งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบในร่างกาย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบในร่างกาย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบในร่างกาย

2 ในร่างกายถ้าเปรียบระบบอวัยวะกับการทำงานของระบบโรงงานสามารถเปรียบได้ดังนี้เช่น
ผิวหนัง, ขน, เล็บ   เปรียบเหมือน     กำแพง ด่านตรวจ     สมอง    เปรียบเหมือน    คอมพิวเตอร์  ตา     เปรียบเหมือน  กล้อง V.D.O. วงจรปิด    รปภ.       ลิ้น     เปรียบเหมือน     ผู้ตรวจสอบคุณภาพ      หัวใจ  เปรียบเหมือน      เครื่องปั้มน้ำ     ปอด     เปรียบเหมือน     แอร์ ( ก๊าช ) ไต  ตับ   เปรียบเหมือน       เครื่องกำจัดของเสีย ถังขยะ กระเพาะอาหาร,ลำไส้      เปรียบเหมือน ห้องครัว ในร่างกายจะประกอบด้วยหน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดคือ เซลล์ (cell) เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ สเปิร์ม (sperm) และใหญ่ที่สุดคือไข่ (egg)   cell หลาย ๆ cell รวมกันกลายเป็น เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อ หลาย ๆ เนื้อเยื่อ รวมกันกลายเป็น        ระบบ (system) ระบบหลาย ๆ ระบบ          รวมกันกลายเป็น        ส่วนประกอบของร่างกาย ส่วนประกอบของร่างกาย รวมกันกลายเป็น        ร่างกาย (body)

3  เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย
1.    เซลล์ร่างกาย (body cell) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางพบตามร่างกาย 2.    เซลล์เยื่อบุ (epidermis)   ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสตรงกลางนูนเหมือนไข่ดาว พบตามเยื่อบุที่ มีผนังบางมีเมือก (mucus) หล่อเลี้ยง เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ดวงตา อวัยวะเพศภายใน 3.    เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มี 3 ชนิด ก.   เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบตาม แขน ขา     ข.   เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น  ทางเดินอาหาร        ค.   เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) พบที่หัวใจ

4 4.    เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell ; RBC)
5.    เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell ; WBC) 6.    เซลล์ประสาท 7.    เซลล์กระดูก 8.    เซลล์สมอง 9.    เซลล์สืบพันธุ์ ระบบต่างๆในร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีระบบ ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น  พิการ เป็นโรค ฯลฯ ระบบต่างๆในร่างกายที่จะได้ศึกษา ได้แก่   

5 1. ระบบย่อยอาหาร (Digestion)
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงาน สร้างความเจริญ ขั้นตอนต่างๆ ที่จะเปลี่ยนจากอาหารให้เป็นสารอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดบริเวณผนังของลำไส้เล็ก การย่อยอาหารประกอบด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้อง น้ำย่อย และ ตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถแบ่งการย่อยได้

6 1.1 การย่อยเชิงกล เป็นขบวนการทำให้อาหารฉีกขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยฟันจะทำหน้าที่บดและฉีกอาหาร ฟันแท้ของมนุษย์มี 4 ชนิด 1. ฟันหน้าหรือฟันตัด มีจำนวน 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ทำหน้าที่กัด หรือฉีกอาหาร 2. ฟันเขี้ยว มีจำนวน 4 ซี่ ข้างบน 2 ซี่ ข้างล่าง 2 ซี่ ทำหน้าที่ฉีกอาหาร 3. ฟันกรามน้อย มีจำนวน 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ทำหน้าที่บดอาหารให้แหลก 4. ฟันกรามใหญ่ มีจำนวน 12 ซี่ ข้างบน 6 ซี่ ข้างล่าง 6 ซี่ ทำหน้าที่ บดอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน และฟันจะขึ้นครบ 32 ซี่ เมื่ออายุ 25 ปีบริบูรณ์

7 1.1 การย่อยทางเคมี จะเริ่มมีการย่อยตั้งแต่ในปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เป็นการสิ้นสุดการย่อย การย่อยทางเคมี มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ชนิด ดังนี้

8 1. ปากและฟัน (mouth and teeth) เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลิ้น ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และคลุกเคล้าอาหารให้อ่อนตัว ง่ายต่อการบดเคี้ยวของฟัน ต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ขับน้ำลายออกมาคลุกเคล้า กับอาหาร ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งสามารถย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อเราอมข้าวเปล่าไว้นาน ๆ จึงรู้สึกหวานนิด ๆ 2. คอหอย (pharynx) เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนี้เป็น จุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเหลือง 3 คู่อยู่รอบ ๆ คอหอย มีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เรียกว่า “ต่อม ทอนซิล” (tonsil)

9 3. หลอดอาหาร (oesophagus) อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม (trachea) ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อ เรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส (peristalsis) ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ ได้สะดวก 4. กระเพาะอาหาร (stomach) อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ***หมายเหตุ กระเพาะอาหารมีปริมาณ 50 cc แต่เมื่อได้รับอาหารจะยาวถึง 2000 cc หรือ 2 ลิตร ทำหน้าที่พักอาหารบริเวณเยื่อบุภายในจะมีต่อมผลิตน้ำย่อย (Grastric gland) ทำหน้าที่ ผลิตน้ำย่อยและกรดเกลือ (HCl) ซึ่งทำให้อาหารโปรตีนมีอนุภาคเล็กลง

