งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS)
อาจารย์ มลฤดี โพธิ์พิจารย์ (พย.ม.) การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

2 วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมาย สาเหตุ อาการและอาการแสดงภาวะการหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นได้ บอกความหมายของการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูงได้ บอกข้อบ่งชี้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูงได้ อธิบายแนวทางการประเมินภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นได้ ให้การพยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและขั้นสูงได้ถูกต้อง

3 การหยุดหายใจ (Apnea or Respiratory Arrest)
ภาวะที่บุคคลไม่สามารถหายใจได้ทำให้ไม่มีออกซิเจนผ่านเข้าไปในถุงลมปอดและไม่มีการขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากทางเดินหายใจเช่นกัน ก่อนที่จะหยุดหายใจผู้ป่วยมักจะเกิดภาวะฉุกเฉินของระบบหายใจก่อน แล้วทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก (dyspnea) หายใจติดขัด หายใจแบบหิวอากาศ (air hunger) หายใจช้ามาก หายใจเฮือกและหยุดหายใจตามมา

4 สาเหตุการหยุดหายใจ (apnea or respiratory arrest)
ความผิดปกติของทางเดินหายใจ ตีบแคบ อุดตัน ความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนกาซในถุงลมปอด ติดเชื้อ ปริมาตรออกซิเจนลดลง พื้นที่สูง ห้องแคบอากาศไม่ถ่ายเท ประสาทและสมองที่ควบคุมการหายใจผิดปกติ บาดเจ็บไขสันหลัง กล้ามเนื้อทรวงอกและกะบังลมผิดปกติ การบาดเจ็บ หัวใจและการไหลเวียนเลือดผิดปกติ ฯ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

5 อาการและอาการแสดง - กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ซึมลง ใช้กล้ามเนื้อคอ ไหล่และกล้ามเนื้อทรวงอกช่วยขณะหายใจเข้า ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยในการหายใจออก ริมฝีปาก ลิ้นและปลายมือ เล็บมือเขียวคล้ำ หยุดหายใจ ทรวงอกไม่เคลื่อนไหว นอนนิ่ง ไม่ตอบสนองการเรียกหรือเขย่า ไม่รู้สึกตัว

6 หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
หมายถึง ภาวะที่ประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจลดลงหรือไม่สามารถบีบตัวได้ อาจเริ่มต้นจากการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ (cardiac arrhythmia) และหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)ตามมาทำให้เลือดที่ถูกบีบจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย

7 1. กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีการบีบรัดตัวเลย ส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นเส้นตรง เรียกว่า asystole or cardiac standstill

8 2. กล้ามเนื้อหัวใจกระตุกเบา ๆ ถี่ ๆ และสั่นพริ้ว ไม่สามารถที่จะบีบเลือดออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือดเพื่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะผิดปกติ เช่น Ventricular fibrillation (VF)

9 สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
1. หัวใจหยุดเต้นทันที : Sudden cardiac arrest (SCA): - การทำงานของหัวใจผิดปกติ เกิดจาก heart attack จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การไหลเวียนเลือดลดลง เนื่องจาก อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ (trauma) การเสียเลือด (bleeding) ได้รับยากดการทำงานหัวใจ (drug overdose) สารพิษต่าง ๆ 2. ขาดอากาศ (Asphyxia) : เกิดจากการจมน้ำ (drowning) หรือมีสิ่งแปลกปลอม อุดกั้นทางเดินหายใจ (foreign-body airway obstruction)

10 อาการและอาการแสดงของหัวใจหยุดเต้น
- เจ็บอก ใจสั่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว คลำชีพจรที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ(carotid artery) หรือที่ขาหนีบ (femoral artery)ไม่ได้ ฟังเสียงเต้นของหัวใจไม่ได้ หายใจสะอึก หายใจลำบาก ไม่สม่ำเสมอ และหยุดหายใจ ริมฝีปาก ลิ้น เล็บ ปลายนิ้วเขียวคล้ำ ม่านตาขยาย ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงสว่าง

11 การประเมินการหยุดหายใจ สังเกตโดยมองดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก ทรวงอกไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวช้ามาก อ้าปากค้างหรือมีเสียงครืดคราด จากทางเดินหายใจ การประเมินหัวใจหยุดเต้น คลำชีพจรที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอหรือขาหนีบ ถ้าเป็นผู้ให้การช่วยเหลือทั่วไป ไม่ต้องคลำชีพจร ให้นวดหัวใจได้เลยทันที หลังจากพบการหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น

