งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร
6.1 ปัจจัยเกี่ยวกับประชากร 6.2 การปฏิรูปที่ดิน 6.3 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

2 ปัญหาที่สำคัญในการทำการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา คือ “ปัญหาที่ดิน”
ปัญหาการไม่มีที่ดินทำกิน หรือ “ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน” คนเพียง 10% ถือครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไป ขณะที่ คนกว่า 90% มีที่ดินเพียง 1 ไร่เท่านั้น ภาคเกษตร 40% ของครัวเรือนเกษตร ไม่มีที่ดินเป็นของ ตนเอง และเกือบ 50% มีที่ดินไม่พอเพียงต้องเช่าที่ดิน

3 70% ของที่ดินมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เป็นการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ประเมินขั้นต่ำ 127,384 ล้านบาทต่อปี การเก็งกำไรที่ดินที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท การไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การแก้ปัญหา คือ “การปฏิรูปที่ดิน” (Land Reform)

4 ผลกระทบของการถือครองที่ดิน
ผลต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนในการใช้ที่ดินในอนาคต เกษตรกรจึงไม่กล้าลงทุน ผลต่อเทคนิคการผลิตและการจัดการ ทั้งจากลักษณะและขนาดของการถือครองที่ดิน ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการใช้เทคนิคการผลิตและการวางแผนจัดการ ผลต่อการสะสมทุน ลักษณะการถือครองที่ดินมีผลต่อการขอสินเชื่อ

5 การปฏิรูปที่ดินหมายถึงอะไร ?
6.2 การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปที่ดินหมายถึงอะไร ? ใครมีสิทธิได้รับการจัดสรรที่ดินให้บ้าง ? พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 การปรับปรุงสิทธิและการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินของรัฐ/ที่รัฐซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน จัดสรรให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเอง/มีเล็กน้อย รัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม ปรับปรุงNR และปัจจัยการผลิต รวมทั้งการผลิตและจำหน่ายผลผลิต หน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ “สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” (สปก.) ผู้ที่มีสิทธิถูกเวนคืนที่ดิน จะต้องมีที่ดินมากกว่ากี่ไร่ เกินกว่า 50 ไร่ ต่อครอบครัวที่ทำการเกษตรด้วยตนเอง หรือ 100 ไร่ ถ้าทำปศุสัตว์ด้วย ถ้าเกินกว่านี้รัฐมีสิทธิเวนคืน ที่ดินที่ไม่ได้ทำการเกษตรด้วยตนเอง/ไม่ได้ทำเกษตรเลย/ทำน้อยแต่เพียงบางส่วนเพื่อแสดงสิทธิให้สปก.เวนคืนได้ ในส่วนที่เกิน 20 ไร่ ตามพรบ.นี้ รีสอร์ทหรือสนามกอล์ฟมีสิทธิถูกเวนคืนได้มั้ย

6 การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย
แนวคิดมีตั้งแต่ปี 2475 แต่ไม่มีการสนับสนุน เริ่มดำเนินการในช่วงแผนฯ 3 – 4 มีพ.ร.บ. ในปี 2518 แผนฯ 4 รัฐวางแผนดำเนินการปฏิรูปที่ดิน 8 ล้านไร่ ทำไม่ได้ตามแผน จนปี 2535 ออกสปก.ได้เพียง 3.3 ล้านไร่ เนื่องจากปัญหาการคำนวณราคาเวนคืนที่ดิน การใช้ราคาตลาดในการเวนคืน ไม่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการกระจายรายได้ ดังนั้น ราคาเวนคืนควรต่ำกว่าราคาตลาด