10 5. ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ยาวประมาณ 10 m แบ่งออกเป็น 3 ตอน
6. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก 7. ทวารหนัก เป็นกล้ามเนื้อหูรูด ทำหน้าที่ควบคุมการขับของเสียออกจากร่างกาย หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ 1. สะสมกากอาหาร 2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส 3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม 1. ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมี 2 ซีก ซ้าย-ขวา มีสีน้ำตาลเนื้อแน่น มีถุงน้ำดีอยู่ด้วย

11 2. ตับอ่อน (Pancreas) มีลักษณะคล้ายใบไม้ยาวประมาณ 20-25 ซม
ก. น้ำย่อย ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต มีคุณสมบัติเป็นเบส (ด่าง) เพื่อปรับสภาพอาหารที่มาจากกระเพาะ อาหารซึ่งมีสภาพเป็นกรด ให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นเบสอ่อน ๆ เพื่อจะไม่ทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็ก (Villi) * น้ำย่อย (enzyme) ประกอบด้วย ไทยาลิน ในน้ำลาย เปปซินในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยอื่น ๆ ที่ ดูโอดินัม และตับอ่อน * ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalize) ประกอบด้วย น้ำ น้ำดีจากตับ กรดเกลือจากกระเพาะ

12 วิธีที่จะไม่ทำให้กระเพาะอาหารถูกทำลาย
- กินอาหารให้ตรงเวลา - ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด - ไม่กินยาแก้ปวดขณะท้องว่าง - ไม่ดื่มอาหารที่มีแอลกอฮอล์ - ลดความเครียด (Stress) - พักผ่อนให้เพียงพอ - ไม่รับประทานอาหารที่หยาบหรือแข็ง

13

14

15 2. ระบบสืบพันธุ์

16 การเจริญเติบโตของหญิงและชายช่วงอายุ ปี เพศหญิงจะมีอัตราการเจริญ เติบโตมากกว่าชาย หลังจากนั้นเพศชายจะเจริญเติบโตมากกว่าเพศหญิง และจะหยุดการเจริญประมาณ 20 ปี สำหรับเพศหญิง และ 25 ปีสำหรับเพศชาย อัตราการเจริญเติบโต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ก. การแสดงออกจากพันธุกรรม (ยีโนไทพ์ ; Genotype) เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ มาจาก ยีน (Gene) นั่นเอง ได้แก่ สีผิว ผม ดวงตา ฯลฯ * ยีน (Gene) คือ หน่วยที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ที่อยู่บนโครโมโซม ข. การแสดงออกจากสิ่งแวดล้อม (ฟีโนไทพ์ ; Phenotype) เป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่ง แวดล้อม (Enviroment) ได้แก่ อาหาร โรค จิตใจ การเลี้ยงดู ความรู้ ฯลฯ เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน (Hormone) มากระตุ้นต่อมเพศให้ผลิต ฮอร์โมนเพศ แล้วทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ต่อมเพศของเพศชายจะอยู่ที่ อัณฑะ (Testis) ส่วนต่อมเพศของเพศหญิงจะอยู่ที่ รังไข่ (Ovary)

17 ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย ก. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่
ก. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ 1. ถุงอัณฑะ (Scrotum) ห่อหุ้มลูกอัณฑะให้อุณหภูมิต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส องคชาติ (Penis) ข. อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ประกอบด้วย 1. อัณฑะ (Testis) ตอนเด็กจะอยู่ในช่องท้อง พอโตขึ้นจะเลื่อนลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ ทำ หน้าที่ผลิต สเปิร์ม (Sperm) และฮอร์โมนเพศชาย 2. หลอดนำสเปิร์ม (Sperm) ทำหน้าที่ลำเลียงสเปิร์ม ไปเก็บที่ต่อมเก็บ คือต่อมเคาว์เปอร์ 3. ต่อมเคาว์เปอร์ (Cowper gland) ทำหน้าที่สร้าง อาหารให้กับสเปิร์ม ประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตสและปรับ สภาพให้เป็นเบสอ่อน ๆ 4. ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) ทำหน้าที่สร้างสารให้มีปริมาณมากขึ้น และเก็บน้ำเชื้อ

18 ระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย อสุจิ
ระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย อสุจิ

19 ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ 2 ส่วน ก. อวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอก ประกอบด้วย 1. แคมนอก (Major cam) มี 2 ข้าง ทำหน้าที่ปกปิดไม่สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ภายใน 2. แคมใน (Minor cam) มี 2 ข้าง เป็นเนื้อเยื่อบางติดกับแคมนอก 3. คลิตอรีส (Clitoris) ทำหน้าที่รับความรู้สึกทางเพศ 4. เยื่อพรหมจารี (Hymen)เป็นเยื่อบาง ๆ ปิดปากช่องคลอด 5. ท่อปัสสาวะ อยู่ตรงกลางระหว่าง Clitoris กับ ช่องคลอด ข. อวัยวะสืบพันธุ์ ภายใน ประกอบด้วย 1. รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่ และฮอร์โมนเพศ อยู่ลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกราน มีเนื้อเยื่อยึด มีขนาดเท่าหัวแม่มือ หนัก 2- 3 กรัม 2. ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก (Oviduct) เป็นท่อเชื่อมระหว่างมดลูกกับรังไข่ ภายในมีขนเล็ก ๆ มากมาย เรียกว่า ซีเลีย (Celia) ท่อนำไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 cm ยาวประมาณ 6-7 cm เป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิ

20 3. มดลูก (Uterus) มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ กว้างประมาณ 4 ซ.ม.ยาว 6-8 ซ.ม.หนาประมาณ 2 ซ.ม.ส่วนล่างแคบเข้าหากันเรียกว่า “ ปากมดลูก” ต่อกับส่วนของช่องคลอดมดลูกประกอบด้วยเนื้อเยื่อ หลายชั้นคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่ในการสร้างรก รองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว (Zygote) เป็นที่ แลกเปลี่ยนก๊าซและส่งอาหารให้กับตัวอ่อน (Embryo) 4. ช่องคลอด (Vagina) เป็นทางผ่านของสเปิร์มเข้าสู่มดลูก ลึกประมาณ นิ้ว

21 ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง รังไข่
ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง รังไข่

22 3. ระบบหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลือง

23 ระบบหมุนเวียนของเลือด
ตัวจักรสำคัญของระบบนี้คือ หัวใจ เส้นเลือดและเลือด หัวใจของคนเราประกอบด้วย กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วย หลอดเลือดซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้ว ต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วย อาหารและออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ

24 โครงสร้างของหัวใจ หัวใจของเราประกอบด้วย 4 ห้อง ห้องข้างบนเรียก atrium มีทั้งซ้ายและขวา ส่วนห้องข้างล่างเรียก ventricle ซึ่งก็มีทั้งซ้ายและขวา ระหว่างหัวใจห้องข้างบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่ Tricuspid valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และล่างขวา Pulmonary or pulmonic valveกั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวากับหลอดเลือดดำ Bicuspid valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย Aortic semilunar valve กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือด aorta

25 ลิ้นพัลโมนารี

26 การทำงานของหัวใจ หัวใจจะรับเลือดดำเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา Right atrium ไหลผ่านลงหัวใจห้องล่างขวา Right ventricle ซึ่งจะฉีดเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด เลือดที่ฟอกแล้วจะไหลกลับเข้าหัวใจที่ห้องซ้ายบน Left Atrium แล้วไหลลง Left ventricle ซึ่งจะสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดง ลิ้นหัวใจ (Valve) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำหน้าที่ ปิด-เปิด ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ มี ลักษณะคล้ายถุง นายวิลเลียม ฮาร์วีย์ ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าเลือดไหลไปทางเดียว และมีลิ้นควบคุมอยู่ 2 กลุ่ม 4 ลิ้น ชีพจร (Pulse) คือ การหดและคลายตัวของหลอดเลือดในจังหวะเดียวกับการหดและคลายตัวของ หัวใจ อัตราชีพจร (Pulse rate) เป็นค่าที่บอกอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการจับที่หลอดเลือดแดงที่อยู่ ตื้น ๆ เช่น ข้อมือ ซอกคอ ขาหนีบ เพศชายประมาณ 70 ครั้ง/นาที หญิงประมาณ 75 ครั้ง/นาที

27

28 เลือด เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารไปทั่วร่างกายประกอบด้วย
1. น้ำเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมนและก๊าซไปยังเซลล์ของร่างกาย 2. เม็ดเลือดแดง จะประกอบด้วยฮีโมโกบินซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบเมื่อรวมกับออกซิเจนจะเป็นสีแดง แต่เมื่อรวมกับคาร์บอนไดออกไซด์ จะเป็นสีแดงเข้ม เรียกว่าเลือดดำ เม็ดเลือดมีอายุประมาณ 120 วัน สร้างมาจากไขกระดูก 3. เม็ดเลือดขาว มีอายุประมาณ 2-14 วัน สร้างมาจากไขกระดูก ตับและม้ามทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรค ถ้าเซลล์เม็ดเลือดขาวตายจะกลายเป็นหนอง 4. เกล็ดเลือด มีลักษณะเป็นชิ้น อายุ 3-4 วัน จะทำให้เลือดหยุดไหล

29 หน้าที่ของเลือด 1. ลำเลียง O2 และ CO2 2. ลำเลียงสารอาหารที่ลำไส้เล็ก ไปสู่ เซลล์ 3. ลำเลียงของเสียออกจากเซลล์ ไปสู่ อวัยวะขับถ่าย 4. ลำเลียงภูมิคุ้มกัน 5. รักษาอุณหภูมิของร่างกาย

30 ระบบน้ำเหลือง

31 ระบบน้ำเหลือง ( Lymphatic system ) ประกอบด้วย
- น้ำเหลือง ( Lymph ) เป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอยออกมาหล่อเลี้ยงอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย กลูโคส อัลบูมิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ก๊าซ เซลล์เม็ดเลือดขาว ( แต่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงและเพลตเลต ) - ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) มีหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองทั่วร่างกายเข้าสู่เส้นเวนใหญ่ใกล้หัวใจ(Subclavian vein) ปนกับเลือดที่มีออกซิเจนน้อย ท่อน้ำเหลืองมีลิ้นกั้นคล้ายเส้นเวนและมีอัตราการไหลช้ามากประมาณ 1.5 มิลลิเมตรต่อนาที - อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ ) 1) ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) - พบทั่วร่างกาย ภายในมีลิมโฟไซต์อยู่เป็นกระจุก - ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ มี 5 ต่อม เรียกว่า ทอนซิล (Tonsil) มีหน้าที่ ป้องกันจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและกล่อง เสียงจนอาจเกิดอักเสบขึ้นมาได้

32 2) ม้าม ( Spleen ). - เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
2) ม้าม ( Spleen ) - เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด - มีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด ( เฉพาะในระยะเอมบริโอ ) ป้องกันสิ่ง แปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด สร้างแอนติบอดี ทำลายเซลล์ เม็ดเลือดแดงและเพลตเลตที่หมดอายุ 3) ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) - เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นต่อมไร้ท่อ - สร้างลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที เพื่อต่อต้านเชื้อโรคและอวัยวะปลูก ถ่ายจากผู้อื่น ข้อควรจำ การไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น

