งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
อาจารย์ศรีนวล ฟองมณี

2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นกระบวนการในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมา เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศรวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถทำงานแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยอาจนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผล เรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้อง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรอีกด้วย

3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาระบบ
ปัจจัยภายในองค์กร (Internal Factors) 1.แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) 2.ผู้บริหารระดับสูง (Top Mangers) 3.ความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User Requests) 4. แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Department) 5.ข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม (Errors or problems of legacy Systems)

4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาระบบ(ต่อ)
ปัจจัยภายนอก (External Factors) 1.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 2.ผู้ขาย (Suppliers) 3.ลูกค้า (Customers) 4.คู่แข่งขัน (Competitors) 5.เศรษฐกิจ (Economy) 6.รัฐบาล (Government)

5 หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ(1/8)
1.ศึกษาถึงความต้องการของเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ 2.ศึกษาถึงปัญหาให้ตรงจุด สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด (1) การเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาผิด (2) การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด (3) การแก้ไขปัญหาแล้วเกิดข้อผิดพลาด แนวทางในการศึกษาปัญหามีดังนี้ 1) ศึกษาและทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดปัญหา 2) ศึกษาหาแนวทางในการแก้ปัญหาพร้อมระบุข้อดีข้อเสียในแต่ละแนวทาง 3) เลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา 4) ลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกในการแก้ปัญหา 5) ประเมินผลจากการปฏิบัติงานและทำการปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์

6 หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ (3/8)
3.การวางแผนการพัฒนาระบบ 4.กำหนดกฎ/ระเบียบในระหว่างการพัฒนาระบบ ด้านต่างๆ ดังนี้ 4.1.ด้านการปฏิบัติงาน (Activity) 4.2.ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) 4.3.ด้านการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Checks) 4.4.ด้านเอกสารหรือรายละเอียดความต้องการ (Documentation Guidelines/ Requirements)

7 หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ (5/8)
5.พิจารณาถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบที่พัฒนา 6.เตรียมพร้อมหากโครงการถูกยกเลิกหรือลดขอบเขต 6.1.เมื่อพบว่าไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรได้ 6.2.เมื่อมีการเพิ่มขอบเขตโครงการ 6.3.เมื่อมีการลดงบประมาณในการปฏิบัติงานโครงการ 7. แตกระบบใหญ่ให้เป็นระบบย่อย 8. ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

8 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
งานการพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกิจกรรมและขั้นตอนต่างๆ มากมาย รวมถึงความซับซ้อนของระบบงาน ดังนั้นการมีแนวทางที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ส่งผลต่อมาตรฐานของระบบงาน งานการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมีขั้นตอนลำดับกิจกรรมที่ต้องทำอย่างชัดเจนในแต่ละขั้นตอน เรียกว่า “วงจรการพัฒนาระบบ” (System Development life Cycle: SDLC)

9 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development life Cycle)
ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ขั้นตอน 1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) 2. การวิเคราะห์ระบบ (Analysis) 3. การออกแบบ (Design) 4. การพัฒนา (Development) 5. การทดสอบ (Testing) 6. การติดตั้งระบบ (Implement) 7. การบำรุงรักษา (Maintenance)

10 วงจรการพัฒนาระบบ (System Development life Cycle)
1.การกำหนดความต้องการของระบบ 2.การวิเคราะห์ระบบ 3.การออกแบบระบบ 4.การพัฒนาระบบ 5.การทดสอบระบบ 6.การติดตั้งระบบ 7.การบำรุงรักษา

11 ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Definition)
ในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องค้นหาปัญหาและศึกษาทำความเข้าใจปัญหา ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในระบบงานเดิม โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำความเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ คิดหาทางแนวทางและวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา รวบรวมความต้องการและสรุปข้อกำหนดต่างๆ ให้ชัดเจน ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นตอนย่อยที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Definition) ขั้นตอนย่อยที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) ขั้นตอนย่อยที่ 3 การกำหนดความต้องการของระบบ (System Requirements)

