งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับพนักงานบริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับพนักงานบริการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับพนักงานบริการ
บทที่ 4 การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับพนักงานบริการ

2 คำจำกัดความของคำว่า “บุคลิกภาพ”
บุคลิกภาพ หมายถึง ทุกสิ่งที่ประกอบเป็นตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกาย พฤติกรรมการแสดงออก อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด อุปนิสัยใจคอ เจตคติ และการมองโลก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะส่งผลให้บุคคลแต่ละคน แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ บุคลิกภาพจะเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาท่าทีของบุคคลแต่ละคนในการแสดงตนเองในสิ่งแวดล้อมต่างๆ บุคลิกภาพจึงส่งผลโดยตรงต่อชีวิตส่วนตัว การงาน และการใช้ชีวิตในสังคม

3 ประเภทของบุคลิกภาพ เราอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.บุคลิกภาพภายนอก หรือ บุคลิกภาพทางกาย (Physical Personality) เป็นบุคลิกภาพที่ผู้อื่นสามารถสัมผัส หรือ รับรู้ได้ง่าย ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย การใช้สายตา น้ำเสียง เป็นต้น 2. บุคลิกภาพภายใน หรือ บุคลิกภาพทางจิต (Psychological Personality) เป็นบุคลิกภาพที่บุคคลอื่นไม่สามารถรับรู้ได้ง่าย ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะสัมผัสได้ เช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่ม ความรอบรู้ และ ความสามารถในด้านต่าง ๆ

4 บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
บุคลิกภาพทางกาย หมายถึง องค์ประกอบทางภายภาพของมนุษย์ ไว้ว่า จะเป็นโครงสร้างของร่างกาย ความสะอาด สุขภาพทางกาย การแต่งกาย การแสดงกริยาท่าทาง และการพูดจา บุคลิกภาพทางสติปัญญา ประกอบด้วย ความนึกคิด เจตคติ และความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการคิดและการไตร่ตรอง บุคลิกภาพทางอารมณ์ หมายถึง พฤติกรรมการแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัก โกรธ โมโห หรือ ดีใจ บุคลิกภาพทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออก เมื่อต้องปรากฏตัวและ/ หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ

5 ความสำคัญของบุคลิกภาพต่อผู้ปฏิบัติงานให้บริการ
1. มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ บุคลิกภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ จะช่วยเป็นพลังผลักดัน และกระตุ้นให้บุคคลนั้น มีความพยายาม อดทน ต่อสู้ และใช้ความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อทำงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ 2. บุคลิกภาพด้านความคิดริเริ่ม ความเชื่อมั่น และความระมัดระวัง รอบครอบ จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางในการทำงาน กล่าวคือ บุคคลใดที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง มักจะชอบทำงานที่แปลกใหม่ โดยพยายามคิดค้นหาหนทางต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้งานของตนเองมีความแตกต่างและสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ บุคคลที่มีความเชื่อมั่นสูง มักชอบเสี่ยงเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูง และบุคคลที่มีความรอบครอบสูง มักจะไม่ชอบทำงานที่มีความเสี่ยง แม้ว่า จะได้รับผลตอบแทนสูง แต่จะทำงานในลักษณะของการก้าวไปเรื่อย ๆ แต่มั่นคง

6 ทฤษฏีบุคลิกภาพ (Theories of Personalities)
ทฤษฎีบุคลิกภาพของจุง (Carl G. Jung) ทฤษฏีบุคลิกภาพของโลว์สัน (Robert H. Lowson) ทฤษฎีบุคลิกภาพตามแนวพุทธศาสนา ทฤษฎีบุคลิกภาพที่แบ่งตามการรับรู้ หรือเจตคติเกี่ยวกับตนเองและบุคคลอื่น ทฤษฎีบุคลิกภาพของเชลดอน (Sheldon) ทฤษฎีบุคลิกภาพของโรเจอรส์ (Carl Rogers)

7 ทฤษฏีบุคลิกภาพของจุง (Carl G. Jung)
1.1 บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว (Introvert) 1.2 บุคลิกภาพประเภทเปิดเผย (Extravert) 1.3 บุคลิกภาพประเภทก้ำกึ่ง (Ambivert)

8 บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว (Introvert)
ชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียวตามลำพังได้ดีเป็นพิเศษ ไม่ชอบการเข้าสังคม ใช้ความคิดตัวเองเป็นหลัก ชอบคิดเกี่ยวกับเรื่องของตนเอง มีแนวความคิดเป็นของตนเอง และยึดมั่นในความรู้สึกของตนเอง ชอบอ่านหนังสือและชอบเขียนมากกว่าชอบพูด เพราะการเขียนมีเวลาคิดและไตร่ตรองได้ ไม่ชอบเผชิญหน้ากับคนส่วนมาก มองภายนอกจะดูเป็นคนเฉย ๆ เพราะเก็บความรู้สึกเก่ง แต่จริง ๆ มักเป็นคนหวาดระแวง และมีความวิตกกังวลกระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กลัวคนจะนินทา หรือคิดจะทำสิ่งใด ก็กลัวคนอื่นไม่เห็นด้วย และขัดขวาง เป็นต้น