33 4. ระบบหายใจ

34 ระบบหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ 1. จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่น ละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป 2. หลอดคอ (Pharynx)      เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 นิ้ว หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง

35 3. หลอดเสียง (Larynx) เป็นหลอดยาวประมาณ 4. 5 cm ในผู้ชาย และ 3
3. หลอดเสียง (Larynx)      เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย 4. หลอดลม (Trachea)      เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม

36           5. ปอด (Lung)       เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ มีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม      ระหว่างปอด 2 ข้าง มีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน      หน้าที่ของปอด คือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ 6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)      เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก

37

38

39 5. ระบบขับถ่ายของเสีย

40 หน้าที่ในระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายของเสีย ระบบขับถ่ายมีอวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ขับถ่ายหรือกำจัดของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกาย คือ ปัสสาวะและเหงื่อขับออกโดย ไตและต่อมเหงื่อ อุจจาระขับออกโดยลำไส้ใหญ่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขับออกโดยปอด อวัยวะ หน้าที่ในระบบขับถ่าย ปอด ขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ผิวหนัง ขับน้ำและเกลือ ออกในรูปของ เหงื่อ ไต ขับปัสสาวะ ลำไส้ ขับกากที่เป็นของแข็งจากอาหารออกทางทวารหนัก

41 ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ถ้าผ่าไตตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นใน มีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) นับล้านหน่วยเป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งต้น เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “ โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman scapsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วยภายในแอ่งจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า “ โกลเมอรูลัส (glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต

42

43 ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบหลักของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขจัดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ  ปอดและผิวหนังรวมอยู่ในกระบวนการนี้ด้วย   ซึ่งทำหน้าขจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และเหงื่อตามลำดับ อวัยวะที่ทำหน้าที่ขับถ่ายปัสสาวะประกอบด้วย ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ทำหน้าที่ดูดซึม สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับคืนสู่กระแสเลือด และขับถ่ายของเสียออกจากเลือด คือ น้ำปัสสาวะให้ไหลไปตามหลอดไต เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีปริมาณมากก็จะถูกขับออกจาก ร่างกายทางท่อปัสสาวะ

44 การบำรุงและดูแลรักษาไต ควรปฏิบัติดังนี้
1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด 3. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ 4. หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

45

46 ระบบการขับถ่ายเหงื่อ
อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ขับเหงื่อออกจากร่างกาย คือ ต่อมเหงื่อ ซึ่งอยู่ใต้ ผิวหนัง ทำหน้าที่กลั่นกรองเอาเกลือแร่และน้ำที่เป็นของเสียที่ปนอยู่ในกระแสเลือด และขับ ออกในรูปของเหงื่อไปตามท่อของต่อมเหงื่อ ออกทางรูเหงื่อที่ผิวหนัง การขับถ่ายดังกล่าวยัง เป็นการระบายความร้อนออกนอกร่างกายด้วย ฉะนั้นเราจึงควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพสมบูรณ์ดี

47

48 ระบบขับถ่ายของสัตว์              การขับถ่ายของเสีย ในรูปของเหลว  ออกจากร่างกายเพื่อให้สิงมีชีวิตอยู่ได้ เป็นการกำจัดสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและเป็นการรักษาระดับสมดุลของของเหลวในร่างกาย                  1. Contractile   vacuoles:  คอนแทรกไทล์แวคิวโอล มี ลักษณะเป็นถุงบางๆใช้ในการขับนํ้าออกจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในนํ้าจืดโดยที่นํ้ามากเกิน  ปกติจะเข้าไปในแวคิวโอลตามช่องเล็กๆ  จำนวนมากที่อยู่รอบๆแวคิวโอล  เมื่อแวคิวโอลขยายเต็มที่จะเกิดหดตัวและมีแรงดันให้นํ้าพุ่งออกไปนอกเยื้อหุ้มเซลล์                  2.Nephrida or  nephridium: เนฟริเดีย  เป็นท่อขับถ่ายในหนอนใส้เดือน ตัวอ่อนของแมลงต่างๆ  และสัตว์จำพวกมอลลัสก์  หลายชนิด เช่น  ทาก หนอน ที่มีการพัฒนาการสูงขึ้นจะเก็บสะสมของเสียไว้ในช่องลำตัว  หนอนที่มีการพัฒนาน้อยและตัวอ่อน   ของพวกมอลลัสก์   จะมีส่วนที่เรียกว่า  โปรโทเนฟริเดียม ของเสียในรูปของเหลวจะไหลเข้าไปในท่อกลวงของเฟลมเซลล์ซึ้งมีขนเส้นเล็กๆ คล้ายซีเลียของเสียในเนฟริเดียมและโปรโทเนฟริเดียม   จะไหลออกทางช่องเล็กๆ หรือรูขับถ่ายที่เรียกว่า  เนฟริดิโอพอร์                3.Malpinghian  tubules: ท่อมัลพิเกียน  เป็นท่อยาวพบในสัตว์ ไฟลัมอาร์โทร โพดาหลายชนิด    เช่น  แมลงท่อมัลพิเกียนจะดูดเก็บของเสียที่อยู่ในรูปสารละลายจากช่องเลือดกลางลำตัวและจะขับต่อไปยังทางเดินอาหาร

