ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAlison Jenkins ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
2
จัดทำโดย 1. นาย กิตติศักดิ์ อิกำเนิด วศ.บ.อส รหัส 2. นาย ชนะภัย สมปินตา วศ.บ.อส รหัส 3. นาย อิษเรศ ยารวง วศ.บ.อส.4.4 รหัส นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย อาจารย์ที่ปรึกษา 1.อาจารย์พีรวัตร ลือสัก 2.อาจารย์อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล
3
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หัวข้อการนำเสนอ ที่มาและความสำคัญ 1 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน
4
ที่มาและความสำคัญ เหล็กกล้าที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการอบชุบความร้อนด้วยกระบวนการอบอ่อน หรือทำให้แข็งขึ้นด้วยกระบวนการชุบแข็ง การชุบแข็งเหล็กกล้าอาจทำทั้งการชุบแข็งตลอดชิ้นงาน หรือการชุบแข็งเฉพาะที่ผิว วัสดุโลหะกลุ่มเหล็กที่นิยมนำมาชุบแข็งได้แก่ เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง และเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ในกระบวนการการชุบแข็งเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กกล้าคาร์บอนเพื่อเพิ่มด้านความแข็งทนต่อการเสียดสี การกด การทดต่อการขีดขวนโดยมีวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติ มีตัวกลางการชุบแข็งหลายตัวกลางได้แก่ น้ำ น้ำเกลือ น้ำผสมน้ำแข็ง น้ำมัน และอากาศเป็นต้น ตัวกลางในการชุบแข็งบางครั้งมีสารตัวการบางชนิดเหมาะสมกว่าสารตัวกลางบางชนิดเช่น เหล็กคาร์บอนปานกลางที่ผ่านกระบวนการชุบแข็งด้วยน้ำมันให้ค่าความแข็งน้อยกว่าการชุบแข็งด้วยน้ำเป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาตัวกลางที่เหมาะกับเหล็กแต่ละชนิดโดยทำการทดลองการชุบแข็งตามตัวกลางการชุบแข็งแต่ละชนิดคือ น้ำ น้ำเกลือ น้ำผสมน้ำแข็ง น้ำมัน และอากาศหลังจากนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลเช่น การทดสอบความแข็ง การทดสอบความล้า และการทดสอบแรงกระแทกของเหล็กแต่ละชนิดที่ทำการชุบแข็งเพื่อหาตัวกลางที่เหมาะสมกับเหล็กแต่ละชนิด
5
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อศึกษาตัวกลางการชุบแข็งที่เหมาะสมของเหล็กกลุ่ม เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง และ เหล็กกล้าคาร์บอนสูง เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกลจากการทดสอบวัสดุจากกระบวนการชุบแข็ง
6
ขอบเขตของโครงการ ตัวกลางในการชุบแข็งคือ น้ำ น้ำเกลือ น้ำผสมน้ำแข็ง(1:1) น้ำมัน และอากาศ วัสดุเหล็กในกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง และคาร์บอนสูง ทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลด้าน ความล้า ความแข็ง และแรงกระแทก ทำการทดสอบคุณสมบัติทางด้านความแข็งแบบ วิธี (Rockwell Hardness Testing Method) ใช้กระบวนการออกแบบการทดลองแบบ full factorial
7
ขอบเขตของโครงการ (ต่อ)
ใช้กระบวนการออกแบบการทดลองแบบ full factorial จำนวนชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองการทดสอบ ความแข็งขนาดขนาดตามมาตรฐานการทดสอบ จำนวน 243 ชิ้น จำนวนชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองการทดสอบ ความล้าขนาดตามมาตรฐานการทดสอบ จำนวน 243 ชิ้น
8
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถประยุกต์การวิเคราะห์การทดลองการศึกษาด้านต่างๆโดยใช้ทฤษฎีการออกแบบการทดลอง สามารถเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับตัวกลางการชุบแข็งต่างๆ
9
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง บทความ การชุบแข็ง
การศึกษาการชุบแข็งนำมาใช้ในการศึกษาตัวกลางการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอนเพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติและโครงสร้างหลังทำการชุบแข็ง การทดสอบความแข็ง การทดสอบความแข็งนำมาใช้ทดสอบความแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอนหลังจากทำการชุบแข็งที่ผ่านสารตัวกลางต่างๆเพื่อทราบค่าความแข็งที่เหมาะสมที่สุด
10
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
บทความ การทดสอบความล้า การทดสอบความล้านำมาใช้ทดสอบความล้าของเหล็กกล้าคาร์บอนหลังจากทำการชุบแข็งที่ผ่านสารตัวกลางต่างๆเพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างถาวร ภายในชิ้นงาน ตลอดจนเกิดรอยร้าวและแตกหัก หลังจากรับแรงสลับไปมาจำนวนหนึ่ง การทดสอบการกระแทก การทดสอบการกระแทกนำมาใช้ทดสอบความล้าของเหล็กกล้าคาร์บอนหลังจากทำการชุบแข็งที่ผ่านสารตัวกลางต่างๆเพื่อทราบถึงค่าความแข็งแรงการกระแทกรวมถึงความสามารถในการรับแรงกระแทกได้สูงสุด
11
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
บทความ การออกแบบการทดลอง การออกแบบการทดลองเป็นเทคนิคทางสถิตชั้นสูงที่ใช้ในการปรับค่าสภาวะของกระบวนการเพื่อให้ได้ผลตอบสนองเป็นไปตามที่ต้องการของการศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน สถิติพื้นฐาน คำนวณทางสถิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็ง และความทนต่อแรงกระแทกกับตัวกลางที่ใช้ในการชุบแข็ง และอุณหภูมิที่ใช้ในการอบชุบรวมทั้งศึกษาโครงสร้างของเหล็กที่ผ่านการชุบแข็ง
12
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ ชื่องานวิจัย การชุบแข็ง การทดสอบความแข็ง การทดสอบความล้า การทด- สอบแรงกระแทก สถิติพื้นฐาน การทดลอง 1. การศึกษาอิทธิพลของตัวแปรด้านการชุบแข็งของเหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็น 2. การศึกษาเงื่อนไขของตัวแปรในการอบชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอนรอบสูงสำหรับการผลิตเอ็นมิลล์ (End mill) 3. อิทธิพลของอุณหภูมิและเวลาอบชุบแข็งของเหล็ก AISI 1010 4. ผลของการอบชุบต่อค่าความแข็งและการสึกหรอของเหล็กหล่อโครเมียมสูง 5. การศึกษาตัวแปรในการอบชุบที่มีผลต่อสมบัติเชิงกลและโครงสร้างจุลภาค
13
แผนการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2558 2559 เดือน วิธีการดำเนินงาน ส.ค. ก.ย.
ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ การชุบแข็ง 2. รวบรวมข้อมูลที่ได้ จากการศึกษา 3. ออกแบบตารางการ ทดลอง 4. ดำเนินการทดลองชุบ แข็งและทดสอบ คุณสมบัติทางกล 5. บันทึกผลการทดสอบ 6. สรุปผลการทดสอบ และทดสอบ
14
วิธีการดำเนินงาน
15
วิธีการดำเนินงาน (ต่อ)
16
จบการนำเสนอแล้วครับ ...
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.