12 ขั้นตอนย่อยที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Definition)
เป็นขั้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบเข้าไปทำความเข้าใจปัญหา คือ การทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร พร้อมทั้งคิดหาแนวทางหรือสถานการณ์ที่นักวิเคราะห์ระบบเชื่อว่าสามารถปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นโดยใช้ระบบสารสนเทศ และนักวิเคราะห์ระบบต้องค้นหาว่าธุรกิจต้องการอะไร เพื่อทำให้เป้าหมายบรรลุวัตถุประสงค์ ในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ระบบ โดยการตรวจสอบเอกสาร การสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม หรือสังเกตพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ

13 ขั้นตอนย่อยที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study)
เป็นขั้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการดำเนินการปรับปรุงระบบ พิจารณาถึงความพร้อมในด้านต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความล้มเหลวในการปรับปรุงระบบ โดยทำการศึกษาความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ เช่น - ความเป็นไปได้ทางเทคนิค คือ ความเป็นไปได้ของการปรับปรุงระบบหรือพัฒนาระบบใหม่ โดยนำเทคโนโลยีปัจจุบันมาใช้งาน หรือ การอัปเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือตัดสินใจใช้ในทางเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด - ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ คือ ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ด้วยการคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงาน ความคุ้มค่าของระบบด้วยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากระบบกับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุน

14 ขั้นตอนย่อยที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study)
- ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน คือ ความเป็นไปได้ของระบบใหม่ที่จะให้สารสนเทศที่ถูกต้องตรงความต้องการของผู้ใช้งาน ทัศนคติ ทักษะกับระบบงานใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่ว่าเป็นที่ยอมรับ หรือไม่ - ความเป็นไปได้ทางด้านเวลาในการดำเนินการ คือ ความเป็นไปได้ของระยะเวลาในการดำเนินงานในการพัฒนาระบบใหม่

15 ขั้นตอนย่อยที่ 3 การกำหนดความต้องการของระบบ (System Requirements)
เป็นขั้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบ ทำการวิเคราะห์ถึงการทำงานของระบบเดิม เพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการหาข้อสรุปที่ชัดเจนในด้านของความต้องการ ระหว่างผู้พัฒนากับผู้ใช้งาน หรือเรียกว่า ข้อกำหนดความต้องการ (Requirement Specification) เพื่อใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำข้อกำหนดความต้องการเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาและตัดสินใจในการดำเนินการพัฒนาระบบหรือล้มเลิกการพัฒนาระบบ

16 การรวบรวมข้อมูลหรือความต้องการในด้านต่างๆ เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด

17 ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระบบ (Analysis)
วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน (Current System) พัฒนาแนวคิดสำหรับระบบใหม่ (New System) วัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ระบบคือ ศึกษาและทำความเข้าใจในความต้องการต่างๆที่ได้รวบรวมมาจากกระบวนการขั้นตอนการกำหนดความต้องการ โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำข้อมูลความต้องการมาวิเคราะห์เพื่อประเมินว่าควรมีอะไรบ้างที่ระบบใหม่ต้องดำเนินการด้วยการพัฒนาเป็นแบบจำลองลอจิคัล (Logical Model) ได้แก่ แบบจำลองแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แบบจำลองกระบวนการ (Process Model) แบบจำลองข้อมูล (Data Model)

18 การนำข้อกำหนดมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างเป็นแบบจำลองกระบวนการของระบบใหม่

19 ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบ (Design)
นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่ ออกแบบระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการที่ได้ระบุไว้ในเอกสารขั้นตอนของการวิเคราะห์ ที่เป็นแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาเป็น แบบจำลองเชิงกายภาพ เนื่องจากแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ แสดงให้เห็นเพียงมีอะไรที่ต้องทำในระบบ แบบจำลองเชิงกายภาพจะนำแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาต่อด้วยการแสดงให้เห็นว่าระบบจะดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามความต้องการ การออกแบบระบบด้วยแบบจำลองเชิงกายภาพ ประกอบด้วยการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับฮารด์แวร์ ซอฟต์แวร์และระบบเครือข่าย การออกแบบรายงาน การออกแบบหน้าจอนำเข้าข้อมูล การออกแบบรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าและรูปแบบการรับข้อมูล การออกแบบผังระบบงาน การออกแบบฐานข้อมูล การสร้างต้นแบบและการออกแบบโปรแกรม

