งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 03762491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ Basic Research Methods in International Business ณรงค์พงศ์ เพิ่มผล เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์ 3 : 29/ 30 ม.ค. 62

2 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ความหมายปัญหาการวิจัย
อุปสรรคหรือข้อขัดข้องใดๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานแล้ว ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นจากความอยากรู้อยากเห็นในข้อเท็จจริงหรือ ข้อสงสัยที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ความรู้ความ จริงที่จะหาคำตอบหรือแก้ปัญหาให้ถูกต้อง คำถามหรือโจทย์วิจัยที่ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้นเพื่อแสวงหาคำตอบ ที่เชื่อถือได้ โดยใช้กระบวนการที่มีระบบระเบียบ 2

3 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ความหมายปัญหาการวิจัย
ประเด็นคำถามหลักที่มีการระบุอย่างเป็นทางการและใช้เป็น แนวทางในการชี้นำทิศทางและแนวทางการดำเนินการวิจัยที่มีองค์ประกอบของคำถามการวิจัย ประกอบด้วย - ประเด็นการวิจัย - ตัวแปรการวิจัย - ประชากรในการวิจัย - สภาพแวดล้อม/สถานการณ์ในการวิจัย 3

4 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ความหมายปัญหาการวิจัย
Kerlinger (1973, p.17) defines a research problem as “ an interrogative sentence or statement that asks: ‘What relation exists between two or more variables?’ This statement conforms to the definition of a problem and asks a question regarding the relationship between these variables Interrogative = questioning 4

5 ปัญหาการวิจัย (Research Problem)
ความแตกต่างปัญหาการวิจัยกับปัญหาทั่วไป ปัญหาการวิจัยจะเขียนในรูปคำถามที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์และตัวแปร ปัญหาการวิจัยจะต้องแสดงให้ชัดเจนว่าสามารถหาคำตอบได้ด้วยวิธีการเชิงประจักษ์ ปัญหาการวิจัยจะต้องแสดงถึงความสอดคล้องกับประเด็นการวิจัยหรือความสนใจการวิจัย 5

6 ปัญหาการวิจัย (Research Problem)
Kerlinger (1973) presents three criteria that good research problems must meet The variables in the research problem should express a relationship This criterion was contained in the definition of a problem The research problem should be stated in question form The statement of the problem should begin with ”What is the effect of …” “Under what conditions do ...” “Does the effect of ...” or some similar form Asking a question has the benefit of presenting the problem directly, thereby minimizing interpretation and distortion 6

7 ปัญหาการวิจัย (Research Problem)
The problem statement should be such as to imply possibilities of empirical testing This criterion is most frequently distinguishes a researchable from a non-researchable problem Many interesting and important questions fail to meet this criterion and therefore are not amenable to empirical inquiry 7

8 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ที่มาของปัญหาการวิจัย
ปรากฏการณ์/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นธรรมชาติและไม่เป็นธรรมชาติที่ผู้วิจัยให้ความสนใจ สังเกตและพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ แนวคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์และเหตุการณ์ เนื่องจากแนวคิดที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ชัดเจนเพียงพอ จึง ต้องการแสวงหาคำอธิบายที่มีความชัดเจนและรายละเอียดที่ครอบคลุม มากยิ่งขึ้น ความอยากรู้อยากเห็นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความอยากรู้อยากเห็นในปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและนำมาพิจารณาไตร่ตรองเพื่อแสวงหาคำอธิบายด้วยการวิจัย 8

9 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ลักษณะของปัญหาการวิจัย
ปัญหาการวิจัยต้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ขอบเขตปัญหาการวิจัยต้องมีความเป็นไปได้สำหรับที่จะหา คำตอบด้วยวิธีการเชิงประจักษ์ตามกำลังทรัพยากรและความสามารถ ของผู้วิจัย การทำวิจัยเพื่อตอบปัญหาการวิจัยเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ไม่ กระทบกระเทือนหรือทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ปัญหาวิจัยมีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อสังคมและช่วยเสริมสร้าง องค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ 9

