งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen
ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ “สัมมนา เศรษฐศาสตร์ 3 กรอบ” 3 สิงหาคม 2558

2 Amartya Sen ชาวอินเดีย แต่เกิดที่บังคลาเทศ (ก่อนที่แยกประเทศออกจากอินเดีย) ความสำคัญของประสบการณ์ในวัยเด็ก ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1998 สอนที่ LSE, Oxford, และ Cambridge ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์และปรัชญาที่ Harvard

3 Amartya Sen ผลงาน Sen กับความเป็นตะวันออก? Social Choice
Poverty and Famine On Ethics and Economics Development as Freedom Identity and Violence Argumentative Indian The Idea of Justice Sen กับความเป็นตะวันออก?

4 Development as Freedom
แนวคิดด้านการพัฒนาของ Amartya Sen “การพัฒนาคือการส่งเสริมเสรีภาพ” (Development as Freedom) ขยายมุมมองด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจออกจากการมองแต่การเติบโตทางรายได้หรือความมั่นคั่ง การเติบโตทางรายได้เป็นแค่หนึ่งในเครื่องมือในการสร้างเสริมเสรีภาพ แง่มุมอื่นในการส่งเสริมเสรีภาพ: การเข้าถึงตลาดอย่างเท่าเทียม การมีสิทธิทางการเมือง การได้รับการศึกษาและการเข้าถึงระบบสาธารณสุข การพัฒนาเสรีภาพในหลากแง่มุมต่างส่งเสริมกันและกัน เช่น สิทธิทางการเมืองแก้ปัญหาความอดอยาก สวัสดิการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ

5 Development as Freedom
เสนอการวิเคราะห์การพัฒนาด้วย Capability Approach Capability is a set of valued functionings Functionings = what one reasonably values in life Capability set = the ability to achieve what one values in life ปัญหาเช่นความยากจนก็คือการขาดหายไปของ capability ความยากจนและความไม่เท่าเทียมต้องถูกมองเป็น multi-dimensional แนวทางนี้นำไปสู่กรอบ Human Development ของสหประชาชาติ การส่งเสริมเสรีภาพเป็นทั้งเป้าหมาย เครื่องมือ และกระบวนการเลือกเป้าหมาย ในกระบวนการพัฒนา

6 มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen
มอง “ชุมชนไทย” ในฐานะของแนวคิดในสามด้าน แนวคิดด้านการพัฒนา แนวคิดทางวัฒนธรรม แนวคิดทางการเมือง มองเศรษฐกิจการเมืองไทยผ่านกรอบ Amartya Sen

7 มองชุมชนไทยฐานะแนวคิดด้านการพัฒนา
“ชุมชนไทย” ในฐานะแนวคิดด้านการพัฒนาบนฐานของ “วัฒนธรรมชุมชนหมู่บ้านไทย” เน้นการพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง กังวลกับบทบาทของรัฐและตลาด

8 มองชุมชนไทยฐานะแนวคิดด้านการพัฒนา
จาก self-sufficiency สู่ capability การพัฒนาคือการสร้างคุณภาพชีวิตที่ “เพียงพอ” การพึ่งตนเองของชุมชนจะสร้างคุณภาพชีวิตที่เพียงพอได้หรือไม่? ความสุขเป็นมาตรชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมาะสม

9 มองชุมชนไทยฐานะแนวคิดด้านการพัฒนา
รัฐและตลาดในฐานะภยันตราย VS รัฐและตลาดในฐานะเครื่องมือส่งเสริมเสรีภาพ ตลาดไม่ใช่เพียงระบบที่ช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการจัดสรรทรัพยากร แต่ยังเป็นระบบที่ในตัวมันเองเปิดให้มีเสรีภาพในการเลือก โจทย์สำคัญคือการสร้างการเข้าถึงระบบตลาดอย่างเท่าเทียมกัน และการอุดช่องโหว่ของระบบตลาดในการให้บริการสาธารณะ รัฐมีหน้าทีสำคัญในการสร้างสวัสดิการที่ช่วยสนับสนุน capability ระบบสวัสดิการเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัญหาสำคัญไม่ใช่งบประมาณไม่เพียงพอ แต่เป็นการจัดสรรงบประมาณไปสู่เรื่องเช่นการทหาร

