งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย
การทำ คำฟ้องคดีแพ่ง สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

2 คดีความ คดีอาญา คดีแพ่ง คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

3 คดีแพ่ง คดีมีการโต้แย้งสิทธิ (คดีหลายฝ่าย)
คดีมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล (คดีฝ่ายเดียว) ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๕๕ บัญญัติว่า “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบจะเสนอคดีของต้นต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”

4 คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ
การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว หรือสิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง (ทรัพยสิทธิ และ บุคคลสิทธิ)

5 คดีที่ต้องใช้สิทธิทางศาล
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรองจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ หรือการขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น

6 คดีแพ่ง คดีมีทุนทรัพย์ คดีไม่มีทุนทรัพย์

7 คดีมีทุนทรัพย์ คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์ เรียกทรัพย์คืน หรือให้ใช้ราคาทรัพย์ คดีพิพาทตามสัญญาต่างๆ โดยมีการเรียกร้องให้ชำระหนี้ เช่นสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างแรงงาน จ้างทำของ หรือละเมิด

8 คดีไม่มีทุนทรัพย์ คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น คดีพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินหรือมิได้เรียกร้องเอาทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์แก่ตน แต่เป็นกรณีคู่ความต้องการให้ศาลรับรองคุ้มครองให้ คดีที่โจทก์ขอลงชื่อในกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย คดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก คดีเพิกถอนการฉ้อฉล โดยให้ทรัพย์กลับมาเป็นของลูกหนี้มิใช่ของตน

9 คู่ความ บุคคลธรรมดา / ที่มีสภาพบุคคลและความสามารถตามกฎหมาย
นิติบุคคล / ตามกฎหมาย (เอกชน/มหาชน)

10 ฟ้องที่ไหน / เขตอำนาจศาล
การฟ้องจะฟ้องที่ศาลใด พิจารณาจาก ประเภทของคดี ทุนทรัพย์ของคดี

11 ตามประเภทคดี คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคดีฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์โดยตรง เช่น ฟ้องบังคับจำนอง หรือไถ่ถอนที่ดินขายฝาก ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกออกจากที่ดิน หรือฟ้องเกี่ยวกับสิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องเรียกค่าเช่าค่าเสียหาย ก. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือ ข. ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ คดีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ฟ้องผิดสัญญา ฟ้องหย่า ฯลฯ ก. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ข. ศาลที่มูลคดีเกิด คดีเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ก. ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตาย

12 ทุนทรัพย์/ไม่มีทุนทรัพย์
ศาลจังหวัด มีอำนาจทั่วไปที่จะชำระคดีได้ทุกประเภท ในส่วนของคดีแพ่งมีเงื่อนไขดังนี้ 1. คดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 300,000 บาท 2. คดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ 3. คดีที่ไม่มีข้อพิพาท เช่น คดีขอเป็นผู้จัดการมรดก คดีขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง คดีขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เป็นต้น ศาลแขวง มีอำนาจชำระคดีเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่ในอำนาจของพิพากษาคนเดียว ในส่วนของคดีแพ่ง เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท

13 การส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม

14 การบอกกล่าวทวงถาม (Notice)
การดำเนินคดีบางเรื่อง กฎหมายกำหนดให้ต้องบอกกล่าวทวงถาม ซึ่งเป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติเสียก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล เช่น การบังคับจำนอง , การบอกเลิกสัญญาบางประเภทที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เฉพาะ เช่น การบอกเลิกสัญญาเช่าเพราะเหตุไม่ชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๖๐ ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่

15 การบอกกล่าวทวงถาม (Notice)
สำหรับหนี้บางประเภทนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องร้องได้ทันที เช่น คดีละเมิด คดีการกู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน คดีตั๋วแลกเงิน หรือหนี้เงินตามเช็คซึ่งมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมปฏิบัติของสำนักงานทนายความ คดีทุกๆเรื่อง ทนายความจะมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปเสมอ

16

17

18

19

20 การส่งคำบอกกล่าวทวงถาม
ส่งไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้หรือผู้ที่รับคำบอกกล่าวทุกที่ (เท่าที่ทราบหรือสืบค้นได้) เช่น ภูมิลำเนาตามบัตรประชาชน , ตามสำเนาทะเบียนบ้าน , ตามที่ปรากฏในสัญญา , สถานที่ทำงาน ฯลฯ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ

21 การทำ คำฟ้อง

22 การทำคำฟ้อง ส่วนประกอบของคำฟ้อง หลักการบรรยายคำฟ้อง

23 ๑. ส่วนประกอบของคำฟ้อง ส่วนที่ ๑ หน้าคำฟ้อง ส่วนที่ ๒ เนื้อหาคำฟ้อง ส่วนที่ ๓ คำขอท้ายฟ้อง ส่วนที่ ๔ เอกสารท้ายคำฟ้อง

24 ส่วนที่ ๑ หน้าฟ้อง หมายเลขคดี ชื่อศาล วันเดือนปีที่ยื่นฟ้อง
ความ (ประเภทคดี อาญา/แพ่ง) ชื่อคู่ความ (โจทก์, จำเลย) ข้อหาหรือฐานความผิด จำนวนทุนทรัพย์ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวโจทก์ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวจำเลย

25 ส่วนที่ ๒ เนื้อหาคำฟ้อง
สถานะโจทก์-จำเลย นิติสัมพันธ์ การโต้แย้งสิทธิ ความเสียหาย การบอกกล่าวทวงถาม คำลงท้าย

26 ส่วนที่ ๓ คำขอท้ายคำฟ้อง (ตัวอย่าง)
ขอให้ชำระเงิน(หนี้) ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ละเมิด) ขอให้บังคับจำนอง ขอให้ส่งมอบทรัพย์สิน ขอให้จดทะเบียนนิติกรรม หรือเพิกถอนนิติกรรม ขอให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สิน(ขับไล่) ขอแบ่งมรดก ขอให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทน ฯลฯ

27 ส่วนที่ ๔ เอกสารท้ายคำฟ้อง (ตัวอย่าง)
สำเนาหนังสือรับรอง (นิติบุคคล) สำเนาหนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือสัญญา(ประเภทต่างๆ) สำเนาใบมรณบัตร สำเนาสูติบัตร สำเนาใบสำคัญการสมรส สำเนาหนังสือทวงถามและไปรษณีย์ตอบรับ ฯลฯ

28 คำฟ้อง แบบ (๔) ด้านหลัง

29 คำขอท้ายฟ้อง แบบ (๕) ด้านหลัง

30 ๒. หลักการบรรยายคำฟ้อง การบรรยายคำฟ้องคดีแพ่ง ต้องบรรยายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๒ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำเป็นคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘”

31 หลักสำคัญในการบรรยายคำฟ้อง
แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งคำขอบังคับ ( ทั้งสามหัวข้อนี้เป็นหัวใจของการบรรยายฟ้องตามกฎหมาย ส่วนอื่นๆเป็นส่วนประกอบเพื่อให้คำฟ้องเข้าใจง่ายไม่สับสนเท่านั้น )

32 ๑. สภาพแห่งข้อหา หมายถึง ลักษณะของเรื่องที่มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลทางแพ่ง เช่น เป็นเรื่องสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาหรือเอกเทศสัญญา เป็นเรื่องของนิติเหตุ เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว มรดก เป็นเรื่องของสิทธิแห่งสภาพบุคคล ทรัพยสิทธิ บุคคลสิทธิ

33 ๒. ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา
หมายถึง ข้ออ้างของเรื่องหรือเหตุที่เกิดการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ที่ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่นำมาเป็นมูลเหตุฟ้อง เช่น สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องซื้อขาย ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ชำระราคา หรือความรับผิดชอบของผู้ขายในเรื่องรอนสิทธิ เป็นต้น สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือ ที่ดินถูกแย่งการครอบครอง จึงขอฟ้องขับไล่ผู้แย่งการครอบครอง

34 ๓. คำขอบังคับ คำขอบังคับตามสิทธิของผู้ถูกโต้แย้งในขณะเสนอคดีต่อศาล ได้แก่ ขอให้ชำระหนี้อะไร เช่น ชำระเงิน ค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทน ขอให้กระทำการใด เช่น โอนที่ดิน แบ่งทรัพย์สิน ขอให้งดเว้นการกระทำใด เช่น หยุดการก่อสร้างที่ทำให้บ้านโจทก์แตกร้าว ขอให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกจากที่ดิน....