49

50 6. ระบบโครงกระดูก ระบบโครงกระดูก เป็นระบบที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องค้ำจุนร่างกายให้คงรูปอยู่ได้ และช่วยในการเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ ส่วนประกอบของระบบโครงกระดูก กระดูก กระดูกอ่อน เอ็นลิกาเมนต์ เอ็นเท็นดอน โครงกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงหลักสำหรับให้กล้ามเนื้อและเอ็นมายึดเพื่อให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ และป้องกันอันตรายให้แก่วัยวะบางส่วนของร่างกายนอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของเนื้อสร้างเม็ดเลือดด้วย

51 โครงกระดูกของคนมี 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตำแหน่ง
ที่อยู่ ได้แก่ โครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่ กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น

52 2. โครงกระดูกรยางค์ โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 4 ชิ้น กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น

53

54 7. ระบบกล้ามเนื้อ ในร่างกายมนุษย์ มีกล้ามเนื้อมากกว่า 500 มัด น้ำหนักรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของร่างกายแบ่งออก เป็น 3 กลุ่ม ก. เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบ ตาม แขน ขา ติดกับกระดูก ทำงานหนัก อยู่ใต้อำนาจ จิตใจ ข. เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร ลำไส้ มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ค. เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) ทำงานอยู่ นอกอำนาจจิตใจ

55

56 1. กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles

57 2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles)

58 3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles)

59 ความสำคัญของกล้ามเนื้อ (The Muscle)
การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ของร่างกายสัตว์และส่วนต่างๆ ของร่างกายมีต้นเหตุมา จากการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยการหดตัว (contraction) จะมีข้อยกเว้นบ้างบางอย่าง เช่น การเคลื่อนไหวนั้นอาจเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) หรือ แรงภายนอก ร่างกายได้ นอกจากนี้กล้ามเนื้อยังทำหน้าที่ช่วยป้องกันการเคลื่อนไหวของข้อต่อ (ช่วย ให้ข้อต่อมีความแข็งแรงทนทาน), ทำให้กระเพาะปัสสาวะคงรูปอยู่ได้, ทำให้ร่างกาย เกิดความร้อนด้วยการสั่นเนื่องจากภาวะอากาศเย็น

60 8. ระบบภูมิคุ้มกัน

61 ระบบภูมิคุ้มกัน เชื้อโรคทุกชนิดจะมีสารเคมีที่ผิวเซลล์ เรียกว่า “แอนติเจน” (antigen) เมื่อร่างกายเราได้รับเชื้อ โรค ร่างกายเราก็จะสร้างสารเคมีต่อต้าน เรียกว่า “แอนติบอดี” (antibody)อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งจะ จับกับแอนติเจนที่ผิวของเชื้อโรค เฉพาะตัวกันเท่านั้น 1. เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ ในต่อมน้ำเหลือง สามารถสร้างสาร แอนติทอกซิน เพื่อทำลายสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นได้ด้วย 2. เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ สามารถ ทำลายเชื้อโรคได้ด้วย เรียกว่า “ฟาโกไซโตซีส” เมื่อมีข้าศึกคือเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมบุกรุกร่างกาย หน่วย รบแนวหน้าฟาโกไซต์จะตรงไปโอบล้อม และกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่ หลุดรอดเข้ามาในร่างกาย เราเรียกกระบวน การเช่นนี้ว่า ฟาโกไซโตซิส (Phagocytosis) ซึ่งในที่สุดแล้ว เชื้อโรคที่หลุดเข้าไปถูก ย่อยทำลาย และขับออกนอกเซลล์

62 แต่หากผู้บุกรุกมีจำนวนมากหรือร้ายกาจจนหน่วยรบแนวหน้าสู้ไม่ไหว ร่างกายจำเป็นต้องพึ่ง ทหารหน่วยรบแนวหลังอีกกลุ่มร่วมด้วย คือ ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ทีเซลล์ (T-lymphocyte หรือ Killer cell) ซึ่งเป็นเซลล์นักฆ่า ที่ออกตามล่าศัตรูที่ยังเหลือ บีเซลล์ (B-Lymphocyte) จะช่วยทีเซลล์ เมื่อทีเซลล์รับมือกับเชื้อโรคไม่ได้ บีเซลล์จะทำหน้าที่เฉพาะกิจที่สามารถกวาดล้างเชื้อโรค โดยการสร้างสารภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคหรือแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อทำลายผู้รุกรานให้หมดไปจากร่างกาย นอกจากนี้ยังสามารถสามารถจดจำเชื้อโรคที่เคยบุกรุกเข้ามาในร่างกายได้อย่างแม่นยำ

63 ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ 1) ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( Innate immunity ) เป็นการป้องกันและกำจัดแอนติเจนที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย ก่อนที่ร่างกายจะได้รับแอนติเจน มีหลายรูปแบบ เช่น - เหงื่อ มีกรดแลกติกป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง - หลอดลม โพรงจมูก มีขน ซิเลีย และน้ำเมือกดักจับสิ่งแปลกปลอม - กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กมีเอนไซม์ - น้ำลาย น้ำตา น้ำมูก มีไลโซไซม์ ทำลายจุลินทรีย์ได้ 2) ภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( Acquird immunity ) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคยได้รับแอนติเจนแล้ว