12 สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตปี ค. ศ
สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตปี ค.ศ.2015 Guidelines American Heart Association, The Heart Association of Thailand และ Thai Resuscitation Council

13 ห่วงโซ่แห่งรอดชีวิตนอกโรงพยาบาล เน้นการพึ่งพาชุมชน
และผู้เห็นเหตุการณ์ขณะนั้น ให้เริ่มทำการช่วยชีวิต รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าที่มีในสถานที่สาธารณะ

14 ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตในโรงพยาบาลโดยจะเน้นที่การเฝ้าระวัง ของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤต ระบบการดูแล จะขึ้นอยู่กับการประสานงานของหน่วยงานของหน่วยงานในโรงพยาบาล

15 ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)
หมายถึง การกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและ/หรือหัวใจหยุดเต้น เพื่อหัวใจและหลอดเลือดกลับมาทำหน้าที่ได้ และ/หรือทำให้กลับมามีการหายใจได้ ข้อบ่งชี้ในการช่วยคืนชีพ การหยุดหายใจหรือหายใจลำบากซึ่งกำลังจะเกิดการหยุดหายใจตามมา หัวใจหยุดเต้นหรือหัวใจเต้นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลงหรือหยุดลง

16 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (BLS)
วัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิต ทำให้การหายใจและหัวใจกลับมาทำงานตามปกติ โดยป้องกันความพิการ ที่เกิดจาสมองขาดเลือด และอวัยวะสำคัญอื่น ๆขาดเลือดไปเลี้ยง เช่น ไต ตับ เป็นต้น

17

18

19

20 ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
1. บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม ควรทำการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องช่วยหายใจ 2. บุคคลทั่วไปที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม หากผู้ปฏิบัติเป็นบุคคลทั่วไปที่เคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อน ควรกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (การจะทำการช่วยหายใจหรือไม่แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ทำ)

21 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) เริ่มต้นทำทันที เมื่อพบผู้ป่วยสงสัยหัวใจหยุดเต้น และขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพแล้ว โดยมีขั้นตอน C-A-B C: Chest compression - เริ่มกดหน้าอก 30 ครั้ง โดยให้ความสำคัญกับ กดลึก (อย่างน้อย 5 เซนติเมตร) และกดเร็ว (อย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที) ถอนมือจนสุด กดให้ต่อเนื่อง ห้ามช่วยหายใจมากเกินไป A: Airway - เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยการทำ การเชิดหัว-เชยคาง (head tilt-chin lift) หรือยกกราม (jaw thrust) B: Breathing - ช่วยหายใจ 2 ครั้ง แล้วเริ่มกดหน้าอกในข้อ 1 ต่อ เพื่อให้อัตราการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจ = 30:2 ทำขั้นตอน C-A-B ไปเรื่อย ๆ จนกว่า เครื่องช็อกไฟฟ้า (defibrillator) มาถึง

22 Rate : อัตราการปั๊มหัวใจ เปลี่ยนจากอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที่ เปลี่ยนเป็นปั๊มอย่างน้อย 100 แต่ไม่ควรเกิน 120 ครั้งต่อนาที  Depth : การปั๊มในแต่ละครั้ง เปลี่ยนจากการปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม. (2 นิ้ว ) เป็นปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม.แต่ไม่ควรลึกเกิน 6 ซม.( 2.4 นิ้ว ) Recoil : ต้องไม่พักมือหรือปล่อยน้ำหนักไว้บนหน้าอกผู้บาดเจ็บก่อนการปั๊มในครั้งต่อไป ต้องปล่อยให้หน้าอกยกตัวขึ้นสุดก่อนกดในครั้งต่อไปนั้นเอง Position : ตำแหน่งในการวางมือของการปั๊มต้องวางมือตรงส่วนล่างของกระดูกหน้าอก ( lower half of sternum bone )

23 การเชิดหัว - เชยคาง (head tilt-chin lift) หรือยกกราม (jaw thrust)

24 เป่าลมจากปากผ่านหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกัน (Mouth-to-Barrier Device Breathing)
บีบอากาศผ่าน Ambu - bag with mask (self-inflating bag) and oxygen 100 % (10 ลิตร/นาที ขึ้นไป) อัตรา 8 – 10 ครั้ง/นาที