35 การเรียบเรียงคำฟ้อง

36 หลักการเรียบเรียงคำฟ้องคดีแพ่ง
กล่าวแต่ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ โดยย่อและชัดเจน ที่สำคัญต้องใช้คำศัพท์และภาษากฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่ภาษาชาวบ้านหรือภาษาพูด การบรรยายฟ้องคดีแพ่งกล่าวเพียงข้อเท็จจริง ส่วนข้อกฎหมายไม่ต้องบรรยาย ถ้าเป็นการอ้างกฎหมายต่างประเทศต้องบรรยายไว้ ไม่ต้องบรรยายถึงคำพยานที่จะนำสืบ ที่สำคัญต้องใช้คำศัพท์และภาษากฎหมายเท่านั้น คำขอท้ายฟ้องก็ไม่ต้องระบุตัวบทมาตราใดๆ

37 ผลของการบรรยายฟ้องไม่ถูกต้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลอาจยกฟ้องโจทก์

38 วิธีการบรรยายฟ้อง มี ๗ หัวข้อ
บอกสถานะโจทก์ จำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย (สภาพแห่งข้อหา) การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ (ข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหา) ความเสียหายของโจทก์ การทวงถาม คำลงท้าย คำขอท้ายฟ้อง (คำขอบังคับ) หลักการจำ : “สน-ตส(ตด)-ทล(ทน)-ขี้” (ส-สถานะ , น-นิติสัมพันธ์ , ต-โต้แย้งสิทธิ , ส-เสียหาย , ท-ทวงถาม , ล-ลงท้าย , ขี้-ข-ขอท้ายฟ้อง)

39 แบบฟอร์มการบรรยาย ๑) สถานะโจทก์ จำเลย : ข้อ ๑. โจทก์/จำเลย เป็น....(นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด..) ปรากฏตาม..... ๒) นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย : ข้อ ๒. เมื่อวันที่...(กล่าวถึงการทำสัญญาหรือการกระทำของจำเลย) ปรากฏตาม..... ๓) การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ : ข้อ ๓. ปรากฏว่าจำเลย....(การกระทำผิดสัญญา ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างไร)

40 ๔) ความเสียหายของโจทก์ : ข้อ ๔
๔) ความเสียหายของโจทก์ : ข้อ ๔. การกระทำของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ....(ระบุรายละเอียดของความเสียหายพร้อมดอกเบี้ยหรือค่าปรับ) ๕) การทวงถาม : โจทก์ได้ทวงถามจำเลยหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต่อมาโจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถาม จำเลยได้รับแล้วเพิกเฉย ปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถามและใบตอบรับไปรษณีย์ เอกสาร.. ๖) คำลงท้าย : โจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องศาล เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

41 ๗) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลย
๗) คำขอท้ายฟ้อง : ๑. ให้จำเลย.....(ชำระเงิน จดทะเบียนโอนที่ดิน ส่งมอบทรัพย์ , สรุปความเสียหายจากข้อ ๔ สั้นๆ) ๒. ให้จำเลยชำระ.....(ดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายในอนาคต) ๓. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ หมายเหตุ : ข้อความที่ขีดเส้นใต้ ต้องท่องจำไว้ให้แม่นยำ เพราะเขียนเหมือนกันทุกคดี หลักและแบบการบรรยาย ๗ ข้อ ในการบรรยายแบ่งเป็น ๔ ข้อเท่านั้น ส่วนข้อ ๕ และ ๖ เพียงย่อหน้าไม่ต้องเป็นหัวข้อ

42 ๑. การบรรยาย สถานะโจทก์ จำเลย

43 ๑. สถานะโจทก์จำเลย หลัก : ผู้ไม่มีสภาพบุคคลไม่สามารถเป็นโจทก์จำเลยได้
หลักการบรรยายสถานะโจทก์/จำเลย เรื่องที่ต้องบรรยายมี ๘ เรื่อง ๑.๑. การเป็นนิติบุคคลของโจทก์/จำเลย ๑.๒. การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน ๑.๓. การดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ ๑.๔. การดำเนินคดีแทนผู้ตาย ๑.๕. การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน ๑.๖. การดำเนินคดีแทนสามี/ภรรยา ๑.๗. การดำเนินคดีแทนบิดามารดากับบุตร ๑.๘. การดำเนินคดีโจทก์จำเลยหลายคน หลัก : ผู้ไม่มีสภาพบุคคลไม่สามารถเป็นโจทก์จำเลยได้

