ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยCynthia Nelson ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ประวัติคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เริ่มจากผลการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณมาแต่โบราณเริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว และเบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุน หลังจากนั้นมีการพัฒนาเครื่องคิดเลขจาก มือหมุนเป็นระบบไฟฟ้าในเวลาต่อมา -1-
2
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชันต่างๆ ทาง คณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ -2-
3
หลักการของแบบเบจ นี้ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แบบเบจ จึงได้รับการยกย่อง เป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์โดยจัดแบ่ง คอมพิวเตอร์เป็น 5 ยุค คือ -3-
4
ยุคสมัยของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง หลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube) คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม แผงวงจรรวม (IC : Integrated Circuit) คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ยุคของวงจร VLSI (Very Large Scale Integration) คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (Fifth generation language) -4-
5
ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
ใช้หลอดสูญญากาศ เป็นส่วนประกอบหลัก ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เกิดความร้อนสูง ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ เช่น Symbolic Language และ Assembly
6
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ปี ค. ศ
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง ปี ค.ศ ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรสำคัญ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสามคนจากห้องปฏิบัติการเบลล์ (Bell Lab.) ได้แก่ วิลเลียม ชอคลีย์ (W. Shock), จอห์น บาร์ดีน (J. Bardeen), วอลเตอร์ แบรทเตน (H. W. Brattain) โดยทรานซิสเตอร์เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศมาก แต่มีความจำที่สูงกว่า ไม่ต้องเวลาในการวอร์มอัพ ใช้พลังงานต่ำ ทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า นอกจากเทคโนโลยีเรื่องวงจร ยังมีเทคโนโลยีอื่นมาร่วมด้วย เช่น เกิดภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) และภาษาระดับสูงต่างๆ เช่น ภาษา FORTRAN, COBOL สำหรับหน่วยบันทึกข้อมูลก็มีการนำเทปแม่เหล็กมาใช้งาน
7
ยุคที่สาม คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม ปี ค.ศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มปรับเปลี่ยนมาก เนื่องจากมีการพัฒนาแผงวงจรรวม (IC : Integrated Circuit) อันเป็นผลงานของบริษัทเท็กซัส อินสตรูเมนต์ (Texas Instruments Co.,) ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงมา ระดับมินิคอมพิวเตอร์ -7-
8
ผู้พัฒนา คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ปี ค.ศ ถึงปัจจุบัน เป็นยุคของวงจร VLSI (Very Large Scale Integration) ในรูปของไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) เปลี่ยนระบบหน่วยความจำจากวงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสารกึ่งตัวนำที่เรียกว่า RAM (Random Access Memory) ส่งผลให้เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) -8-
9
-9- เครื่องเจาะบัตร (Punched Card Machine)
พ.ศ นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้า โดยใช้บัตรเจาะรู ในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้า ให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิด การประดิษฐ์ เครื่องเจาะบัตร (Punched Card Machine) ในเวลาต่อมา และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ชุดคำสั่ง (Program) สั่งทำงานเป็นเครื่องแรก -9-
10
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
-10-
11
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
พ.ศ สุภาพสตรีชาวอังกฤษชื่อ Lady Augusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนขั้นตอนของคำสั่งวิธีใช้เครื่องนี้ให้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือ Taylor's Scientific Memories จึงนับได้ว่า ออกุสต้า เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุชุดคำสั่งไว้ สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำใหม่ได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักการทำงานวนซ้ำ หรือที่เรียกว่า Loop เครื่องมือคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต
12
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
13
ขอแนะนำให้ทุกท่าน รู้จักกับ “คอมพิวเตอร์” กันก่อนน่ะครับ
สวัสดีครับวันนี้ผม ขอแนะนำให้ทุกท่าน รู้จักกับ “คอมพิวเตอร์” กันก่อนน่ะครับ อ้อ! คอมพิวเตอร์ หรือ เดี๋ยวนี้ได้ยินบ่อยมาก คืออะไรล่ะ ?
14
แต่มีความสามารถมากกว่า เพราะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์ ก็คือ เครื่องคำนวณ แต่มีความสามารถมากกว่า เพราะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่รับข้อมูล-คำสั่ง แล้วนำไปประมวลผล เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแสดงผลในรูปแบบต่างๆ รูปร่างแบบนี้ ใช่ไหม ?
15
คุณสมบัติของ คอมพิวเตอร์ รับข้อมูล ประมวลผล แสดงผล เก็บบันทึกข้อมูล
16
วิวัฒนาการของ คอมพิวเตอร์
17
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ลูกคิด (Abacus) แท่งเนเปียร์ (Napier’s rod) ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) นาฬิกาคำนวณ (Calculating Clock) เครื่องคำนวณของปาสกาล (Pascal’s Pascaline Calculator) เครื่องคำนวณของไลปนิซ (The Leibniz Wheel) เครื่องผลต่างของแบบเบจ (Babbage’s Difference Engine) เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจ (Babbage’s Analytical Engine)
18
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ABC เครื่องคำนวณขนาดเล็กที่ใช้หลอดสูญญากาศ Mark I เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ของไอบีเอ็ม ENIAC เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก EDVAC กับสถาปัตยกรรมฟอนนอยมานน์ UNIVAC เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานธุรกิจ เครื่องแรกของโลก
19
ประเภทของคอมพิวเตอร์
Supercomputer Mainframe Computer Minicomputer Microcomputer
20
ไมโครคอมพิวเตอร์ มีรูปร่างต่างๆ กันไปนะ Desktop Computer / PC Notebook Computer Palm Computer
21
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์
22
หน่วยรับข้อมูล Input Unit
Keyboard Mouse Track Ball Scanner Digital Camera Pen Digitizer ฯลฯ
23
หน่วยประมวลผลกลาง Central Processing Unit (CPU)
หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
24
หน่วยแสดงผล Output Units
จอภาพ เครื่องพิมพ์ เครื่องวาดภาพ
25
หน่วยบันทึกข้อมูลรอง Storages
Diskette 5.25” และ 3.5” CD, CD-R, CD-RW, DVD Harddisk Zip Disk, Jaz Disk
26
“คอมพิวเตอร์เพิ่มแล้วหรือยังล่ะ”
พอจะเข้าใจและรู้จัก “คอมพิวเตอร์เพิ่มแล้วหรือยังล่ะ” เข้าใจมากเลยแต่อยากรู้ว่า ยังมีอะไรเพิ่มเติมอีกไหม
27
คอมพิวเตอร์จะทำงานได้หรือไม่ ยังต้องอาศัยระบบเพิ่มเติม นั่นคือ
มีแน่นอนครับ นอกจากองค์ประกอบ ที่แนะนำไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะทำงานได้หรือไม่ ยังต้องอาศัยระบบเพิ่มเติม นั่นคือ “ระบบคอมพิวเตอร์” เหมือนมนุษย์ไง ต้องมีระบบร่างกาย
28
ระบบคอมพิวเตอร์ - Computer System
ฮาร์ดแวร์ - Hardware ซอฟต์แวร์ - Software บุคลากร - Peopleware ข้อมูล - Data
29
ผู้พัฒนา นายสุนทร นิศากร อาจารย์ 2 ระดับ 7 วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ 1 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ น.ส.ศิริลักษณ์ เลิศหิรัญทรัพย์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.