งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุ และผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุ และผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โลกร้อน ปรากฏการณ์เรือนกระจก และ ชั้นโอโซนรั่ว (Earth warming, Green house effect, Ozone depletion)

2 ความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุ และผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

3 ความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง ปรากฏการณ์ที่แสงอาทิตย์ผ่านลง มาและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศ ระดับต่ำ จะตัดความร้อนเอาไว้ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือน กระจก เหมือนกับเรือนกระจกที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาว ภูมิอากาศ ของโลก จะถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ เมื่อแสงอาทิตย์ตก กระทบผิวโลก พลังงานบางส่วนจะสูญเสียไปในการทำให้พื้นผิวของโลก มีอุณหภูมิสูงขึ้น

4 โดยโลกจะสะท้อนและแผ่กระจายพลังงานบางส่วนที่เหลือกลับคืนสู่
บรรยากาศในรูปความร้อน แต่แก๊สเรือนกระจก (Green House Gas, GHGs) ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก จะช่วยกันกักเก็บพลังงานความ ร้อนเหล่านี้เอาไว้ด้วยการดูดซับ การสะท้อน หรือแผ่กระจายพลังงาน ความร้อนกลับสู่พื้นโลกอีกครั้ง ดังนั้นบรรยากาศในชั้นนี้จึงกระทำตัว เสมือนเป็นเรือนกระจก กล่าวคือยอมให้พลังงานในช่วงคลื่นสั้น เช่น รังสี ยูวีจากดวงอาทิตย์ ผ่านเข้ามาได้ แต่ไม่ยอมให้พลังงานในช่วงคลื่นยาว (รังสีอินฟราเรดหรือคลื่นความร้อน) ผ่านออกไป ปรากฏการณ์เรือน กระจกจึงทำให้เกิดการเก็บสะสมความร้อนอยู่ภายในชั้นบรรยากาศ ทำให้ โลกร้อนมากขึ้น โดยยิ่งมีแก๊สเรือนกระจกมากขึ้นเท่าไร ความร้อนก็จะ ถูกกักไว้ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น อันทำให้โลกยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น

5 สาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก
เกิดจากก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ เป็นก๊าซ ในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งใน สารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (dry ice) เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 3 ในอากาศ รองจากไนโตรเจน และออกซิเจน

6 คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การ
หายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ ก๊าซนี้เป็น วัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อใช้คาร์บอน และออกซิเจนในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต จากกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงนี้ พืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศ ทำ ให้สัตว์ได้ใช้ออกซิเจนนี้ในการหายใจ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ของ พืชนี้เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็น ก๊าซหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

7 มีเทน เป็น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน
สูตรเคมีคือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบ ส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการ หมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทน อาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจาก กระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน

8 CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัว
ออกเป็นโมเลกุลคลอรีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่ง โมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิด พิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสี อัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมาก ขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจาก บรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน พวกมันจึงทำ ให้โลกร้อนขึ้น

9 ผลกระทบจากปรากฏการณ์เรือนกระจก
ผลกระทบจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ และสังคมของมนุษย์ทั้งโลก ที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ สภาวะโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตลอดศตวรรษที่ผ่าน มา โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบถึง ความดันบรรยากาศด้วย และการเปลี่ยนแปลงในความดันบรรยากาศนี้เองที่มีอิทธิพลต่อ ภูมิอากาศโลก เพราะความดันอากาศจะควบคุมการไหลเวียนบรรยากาศ ดังนั้นจึงมี อิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของความชื้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบต่อ ปริมาณของฝนที่ตก, อุณหภูมิ, ลม, และพายุ

10 ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ เมื่อมีฝนตกหนักขึ้น จนเกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ดิน อันอุดมสมบูรณ์จะถูกพัดพาไปตามลำน้ำเกิดเป็นความขุ่น ของสายน้ำ ที่เมื่อตกตะกอนจะสร้างความตื้นเขินให้แก่แหล่ง น้ำ เมื่อสายน้ำขุ่นไหลออกสู่ชายฝั่งจะทำลายแนวปะการัง แหล่งอาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนั้นแล้วตะกอนดินที่ มีปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง ยังช่วยเร่งการเจริญเติบโตของ สาหร่ายตามชายฝั่ง เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง จะเกิดการเน่า เสีย ที่ลดปริมาณออกซิเจนในน้ำจนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