20 การออกแบบเชิงกายภาพ การออกแบบ จะนำแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบมาออกแบบให้เป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ เพื่อนำไปสู่การใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาจริง

21 ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development)
คือการนำระบบที่ได้ออกแบบมาจัดทำซอฟต์แวร์ การออกแบบซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม ในกระบวนการนี้ทีมงานโปรแกรมเมอร์จะต้องพัฒนาโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบ โปรแกรมเมอร์สามารถนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรม จัดทำเอกสารโปรแกรมควบคู่ไปกับการพัฒนาโปรแกรมเพื่อทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไข ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม ผู้บริหารขององค์กรจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการพัฒนาโปรแกรม บางองค์กรอาจมีทีมงานพัฒนาโปรแกรมในองค์กร หรือซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้ หรือจ้างบริษัทที่รับพัฒนาระบบโดยเฉพาะ

22 การเขียนโปรแกรม ทดสอบ เพื่อนำไปติดตั้งใช้งานจริง

23 ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ (Testing)
ทดสอบระบบก่อนที่จะนำระบบไปใช้งานจริง การทดสอบเบื้องต้นด้วยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบงาน หากพบข้อผิดพลาดก็ทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง การทดสอบระบบจะมีการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้ การตรวจสอบว่าระบบทำงานตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

24 ขั้นตอนที่ 6 การติดตั้งระบบ (Implement)
นำระบบที่พัฒนาไปติดตั้งเพื่อใช้งานบนสถานการณ์จริง การติดตั้งระบบคือการเปลี่ยนการทำงานจากระบบงานเดิมไปเป็นระบบงานใหม่ แบ่งเป็น 4 แนวทางดังนี้ - การติดตั้งแบบทันทีทันใด (Direct Installation) - การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Installation) - การติดตั้งแบบนำร่อง (Single Location Installation/Pilot Installation) - การติดตั้งแบบทยอยติดตั้งเป็นระยะ (Phased Installation) ในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการแปลงข้อมูลจากระบบงานเดิมมาให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบใหม่สามารถนำไปใช้งานได้ จัดทำเอกสารคู่มือระบบ รวมถึงการฝึกอบรมผู้ใช้

25 ขั้นตอนที่ 7 การบำรุงรักษา (Maintenance)
เมื่อพบข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องจากการทำงานของระบบงานใหม่ นักวิเคราะห์ระบบจึงจำเป็นต้องดำเนินการติดตามและแก้ไขให้ถูกต้อง กรณีที่ข้อมูลจัดเก็บมีปริมาณมากขึ้น จำเป็นต้องมีการขยายระบบเครือข่ายเพื่อรองรับเครื่องลูกข่ายที่มีจำนวนมากขึ้น หรือบางกรณีอาจต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม หากผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มขึ้น ดังนั้นในขั้นตอนของการกำหนดความต้องการนักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องมีการจัดทำเอกสารข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่ายถึงขอบเขตในการพัฒนาระบบงาน และกรณีที่มีการแก้ไขหรือพัฒนาระบบงานเพิ่ม

26 วิธีการพัฒนาระบบ (System Development Approaches)
1. การพัฒนาระบบเชิงโครงสร้าง (Structured System Development) 2. การพัฒนาระบบเชิงวัตถุ (Object-Oriented System Development)

27 การพัฒนาระบบเชิงโครงสร้าง (Structured System Development)
เป็นวิธีการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับ - การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง - การออกแบบเชิงโครงสร้าง - การโปรแกรมเชิงโครงสร้าง โดยสามารถเรียกเทคนิคทั้งสามได้ว่า “เทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบเชิงโครงสร้าง (Structured Analysis and Design Technique: SADT)”

28 การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structure Analysis Technique)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร รายงาน และขั้นตอนการทำงานของระบบงานเดิม สร้างแบบจำลองกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทำงานของระบบ ข้อมูลที่ระบบต้องการ ข้อมูลที่ได้จากการทำงานของระบบ บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ และแฟ้มที่ใช้จัดเก็บข้อมูลของระบบ มีการแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลในแต่ละกระบวนการ เรียกแผนภาพนี้ว่า แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)

