งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิค การติดตามและประเมินผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิค การติดตามและประเมินผล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิค การติดตามและประเมินผล

2 การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Management)
การพัฒนาระบบราชการในปัจจุบันได้นำการบริหารยุทธศาสตร์เข้ามาใช้ ซึ่งการบริหารเชิงยุทธศาสตร์นั้นเป็นกระบวนการในการบริหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจขององค์การ อยู่บนแนวคิดที่ว่า องค์กรของเราไม่ได้อยู่เป็นเอกเทศโดยตัวของเราเอง แต่อยู่ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสภาพแวดล้อมที่มากระทบกับองค์กรนั้น บางครั้งก็เป็นโอกาส บางครั้งก็เป็นภัยคุกคาม นอกจากนี้ องค์การเองก็ต้องกำหนดจุดยืนขององค์การด้วย เพื่อวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

3 1. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation)
2. การนำไปสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation) 3. การควบคุมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Control) t

4 การติดตาม และประเมินผล
Monitoring and Evaluation

5 การติดตามผล (Monitoring) เป็นกระบวนการในการบริหารงาน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานหรือการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ทรัพยากรในโครงการ (Input) กับผลผลิต (Output) ของโครงการร่วมกับปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback System) สำหรับการกำกับ ทบทวน และแก้ไขปัญหา แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขและเพื่อให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การประเมินผล(Evaluation) เป็นกระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแผนงาน/โครงการ ตลอดจนการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของแผนงาน/โครงการนั้นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น และพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือจุดด้อยของโครงการอย่างมีระบบ เพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการสรุปผลสำเร็จ และตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการเพื่อการดำเนินงานต่อไป หรือจะยุติการดำเนินงาน

6 การติดตามผล (Monitoring)
วัตถุประสงค์ ความสำคัญ

7 แผนผังการขับเคลื่อนนโยบาย
นายกรัฐมนตรี คตร. ปขก. ตรวจสอบ/ประเมินผลการดำเนินงาน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลโดยทุกกระทรวงบูรณาการแผนงานและจัดระบบข้อมูลให้ตรงกัน คณะรัฐมนตรี กขร. กขย./คสช. กขน./รอง นรม. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จัดระเบียบ/เร่งด่วน/ไม่เร่งด่วน ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลผ่านหน่วยงาน ราชการตามบทบาทหน้าที่ภายใต้แผนงบ ปี 58 ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญภายใน 1 ปี (บรรลุผลภายใน 1 ปี) การปฏิบัติ/บูรณาการ หน่วยงาน กระทรวง ทบวง / กรม / จังหวัด / ท้องถิ่น ทภ./กอ.รมน. ทุกหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติ รมว. ผวจ. ผบ.ในพื้นที่

8 การติดตามผลของกลุ่ม วป.
จากนโยบาย แผน ยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีทั้งระดับกรมและกระทรวง ต้องมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ลักษณะของการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีดังนี้ การรายงานผลการปฏิบัติงานระดับกระทรวง ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรี (รายเดือน) รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกระทรวงแรงงาน (รายเดือน) การจัดทำรายงานประจำปี กระทรวงแรงงาน (รายปี) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ระยะ 3เดือน 6เดือน 1 ปี ส่ง สลน. (รายเดือน) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 1 ปี ส่ง สคช. (รายไตรมาส) รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ส่ง สลน. และกระทรวง/หน่วยงานเจ้าภาพ(รายเดือน) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่ง สคช.(รายปี) รายงานผลการดำเนินการของคระรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่ง สคช.(รายปี) รายงานผลการดำเนินงานในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานด้านความมั่นคง ส่ง สลน. และหัวหน้าส่วนอำนวยการฝ่ายความมั่นคง คสช. (รายสัปดาห์/รายไตรมาส/รายเดือน)

9 รายงานผลการปฏิบัติงานระดับกรม (สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน) ได้แก่
รายงานผลตามนโยบายรัฐบาล/รัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง (รายเดือน) รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงิน สำนักงานปลัดกระทรวง (รายเดือน) การจัดทำรายงานสรุปข้อมูลสำคัญด้านแรงงานสำหรับผู้บริหาร (รายเดือน) รายงานผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล (รายปี) การจัดทำรายงานประจำปี สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (รายปี) รายงานผลการใช้จ่ายเงิน สงป.301 ส่ง สงป. (ราย 2 สัปดาห์) รายงานการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART) ส่ง สงป. (รายปี)