10 ปัญหาการวิจัย (Research Problem) ลักษณะของปัญหาการวิจัย
กรณีปัญหาวิจัยที่มีผู้วิจัยอื่นทำไว้แล้ว ผู้วิจัยต้องมีความมั่นใจว่ามี ความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยนั้น เช่น มีคำตอบที่เป็นข้อขัดแย้งหรือยังไม่มีข้อสรุปสุดท้าย (No Ultimate Conclusion) เป็นต้น ปัญหาการวิจัยควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยจะต้องแสดง ได้ว่าการตอบปัญหาการวิจัยดังกล่าวยังไม่มีผู้ใดทำมาก่อน 10

11 ปัญหาการวิจัย (Research Problem)
ปัญหาการวิจัยกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา สภาพปัญหา กว้าง ปัญหาการวิจัย หลักการ/ทฤษฎี คำถามวิจัย ชื่อหัวข้อที่สนใจ แคบ 11

12 คำถามการวิจัย (Research Question)
In formulating a research problem, specificity of the research question is an important consideration A specific statement helps to ensure that the experimenters understand the problem If the research problem is stated vaguely, the experimenters probably do not know exactly what they want to study and therefore might design a study that will not solve the problem Ex. If the research question is “What effect does the environment have on learning ability?” Does this question meets all the criteria of a problem? Does this question stated clearly? Apparatus = method 12

13 คำถามการวิจัย (Research Question)
An exampled research question meets all the criteria of a problem But it is stated so vaguely that the investigator could not identify what was to be investigated The concepts of “environment” and “learning ability” are vague What environmental characteristics? Learning of what? The experimenter must specify what is meant by environment and by learning ability to be able to conduct the experiment Consider the following question… “What effect does the amount of exposure to words have on the speed with which they are learned?” Apparatus = method 13

14 คำถามการวิจัย (Research Question)
A specific problem statement also helps the experimenters make necessary decisions about such factors as participants, apparatus, instruments, and measures Reread your research question and ask yourself … What research participants should I use? What measures should I use? What apparatus or instruments should I use? Apparatus = method 14

15 คำถามการวิจัย (Research Question)
The primary purposes of formulating the research question are To ensure that the researcher has a good understanding of the variables to be investigated To aid the experimenter in designing and carrying out the experiment If the formulation of the question is pointed enough to serve these purposes, then additional specificity is not needed But if these purposes are not met, additional specificity and narrowing of the research problem are required Apparatus = method 15

16 คำถามการวิจัย (Research Question)
Apparatus = method 16

17 ประเภทคำถามการวิจัย (Research Question)
ลักษณะของคำถามวิจัย คำถามเชิงพรรณนา คำถามเชิงความสัมพันธ์ คำถาม เชิงเปรียบเทียบเหตุ-ผล 17

18 ประเภทคำถามการวิจัย (Research Question)
คำถามเชิงพรรณนา 1. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ 2. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพฤติกรรม 3. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการอธิบายประเภทและการจัดประเภท 4. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการหาองค์ประกอบ 5. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ 18

19 ประเภทคำถามการวิจัย (Research Question)
คำถามเชิงความสัมพันธ์ คำถามวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือ มากกว่า 2 ตัว ที่มีต่อกัน คำถาม เชิงเปรียบเทียบเหตุ-ผล 1. คำถามวิจัยเกี่ยวสาเหตุ-ผลลัพธ์ 2. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบขนาดของสาเหตุ-ผลลัพธ์ 3. คำถามวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ที่มี ปฏิสัมพันธ์กัน 19

20 เกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมหรือความสำคัญของปัญหา
ขอบเขตการวิจัยและการตั้งปัญหาการวิจัย เกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมหรือความสำคัญของปัญหา ความเด่นชัด (Explicit) 1 ความชัดเจน (Clear) 2 เป็นความคิดริเริ่ม (Original) 3 ทดสอบได้ (Testable) 4 มีความสำคัญทางทฤษฎี (Theoretically significant) 5 สำคัญต่อสังคม (Socially relevant) 6

21 เกณฑ์การกำหนดประเด็นการวิจัย ประโยชน์การกำหนดประเด็นการวิจัย
ความชัดเจนของประเด็น 1 ความไม่ซ้ำซ้อนของประเด็นที่จะวิจัย 2 ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น 3 ประโยชน์การกำหนดประเด็นการวิจัย ทำให้เกิดความชัดเจนว่าต้องการศึกษาในเรื่องใดบ้าง 4 1 ทำให้ทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลที่สำคัญในเรื่องใดบ้าง 2 ทำให้ผู้อ่านสามารถติดตามและประเมินผลการวิจัยได้ 3