25 ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
อันตรายของการช่วยฟื้นคืนชีพไม่ถูกวิธี วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ทำให้ขาดออกซิเจน การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน

26

27 การใช้เครื่อง AED (Automated External Defibrillator)

28 AED (Automatic External Defibrillator) คือ เครื่องช็อกไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้อ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และช่วยช็อกไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคลื่นหัวใจ AED มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น จากการช็อกไฟฟ้าที่เร็วขึ้น โดยผู้ช่วยเหลือ ณ ที่เกิดเหตุ (bystander) เมื่อเครื่อง AED มาถึงให้เริ่มใช้ได้เลยไม่ต้องรอ CPR ให้ครบ cycle ช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ทำได้ (เมื่อมีข้อบ่งชี้) รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า ทำการกดหน้าอกต่อทันทีหลังการช็อกไฟฟ้า

29 ติดแผ่นบริเวณ Apex/sternum

30

31

32

33

34 เปิดเครื่อง AED และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการใช้งานของเครื่อง AED ถ้า EKG ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยการกระตุ้นหัวใจ (shock) ได้ เครื่องจะแนะนำให้เข้า สู่ขั้นตอนการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า โดยช็อก (shock) 1 ครั้ง

35  หลังจากการกระตุ้นหัวใจให้ทำการนวดหัวใจต่อไปทันที โดยให้หยุดการนวดให้ใจน้อยที่สุด
 Chest Compression แรง เร็ว  หยุดหรือขัดจังหวะการ กดหัวใจน้อยที่สุด  เปลี่ยนคนกดหน้าอก ทุก 2 นาที (5 รอบ)  หลีกเลี่ยงการช่วยหายใจมากเกินไป  อัตรา C:B = 30:2  ถ้าทำได้ติดตาม วัดความดันในเลือดแดงโดยตรง ถ้า diastolic BP < 20 mmHg ให้ CPR อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

36 ภาวะแทรกซ้อนจากการทำ CPR
1. การได้รับบาดเจ็บทรวงอก เช่น กระดูกซี่โครงหักทิ่มปอด มีเลือดหรือลมออก ในช่องเยื่อหุ้มปอด เลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจหรือหลอดเลือดฉีกขาด หัวใจถูกบีบกด (cardiac tamponade) มีก้อนเลือดหรืออากาศอุดตันในหลอดเลือดที่ปอดหรือหัวใจ

37 เกณฑ์การพิจารณาหยุดการช่วยฟื้นคืนชีพ
1. คลำชีพจรได้ และ/หรือหายใจได้ ทีมช่วยชีวิตหรือหน่วยฉุกเฉินหรือบุคลากรสุขภาพมาถึงและให้การช่วยเหลือต่อ ผู้ช่วยเหลือไม่สามารถทำ CPR ต่อได้ พิจารณาแล้วว่าสมองขาดเลือดเป็นเวลานานไม่สามารถกลับมาทำงานเหมือนเดิมได้

38 การช่วยเหลือคนจมน้ำ สาเหตุการเสียชีวิตจากการจมน้ำมักเกิดจากขาดอากาศหายใจเนื่องจาก Reflex Laryngospasm การทำ CPR ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะการเปิดทางเดินหายใจและการช่วยหายใจ (แม้เมื่อขณะกำลังเอาขึ้นจากน้ำ) จะช่วยชีวิตได้มากที่สุด ควรรีบนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด เพราะการกดหน้าอกในน้ำไม่ได้ผล การป้องกันกระดูกคอ จำเป็นก็ต่อเมื่อประวัติการบาดเจ็บน่าสงสัย ไม่มีความจำเป็นต้องเอาน้ำออกจากปากหรือท้องก่อน CPR ในระหว่าง CPR ถ้าอาเจียนออกให้ตะแคงหน้าและ remove FB

39

40 Foreign body obstruction
หอบเหนื่อยแน่น หายใจลำบาก ไอไม่มีเสียง พูดไม่ได้ เขียว หยุดหายใจ Foreign body obstruction

41 การช่วยเหลือ Heimlich maneuver การกระตุ้นไอและเคาะปอด
การกดท้อง (Abdominal thrust) การกดหน้าอก (chest thrust) การช่วยเหลือ Heimlich maneuver จัดท่ายืนข้างหลังผู้ป่วย กำมือแน่นกอดมาด้านหน้า แล้วกดกระแทกบริเวณใต้ลิ้นปี่


ดาวน์โหลด ppt การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google