งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์ สายพันธุ์ SA 14-14-2 Lived Attenuated Japanese Encephalitis SA 14-14-2.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์ สายพันธุ์ SA 14-14-2 Lived Attenuated Japanese Encephalitis SA 14-14-2."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์ สายพันธุ์ SA Lived Attenuated Japanese Encephalitis SA : LAJE คุณบำเพ็ญ เกงขุนทด สคร.9 นครราชสีมา ประชุม คทง.วัคซีนเขต 9 วันที่ 28 มิ.ย. 59

2 CD.JEVAC วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
ศ.นพ. หยู เป็นผู้พัฒนาวัคซีน ใช้ในจีนตั้งแต่ ค.ศ (ได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2552) เป็นวัคซีนชนิด cell culture ตัวแรกที่ผลิตจากเชื้อไวรัส เจอี สายพันธุ์ SA เพาะเลี้ยงใน primary hamster kidney cell วัคซีนเป็นผงแห้ง มี water for injection 0.5 ml อายุของยา 18 เดือน ให้วัคซีนในเด็กอายุ 9 เดือน และฉีดกระตุ้นหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว เดือน (ขนาด 0.5 ml : Sc)

3 มี 2 บริษัทคือชื่อการค้า CD JEVAX และ THAIJEV
วัคซีน LAJE มี 2 บริษัทคือชื่อการค้า CD JEVAX และ THAIJEV

4 CD. JEVAX เป็นวัคซีน ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ใช้ไวรัส JE สายพันธุ์ SA ทำให้อ่อนฤทธิ์ ผลิตเป็นผงแห้ง เมื่อละลายแล้วจะได้น้ำยาใสสีส้มแดง หรือสีชมพูอ่อน บรรจุ ๑ โด๊ส ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ๒ ครั้ง ห่างกัน ๓ -๑๒ เดือน ฉีดครั้งละ ๐.๕ มล. เก็บที่อุณหภูมิ +๒ ถึง + ๘ องศาเซลเซียส ควรเก็บในกล่องเพื่อป้องกันแสง

5 เขต 9 ได้รับ JE Live ชื่อการค้า THAIJEV
เป็นวัคซีน ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ที่ได้จากเทคโนโลยีการสร้างพันธุกรรมไข้สมองอักเสบเจอีสายพันธุ์ SA ทำให้อ่อนฤทธิ์ ผลิตเป็นผงแห้ง เมื่อละลายแล้วจะได้น้ำยาไม่มีสี หรือสีเหลืองอำพันบรรจุ ๔ โด๊ส ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ๒ ครั้ง ห่างกัน ๑๒ เดือน ฉีดครั้งละ ๐.๕ มล. เก็บที่อุณหภูมิ +๒ ถึง + ๘ องศาเซลเซียส ควรเก็บในกล่องเพื่อป้องกันแสง เขต 9 ได้รับ JE Live ชื่อการค้า THAIJEV

6 Lived Attenuated Japanese Encephalitis SA14-14-2: LAJE
เขตสุขภาพที่ ๑ ( ๒๕๕๖ ) มี ๘ จังหวัด เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน,ลำปาง, ลำพูน, น่าน, แพร่, พะเยา เขตสุขภาพที่ ๒ ( ๒๕๕๘ ) มี ๕ จังหวัด พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, เพชรบูรณ์, ตาก, สุโขทัย เขตสุขภาพที่ ๕ ( ๒๕๕๘ ) มี ๘ จังหวัด ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ ๖ ( ๒๕๕๘ ) มี ๘ จังหวัด ชลบุรี, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา,ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ระยอง, จันทบุรี, ตราด ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เริ่มใช้ในเขตสุขภาพที่๓,๔,๗ – ๑๒ และกรุงเทพ ฯ