11 (3) ผลกระทบต่อแหล่งพลังงาน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อแหล่งพลังงาน เกิดขึ้นกับกิจกรรมขุด เจาะน้ำมันในมหาสมุทรที่อยู่ใต้อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดพายุหมุนที่รุนแรงย่อมเป็นอุปสรรคใน การขุดเจาะน้ำมันในทะเลและมหาสมุทร วาตภัยอาจกระหน่ำแท่น ขุดเจาะน้ำมันในทะเลจนอับปาง การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานลม ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบ จากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมากกว่าการผลิตพลังงาน รูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะระดับน้ำที่ลดลงอย่างมากของเขื่อนใน หน้าแล้ง ทำให้มีปริมาณน้ำไม่พอต่อการผลิตไฟฟ้า

12 (4) ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลและที่อยู่อาศัยของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าถ้าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลก เพิ่มขึ้นอีก 0.3OC จะทำให้กราเซียร์ (glacier) เกิดการละลาย จนระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอีก 100 เมตร การขยายตัว ของมหาสมุทรทำให้เมืองที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและที่ราบ ลุ่มปากแม่น้ำ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก จะถูกน้ำท่วม จนมนุษย์ต้องมีการย้ายถิ่นฐานใหม่ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพ ความเป็นอยู่และสภาพสังคม

13 (5) ผลกระทบต่อการเกษตรกรรม
ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเร่งการ เจริญเติบโตของพืช แต่ในบริเวณที่มีการจัดสรรน้ำในการ ชลประทานได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเกษตร กรรม อากาศที่ร้อนขึ้นจะเร่งการระเหยและการคายน้ำของ พืช ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวแห้งตาย ในขณะเดียวกัน อากาศยังเร่งการเจริญเติบโตของแมลงและจุลินทรีย์บางชนิด ที่ทำลายพืช

14 (6) ผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของโลก
ระดับน้ำทะเลที่สูงและอุ่นขึ้น ทำให้สัตว์และพืชต่างๆต้องปรับตัว อย่างหนักเพื่อความอยู่รอด และถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะล้มตายลง เช่นใน ปี 1998 อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลได้ทำลายปะการังของโลกไป ร้อยละ 10 และส่งผลกระทบต่อการสืบพันธ์ของสัตว์และปลาน้ำเย็น นอกจากนั้นระดับน้ำที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดการสูญพันธ์ของกบ 50 ชนิด ในป่าของคอสตาริก้า (Coata Rica) ในมหาสมุทรอาร์คติกแมวน้ำและ หมีขาว กำลังเผชิญชะตากรรมที่เลวร้ายจากช่วงฤดูหนาวที่สั้นลง ส่วน ดินแดนในเขตมรสุม จะมีพายุฤดูร้อนเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น โดย ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียของผลิตผลทางการเกษตร และมีการระบาดที่มากขึ้นของแมลงและเชื้อโรคหลายชนิด นอกจากนั้นการระบาดนี้ยังค่อยๆลามขึ้นไปในดินแดนทางขั้วโลกและ ที่สูงตามยอดเขาที่เคยหนาวเย็น

15 (7) การสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ที่ผิดปรกติบนผิวโลก
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าความผิดปกติในการสะท้อน รังสีดวงอาทิตย์ของโลกในฤดูกาลต่างๆ มีสาเหตุมาจากการ ตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนชื้น และ การหายไปของน้ำแข็งที่ ขั้วโลก เนื่องจากแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นบริเวณที่ได้รับ แสงอาทิตย์มากที่สุดดังนั้นการหายไปของป่าในเขตร้อนชื้น จึงทำให้การสะท้อนรังสีของโลกผิดปกติไป ซึ่งจะสัมพันธ์ กับความผิดปกติของปริมาณน้ำฝนที่ตก