64 การสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อต้าน เฉพาะโรคของมนุษย์มี 2 วิธี
ภูมิคุ้มกันก่อเอง ( Active immunization ) - เกิดจากการนำเชื้อโรคที่อ่อนกำลัง ซึ่งเรียกว่า วัคซีน (vaccine) มาฉีด กิน ทา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านเชื้อนั้นๆ - วัคซีนที่เป็นสารพิษและหมดความเป็นพิษแล้ว เรียกว่า ทอกซอยด์ (toxoid) สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก - วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว เช่น โรคไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค - วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น วัณโรค หัด โปลิโอ คางทูม หัดเยอรมัน - ภูมิคุ้มกันก่อเอง อยู่ได้นาน แต่การตอบสนองค่อนข้างช้า ประมาณ 4 - 7 วัน

65 2) ภูมิคุ้มกันรับมา ( Passive immunization ) - เป็นการนำซีรัมที่มีแอนติบอดีอยู่มาฉีดให้ผู้ป่วย ทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันโดยตรงต่อต้านโรคได้ทันที - ใช้รักษาโรครุนแรงเฉียบพลัน เช่น คอตีบ พิษงู - ซีรัม ผลิตจากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกำลังเข้าในสัตว์ แล้วนำซีรัมของสัตว์ที่มีแอนติบอดีรักษาโรคในมนุษย์ - ภูมิคุ้มกันที่แม่ให้ลูกผ่านทางรกและน้ำนมหลังคลอด - ภูมิคุ้มกันรับมารักษาโรคได้ทันที แต่อยู่ได้ไม่นานและผู้ป่วยอาจแพ้ซีรัมสัตว์ก็ได้

66 ข้อควรจำ * ทอกซอยด์ ( TOXOID ) ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก * วัคซีน เป็นเชื้อโรคที่กำลังอ่อนกำลังหรือตายแล้ว แต่ยังมีแอนติเจน ที่สามารถไปกระตุ้นให้ร่างกาย สร้าง แอนติบอดี เพื่อทำลายเชื้อโรคก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นเราจึงต้องได้รับวัคซีนให้ ครบทุกชนิด * เซรุ่ม เป็นสาร แอนติทอกซิน ที่สร้างมาจากที่อื่น เพื่อให้ทำลายได้เร็วก่อนที่พิษจะเข้าสู่จุดดับของชีวิต

67 9. ระบบต่อมไร้ท่อ

68 ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน (hormone) คือสารเคมีที่สร้างจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ แล้วถูกลำเลียงไปตามระบบหมุน เวียนของโลหิต เพื่อทำหน้าที่ ควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมลักษณะทางเพศ และควบคุม การทำงาน ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย 1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง 1.1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ดังนี้ - ฮอร์โมนโกรท (Growth hormone) ควบคุมการเจริญเติบโต ของร่างกาย โรคที่เกิดจากมีฮอร์โมน โกรทในร่างกายมากเกินไป จะเป็นโรคอะโครเมกาลี (acromegaly) คือจมูก ปาก มือ เท้าใหญ่ - ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Conadotrophin hormone) ประ กอบด้วยฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิล F.S.H. ฮอร์โมนลูทิไนซ์ ในเพศหญิง - ฮอร์โมน F.S.H. กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลแบ่งเซล และการหลั่ง ของ L.H. ทำให้เกิดการตกไข่ ในเพศชาย

69 - ฮอร์โมนโพรแลกติน (prolactin) มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้สร้างน้ำนม
- ฮอร์โมนโพรแลกติน (prolactin) มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้สร้างน้ำนม - ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin hormone) หรือ A.C.T.H ทำหน้าที่กระตุ้น อะดรีนัล คอร์เทกซ์ ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ - ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone) หรือ TSH ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ ให้หลั่งฮอร์โมนตาม ปกติ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะควบคุมโดยฮอร์โมน ประสาทที่สร้างมา จากไฮโพทาลามัส

70 1.2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ดังนี้
- ฮอร์โมนเมลาโนไซต์ (Melanocyte stimulating hormone) หรือ MSH ทำหน้าที่ทำให้รงควัตถุ ภายในเซล ผิวหนังกระจายไปทั่วเซลล์ 1.3. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เซลนิวโรซีครีทอรี (neurosecretory cell) สร้างฮอร์โมน ได้แก่ - วาโซเพรสซิน (Vasopressin) หรือฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ADH มีหน้าที่ดูดน้ำกลับของ หลอดไต และกระตุ้นให้หลอด เลือดบีบตัว ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะเกิดการเบาจืดทำให้ปัสสาวะบ่อย

71 - ออกซีโทซิน (Oxytocin) ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน กระตุ้นกล้ามเนื้อ รอบต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนม ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมามากตอนคลอด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูก บีบตัวขณะคลอด ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ได้แก่ 1. อินซูลิน สร้างจากเซลเบตา มีหน้าที่รักษาระดับ น้ำตาลในเลือดให้ปกติ 2. กลูคากอน (glucagon) สร้างมาจากแอลฟาเซล มี หน้าที่กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจน จากตับให้เป็นน้ำตาล กลูโคสมากขึ้น

72 2. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
- ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid hormone) ทำหน้าที่ควบคุมเมตาโบลิซึมของ คาร์โบไฮเดรต กระตุ้นการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจนเป็นกลูโคส และยังควบคุมสมดุล ของเกลือแร่ - ฮอร์โมนมิเนราโลคอทิคอยด์ (mineralocorticoid) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ใน ร่างกาย เช่น อัลโดสเตอโรน (aldosterone) ทำหน้าที่ดูดโซเดียมกลับท่อหน่วยไต อะดรีนัล เมดุลลา ผลิตฮอร์โมนดังนี้ - อะดรีนาลิน (adrenalin) ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และกระตุ้นการเต้นของหัวใจ - นอร์อะดรีนาลิน (noradrenalin) หลั่งจากเส้นประสาทซิมพาเทติก ทำให้ความดันเลือดสูง