10 Sen กับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
“Thailand’s experience in universal healthcare is exemplary... in 2001 the government introduced a “30 baht universal coverage programme” ...The result of universal health coverage in Thailand has been a significant fall in mortality and a remarkable rise in life expectancy…There has also been an astonishing removal of historic disparities in infant mortality between the poorer and richer regions of Thailand” Amartya Sen “Universal healthcare: the affordable dream” The Guardian 6 January 2015

11 มองชุมชนไทยในฐานะแนวคิดด้านวัฒนธรรม
“ชุมชนไทย” ในฐานะแนวคิดแนวคิดด้านวัฒนธรรม การรักษาวัฒนธรรมไทยในฐานะเป้าหมายของการพัฒนา ความกังวลต่อการรุกรานของวัฒนธรรมตะวันตก

12 มองชุมชนไทยในฐานะแนวคิดด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับการพัฒนาในมุมมองของ Sen การสร้างให้วัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มนำไปสู่การสร้าง “เส้นแบ่งทางวัฒนธรรม” เส้นแบ่งดังกล่าวเป็นปัญหาเพราะ สร้างความกังวลว่าวัฒนธรรมจะปะทะกัน ละเลยความหลากหลายที่คงอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม ละเลยการปฏิสัมพันธ์และผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ดำเนินมาแต่อดีต ต้องไม่ลืมว่าวัฒนธรรมบางแบบก็จำกัดเสรีภาพได้เช่นกัน ปัญหาในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไม่ใช่การให้ชนชั้นนำเข้ามาทำตัวเป็นผู้พิทักษ์และตัดสิน แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในวัฒนธรรมมาตัดสินร่วมกัน

13 มองชุมชนไทยในฐานะแนวคิดด้านการเมือง
ประชาธิปไตยชุมชน: ประชาธิปไตยแบบไทย ระบบการเมืองที่ถูกกำกับด้วยคุณธรรมและคนดี สำหรับ Sen ประชาธิปไตยไม่ควรถูกแบ่งแยกให้เป็นแนวคิดตะวันตก และไม่ควรถูกมองเป็นกระบวนการที่ฟุ่มเฟือยสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ประชาธิปไตยและสิทธิทางการเมืองมีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสรีภาพ เป็นทั้งเป้าหมาย กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และกระบวนการเลือกคุณค่าที่มากำหนดการพัฒนา Sen ปฏิเสธแนวคิด “วิถีแห่งเอเซีย” ว่าการลดเสรีภาพเป็นรากฐานของความสำเร็จทางเศรษฐกิจของชาติเอเซียตะวันออก

14 Amartya Sen กับประชาธิปไตย
“First, the public should be engaged in an open discussion to evaluate what the government and the society should do” Amartya Sen

15 มองเศรษฐกิจการเมือง “ไทย” ในผ่านกรอบ Amartya Sen
ความสำเร็จที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยและการเกิดขึ้นของนโยบายเช่น 30 บาท การขยายโอกาสด้านการศึกษา และการขยายตัวของระบบประกันสังคม

16 Thailand’s health expenditure per capita, PPP constant 2005 international $
ที่มา: World Bank

17 Thailand’s secondary school enrolment
ที่มา: World Bank

18

19 มองเศรษฐกิจการเมืองไทยในผ่านกรอบ Amartya Sen
ปัญหาในปัจจุบัน Development as unfreedom ความเชื่อที่ว่าการให้เสรีภาพไปด้วยกันไม่ได้กับการพัฒนา ความกังวลต่อบทบาททางสวัสดิการของรัฐ ความกลัวต่อภาวะการเสื่อมลงของค่านิยมเก่า การปฏิรูปแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อการเมืองแบบไม่มีส่วนร่วม ทุนกับการเมือง? ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง?


ดาวน์โหลด ppt มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google