9 บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว (Introvert)
มีความกดดันทางอารมณ์ โดยจะรู้สึก โกรธ เกลียด และรักได้ง่าย เวลาเจ็บใจจะรุนแรงมาก ไม่ค่อยหายโกรธง่าย ๆ รักแรง เกลียดแรง หากมีเหตุการณ์ผิดพลาดเกิดขึ้น และตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ก็มักจะโทษว่าเป็นความผิดของตน ทำให้จิดใจเกิดปมด้อยได้ง่าย บางขณะจะรู้สึกเหงา และว้าเหว่ จิตใจไม่มีความมั่นคง อารมณ์หงุดหงิดและหวั่นไหวง่าย ในการเลือกคู่ครอง จะนึกถึงแต่จิตใจและความต้องการของตนเองเป็นหลัก เมื่อรู้สึกรักใครก็จะไม่ใช้เหตุผลไตร่ตรอง ไม่คำนึงถึงฐานะ ชื่อเสียง หรือ ความหล่อเหลา สวยงาม ขอให้รู้สึกถูกใจก็พอ

10 บุคลิกภาพประเภทเก็บตัว (Introvert)
มีความขัดแย้งในตัวเองสูง กล่าวคือ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ดังนั้น เมื่อทำงานใด ๆ โดยลำพัง มักทำได้ดี แต่เมื่ออยู่ในสังคม จะไม่กล้าแสดงตัวต่อชุมชน และไม่กล้าแสดงออก สนใจและชอบข่าวลือ ชอบคำชมเชย มักวางแผนล่วงหน้าในการทำงาน ปรับตัวได้ค่อนข้างยาก ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น เป็นคนที่มีมาตรการและกฏเกณฑ์ที่แน่นอน จากลักษณะนี้ จะเห็นได้ว่า ศิลปิน และ นักปราชญ์ส่วนใหญ่จะมีบุคลิกภาพลักษณะนี้-

11 บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extravert)
เป็นลักษณะของบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งภายนอกสูง กล่าวคือ ชอบเข้าสังคม ชอบมีเพื่อนมาก ชอบพบปะผู้อื่น และชอบทำงานเป็นกลุ่ม มีมนุษยสัมพันธ์ดี และปรับตนเองได้ค่อนข้างดี และบางครั้งจะสนิทกับคนแปลกหน้าเร็วเกินไป ชอบให้ตนเองเป็นคนเด่น คนดังในสายตาของบุคคลอื่น เป็นคนร่าเริง แจ่มใส และมีน้ำใจ มีความคล่องแคล่วว่องไวในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น

12 บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extravert)
ชอบพูดมากกว่าชอบฟัง บางครั้งดูเหมือนเป็นคนพูดมาก เก็บความลับไม่อยู่ พูดนอกเรื่อง พูดเกินจริง พูดไม่ถูกกาละเทศะ ชอบพูดทับถมผู้อื่น ชอบทำตัวเป็นหัวหน้า เจ้ากี้เจ้าการในเรื่องต่าง ๆ ชอบการเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ชอบเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ และชอบการมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง เป็นคนเปิดเผย หรือแสดงออกทางอารมณ์ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน ไม่ว่าดีใจ เสียใจ หรือเศร้าโศก

13 บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extravert)
จิตใจมั่นคง ไม่เครียดกับการใช้ความคิด ไม่โกรธ ไม่เกลียดใครง่าย ๆ ไม่ชอบคิดถึงอดีต ไม่ครุ่นคิดถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว บางครั้งอาจแสดงความก้าวร้าวรุนแรงได้ โดยขาดการควบคุมอารมณ์ เมื่อทำสิ่งใด มักเอาจริงเอาจัง ทุ่มเทกับงาน ถ้างานล้มเหลวหรอืไม่สำเร็จก็ไม่เอะอะโวยวาย หรือโทษคัวเอง หรือบุคคลอื่น

14 บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Ambivert)
จากการศึกษา พบว่า คนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว หรือ เปิดเผย เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะพบน้อยในสังคม คนส่วนใหฯญ่มักจะมีบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง กล่าวคือ มีลักษณะของทั้งสองแบบ ปะปนกัน โดยจะแสดงออกถึงบุคลิกภาพแต่ละประเภทตามโอกาสและสถานการณ์

15 ทฤษฏีบุคลิกภาพของโลว์สัน (Robert H. Lowson)
ประเภทดื้อรั้น บุคคลประเภทนี้ จะชอบคัดค้านความคิดของผู้อื่น ไม่ค่อยยอมแพ้ในการโต้เถียง ไม่ชอบให้มีการเปลี่ยนแปลง และมักจะรู้สึกไม่พอใจเมื่อถูกสั่งให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ประเภทเฉื่อยชา กล่าวคือ เป็นผู้ที่มักใช้เวลานานในการคิดและทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ประเภทอารมณ์อ่อนไหว เป็นผู้ที่ชอบเห็นเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ คิดมาก ไครพูดกระทบนิดกระทบหน่อยไม่ได้ และมักไม่พอใจเมื่องถูกสั่งให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ประเภทขี้ขลาด เป็นผู้ที่ไม่กล้าตัดสินใจลงมือกระทำงการในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะมีความกลัว มีความสงสัยตลอดเวลา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่กล้าซักถามเมือมีข้อสงสัย ประเภทก้าวร้าว คือ เป็นผู้ที่กล้าคิดกล้าทำ ชอบโต้เถียง ไม่มีความอดทน มักจะพูดจาด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่ไม่ไพเราะ มักแสดงกริริยาที่รุนแรงและไม่มีความเกรงใจผู้อื่น


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับพนักงานบริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google