10 ประโยชน์ของการติดตามผล
1. ทำให้งานต่างๆ มีความสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นงานของแต่ละคน หรืองานของแต่ละกลุ่ม รวมถึงงานของแต่ละหน่วยงานสอดคล้องกัน 2. ทำให้เป้าหมายขององค์กรสำเร็จสมบูรณ์ทั้งเป้าหมายหลัก และเป้าหมายรอง เกิดขึ้นอย่างสอดคล้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพหรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำสุด 3. ทำให้วิธีการปฏิบัตินโยบาย และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรดำเนินไปในแนวทางเดียวกันตลอดทั้งระบบ 4. ช่วยป้องกันมิให้ทรัพยากรต่างๆ ของหน่วยงานถูกใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ 5. ช่วยรักษาคุณภาพของงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6. ทราบข้อดี/ข้อบกพร่อง ตลอดจนปัจจัยที่ทำให้การดำเนินแผนงาน/โครงการมีปัญหา 7. กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องกับแผนงาน/โครงการ มีความสำนึกต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ 8. ผู้บริหารระดับต่างๆ ของแผนงาน/โครงการสามารถวินิจฉัย/สั่งการได้อย่างรัดกุม มีเหตุผล

11 การประเมินผล (Evaluation)
ความจำเป็น ที่ต้องมีการ ประเมินผล ทรัพยากรทุกอย่างมีจำกัดทั้งคน เงิน วัสดุอุปกรณ์ จึงต้องมีการดำเนินการอย่างระมัดระวัง และให้เกิดความคุ้มค่า เพื่อพิจารณาว่าแผนงาน/โครงการนั้นตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือความต้องการขององค์กรต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องได้หรือไม่ เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกแผน งาน/โครงการที่เหมาะสมที่สุด ในกรณี ที่มีข้อเสนอหลายแผนงาน/โครงการที่สนองต่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ผลกระทบจากแผนงาน /โครงการที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงต้องประเมินเพื่อหาทางป้องกัน

12 วัตถุประสงค์ของการประเมินผล
เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารและการวางแผน ที่จะช่วยตอบสนองต่อภารกิจความต้องการของหน่วยงาน รวมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น เพื่อทราบความก้าวหน้า สภาพ ผลการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเร่งรัด ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของการดำเนินงานโครงการ ยกเลิกโครงการที่ไม่เหมาะสมหรือหมดความจำเป็น เพื่อทราบถึงสถานภาพการบริหารการใช้จ่ายงบประมาณ

13 ควรประเมินผลเมื่อใด? การประเมิน ภายหลังแผนงาน /โครงการ (Post)
การประเมิน เมื่อแผนงาน/โครงการเสร็จสิ้น (Completion) การประเมินระหว่างดำเนินแผนงาน/โครงการ (On- going) การประเมิน ก่อนมีแผนงาน/โครงการ (Pre– Plan/ Project)

14 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการประเมินผล
4. ความชัดเจนและความเฉพาะของปัจจัยนำเข้า 2. ขนาดของโครงการ 5. ความสลับซับซ้อนของเป้าหมาย 7. ความคิดริเริ่มใหม่ๆ 1.ขอบเขตของโครงการ 3. ระยะ เวลาของโครงการ 6. ช่วง เวลาของเป้าหมาย

15 ประโยชน์ของการประเมินผล
ผลจากการประเมินใช้ในการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์เต็มที่ ช่วยทำให้การกำหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานของการดำเนินงานมีความชัดเจน และสามารถที่จะนำไปปฏิบัติอย่างได้ผล ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศจากผลการประเมินในการวางแผนและตัดสินใจดำเนินโครงการในอนาคต และสามารถเพิ่มความรอบคอบในการดำเนินแผนงาน/โครงการต่อไป ผลการประเมินช่วยให้แผนงาน/โครงการบรรลุถึงวัตถุประสงค์และดำเนินงานได้ นำผลสำเร็จมาสู่องค์กร และลดอุปสรรคจากการดำเนินโครงการนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป ช่วยในการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของแผน/โครงการและทำให้แผนงาน/โครงการมีข้อที่ทำให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง สามารถสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการประเมินผลโครงการจะทำให้ผู้บริหารสามารถศึกษาและวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงงาน และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ปฏิบัติในอนาคต