44 ๑.๑. การเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
นิติบุคคล : ต้องบรรยายสถานะความเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลยว่าเป็นนิติบุคคลประเภทใด จดทะเบียนหรือไม่ ที่ไหน ใครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน และมีวัตถุประสงค์อย่างไร บุคคลธรรมดา : ไม่ต้องบอกสถานะเป็นบุคคลธรรมดาเพราะมีสภาพบุคคลตามความเป็นจริงอยู่แล้ว (รายละเอียดระบุอยู่หน้าฟ้องแล้ว) ต้องบรรยายทั้งสองฝ่าย : โจทก์จำเลยมีกี่คนต้องบรรยายให้หมด เรียก โจทก์ที่ ๑ , โจทก์ที่ ๒ , จำเลยที่ ๑ , จำเลยที่ ๒ เรียงไป

45 หลักการบรรยายนิติบุคคล
๑) เป็นนิติบุคคลประเภทใด กฎหมายใด (ต้องบรรยายทุกครั้ง) เช่น “โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย....” หรือ “โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดสงขลา กระทรวงพาณิชย์” ๒) ใครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน (โจทก์ไม่บอกไม่ต้องบรรยาย) “มีนายเอก แสนดีเป็นกรรมการและมีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำแทนโจทก์ได้...”

46 ๓) มีวัตถุประสงค์หรือประกอบกิจการอะไร (โจทก์ไม่บอกไม่ต้องบรรยาย) เช่น “โจทก์ประกอบกิจการจำหน่ายและให้เช่าซื้อรถยนต์....” ๔) อ้างเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น “รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.....”

47 ตัวอย่างการบรรยายการเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
“ข้อ ๑. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนายสมทรัพย์ พึ่งพาเป็นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ได้ โจทก์ประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

48 ตัวอย่างการบรรยายการเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
“ข้อ ๑. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนายสมทรัพย์ พึ่งพาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

49 ตัวอย่างการบรรยายการเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
“ข้อ ๑. โจทก์..... จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประกอบกิจการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑” ข้อสังเกต : หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯด้วย ดังนั้นจึงต้องฟ้องเป็นจำเลยที่ ๒ ให้ร่วมรับผิดกับห้างฯด้วยเสมอ

50 ตัวอย่างการบรรยายการเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
“ข้อ ๑. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทมูลนิธิ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนายสมทรัพย์ พึ่งพา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำแทนโจทก์ได้ มีวัตถุประสงค์ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษาแก่เด็กยากจน รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

51 ตัวอย่างการบรรยายการเป็นนิติบุคคลของโจทก์จำเลย
“ข้อ ๑. โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๔ มีนายเทิด ไทยแท้ เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินรถไฟทั่วราชอาณาจักร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๙๔ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

52 ๑.๒. การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
การฟ้องร้องดำเนินคดี คู่ความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำแทนโดยการทำ “หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องร้องและดำเนินคดีแทน” ก็ได้ หลักการบรรยาย : ใคร (โจทก์/จำเลย) มอบอำนาจ ใคร (ระบุชื่อ) ผู้รับมอบอำนาจ ระบุให้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เอกสารที่ต้องอ้างคือสำเนาหนังสือมอบอำนาจ

53 ตัวอย่างการบรรยาย “คดีนี้โจทก์มอบอำนาจให้ (ระบุชื่อ-สกุลผู้รับมอบอำนาจ)..ฟ้องร้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข....” ข้อสังเกต/หลัก ผู้มอบอำนาจอาจเป็น นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ก็ได้ บรรยายเหมือนกัน บรรยายสถานะเฉพาะมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนเท่านั้น กิจการมอบอำนาจอื่นไม่ต้องบรรยาย เช่น มอบอำนาจให้ร้องทุกข์ มอบอำนาจให้ทวงถามหนี้

