโยชน์ในการสอน โดยไม่นำไปหากำไร ทำซ้ำ ดัดแปลง บางส่วนของงาน ตัดทอนหรือสรุป ใช้แจกจ่ายแก่นักเรียนโดยไม่นำไปหากำไร นำมาเป็นส่วนหนึ่งในการถาม-ตอบในข้อสอบ

13

14 บทลงโทษการละเมิดลิขสิทธิ์
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ กำหนดโทษไว้ คือ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากพฤติกรรมทำละเมิดดังกล่าวเพื่อการค้า ผู้กระทำจะมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

15 สิทธิบัตร "สิทธิบัตร" หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กำหนดในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ "การประดิษฐ์" หมายความว่า การคิดค้นหรือคิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี "กรรมวิธี" หมายความว่า วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการผลิต หรือการเก็บรักษาให้คงสภาพหรือให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือการปรับสภาพให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ และรวมถึงการใช้กรรมวิธีนั้นๆ ด้วย

16 "แบบผลิตภัณฑ์" หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ โดยจะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ในสิทธิบัตร แต่สำหรับอนุสิทธิบัตร การประดิษฐ์จะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

17 ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จะได้รับความคุ้มครอง และมีสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิ์ขาดที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ตามอายุของสิทธิบัตร คือ 20 ปี) บุคคลอื่นจะสามารถประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับการประดิษฐ์หรือแบบผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่นที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่ไม่ได้ (ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตร) ยกเว้นว่าบุคคลนั้นจะได้รับอนุญาตหรือมีการซื้อสิทธิบัตรมา

18 เงื่อนไขการจดสิทธิบัตร
ต้องเป็น “สิ่งใหม่” คือเป็นสิ่งที่ไม่ซ้ำใครในโลก เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น (มีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อน เลียนแบบได้ยาก) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม (คือ การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม)

19 การประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากสิทธิบัตร
จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (เนื่องจากได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ ลิขสิทธิ์แล้ว) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

20 อายุความคุ้มครอง สิทธิบัตรมีอายุความคุ้มครอง 20 ปี หลังจากจดทะเบียนสิทธิบัตร

21 9.3 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
9.3 จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล [Laudon and Laudon, Management Information Systems, 2007] จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ “หลักของความถูกต้องไม่ถูกต้อง ที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ไอทีของผู้ใช้” หรือก็คือ “จริยธรรมสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์” นั่นเอง

22

23

24 9.4 ภัยคุกคามออนไลน์ ภัยที่เกิดกับผู้ใช้ การหลอกลวงซื้อ/ขายออนไลน์
9.4 ภัยคุกคามออนไลน์ ภัยที่เกิดกับผู้ใช้ การหลอกลวงซื้อ/ขายออนไลน์ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การปลอม/แอบอ้างเฟซบุ้คเพื่อหลอกลวง มิจฉาชีพ แฝงตัวมาเพื่อหลอกลวงทรัพย์ หลอกลวงไปทำอนาจาร หรือทำร้ายร่างกาย การสวมรอยเป็นบุคคลอื่น เพื่อทำให้บุคคลนั้นได้รับความอับอาย เสียหาย หรือเพื่อกรรโชกทรัพย์ การสร้างเว็บไซต์หรือส่งลิงค์ปลอม (Phishing) มายังผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าธนาคารที่ทำธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ต โดยมิจฉาชีพมักส่งลิงค์ปลอมมาหลอกให้ลูกค้ากรอก Username และ Password ลงไป แล้วนำไปล็อกอินเพื่อขโมยเงินในบัญชี การก่อการร้ายบนโลกไซเบอร์ (Cyberterrorism) คือการก่อการร้ายบนระบบเครือข่าย หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

25 ภัยที่เกิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ
ซอฟต์แวร์โจมตี (Malicious Software) เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานทำงานผิดปกติ แฮคเกอร์ (Hacker) ที่ลักลอบเข้ามาขโมยข้อมูลส่วนตัวในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โปรแกรมโทรจัน (Trojan Horse Program) เป็นโปรแกรมที่หลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดลงมาเรียกใช้งาน จากนั้นโปรแกรมโทรจันจะทำลายหรือสร้างปัญหาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคอยแอบส่งข้อมูลบัญชีผู้ใช้ต่างๆ ที่บันทึกอยู่ในเครื่องให้กับแฮคเกอร์