7 การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย (ต่อ)
แก้ไขพ.ร.บ. ปี 2519 ให้ สปก. เป็นเจ้าของที่ดินทุกประเภทที่นำมาจัดสรร เพื่อเปิดทางให้เอา พ.ท.ป่าสงวนเสื่อมโทรมมาเป็นเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรได้ แก้ไขพ.ร.บ. ปี 2532 และมิติ ครม. ปี 36 - ให้สปก. เอาพ.ท.ป่าสงวนเสื่อมโทรมไปออกเอกสารสิทธิให้ราษฎร จำนวน 57 ล้านไร่ - ทำให้ ปี 36 ออกเอกสารสิทธิได้ 4.53 ล้านไร่ แต่ไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้

8 มาตรการในการปฏิรูปที่ดิน
จากหนังสือ “ชาวนากับที่ดิน: ปฏิวัติหรือปฏิรูป” ของ นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาษี มาตรการปรับสภาพแวดล้อม ค่าเช่า ขนาดที่ดิน เพื่อการกระจายการถือครองที่ดิน มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง ค่าทดแทน การจ่ายค่าทดแทน การจัดรูปและขนาด โครงการพัฒนาต่อเนื่อง

9 มาตรการปรับสภาพแวดล้อม
1) ภาษีที่ดิน ควรเป็นภาษีก้าวหน้าหรือตามสัดส่วนราคาที่ดิน เพิ่มภาษีพิเศษตามขนาดการถือครองที่ดินในอัตราก้าวหน้ามากๆ เพิ่มโทษให้ผู้ปล่อยที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า หรือเก็บภาษีผู้ที่ไม่ทำการเกษตร ปรับปรุงวิธีการตีราคาที่ดินใหม่ + ปรับปรุงการบริหารจัดเก็บภาษีให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

10 มาตรการปรับสภาพแวดล้อม (ต่อ)
2) การควบคุมค่าเช่าที่ดินเพื่อการเกษตร อัตราค่าเช่า < 20% ของผลผลิตได้จากที่ดินนั้นๆ การเช่าที่ดินต้องเป็นลายลักษณ์อักษรหรือจดทะเบียนการเช่า กำหนดระยะเวลาเช่าที่ยาวนาน ลดหย่อนค่าเช่า/เว้นค่าเช่า กรณีเกิดภัยธรรมชาติ

11 มาตรการปรับสภาพแวดล้อม (ต่อ)
2) การควบคุมค่าเช่าที่ดินเพื่อการเกษตร (ต่อ) เพื่อส่งเสริมการลงทุนปรับปรุงที่ดิน ค่าเช่าต้องไม่สูงเกินไป จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ระดับท้องถิ่น ลดค่าเช่าทุกปี ทุกๆ ปี เป็นการบังคับให้เจ้าของขายที่ รัฐควรมีบทลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม

12 มาตรการทั้ง 3 ควรเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ก่อนมีการปฏิรูปที่ดิน
มาตรการปรับสภาพแวดล้อม (ต่อ) 3) มาตรการจำกัดขนาดการถือครองที่ดิน กำหนดขนาดถือครองสูงสุด ในแต่ละท้องถิ่น ขนาดไม่ควรเกิน 25 ไร่/คน ปรับได้ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิถือครองที่ดิน + ต้องมีภูมิลำเนาในท้องถิ่น มาตรการทั้ง 3 ควรเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ก่อนมีการปฏิรูปที่ดิน

13 มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง
1) การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน อาจยึดผลผลิต/ไร่ ในระยะ 3-5 ปี ก่อนใช้กม.ปฏิรูป ควรคำนึงถึงวิธีการและระยะเวลาในการจ่าย 2) การกำหนดลักษณะการจ่ายค่าทดแทนและแหล่งเงินทุน ไม่ควรจ่ายเป็นเงินสดทันที ควรจ่ายเป็นงวดๆ ควรจ่ายให้เสร็จภายใน ปี ในรูปพันธบัตร แหล่งทุน: ออกพันธบัตรเพื่อการปฏิรูปที่ดิน

