ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การกระจายของโรคในชุมชน
รายวิชา: ระบาดวิทยา (Epidemiology) รหัสวิชา: ๔๑๐๒๗๐๖ อ. กมลวรรณ บุตรประเสริฐ ๑
2
บทที่ ๔ การกระจายของโรคในชุมชน
หัวข้อการบรรยาย วัตถุประสงค์ของการศึกษาการกระจายของโรค ประโยชน์การเรียนรู้การกระจายของโรค วิธีวัดการกระจายของโรคในชุมชน การกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล การกระจายของโรคตามสถานที่ การกระจายของโรคตามเวลา ๒
3
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการศึกษาการกระจายโรคได้ถูกต้อง ๒. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล สถานที่ และเวลาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ๓. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายประเภทของการวัดทางระบาดวิทยาได้ถูกต้อง ๓
4
การกระจายของโรคในชุมชน
การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลสถานที่และเวลา ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคในชุมชนว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (descriptive epidemiology) โดยศึกษาเกี่ยวกับอัตราอุบัติการณ์ของโรค (incidence rate) อัตราความชุกของโรค (prevalence rate) และอัตราตาย (mortality rate) ที่สัมพันธ์กับตัวแปรต่างๆของบุคคล สถานที่และเวลาทำให้ทราบถึงการกระจายของโรค ทำให้ทราบถึงการกระจายของโรคชุมชน ๔
5
วัตถุประสงค์ของการศึกษาการกระจายของโรค
การศึกษาลักษณะการกระจายของโรค และแนวโน้มของโรคในชุมชน โดยศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของโรค (incidence) ความชุกของโรค (prevalence) และอัตราตาย (mortality rate) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโรค ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างสมมติฐาน ๕
6
การศึกษาเชิงพรรณนาเป็นการศึกษาค้นคว้า เพื่อพยายามตอบคำถามต่อไปนี้
What : ปัญหานั้นคืออะไร How much : ปัญหานั้นเกิดมากหรือน้อยเพียงใด Who : ในเป็นกลุ่มที่มีปัญหานั้น เช่น กลุ่มอายุใด เพศ และฐานะ อย่างไร Where : ปัญหานั้นเกิดขึ้นที่ใด When : ปัญหานั้นเกิดขึ้นเมื่อใดมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา หรือไม่ อย่างไรหลังจากนั้นจึงจะใช้รูปแบบการศึกษาชนิด อื่นเพื่อการตอบคำถามต่อมา คือ Why : ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะเหตุใดหรือเหตุใดปัญหาจึงยังคงมีอยู่ How : จะมีมาตรการหรือดำเนินการอย่างไรต่อไปเพื่อการ แก้ปัญหานั้น ๖
7
ประโยชน์ของการศึกษาการกระจายของโรค
๑. ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในการเกิดและการกระจายของโรคในชุมชน หรือคาดคะเนแนวโน้มของการเกิดโรค ๒. ทราบถึงสถานภาพทางอนามัยของชุมชนนั้นตลอดจนปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดในชุมชนได้ ๓. ใช้ในการรักษาและป้องกันโรค จากการศึกษาทำให้ทราบสาเหตุของโรคต่าง ๆ หรือปัจจัยอันตราย ๔. การค้นพบโรคในระยะเริ่มแรก ช่วยให้มีวิธีการตรวจแยกโรคในคนหมู่มาก ๗
8
ประโยชน์ของการศึกษาการกระจายของโรค
๕. ใช้ในการควบคุมโรค จากระบบการเฝ้าระวังโรค ๖. ใช้วางแผนงานด้านบริการการแพทย์และสาธารณสุข ๗. ใช้จำแนกชนิดของโรคต่าง ๆ การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรคต่าง ๆ ๘. ประเมินผลการรักษาพยาบาลและโครงการสาธารณสุขต่าง ๆ ๘
9
วิธีวัดการกระจายของโรคในชุมชน
การวัดขนาดของโรค (measure of magnitude or frequency) ได้แก่ การวัดความชุก (prevalence) ของโรคการวัดอุบัติการณ์ (incidence) ของโรค การวัดความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัจจัยที่ศึกษา” และ “โรค” (measure of association) มีหลายลักษณะตามรูปแบบของการศึกษาแต่ละชนิด การวัดผลกระทบของปัจจัยที่ศึกษาต่อการเกิดโรค (measure of impact) ๙
10
การศึกษาการกระจายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคคล สถานที่ และเวลา
บุคคล (person) อายุ (age) เพศ (sex) เชื้อชาติ (pace) อาชีพ (occupation) สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม (socioeconomic status) สภาวะการแต่งงาน (marital status) ๑๐
11
การศึกษาการกระจายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคคล สถานที่ และเวลา
สถานที่ (place) ในประเทศหรือเขตที่มีอัตราการเกิดโรคสูง ประชากรที่อยู่ในประเทศนั้นเกือบทุกเชื้อชาติจะมีอัตราการเกิดโรคนั้นสูง ประชากรที่เคลื่อนย้ายจากประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคต่ำ ไปยังประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคสูงจะมีแบบลักษณะการเกิดโรคสูงคล้ายกับประเทศที่ย้ายไปอยู่ใหม่ ๑๑
12
การศึกษาการกระจายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของบุคคล สถานที่ และเวลา
เวลา (time) การเปลี่ยนแปลงระยะยาว (secular trends) การเปลี่ยนแปลงเป็นรอบ (cyclic fluctuations) การเปลี่ยนแปลงระยะสั้น (short-term fluctuations) ๑๒
13
สรุป การกระจายของโรคในชุมชนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลสถานที่และเวลา ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคในชุมชน เพื่อศึกษาลักษณะการกระจายของโรค และแนวโน้มของโรคในชุมชน ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของโรค และศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างสมมติฐาน การวัดทางระบาดวิทยา แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภทประกอบด้วย ๑.การวัดขนาดของโรค ๒.การวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษาและโรค ๓.การวัดผลกระทบของปัจจัยที่ศึกษาต่อการเกิดโรค ๑๓
14
คำถามทบทวน ๑. ให้นักศึกษาอธิบายวัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการศึกษาการกระจายโรค ๒. ให้นักศึกษาอธิบายการกระจายของโรคตามลักษณะของบุคคล สถานที่ และเวลาที่เกิดขึ้น ๓. ให้นักศึกษาอธิบายประเภทของการวัดทางระบาดวิทยา ๔. ให้นักศึกษาอธิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สถานที่ และเวลา พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ ๕. นักศึกษาสามารถนำความรู้เรื่องการกระจายของโรคไปประยุกต์ใช้ในชุมชนที่เคยมีการกระจายของโรคอย่างไรได้บ้าง ๑๔
15
เอกสารอ้างอิง ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร.(๒๕๕๒) ระบาดวิทยา พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (๒๕๕๐). เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา PB ๓๐๕๓ เรื่องการกระจายของโรคในชุมชน. สมุทรปราการ:สาขาวิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัว เฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (ไม่ได้ตีพิมพ์) ๑๕
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.