16 ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
การเพิ่มอุณหภูมิของอากาศทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพและ อนามัยของมนุษย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อากาศที่ร้อนและมีความชื้น สูงจะบั่นทอนสุขภาพในการทำงานของมนุษย์ ก่อให้เกิดความกดดันต่อ สภาพร่างกายและจิตใจ ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนง่ายต่อการรับ เชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ โดยอุณหภูมิและความชื้นที่สูง เกินไปอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันจนเกิดการเสียชีวิตได้ เช่นกรณี คลื่นความร้อน (heat wave) ที่แผ่ขยายสู่ เมืองชิคาโก ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี 1995 ทำให้มีผู้สูงอายุ เด็กและคนป่วย เสียชีวิต 739 คนภายในเวลา 1 สัปดาห์ เมื่ออุณหภูมิสูง 37OC ที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อย ละ 90 และในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ 2003 คลื่นความร้อนได้ทำให้คน ยุโรปเสียชีวิตประมาณ 35,000 คน โดยเฉพาะที่ฝรั่งเศสแห่งเดียวมีคน เสียชีวิตถึง 14,802 คน โดยอากาศอุ่นชื้นที่รุนแรงของคลื่นความร้อน ทำให้ร่างกายของมนุษย์สูญเสียน้ำอย่างมาก จนจิตใจเกิดความสับสน มีปัญหาต่อ ระบบการหายใจ อากาศร้อนทำให้เลือดสูญเสียความสามารถในการจับ ตัวเป็นก้อน เกิดเลือดออกตามทวารและอวัยวะต่างๆเช่น หู ตา จมูก ปากเป็นต้น

17 ความหมายของการรั่วของชั้นโอโซน สาเหตุผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

18 ความหมายของการรั่วของชั้นโอโซน

19 การรั่วของชั้นโอโซน เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ซึ่งเกิด
การรั่วของชั้นโอโซน เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ซึ่งเกิด ขึ้นกับคนส่วนใหญ่รับ ปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เป็น ปรากฎการณ์ที่ก๊าซเรือนกระจก สร้างชั้นในบรรยากาศของเราที่ยอมให้รังสี อัลตราไวโอเลตเข้ามาในบรรยากาศโลกได้แต่ไม่สามารถกลับออกไปได้ มีผลทำให้ อากาศของโลกร้อนขึ้นเนื่องจากปริมาณรังสีที่ถูกกักอยู่ในบรรยากาศ(เหมือนเราไป ยืนในเรือนกระจก) และปริมาณรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่าง UVB ก็เพิ่มขึ้น ด้วย ที่น่ากลัวก็คือ มนุษย์มีสิทธิ์เป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น และเมื่ออากาศร้อนมาก ขึ้น สิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เหมาะสมก็จะเกิด ปัญหา มากไปกว่านั้นอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะโลก ร้อน (Global Warming) ซึ่งอาจจะทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเล สูงขึ้น จนอาจจะท่วมได้

20 ก๊าซเรือนกระจกหลักๆก็ประกอบไป
ด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนตรัส- ออกไซด์ (NO2)และมีเทน (CH4) ปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่เหมาะสมจะทำให้อุณหภูมิของ โลกอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ไม่หนาวไม่ร้อน เกินไป

21

22 สาเหตุหลัก สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
หรืออีกชื่อหนึ่ง “ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเอง ตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และ อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และ สเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมี ความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณ พื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอ- เล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอม เดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน สาเหตุหลัก

23 ถ้าหากคลอรีนจำนวน 1 อะตอมทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง ตามภาพที่1 ต่อไปนี้

24 ภาพที่ 1 การทำลายโอโซนของสาร CFC

25 การลดลงของโอโซน นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีป แอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อน เมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือ ไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่น ของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้ คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาด ใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า “รูโอโซน” (Ozone hole) ดังในภาพที่ 2 แสดงถึง ความหนาแน่นของชั้นโอโซน (มีหน่วยเป็นด๊อบสัน) จะเห็นว่า ชั้นโอโซนในปี พ.ศ.2541 มีความบางกว่าเมื่อปี พ.ศ.2522

26 ภาพที่ 2 การลดลงของโอโซน (ที่มา: NASA)

27 การเกิดปรากฏการณ์รูโอโซนเป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิตที่
อยู่เบื้องล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นเหนือเมืองใหญ่ที่มี ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น นานาชาติจึงทำความร่วมมือภายใต้ “ข้อตกลงมอลทรีออล” (Montreal Protocol) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปลายศตวรรษที่แล้ว ในการยกเลิกการใช้สาร CFC ในอุตสาหกรรม และใช้สารชนิดอื่นที่ไม่ทำลายโอโซนแทน แต่ อย่างไรก็ตามสาร CFC ก็ยังคงลอยตกค้างอยู่ในบรรยากาศ อีกหลาย ทศวรรษกว่าจะสลายตัวไป