54 ๑.๓. การดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
ผู้เยาว์อายุ : บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ( ป.พ.พ.มาตรา ๑๙) กฎหมาย : ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามาฟ้องคดีแทนหรือให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ผู้เยาว์ฟ้องคดีหรือต่อสู้คดี ( ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๖) ผู้แทนโดยชอบธรรม : มารดา , บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย , บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย , ผู้รับบุตรบุญธรรม ข้อสังเกต/หลัก ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๖ นี้ไม่ได้ใช้บังคับกับโจทก์ที่เป็นผู้เยาว์เท่านั้น แต่ใช้บังคับกับจำเลยที่เป็นผู้เยาว์ด้วย แต่ในการบรรยายคำฟ้อง โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์มาในคำฟ้องด้วย

55 หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๖ บัญญัติว่า “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือบิดาที่จดทะเบียนสมรสกับมารดาตามกฎหมายหรือบิดาที่จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเท่านั้น

56 หลักกฎหมาย ป.วิ.พ.มาตรา ๕๖ บัญญัติว่า “ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหาต่อศาลหรือดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆได้ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาตหรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านี้ ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษาเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจทำการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอหรือของคู่ความอีกฝ่าย และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่ง...”

57 หลักตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๕๖ การดำเนินคดีของผู้เยาว์แบ่งได้เป็น ๒ กรณี คือ กรณีที่ ๑ ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ กรณีที่ ๒ ผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม

58 ตัวอย่างมารดาเป็นโจทก์ฟ้องแทนผู้เยาว์
“โจทก์เป็นมารดาของนายสอง แสงทองซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุ ๑๘ ปี และเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนายสอง แสงทอง ปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑” “โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสอง แสงทอง ปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑” ข้อสังเกตุ : มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายเสมอ

59 ตัวอย่างบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องแทนผู้เยาว์
“โจทก์เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสอง แสงทอง ผู้เยาว์อายุ ๑๘ ปี มีนางสี แสงทองเป็นมารดา โจทก์กับนางสี แสงทองจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๐ ที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของนายสอง แสงทอง ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรและสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒” ข้อสังเกต : ต้องบรรยายการสมรสกับมารดาด้วย และแนบใบสำคัญการสมรส

60 ตัวอย่าง บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องแทนผู้เยาว์
“โจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายสอง แสงทอง ผู้เยาว์อายุ ๑๓ ปี โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๐ ที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โจทก์ทั้งสองจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายสอง แสงทอง รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตรและสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒”

61 กรณีให้ความยินยอม กรณีอนุญาต
กรณีผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีให้ความยินยอม ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดาให้ความยินยอม ผู้เยาว์เป็นโจทก์ มารดาให้ความยินยอม ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดาและมารดาให้ความยินยอม กรณีอนุญาต ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดาอนุญาต ผู้เยาว์เป็นโจทก์ มารดาอนุญาต ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดาและมารดาอนุญาต

62 ตัวอย่าง ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดาให้ความยินยอม
“โจทก์เป็นผู้เยาว์ อายุ ๑๓ ปี เป็นบุตรโดยของนายเย็น แสงทอง และนางศรี แสงทอง บิดามารดา จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๐ ที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร นายเย็น แสงทอง จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และเป็นผู้ให้ความยินยอมโจทก์ในการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร สำเนาใบสำคัญการสมรสและหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ถึง ๓” (ต้องอ้างหนังสือให้ความยินยอมเป็นเอกสารท้ายคำฟ้องด้วย)

63 ตัวอย่าง ผู้เยาว์เป็นโจทก์ มารดาให้ความยินยอม
“ โจทก์เป็นผู้เยาว์อายุ ๑๓ ปี มีนางศรี แสงทอง เป็นมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นผู้ให้ความยินยอมโจทก์ในการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตรและสำเนาหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒”

64 ตัวอย่าง ผู้เยาว์เป็นโจทก์ บิดามารดาให้ความยินยอม
“โจทก์เป็นผู้เยาว์ อายุ ๑๓ ปี เป็นบุตรโดยของนายเย็น แสงทอง และนางศรี แสงทอง บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๐ ที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร บิดามารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และเป็นผู้ให้ความยินยอมโจทก์ในการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร สำเนาใบสำคัญการสมรสและหนังสือให้ความยินยอม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ถึง ๓”

65 ตัวอย่าง กรณีอนุญาต บรรยายฟ้องเช่นเดียวกับการให้ความยินยอม เปลี่ยนจาก “หนังสือให้ความยินยอม” เป็น “หนังสืออนุญาต” เท่านั้น