29 ตัวอย่าง การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structure Analysis Technique)

30 การออกแบบเชิงโครงสร้าง (Structure Design Technique)
การนำเสนอระบบที่พัฒนาผ่านทางผังโครงสร้าง (Structure Chart) ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงโมดูลภายในโปรแกรมและแสดงวิธีการจัดการกับโมดูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างโมดูลทำให้นักออกแบบทราบถึงกระบวนการทำงานของระบบ ฟังก์ชั่นหลักของระบบ ข้อมูลที่ใช้ในระบบ และผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของระบบ ต่อมามีการพัฒนาเทคนิคการออกแบบแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลขึ้นมา เพื่อใช้ควบคู่กับการออกแบบเชิงโครงสร้าง เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่สามารถออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้และส่วนที่ใช้โต้ตอบกับฐานข้อมูล

31 การโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structured Programming Technique)
เป็นเทคนิคในการพัฒนาโปรแกรมที่มีหนึ่งจุดเริ่มต้นและหนึ่งจุดสิ้นสุดโดยจะมีรูปแบบชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผล 3 รูปแบบคือ (1) ชุดคำสั่งเรียงเป็นลำดับ (Sequence) (2) ชุดคำสั่งกำหนดทางเลือกหรือการตัดสินใจ (Decision) (3) ชุดคำสั่งเพื่อการทำซ้ำหรือวนลูป (Repetition/Looping)

32 (System Development Approaches)
วิธีการพัฒนาระบบ (System Development Approaches) เป็นวิธีการพัฒนาที่จะมองระบบสารสนเทศเป็นแหล่งรวมของการโต้ตอบระหว่างวัตถุ (Objects) เพื่อทำงานร่วมกันจนกระทั่งงานสำเร็จ

33 วิธีดั้งเดิม (เชิงโครงสร้าง)
ข้อมูลเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์และออกแบบระบบแบบดั้งเดิมและแบบเชิงวัตถุ วิธีดั้งเดิม (เชิงโครงสร้าง) วิธีเชิงวัตถุ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร รายงาน และขั้นตอนการทำงานของระบบงานเดิม วิเคราะห์จากออบเจ็กต์ที่เกี่ยวข้อง แตกกระบวนการทำงานออกเป็นโมดูลย่อยๆ จัดกลุ่ม จัดประเภทของออบเจ็กต์ที่เป็นไปตามคุณลักษณะ โปรแกรมต่างๆ ในระบบ จะมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ออบเจ็กต์แต่ละตัวจะมีความเป็นอิสระกัน ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ จะไม่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน กรณีปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบ จะทำได้ด้วยการแก้ไขชุดคำสั่งหรือซอร์สโค้ด การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบ จะทำได้ด้วยการเปลี่ยนรายละเอียดด้านคุณสมบัติ และฟังก์ชั่นการทำงานของออบเจ็กต์นั้นๆ เครื่องมือที่นำมาสนับสนุนระบบ ปัจจุบันเริ่มมีน้อยลง เครื่องมือที่นำมาสนับสนุนระบบ มีมาขึ้นเรื่อยๆ

34 สรุป จุดประสงค์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อช่วย
แก้ปญหาจากการปฏิบัติงานในระบบงานเดิม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในทางธุรกิจ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจึงควรมีความรอบคอบในการดำเนินการพัฒนาระบบ ซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนา เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย กิจกรรม 7 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดความต้องการ 2) การวิเคราะห์ระบบ 3) การออกแบบระบบ 4) การพัฒนาระบบ 5) การทดสอบระบบ 6) การติดตั้งระบบ 7) การบำรุงรักษาระบบ โดยแต่ละขั้นตอนจะทำงานเรียงตามลำดับ จากขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 7 จึงจะเห็นระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ หลักการในพัฒนาระบบที่ดี นักวิเคราะห์ระบบ จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพจากการทำงานของระบบและประสิทธิผลจากการนำระบบไปใช้เป็นอย่างยิ่ง


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google