งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนระบบการควบคุมภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนระบบการควบคุมภายใน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนระบบการควบคุมภายใน
วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2 การควบคุมภายในคืออะไร?
กระบวนการที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรทุกระดับขององค์กรจัดให้มีขึ้นเพื่อความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานขององค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์

3 การควบคุมภายใน ดีอย่างไร?
การควบคุมภายในช่วยให้มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า 1 การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประหยัด มีประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2 มีการดูแลทรัพย์สิน การป้องกันความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล และการทุจริต 3 จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งข้อมูลทางการเงินและการบริหารที่เชื่อถือได้และทันเวลา 4 มีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง นโยบาย สัญญา

4 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
1. แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ 2. บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการ ทำให้มีระบบการควบคุมเกิดขึ้น 3. ให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลเท่านั้น

5 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน
ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ

6 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน
1. รับผิดชอบโดยตรงในการจัดให้มีการควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในระดับที่น่าพอใจอยู่เสมอ หน้าที่ของ ผู้บริหารระดับสูง 2. ประเมินผลการควบคุมภายในของ หน่วยงาน 3. กำหนดให้หน่วยตรวจสอบภายใน เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมภายใน

7 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน
1. จัดให้มีการควบคุมภายในของส่วนงาน ที่ตนรับผิดชอบ หน้าที่ของ ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ 2. สอบทานการปฏิบัติงานที่ใช้ในหน่วยงาน ที่ตนรับผิดชอบ 3. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการควบคุมภายใน ให้รัดกุม

8 ทำอย่างไร? มาตรฐานการควบคุมภายใน
จัดให้มีสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ดี (Control Environment) ประเมินความเสี่ยงอย่างเหมาะสม (Risk Assessment) จัดกิจกรรมควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Control Activities) จัดระบบสารสนเทศและสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (Information and Communication) ติดตามประเมินผล (Monitoring)

9 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
หมายถึง ปัจจัยและสภาวะต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการควบคุมภายในองค์การ ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น รูปแบบและปรัชญาการทำงานของฝ่ายบริหาร ความซื่อสัตย์และจริยธรรมของผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรขององค์การ โครงสร้างการจัดองค์การ การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ นโยบายและการบริการทรัพยากรบุคคล ความรู้ ความสามารถ และทักษะของบุคลากร

10 การประเมินความเสี่ยง
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาส ที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความผิดพลาด ความเสียหาย ความสูญเปล่า การรั่วไหล การสิ้นเปลือง การทุจริต

11 กิจกรรมการควบคุม กิจกรรมการควบคุม หมายถึง นโยบายและวิธีการต่างๆ ที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้บุคลากรปฏิบัติ เพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง และได้รับการสนองตอบโดยมีการนำไปปฏิบัติ ควรแฝงอยู่ในกระบวนการทำงานตามปกติ สามารถลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับยอมรับได้ ต้นทุนต้องคุ้มกับผลประโยชน์ เพียงพอเหมาะสมโดยไม่มากเกินจำเป็น มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ

12 กิจกรรมการควบคุม ในเบื้องต้นจะต้องแบ่งแยกหน้าที่งานภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสม ไม่มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานที่สำคัญ หรืองานที่เสี่ยงต่อความเสียหายตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้ามีความจำเป็นให้กำหนด กิจกรรมการควบคุมอื่นที่มีความเหมาะสมทดแทน

13 สารสนเทศและการสื่อสาร
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทางการเงิน และ ข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร ทั้งที่เป็นข้อมูลจากแหล่งภายใน และภายนอกองค์กร การสื่อสาร หมายถึง การส่งสารสนเทศระหว่างบุคลากร

14 สารสนเทศและการสื่อสาร
ฝ่ายบริหาร ต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอ และสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรอื่น ๆ ที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา

15 การติดตามประเมินผล การติดตามประเมินผล หมายถึง กระบวนการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน และประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในที่วางไว้ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาจอยู่ในรูปของ การติดตามผลระหว่างการปฏิบัติงาน การประเมินผลเป็นรายครั้ง การประเมินการควบคุมด้วยตนเอง (Control Self Assessment) การประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ (Independent Assessment)

16 สาระสำคัญของระเบียบ ค.ต.ง.
ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ส่วนที่ 1 ตัวระเบียบ ระเบียบข้อ 5 ฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบนำมาตรฐานการควบคุมภายใน ท้ายระเบียบนี้ไปใช้เป็นแนวทางจัดวางระบบการควบคุมภายในให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และรายงานความคืบหน้าทุก 60 วัน ระเบียบฯข้อ 6 รายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละครั้ง

17 สาระสำคัญของระเบียบ ค.ต.ง.
ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ส่วนที่ 2 มาตรฐานการควบคุมภายใน ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีองค์ประกอบของการควบคุมภายใน 5ประการในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน

18 ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนด มาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 6
“ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้กำกับดูแล และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณหรือปีปฏิทินแล้วแต่กรณี เว้นแต่การรายงานครั้งแรกให้กระทำภายในสองร้อยยี่สิบวันนับจากวันวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ”

19 กำหนดเวลาในการรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6
รายงานอย่างน้อยปีละครั้ง ทุกปี รายงานครั้งแรกภายใน 240 วัน นับจากวันวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ (ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปัจจุบันขยายไปถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 2547) ครั้งต่อไป รายงานภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปี งบประมาณ (ภายในสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปี) หรือปีปฏิทิน (ภายในสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี) แล้วแต่กรณี

20 กำหนดเวลาในการรายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6
โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1 ทำความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจที่ใช้อยู่มีมาตรฐานตามระเบียบนี้หรือไม่ 2 รายงานผลการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายในประกอบด้วย (ก) สภาพแวดล้อมของการควบคุม (ข) การประเมินความเสี่ยง (ค) กิจกรรมการควบคุม (ง) สารสนเทศและการสื่อสาร (จ) การติดตามประเมินผล 3 จุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน พร้อมข้อเสนอแนะและแผนการปรับปรุงระบบ การควบคุมภายใน

21 หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Thank You ! หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


ดาวน์โหลด ppt การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนระบบการควบคุมภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google