73 3. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
- ไทรอกซิน (thyroxin) ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย ถ้าต่อม ไทรอยด์ไม่สามารถสร้างไทรอกซินจะทำให้ เกิดโรคคอพอก , มิกซีดีมา แต่ถ้าสร้าง ฮอร์โมนมาก เกินไป ทำให้เกิดโรคคอพอกเป็นพิษ - แคลซิโทนนิน (Calcitonin) ทำหน้าที่ลดระดับแคลเซียมใน เลือด - พาราฮอร์โมน (parathormone) ทำหน้าที่รักษาสมดุลและฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่

74 4. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ เพศชาย : ฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgens) ประกอบ ไปด้วยเทสโทสเตอโรน (testosteron) มีหน้าที่ควบคุม ลักษณะเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของเพศชายในช่วงวัยรุ่น เพศหญิง : 1. เอสโทรเจน (estrogens) สร้างจากเซลล์ ฟอลลิเคิลในรังไข่ ฮอร์โมนนี้จะต่ำในขณะมีประจำเดือน ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน(progesterone) สร้างจาก คอร์ปัสลูเทียม ควบคุมลักษณะเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น 5. ฮอร์โมนจากต่อมไพนีล ต่อมไพนีลอยู่บริเวณกึ่งกลางของ สมองส่วนเซรีบรัมพู ซ้ายและพูขวา ต่อมนี้ไม่ได้ทหน้าที่สร้างฮอร์โมน ต่อมนี้จะ สร้างเมลาโทนิน (melatonin) ในคนและสัตว์ ชั้นสูงในช่วง วัยรุ่นและยับยั้งการเจริญเติบของอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าขาดจะ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ

75 10. ระบบประสาท

76 ระบบประสาท ระบบประสาทเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า โดยทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะสัมผัสกับอวัยวะมอเตอร์ ควบคุมการทำงาน ของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งเป็นศูนย์ของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา การเรียนรู้ ความจำ ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ระบบประสาทประกอบด้วย 1. สมอง (Brain) เป็นศูนย์ควบคุมทั้งหมดของร่างกาย มีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น แบ่งสมองออกเป็น 3 ส่วน 1.1 ซีรีบรัม(สมองส่วนหน้า) มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งการ 1.2 ซีรีเบลรัม(สมองส่วนหลัง) ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และสมดุล 1.3 ก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุม การหายใจ หัวใจ หลั่งน้ำย่อย หลั่งฮอร์โมน

77 2. ไขสันหลัง (Spinal cord) เป็นทางผ่านของกระแสประสาทต่อมาจากสมองบรรจุอยู่ภายในกระดูกสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานแบบ รีเฟลกซ์แอกชั่น คือ การตอบสนองแบบไม่ตั้งใจโดยไม่ผ่านสมอง เช่น การดีดเท้าเมื่อเคาะหัวเข่า การกระดกเท้าเมื่อเหยียบหนาม 3. เส้นประสาท (Nerve) เส้นประสาทแต่ละเส้นจะมีเซลส์ประสาท (Neuron) หลาย ๆ เซลส์เรียงต่อกัน เซลส์ประสาทกระจายไป เลี้ยงทั้งร่างกาย มีประมาณ 12,000 ล้านเซลส์ ในไขสันหลังและสมองมีเซลส์ประสาทมากที่สุด

78 ระบบประสาทรอบนอก จะมีเส้นประสาทสมองอยู่ 12 คู่ เส้นประสาท
ไขสันหลังมี 31 คู่ แบ่งเป็น 4 บริเวณ 1. บริเวณคอ 8 คู่ 2. บริเวณอก 12 คู่ 3. บริเวณเอว 5 คู่ 4. บริเวณกระเบนเหน็บ 1 คู่ ระบบประสาทซิมพาเทติก อยู่เหนือกระดูกกระเบนเหน็บขึ้นไป ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานให้เป็นปัจจุบันทันด่วนเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว เช่น ขนลุก ม่านตาขยาย หัวใจ ระบบประสาทซิมพาเทติก อยู่เหนือระบบประสาทซิมพาเทติก แต่จะทำงานคู่กันตลอดเวลาแต่จะทำงานตรงข้ามกัน เช่น ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตลดลง

79 11. ระบบผิวหนัง ระบบผิวหนังเป็นระบบที่สำคัญมาก เพราะเป็นระบบที่ปกคลุมร่างกายและเป็นระบบที่ ใหญ่ที่สุด หน้าที่ของระบบผิวหนัง        1. ป้องกันอันตรายจากแสงแดด สารเคมี ฯลฯ        2. รับความรู้สึก มีประสาทสัมผัส        3. ควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นแหล่งสะสมพลังงานและสร้างวิตามินดี        4. ควบคุมความร้อนของร่างกายโดยการทำงานของต่อมไร้ท่อ