16 ขั้นตอนในการประเมินผล
กระบวนการประเมินผลแผนงาน/โครงการ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. วางแผนการประเมินผล มีกิจกรรมต้องกระทำดังต่อไปนี้ (1) ศึกษาทบทวนรายละเอียดแผนงาน/โครงการที่จะประเมิน (2) กำหนดรูปแบบการประเมิน (3) การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการประเมินผล (4) กำหนดประเด็นการประเมินผล (5) ระบุตัวชี้วัด (ปัจจัยที่วัดได้) รวมทั้งเกณฑ์หรือมาตรฐานและค่าเป้าหมาย (6) ระบุเครื่องมือที่ใช้วัดเพื่อเก็บข้อมูล (7) กำหนดโครงสร้างของรายงานผลการประเมิน

17 ขั้นตอนในการประเมินผล (ต่อ)
2. การสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล (1) กำหนดตัวอย่างที่ต้องการศึกษา (2) ระบุคำถามหลักๆ ที่จะประเมิน (3) สร้างเครื่องมือในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (4) ระบุแหล่งที่จะเก็บข้อมูล (ใคร ที่ไหน?) และช่วงระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูล (5) พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแผนงาน/โครงการ (6) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3. การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและจัดทำรายงาน (1) กำหนดรูปแบบการเก็บบันทึกข้อมูล (2) เลือกเทคนิควิเคราะห์ (3) บันทึกและประมวลผลข้อมูล (4) ตีความหมายข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล และสรุปผลการประเมิน (5) เขียนรายงานการประเมินผล

18 รูปแบบการประเมินผล รูปแบบการประเมิน คือ กรอบความคิดหรือแบบแผนในการประเมินที่แสดงให้เห็นถึงรายการที่ควรประเมินหรือกระบวนการของการประเมิน ประโยชน์ของการกำหนดรูปแบบการประเมินผล 1. เพื่อให้เห็นแนวทางหรือกรอบความคิดในการประเมิน ช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินมีความคมชัดและครอบคลุม 2. ช่วยให้กำหนดตัวแปรหรือประเด็นสำคัญในการประเมินได้อย่างชัดเจน 3. ทำให้ผลงานการประเมินมีความเป็นระบบ ครอบคลุม เป็นที่ยอมรับและสื่อความหมาย

19 รูปแบบการประเมินผล เน้นจุดมุ่งหมาย เน้นการตัดสินคุณค่า เน้นการตัดสินใจ
ไทเลอร์ (Tyler: 1943) ครอนบาค (Cronbach: 1973) เคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) สเตค (Stake: 1967) สตริฟเว่น (Scriven: 1967) โพรวัส (Provus: 1971) เวลซ์ (Welch: 1967) สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam CIPP: 1968) อัลคิน (Alkin: 1967) เน้นจุดมุ่งหมาย เน้นการตัดสินคุณค่า เน้นการตัดสินใจ

20 รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam)
แนวคิด : การประเมินเป็นกระบวนการของการบรรยาย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม CIPP Model : ประเภทของการประเมิน ลักษณะการตัดสินใจ 1. ประเมินภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) เลือก/ปรับวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เลือกแบบกิจกรรม/ปรับเปลี่ยนปัจจัยเบื้องต้น 3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ปรับปรุงแนวทาง หรือกระบวนการทำงาน 4. ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ปรับปรุง/ขยาย ล้มเลิก/ยุติโครงการ

21 รูปแบบการประเมินของสเตค (Stake’s Countenance Model)
แนวคิด : กระบวนการที่เกี่ยวกับการบรรยาย และการตัดสินคุณค่าของโครงการ หรือเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ กระบวนการ ความคาดหวัง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง มาตรฐาน การตัดสินใจ 1 4 สิ่งนำเข้า ปฏิบัติการ ผลลัพธ์ หลักการและเหตุผล 2 5 3 6 เมตริกซ์การบรรยาย เมตริกซ์การตัดสินใจ = ความสอดคล้อง = ความสัมพันธ์