22 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะทำการวิจัย หรือผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษาเรื่องอะไร ที่มาหัวข้อการวิจัย วรรณกรรมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 ผู้นำทางวิชาการ 2 แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย 3 หน่วยงานที่ผู้วิจัยทำอยู่ 4

23 การกำหนดหัวข้อการวิจัย
1.ความสำคัญของปัญหา 2.ความเป็นไปได้ หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อการวิจัย 3. ความน่าสนใจและการทันต่อเหตุการณ์ 4.ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย 5.ความสามารถที่จะทำให้บรรลุผล 23

24 มิติการกำหนดหัวข้อการวิจัย
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 1 ลักษณะของการเก็บข้อมูล 2 ประชากรเป้าหมายหรือสถานที่ 3 การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ 4 การผสมผสานหลายประการ 5

25 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
หลักการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objective) การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นการคาดหวังจากผลการศึกษา และค้นคว้าข้อเท็จเกี่ยวกับปรากฏการณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามที่ ประเด็นสาระในปัญหาการวิจัย (Research Questions) ซึ่งจะถูกนำมา เป็นแนวทางการแสวงหาคำตอบ ผลการวิจัยต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ การวิจัยทั้งหมด ลักษณะวัตถุประสงค์การวิจัย : - สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย - ความชัดเจน - ความเฉพาะเจาจง 25

26 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1. การเขียนให้สั้น กระชับและใช้ภาษาง่าย (วิชาการ) 2. ประเด็นปัญหาชัดเจน ศึกษาอะไร แง่มุมใดและอยู่ภายใน กรอบหัวข้อเรื่อง 3. วัตถุประสงค์ที่กำหนดต้องสามารถศึกษาหาคำตอบ 4. ประโยคที่ใช้เป็นประโยคบอกเล่า ไม่น่าเกิน 5 ข้อ : 4.1 ข้อเดียวเป็นภาพรวม (Overall Objective) 4.2 หลายข้อแยกรายข้อ (Specific Objectives) 5. การเรียงลำดับตามความสำคัญของปัญหา/ระดับปัญหา รวมทั้งไม่ควรนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ/ข้อเสนอแนะเป็น วัตถุประสงค์ 26

27 การนิยามศัพท์การวิจัย
การนิยามศัพท์ (Definition of Terms) นิยามศัพท์เป็นการสร้างความเข้าใจและสื่อความหมายให้ผู้วิจัยกับ ผู้อ่านงานวิจัยเกิดความเข้าใจตรงกันและขยายความหมายให้สามารถ ตรวจวัดหรือสังเกตได้ ศัพท์ที่นิยามจะใช้เฉพาะการศึกษาวิจัยและเจาะจงในเรื่องนั้นๆ ไม่ ได้มีความหมายทั่วไปอย่างหนังสือ ตำรา/เอกสารทั่วไป ส่วนใหญ่นิยาม ตัวแปรและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องการวิจัย ประเภทการนิยามศัพท์ 1. ศัพท์ทางวิชาการ 2. ศัพท์หลายความหมาย 3. ศัพท์ความหมายไม่แน่นอน 4. ศัพท์วลีข้อความยาว 27

28 ประเภทการนิยามศัพท์การวิจัย
ศัพท์ทางวิชาการ ศัพท์ทางวิชาการ (Technical Term) เป็นคำศัพท์ที่รู้/เข้าใจกัน เฉพาะในวงวิชาการนั้นๆ ต่างวงการ/ต่างอาชีพอาจจะไม่เข้าใจ : วิภาษวิธี ส่วนประสมทางการตลาด ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ประสิทธิภาพ หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ศัพท์หลายความหมาย คำศัพท์ที่เหมือนกันแต่หลายความหมายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หรือบริบท (Context) หรือสถานการณ์ที่ใช้คำนั้น จึงต้องนิยามระบุให้ ชัดเจน : นิสิตนักศึกษา อาจเป็นนิสิต ม.ก. ม.ธ. จุฬา ม.ร. หรือ ม.ข. นักท่องเที่ยว อาจเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหรือต่างประเทศ 28