26 9.5 แนวทางป้องกันตนเองจากภัยคุกคามออนไลน์
9.5 แนวทางป้องกันตนเองจากภัยคุกคามออนไลน์ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ระวัง เมื่อมีการ login ต้อง logout ออกจากระบบเสมอ ไม่ตั้งรหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา รหัสผ่านควรมี 8 ตัวอักษรเป็นอย่างน้อย และควรมีทั้งตัวเลข ตัวหนังสือ และอักขระผสมกันอยู่ หรือมีทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่อยู่ด้วย ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่สังเกตความเปลี่ยนแปลง ควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงขณะเปิดและปิดเครื่อง ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้อัปเดต ควรอัปเดตระบบปฏิบัติการของเครื่องให้เป็นปัจจุบัน เพื่อซ่อมแซมช่องโหว่ ซึ่งเป็นช่องทางหลักของการลักลอบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์จากแฮคเกอร์

27 ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินจำเป็น โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากซอฟต์แวร์เหล่านี้มักมีไวรัสหรือโปรแกรมมุ่งร้ายแฝงมา ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัย เช่น เว็บลามกอนาจาร เว็บการพนันออนไลน์ เป็นต้น ไม่ทำธุรกรรมออนไลน์โดยไม่สังเกตสัญลักษณ์แสดงความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริการแบบ และมีรูปกุญแจเป็นสัญลักษณ์ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ ไม่ปฏิบัตินอกเหนือกฎหมายเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่หลงเชื่อโดยง่าย

28 9.6 กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
9.6 กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

29 9. 6. 1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ. ศ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

30

31

32

33 9.6.2 ข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558
ข้อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 การคัดลอกเนื้อหาบนหน้าเว็บ มาวางในมาโพสต์ทาง facebook หรือเว็บเรา ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่? ถ้าเป็นรายบุคคล เป็น facebook ใช้ส่วนตัว สามารถใช้ได้  ทั้งนี้ต้อง  อ้างอิงแหล่งที่มา  ใช้ส่วนตัว  และ ไม่มีแสวงหาผลกำไร ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าในกรณีนิติบุคคล ถือว่าไม่ได้  ถ้าเว็บไซต์คุณมีแบนเนอร์  หรือ facebook มีกิจกรรมชิงโชค ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์

34 ถ้าเว็บไซต์ หรือ blog ของเรา นำ embed วีดีโอจาก youtube แปะใส่ในหน้าเว็บเราล่ะ ทำได้มั้ย ผิดหรือเปล่า? embed ของ youtube ใส่หน้าเว็บเราเป็นสิงที่อันตราย  เพราะลิขสิทธิ์ของเขา แต่อยู่ภายใต้เวบของเรา ซึ่งผิดลิขสิทธิ์ ดังนั้นวิธีแก้คือ ใส่ภาพนิ่งเป็นตัวอย่างภาพวีดีโอนั้น พร้อมกับทำลิงค์ไปยังวีดีโอเจ้าของคลิป อันนี้สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์

35 หากกลุ่มผู้ผลิตรายการทีวี ต้องการนำคลิป Youtube ไปใช้ควรทำอย่างไร?
ต้องเผยชื่อ user youtube เจ้าของคลิปนั้น เพื่ออ้างอิง  และคลิปที่ใช้ได้ต้องเผยแพร่แบบสาธารณะ ถ้าเป็นคลิป youtube แบบ Private หรือแชร์ลิงค์เฉยๆ ที่ไม่ใช่สาธารณะนำมาใช้ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ กรณีแฟนเพจ facebook แชร์ภาพของ fanpage อื่น เพื่อเรียกเรตติ้ง มีความเสี่ยงถูกฟ้อง เพราะเรื่องแสวงหาผลกำไร ดังนั้น หากไม่อยากโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ควรถ่ายเอง วาดเอง หรือขอจากเจ้าของรูปเอง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าเอาจาก google อาจโดนฟ้องได้ และถูกเรียกเงินสูงด้วย

36 ถ้าแปลจากเว็บต่างประเทศ แล้วอ้างอิงให้แล้ว ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่?
ถ้าแปลจากเว็บต่างประเทศ  แล้วอ้างอิงให้แล้ว ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่? ถ้าเป็นเนื้อหาข่าว ไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นบทความอาจผิดลิขสิทธิ์ได้ ถ้าใช้ในเรื่องแสวงหาผลกำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การนำเนื้อหามารีไรท์เรียบเรียงใหม่ ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้า copy paste แปลรายคำ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเนื้อหาข่าวที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ เช่น เนื้อหาข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลทั่วไป  ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศ หนังฉายวันนี้ ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล อันนี้ไม่เป็นลิขสิทธิ์  สามารถแชร์ หรือใช้ได้ แต่ถ้าเป็น พวกภาพข่าว รูป บทสัมภาษณ์ข่าว  คอลัมน์ข่าว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ หากนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของคอลัมน์ อาจเสี่ยงถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได

37


ดาวน์โหลด ppt สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google