22 เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
เกณฑ์ (Criteria) หมายถึง ระดับที่แสดงถึงความสำเร็จของการดำเนินงานหรือผลที่ได้รับ 5. เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity) 1. เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency) 6. เกณฑ์ความก้าวหน้า (Progress) 2. เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) 7. เกณฑ์ความยั่งยืน (Sustainability) 3. เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) 8. เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ (Externalities) 4. เกณฑ์ความพึงพอใจ (Sustainability)

23 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ตัวชี้วัดความสำเร็จ (Indicators) หมายถึง ข้อความที่แสดงหรือระบุประเด็นที่ต้องการจะวัดหรือประเมิน หรือตัวแปรที่ต้องการจะศึกษา โดยจะมีการระบุลักษณะที่ค่อยข้างเป็นรูปธรรม ทั้งส่วนที่มีลักษณะเช้งปริมาณ และส่วนที่แสดงลักษณะเชิงคุณภาพ เลือกใช้/สร้างตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนที่สำคัญเท่านั้น คำอธิบายหรือการกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นวลีที่มีความชัดเจน ตัวชี้วัดอาจจะกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ควรนำวัตถุประสงค์ของโครงการหรือประเด็นการประเมินมากำหนดตัวชี้วัด เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดควรรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ

24 ยกตัวอย่างการจำแนกประเภทของตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน

25 ตัวอย่างการประเมินผลโครงการ การประเมินผลเป็นภารกิจหลักของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยกลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน และในส่วนภูมิภาคมีสำนักงานแรงงานจังหวัดมีหน้าที่ในการติดตามและประเมินผลแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ในความรับผิดชอบของส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานในเขตพื้นที่จังหวัด ซึ่งกลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผลมีหน้าที่อำนวยการการปฏิบัติงานประเมินผลของสำนักงานแรงงานจังหวัดอีกหน้าที่หนึ่ง ทั้งในเรื่องของการขอตั้งงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดเรื่องที่จะประเมิน การกำหนดแนวทางและรูปแบบการประเมินผล พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและให้ตัวอย่างการวิเคราะห์และรูปแบบการรายงาน

26 การประเมินผลของกลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล
การประเมินผลโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รูปแบบการประเมินใช้ Stake’s Countenance Model โดยประกอบด้วย 1. ประเด็นในการพิจารณามี 3 ส่วน คือ (1) ปัจจัยเบื้องต้น หรือสิ่งนำ (Antecedent) ได้แก่ 1) อุปสงค์และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ 2) ความเพียงพอของงบประมาณ และ 3) ทรัพยากรอื่นๆ (2) กระบวนการ หรือการปฏิบัติ (Transaction) ได้แก่ 1) การกำหนดคณะกรรมการบริหารโครงการ 2) วิธีดำเนินโครงการและระเบียบปฏิบัติ 3) การอำนวยการและประสานงาน และ 4) การติดตามผลการดำเนินงาน (3) ผลการดำเนินงานหรือผลลัพธ์ ได้แก่ 1) ผลการดำเนินงานโครงการ 2) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง และ 3) ผลกระทบต่อการบรรเทาปัญหาสังคม 2. บันทึกข้อมูลจากข้อ 1 ในเมตริกซ์บรรยาย (ความคาดหวัง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง) และเมตริกซ์ การตัดสินใจ (มาตรฐาน การตัดสิน)

27 การประเมินผลของสำนักงานแรงงานจังหวัด
การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานระดับตำบล ปี 2556 รูปแบบการประเมินใช้ CIPP Model พิจารณาองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) แล้วนำมาวิเคราะห์ผลสำเร็จของการพัฒนางานอาสาสมัครแรงงาน ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ความสอดคล้องกับความต้องการ อสร. ในพื้นที่ มิติที่ 2 ประสิทธิผล มิติที่ 3 ประสิทธิภาพ และมิติที่ 4 ผลกระทบ

28 Place your screenshot here
ขอบคุณค่ะ กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt เทคนิค การติดตามและประเมินผล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google