66 ๑.๔. การดำเนินคดีแทนผู้ตาย
หลักการบรรยาย โจทก์/จำเลยเกี่ยวข้องเป็นอะไรกับผู้ตาย ผู้ตายชื่ออะไร ตายเมื่อไหร่ เอกสารที่ต้องอ้างคือสำเนาใบมรณบัตร เอกสารอ้างประกอบ เช่น สำเนาสูติบัตร สำเนาใบสำคัญการสมรส สำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของศาล ฯลฯ (ข้อสังเกต : ใบมรณบัตรสำคัญที่สุด ต้องอ้างทุกครั้ง ขาดไม่ได้)

67 ตัวอย่าง “โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายหนึ่ง แสงทอง ผู้ตายตามคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๐/๒๕๕๘ โดยผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาลและสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒”

68 ตัวอย่าง คดีทายาทฟ้องแบ่งที่ดินมรดก
“โจทก์ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนายเอก มกรา ผู้ตาย ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของโจทก์ทั้งสองและผู้ตาย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ถึง ๓ นายเอก มกรา ผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๔ จำเลยเป็นภรรยาของนายเอก มกรา ผู้ตาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๕ และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ ในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๑/๒๕๕๘ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรสและคำสั่งศาล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๕ และ ๖”

69 ตัวอย่าง คดีทายาทฟ้องให้ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินตามพินัยกรรม
“โจทก์เป็นบุตรของนายเอก มกรา ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ นายเอก มกรา เป็นบุตรของนายแสง มกรา ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒ นายแสง มกรา มีทายาทเพียงสองคนคือ นายเอก มกรา บิดาของโจทก์และจำเลย นายแสง มกรา เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตรของนายแสง มกรา เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๓ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายแสง มกรา ตามคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ ในคดีหมายเลขแดงที่ ๑๑/๒๕๕๘ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๔”

70 ๑.๕. การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สิน
หลักการบรรยาย : (โจทก์/จำเลย) เป็นเจ้าของ (กรรมสิทธิ์/สิทธิ...) ระบุรายละเอียดของทรัพย์ เอกสารที่ต้องอ้างคือเอกสารที่แสดงสิทธิ เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน , สำเนา น.ส.๓ก , สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ , สำเนาคำขอปลูกสร้างอาคาร ฯลฯ

71 ตัวอย่าง คดีฟ้องเรียกค่าเช่าบ้าน / ฟ้องขับไล่
“โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์บ้านซึ่งเป็นตึกสามชั้น เลขที่ ๙ ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๒ เลขที่ดิน ๑๒๓ ถนนช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒”

72 ตัวอย่าง คดีเช่าซื้อรถยนต์ / คดีละเมิดทำให้รถยนต์เสียหาย
“โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ยี่ห้อนิสสัน หมายเลขทะเบียน กค ๒๐๑๕ เชียงใหม่ ปรากฏตามสำเนาทะเบียนรถยนต์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑

73 ๑.๖. การดำเนินคดีของสามีภรรยา
หลักการบรรยาย : โจทก์/จำเลย เป็น สามี/ภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมายของ...(ระบุชื่อ)... จดทะเบียนสมรสกันเมื่อไหร่ ที่ไหน เอกสารต้องอ้างคือสำเนาใบสำคัญการสมรส

74 ตัวอย่าง คดีละเมิดสามีตาย
“โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเอก แสนดี จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

75 ตัวอย่าง การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินสามีภรรยา
สินส่วนตัว “โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๐ เลขที่ดิน ๔๔๕ ตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๒ งาน ๓๐ ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยในระหว่างสมรสโจทก์ได้รับมรดกมาจากบิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑”

76 ตัวอย่าง การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินสามีภรรยา
สินสมรส / การจัดการสินสมรส “โจทก์ที่ ๑ เป็นสามีของโจทก์ที่ ๒ จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑ ในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒ ระหว่างสมรส โจทก์ที่ ๑ ได้ซื้อที่ดินมา ๑ แปลง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๓๔ เลขที่ดิน ๓๑๑ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ทั้งสอง รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒”

77 คำถาม

78 คำถาม


ดาวน์โหลด ppt สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้บรรยาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google