14 มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง (ต่อ) หลักเกณฑ์:
3) การจัดรูปและขนาดการถือครองที่ดิน หลักเกณฑ์: เกษตรกรควรได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยวิธีการเช่าซื้อหรือไม่ ? ควรได้ แต่ห้ามโอนเพื่อขายในระยะหนึ่ง วิธีป้องกันไม่ให้เกษตรกรสูญเสียที่ดิน (ถ้ามาตรการอื่นไม่ได้ผล) ใช้รูปแบบการให้เช่าในระยะยาว รัฐเป็นเจ้าของ สิทธิการเช่าตกถึงลูกหลาน ฝ่าฝืน จะเสียสิทธิในการเช่า

15 มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง (ต่อ) หลักเกณฑ์:
3) การจัดรูปและขนาดการถือครองที่ดิน หลักเกณฑ์: การกำหนดขนาดการถือครองของแต่ละครอบครัว ควรคำนึงถึง - แรงงานในครอบครัว - ความอุดมสมบรูณ์ของที่ดิน จุดมุ่งหมายในการจัดขนาด คือ “ให้เกษตรกรแต่ละครอบครัวมีที่ดินเพียงพอกับการทำงาน”

16 มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง (ต่อ)
4) โครงการพัฒนาการเกษตรต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน องค์ประกอบที่จำเป็น น้ำเพื่อการเกษตร (ชลประทาน) การตลาด ปัจจัยการผลิต การคมนาคมขนส่ง การจัดไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ

17 มาตรการปฏิรูปที่ดินโดยตรง (ต่อ)
4) โครงการพัฒนาการเกษตรต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน องค์ประกอบที่จะกระตุ้นการพัฒนา ระบบสินเชื่อ การรวมกลุ่มของเกษตรกร การทำวิจัยเพื่อการเกษตร การสาธิต ฝึกอบรม การศึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์

18 มาตรการในการปฏิรูปที่ดิน
สรุป: ควรมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปที่ดินก่อน ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมีมาตรการในการช่วยไม่ให้เกษตรกรสูญเสียที่ดินและมีที่ดินพอเพียงในการทำกิน มีโครงการพัฒนาที่ต่อเนื่องจากการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร

19 การปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ แรงกดดันทางการเมือง สภาพภูมิประเทศ ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของรัฐ

20 การปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน (ต่อ)
ขั้นตอนการดำเนินการ การลดค่าเช่า เพื่อผ่อนคลายภาวะการต่อต้านจากเจ้าของที่ดิน - กำหนดอัตราค่าเช่าขั้นสูง - ป้องกันสิทธิของผู้เช่า เช่น ระยะเวลาเช่าไม่น้อยเกินไป มีสัญญาเช่า

21 การปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน (ต่อ)
ขั้นตอนการดำเนินการ การขายที่ดินเพื่อการเกษตรของรัฐ เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง และให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินมากขึ้น - มีการจัดลำดับสิทธิของผู้ซื้อ เช่น ให้ผู้เช่าเดิมมีสิทธิก่อน - ราคาที่ดิน คำนวณจากผลผลิตพืชหลักต่อปี ผ่อนชำระได้

22 การปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน (ต่อ)
ขั้นตอนการดำเนินการ การจัดที่ดินให้เกษตรกร ใช้หลักการดังนี้ ให้เกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดิน โดยไม่เพิ่มภาระทางการเงิน ป้องกันผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน โดยการจ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรม เปลี่ยนให้เจ้าของที่ดินเดิม เป็นนักลงทุนด้านอุตสาหกรรม

23 การปฏิรูปที่ดินในไต้หวัน (ต่อ)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดิน ด้านการเมืองและสังคม ในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้านเศรษฐกิจ - เกษตรกรลงทุนในการปรับปรุงที่ดินเพิ่มขึ้น - ดัชนีมาตรฐานการครองชีพของเกษตรกรสูงขึ้น 7.7 เท่า - มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จากเจ้าของที่ดินเดิม - เศรษฐกิจชนบทรุ่งเรือง ขยายผลไปถึงภาคอุตสาหกรรม


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google