งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
นางสาวศรัญญา คงกล้า นายกรวิท วิเศษดี นางสาวกรรณนิภา พลหมั่น นางสาวชิตชนก ทบพวก นายวิสุทธ์ มุ่งรวยกลาง นายสิทธิกร ธนะรัตน์ นายอภิพล ดอกอุบล โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปี3 หมู่1

2

3 ชนิดของหุ่นยนต์ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์

4 หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่ Fix Robot (ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
งานประกอบ Assembly,งานเชื่อม,งานพ่นสี)

5 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot)
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่าปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่ หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่าง มนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต

6 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบใช้ล้อ Wheel

7 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบใช้ขา

8 ประโยชน์และความสามารถของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เรื่อยมา เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของหุ่นยนต์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถทำงานต่าง ๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้จำนวนมาก ซึ่งการนำหุ่นยนต์เข้าใช้งานแทนมนุษย์นั้น สามารถแบ่งประเภทตามความสามารถของหุ่นยนต์ได้ ดังนี้

9 ความสามารถในด้านการแพทย์
ในงานด้านการแพทย์ เริ่มนำเอาหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้ เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานในด้านที่มีความละเอียดสูงที่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ เช่น การนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งานด้านการผ่าตัดสมอง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการความละเอียดในการผ่าตัด หุ่นยนต์แขนกลจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัดในด้านการแพทย์ การทำงานของหุ่นยนต์แขนกลในการผ่าตัด จะเป็นลักษณะการทำงานของการควบคุมการผ่าตัดโดยผ่านทางแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดอีกที ซึ่งการผ่าตัดโดยมีหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมนั้นจะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างสูง รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ รวมถึงงานเภสัชกรรมที่มีบางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์มาใช้ในการจ่ายยา

10 ความสามารถในงานวิจัย
หุ่นยนต์สามารถทำการสำรวจงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับมนุษย์ เช่น การสำรวจท้องทะเลหรือมหาสมุทรที่มีความลึกเป็นอย่างมาก หรือการสำรวจบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานเสี่ยงอันตรายที่เกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์ที่ไม่สามารถปฏิบัติงานสำรวจเช่นนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานวิจัยและสำรวจ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถทำการควบคุมหุ่นยนต์ได้ในระยะไกลด้วยระบบคอนโทรล โดยมีเซนเซอร์ติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการวัดระยะทางและเก็บข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์

11 ความสามารถในงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัดระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม

12 ความสามารถในด้านความมั่นคง
RQ-4 Global Hawk เครื่องบินไร้คนขับ อาจจะสร้างเครื่องบินสอดแนมผู้ก่อการร้าย โดยติดตั้งเรดาร์คอยตรวจจับเหตุที่อาจไม่มาพากล

13 ความสามารถในด้านบันเทิง
หุ่นยนต์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถตอบโต้กับคนได้เสมือนเป็นเพื่อน เล่นหรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีในรูปแบบของสุนัข แมว และแมลง เป็นต้น หรือกระทั่งสร้างความบันเทิงทางเพศให้กับมนุษย์ได้อีกด้วย

14 การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
การเคลื่อนที่ที่ของหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญู่ ๆ คือ 1. แบบฐานเคลื่อนที่ (base travel) 2. การควบคุมแกนที่เคลื่อนที่ (axes control) ประกอบด้วย 2.1 การเคลื่อนที่ของแขน (arm motion) 2.2 การเคลื่อนที่ของข้อมือ (wrist action) 2.3 การหยิบจับ (gripping motion)

15 1. การเคลื่อนที่แบบฐานเคลื่อนที่
โดยทั่วไปฐานของหุ่นยนต์มักติดตั้งยึดติดอยู่กับที่บนพื้น งานบาง ประเภทต้องการให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยทั่วไปมักจะให้ฐานของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปบนราง (rail or track) ในงานบางประเภทที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนที่ไปทำงานที่สูง เช่น ในการพ่นสีหลังคาของโรงงานประกอบรถยนต์ ก็จำเป็นตองติดตั้งหุ่นยนต์ไว้ด้านบนให้สามารถเคลื่อนที่ไปพ่นสีบนหลังคารถยนต์ที่เคลื่อนที่ในระบวนการผลิต

16 2. การควบคุมแกนที่เคลื่อนที่
งานบางชนิดหุ่นยนต์ต้องใช้ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (feedback controller) จะต้องมีการปรับค่าตลอดเวลาในการทางาน หรือเป็นที่ รู้จักคือ ระบบเซอร์โว (servo systems) เป็นระบบให้ค่าตำแหน่งการควบคุม (position control) จากแกนการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ระบบเซอร์โวประกอบด้วยคำสั่งแบบพัลส์ สั่งให้มอเตอร์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ส่งสัญญาณแบบป้อนกลับ ทำการเปลี่ยนตำแหน่งของมอเตอร์เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าและป้อนกลับไปยังชุดควบคุม


ดาวน์โหลด ppt รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google