28 ผลกระทบ 1) ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล
1) ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล       การที่โลกอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 3  ํC (  ํC) จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นอีก ราวๆ เซนติเมตร เนื่องจากน้ำทะเลขยายตัวตามอุณหภูมิที่สูงขึ้นและน้ำแข็ง ขั้วโลกบางส่วนละลาย (คาดกันว่าถ้าน้ำแข็งขั้วโลกใต้และกรีนแลนด์ละลายหมดจะ ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นถึง 3 เมตรหรือมากกว่านั้น) การที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง เท่านี้ถ้าไม่มีการป้องกันจะทำให้บางประเทศ เช่นประเทศในทะเลคาริบเบียนจะ หายไปจากแผนที่ ชายหาดที่มีชื่อเสียงหลายแห่งจะหายไป ป่าชายเลนจะถูก กระทบกระเทือนอย่างมากระบบนิเวศชายฝั่งเปลี่ยนแปลง การลุกล้ำของน้ำเค็มจะ ลึกเข้าไปในแม่น้ำมากขึ้น น้ำใต้ดินจะมีระดับสูงขึ้นกว่าปกติ น้ำบาดาลอาจจะเค็ม มากขึ้น การใช้ประโยชน์น้อยลง

29 2) ผลกระทบต่อภูมิอากาศ             
เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นอาณาเขตที่มีความกดอากาศต่ำจะมากขึ้น เขตภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เขตทะเลทรายจะขยายมากขึ้น เขตขั้วโลกจะ ลดลง จะมีพายุลมแรงบ่อยครั้งขึ้น เกิดฝน แปรปรวนและตกหนักและหิมะ ละลายบ่อยครั้ง เกิดการกัดเซาะและดินพังทลาย เพิ่มความขุ่นในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะน้ำทะเลชายฝั่งทำให้แนวปะการังถูกทำลาย  3) ผลกระทบต่อระบบนิเวศ              ระบบนิเวศชายฝั่งของป่าชายเลนซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีผลผลิตทาง ชีวภาพสูงที่สุดจะถูกทำลาย พื้นที่วางไข่ของปลา แหล่งเจริญเติบโตของ แพลงตันถูกรบกวน ทำให้ลูกโซ่อาหารถูกทำลาย

30 4) ผลกระทบต่อแหล่งน้ำและการเกษตรกรรม             
โดยทั่วไปแหล่งน้ำจืดจะลดลง และการกัดเซาะผิวดินจะมากขึ้นทำให้ผล ผลิตทางการเกษตรลดลงพันธุ์พืชอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทนต่อ สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป เขตเกษตรกรรมรวมทั้งปศุสัตว์ เขตอบอุ่นเดิม อาจจะต้องเปลี่ยนไป 5) ผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์              อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้มนุษย์มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง มีการ แพร่กระจายของเชื้อโรคมากขึ้นและง่ายขึ้น น้ำจืดสำหรับการอุปโภคและ บริโภคมีคุณภาพเลวลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ ทั้งสิ้น

31 6) ผลกระทบต่อแหล่งพลังงาน            
 การที่โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทำให้การใช้พลังงานของ ประชาชนในเขตร้อนมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของลมฟ้าอากาศ แปรปรวนและพายุร้ายแรงจะมีผลต่อการเสาะหาแหล่ง พลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดเจาะแหล่ง ปิโตรเลียมในทะเล แม้กระทั่งแหล่งพลังงานไฟฟ้า พลังน้ำ พลังลมหรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียส์ก็จะมีอุปสรรคจากลมฟ้า อากาศที่เลวร้ายได้เช่นกัน

32 โลกร้อน และผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

33 ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้ สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลาง คืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวง อาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูก พืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

34 แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงาน
อุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ใน โลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน

35 ผลกระทบที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิด
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็นับว่าเป็นผลส่วนหนึ่งจากปรากฏการณ์โลกร้อน รายงานฉบับ หนึ่งของ IPCC เมื่อปี พ.ศ แจ้งว่าการถดถอยของธารน้ำแข็ง การพังทลายของ ชั้นน้ำแข็งดังเช่นที่ชั้นน้ำแข็งลาร์เสน การเพิ่มระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ ฝนตก และการเกิดลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เหล่านี้นับเป็นผล สืบเนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อนทั้งสิ้น แม้จะมีการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ทั้งด้านรูปแบบที่เกิด ความแรงและความถี่ที่เกิด แต่การระบุถึงสภาวะที่อาจ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์โลกร้อนอย่างเฉพาะเจาะจงก็ยังเป็นไปได้ยาก ผลที่คาดคะเน อีกประการหนึ่งได้แก่การขาดแคลนน้ำในบางภูมิภาค และการเพิ่มปริมาณหยาดน้ำ ฟ้าในอีกแห่งหนึ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณหิมะบนภูเขา รวมถึงสุขภาพที่เสื่อม ลงเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น

36 การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และความเสียหาย
ทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากลมฟ้าอากาศสุดโต่งที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อน อาจ ยิ่งแย่หนักขึ้นจากการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ แม้ใน เขตอบอุ่นผลการคาดคะเนบ่งว่าจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์โลกร้อนบ้าง เช่นมี การเสียชีวิตจากความหนาวเย็นลดน้อยลง บทสรุปของผลกระทบที่เป็นไปได้และความ เข้าใจล่าสุดปรากฏในรายงานผลการประเมินฉบับที่ 3 ของ IPPC โดยกลุ่มทำงานคณะที่ 2 (IPCC Third Assessment Report) , สรุปรายงานการประเมินผลกระทบฉบับที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report) ที่ใหม่กว่าของ IPCC รายงานว่ามีหลักฐานที่สังเกตเห็นได้ ของพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้นในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มอุณหภูมิของผิวน้ำทะเล ทว่าการตรวจจับเพื่อดู แนวโน้มในระยะยาวมีความยุ่งยากซับซ้อนมากเนื่องจากคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการ เก็บตามปกติของการสังเกตการณ์โดยดาวเทียม บทสรุประบุว่ายังไม่มีแนวโน้มที่เห็นได้ โดยชัดเจนในการประมาณจำนวนพายุหมุนเขตร้อนโดยรวมของทั้งโลก

37 ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอีก ได้แก่การเพิ่มระดับน้ำทะเลจาก
110 มิลลิเมตรไปเป็น 770 มิลลิเมตร ระหว่างช่วงปี พ.ศ ถึง พ.ศ. 2643, ผลกระทบต่อเกษตรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น, การหมุนเวียนกระแสน้ำอุ่นที่ช้าลงหรือ อาจหยุดลง, การลดลงของชั้นโอโซน, การเกิดพายุเฮอร์ริเคนและเหตุการณ์ลมฟ้า อากาศสุดโต่งที่รุนแรงมากขึ้น, ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลลดลง และการ แพร่ระบาดของโรคต่างๆ เช่น มาลาเรียและไข้เลือดออก การศึกษาชิ้นหนึ่งทำนาย ว่าจะมีสัตว์และพืชจากตัวอย่าง 1,103 ชนิดสูญพันธุ์ไประหว่าง 18% ถึง 35% ภายใน พ.ศ ตามผลการคาดคะเนภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาอย่าง เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วง ที่ผ่านมายังมีน้อยมาก และหนึ่งในงานวิจัยเหล่านี้ระบุว่า อัตราการสูญพันธุ์ที่ คาดการณ์กันไว้นี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง

38 สมาชิกกลุ่มที่ 3 1. นายบิณฑ์ จูมมาระ รหัส 503050323-2
1. นายบิณฑ์ จูมมาระ รหัส 2. น.ส. พัชรี ศรียะวงศ์ ” 3. น.ส. วรรษมน พืชผักหวาน ” 4. น.ส. ศิวาการ ห้าวหาญ ” 5. น.ส. สิรีธร จำกอง ” 6. น.ส. จุฑามาศ นาดี ” 7. น.ส. นิชาภา เรืองสมศรี ” 8. น.ส. ศศิโฉม ดวงแก้ว ”


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุ และผลกระทบของมันต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google