80 ผิวหนังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1
ผิวหนังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ        1. ผิวหนัง ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มี 2 ชั้นได้แก่              1.1 หนังกำพร้า (Epidermis) คือผิวหนังที่อยู่ชั้นนอกสุด จะตายร่วงหลุดไป เซลล์ชั้นใต้จะสร้างขึ้นมาแทนที่ ผิวหนังจะมี melanocytes เป็น cell รูปดาว ทำให้อวัยวะที่มีมากมีสีคล้ำทำให้เกิดสีผิวแตกต่างกัน แต่ถ้าไม่มี melanocytes จะทำให้เกิดเป็นคนเผือก จะมีผิวขาวสู้แสงไม่ได้              1.2 หนังแท้ (Dermis) อยู่ลึกกว่าหนังกำพร้า มีความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร รอยต่อของหนังกำพร้าและหนังแท้จะเป็นคลื่นที่ยื่นขึ้นและลง เป็นสันนูน เรียกว่า ลายมือ (Finger print) แต่ละคนจะแตกต่างกัน บริเวณหนังแท้จะมีต่อมน้ำมัน ต่อมเหงื่อ ต่อมขน เส้นเลือด ท่อ          น้ำเหลือง และประสาทรับความรู้สึก         2. อวัยวะต่างๆ ที่เกิดมาจากผิวหนังอวัยวะต่างๆ ที่เกิดมาจากผิวหนังได้แก่ ขน ต่อมน้ำมัน ต่อมเหงื่อ และเล็บ (nail)

81 ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ ประกอบกันเป็นร่างกาย การทำงานของอวัยวะจะทำงาน สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เช่น ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอวัยวะหลายอวัยวะ ซึ่งอวัยวะบาง อวัยวะ ไม่มีสารย่อยแต่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย อวัยวะที่ เกี่ยวข้องคือ หัวใจ เส้นเลือด การหดและการขยายตัวของเส้นเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ เรียกว่า ชีพจร ระบบหายใจ การหายใจของมนุษย์มีผลต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สในถุงลมปอด ซึ่งประกอบด้วย อวัยวะต่างๆ คือ จมูก ปอด ถุงลม กล้ามเนื้อ กะบังลม และซี่โครง ระบบขับถ่ายจะมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว คือ ไต และผิวหนังใน รูปของแก๊ส คือ ปอด ในรูปของของแข็ง คือ ลำไส้ใหญ่

82 ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก จึงต้องการแก๊สออกซิเจน และสารอาหาร เพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารให้เกิดพลังงาน ระบบหายใจจึงต้อง ทำงานหนัก เราจึงหายใจถี่และเร็วเพื่อนำแก็สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และนำแก๊สคาร์บอนได ออกไซด์ออกไป การหมุนเวียนเลือดในร่างกายก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วหัวใจจะเต้นเร็วเพื่อสูบ ฉีดเลือดให้ทันต่อความต้องการของร่างกาย ของเสียในรูปของเหลวก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบขับถ่ายของร่างกายก็จะขับเหงื่อออกจำนวนมาก หลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกหิว และ กระหายน้ำ เราจึงต้องดื่มน้ำและกินอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารต้องทำงานต่อไป การทำงานของระบบต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง หากระบบใดระบบหนึ่ง บกพร่องไปร่างกายก็จะอ่อนแอส่งผลต่อสุขภาพได้

83 คำถามน่ารู้กับความสำคัญของระบบร่างกาย
1. ปริมาณของน้ำปัสสาวะที่ถูกขับออกมาในแต่ละวันจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดเป็นสำคัญ ก. น้ำหนักตัว ข. การใช้พลังงาน ค. ปริมาณน้ำที่เข้าสู่ร่างกาย ง. ประสิทธิภาพในการทำงานของไต. 2. จุดแลกเปลี่ยนอากาศดีและอากาศเสียคือข้อใด ก. จมูก ข. ถุงลม ค. ขั้วปอด ง. หลอดลม

84 3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่คนเราหายใจออกมาเกิดจากอะไร ก
3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่คนเราหายใจออกมาเกิดจากอะไร ก. การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ในร่างกาย ข. พลังงานที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อของคนเรา ค. ปฏิกิริยาในการเผาผลาญสารอาหารในเซลล์กล้ามเนื้อ ง. การแลกอากาศกันของก๊าซออกซิเจนกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 4. อากาศบริสุทธิ์ที่คนเราหายใจเข้าไปจะมีก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นอัตราส่วนตามข้อใด ก. ออกซิเจน : ไนโตรเจน = 1 : 4 ข. ออกซิเจน : ไนโตรเจน = 4 : 1 ค.ไนโตรเจน : ออกซิเจน = 1 : 5 ง. ไนโตรเจน : ออกซิเจน = 5 : 1

85 5. อวัยวะที่เปรียบเสมือนถังเก็บจ่ายน้ำไปยังอาคารบ้านเรือน
ก.ปอด ข.หัวใจ ค.เส้นเลือด ง.กล้ามเนื้อลาย 6. เม็ดเลือดประกอบไปด้วยสิ่งใด ก. เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดดำ เม็ดเลือดขาว ข. เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ค. เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว พลาสมา ง. เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด พลาสมา

86 7. อุณหภูมิในร่างกายคนปกติ คือเท่าใด
7. อุณหภูมิในร่างกายคนปกติ คือเท่าใด ก. 35 องศาเซลเซียส ข. 36 องศาเซลเซียส ค องศาเซลเซียส ง. 38 องศาเซลเซียส 8.ในร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ กี่เปอร์เซ็นต์ ก % ข. 75 % ค. 70 ง. 38 % 9.ผิวหนังประกอบด้วยกี่ส่วน ก. 1 ส่วน ข. 2 ส่วน ค. 3 ส่วน ง. 4 ส่วน เซลล์ชั้นในสุดที่เรียกว่า Stratum Germinativum มีหน้าที่อย่างไร ก. ผลิตสีผิว ข. ผลิตเหงื่อ ค. ผลิตเซลล์ชั้นนอก ง. ผลิตต่อมน้ำเหลือง

87 เฉลย 1. ค ข ค ก ข 6. ข ค ข ข ก


ดาวน์โหลด ppt ระบบในร่างกาย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google