29 ประเภทการนิยามศัพท์การวิจัย
ศัพท์ความหมายไม่แน่นอน เป็นคำศัพท์ที่สามารถสร้างความรู้และความเข้าใจให้เกิดความ แตกต่างกัน โดยขึ้นกับความรู้และความเข้าใจของแต่ละบุคคล : ค่านิยม ความคิดเห็น ท้ศนคติ ความเชื่อ หรือ ศักยภาพ ศัพท์วลีข้อความยาว เป็นข้อความคำศัพท์ที่เชื่อมต่อด้วยคำ/ขยายความทำให้เกิด ความหมายเฉพาะเจาะจง โดยเป็นข้อความหรือคำที่มีความยาวมาก หากใช้ข้อความนั้นเขียนรายงานผลการวิจัยจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อน อาจทำให้ผู้อ่านสบสน : 29

30 ประเภทการนิยามศัพท์การวิจัย
ศัพท์วลีข้อความยาว - พฤติกรรมการใช้บริการห้างสรรพสินค้าในเขตเมือง - ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีต่อ การให้บริการร้านจำหน่ายอาหาร - ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ นิยาม “พฤติกรรมการใช้บริการ” “ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว” “ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน” 30

31 วิธีการนิยามศัพท์การวิจัย
แหล่งที่มาการนิยามศัพท์ สาระ/ประเด็นการนิยามศัพท์สามารถหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจาก แหล่งต่างๆ 2 แหล่ง : 1. อาศัยเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหา ข้อมูลความหมายคำหรือตัวแปรนั้น 2. อาศัยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ (Empirical Approach) จากการ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยนิยมใช้กับการนิยามคำศัพท์/ตัวแปรที่เป็น นามธรรม (Construct) และไม่มีงานศึกษาก่อน วิธีการ คือ 31

32 วิธีการนิยามศัพท์การวิจัย
แหล่งที่มาการนิยามศัพท์ 2.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างที่คาดว่ามีคุณลักษณะสอดคล้องกับคำ ศัพท์หรือตัวแปรที่จะศึกษาวิจัย 2.2 วิเคราะห์หาคุณลักษณะ (Attribute) ที่สำคัญจากการเก็บ รวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การสังเกต การสำรวจ การสอบถามและการสัมภาษณ์ 2.3 นำคุณลักษณะที่รวบรวมมาวิเคราะห์เนื้อหาเพี่อกำหนดหา องค์ประกอบสำคัญของคำศัพท์และตัวแปรสำหรับสร้างแบบจำลอง/ โครงหุ่น (Model) ตัวแปร 32

33 วิธีการนิยามศัพท์การวิจัย
จะเป็นการให้ความหมายอธิบายว่าคำ หรือข้อความนั้น คืออะไร (Refer To) ไม่ใช่หมายถึงแปลว่าอะไร (Meaning) 1. การนิยามศัพท์เชิงแนวความคิด (Conceptual Definition) เป็นการให้ความหมายแบบสรุปใจความสำคัญ โดยใช้คำหรือข้อความอื่น ที่เป็นแนวความคิดมาให้ความหมายของคำศัพท์ : “การวิจัย” หมายถึง การค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 33

34 วิธีการนิยามศัพท์การวิจัย
2. การนิยามศัพท์เชิงทฤษฎี (Constitutive Definition) เป็นการ ให้ความหมายคำศัพท์ตามทฤษฎี/พจนานุกรม อธิบายลักษณะอาการที่ ทำให้เกิดคำศัพท์นั้นๆ ลักษณะองค์ประกอบ “การวิจัย”หมายถึง การดำเนินการค้นคว้าซ้ำๆ เพื่อหาข้อเท็จจริงอย่าง มีเหตุผล 3. การนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ (Operational Definition) เป็น การให้ความหมายคำศัพท์ที่ระบุ บอก การกระทำ พฤติกรรม/อาการ คำศัพท์นั้นเพื่อใช้วัด/สังเกตได้ “การวิจัย” หมายถึง การตั้งประเด็นปัญหา สมมติฐาน การเก็บรวบรวม ข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลวิจัย “เรียนดี” หมายถึง นิสิตที่มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมมากกว่า 2.5 34

35 ตัวอย่างหัวข้อวิจัยทางธุรกิจระหว่างประเทศ
Impact of historical conflict on FDI location and performance: Japanese investment in China Global connectedness and local innovation in industrial clusters การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสินค้าของ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีใต้ 35


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google