7 การให้ LAJE กลุ่มเป้าหมาย ให้ LAJE แก่เด็กอายุครบ ๑ ปี เข็มที่ ๑ อายุครบ ๑ ปี เข็มที่ ๒ อายุ ๒ ปี ๖ เดือน ( พร้อมกับ MMR 2 ) ขนาดที่ใช้ ครั้งละ ๐.๕ มล. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ( Sc )

8 การจัดเก็บวัคซีน LAJE
เก็บในอุณหภูมิ + ๒ ถึง + ๘ องศาเซลเซียส

9 การให้ LAJE แก่เด็กอายุเกิน ๑ ปี
เชื้อตาย กำหนดการให้ JE ชนิดเชื้อเป็น ครั้งต่อไป ไม่เคยได้รับ หรือ เคยได้รับ ๑ เข็ม เคยได้รับ ๒ เข็ม เคยได้รับ ๓ เข็ม ฉีด ๒ เข็ม ห่างกัน ๓ – ๑๒ เดือน ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต (CD JEVAX ห่างกัน 3-12 เดือน THAIJEV ห่างกัน 12 เดือน) ฉีด ๑ เข็ม ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๑๒ เดือน ไม่ต้องให้

10 การให้ LAJE แก่เด็กอายุเกิน ๑ ปี
จำง่าย ๆ ได้เชื้อตายมา ๑ ครั้ง ต่อเชื้อเป็น ๒ ครั้ง ได้เชื้อตายมา ๒ ครั้ง ต่อเชื้อเป็น ๑ ครั้ง ได้เชื้อตายมา ๓ ครั้ง ไม่ต้องต่อเชื้อเป็น

11 การคาดประมาณกลุ่มเป้าหมาย
หน่วยบริการ คาดประมาณการจำนวนเด็กที่ให้บริการ 1. รายชื่อเด็กที่นัด ทั้งเด็กที่อยู่ในและนอกพื้นที่ที่รับผิดชอบ 2. เด็กที่ไม่ได้มาตามนัดในครั้งที่ผ่านมา 3. เด็กที่ไม่ได้นัดที่อาจเข้ามาขอรับวัคซีน เพื่อคำนวณ ปริมาณวัคซีน ที่ต้องใช้ทั้งหมด การคาดประมาณปริมาณการใช้วัคซีน ให้เจ้าหน้าที่ประมาณการจำนวนเด็กที่ให้บริการในแต่ละครั้งจาก รายชื่อเด็กที่นัดทั้งเด็กที่อยู่ในและนอกพื้นที่ที่รับผิดชอบ เด็กที่ไม่ได้มาตามนัดในครั้งที่ผ่านมา เด็กที่ไม่ได้นัดที่อาจเข้ามาขอรับวัคซีน เพื่อคำนวณปริมาณวัคซีน IPV และ OPV ที่ต้องใช้ทั้งหมด แล้วประมาณการวัคซีนตามที่กล่าวในหัวข้อ “แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น”

12 การเบิกวัคซีน ใช้แบบฟอร์ม ว. 3/1 กรอกข้อมูล เป้าหมาย ยอดคงเหลือยกมา
จำนวนผู้รับบริการ จำนวนขวดวัคซีนที่เปิดใช้ โปรแกรมจะคำนวณอัตโนมัติ จำนวนวัคซีนที่ต้องการใช้ (ขวด) จำนวนวัคซีนที่ขอเบิก (ขวด) อัตราสูญเสียร้อยละ

13 อัตราสูญเสียวัคซีน LAJE ชนิด 4 dose/ขวด อัตราสูญเสียร้อยละ 20
LAJE ชนิด single dose อัตราสูญเสียร้อยละ 1 จำนวน LAJE ที่ใช้ (dose) = จำนวนเด็กกลุ่มเป้าหมายในแต่ละเดือน x 1.01 LAJE ชนิด 4 dose/ขวด อัตราสูญเสียร้อยละ 20 จำนวน LAJE ที่ใช้ (dose) = จำนวนเด็กกลุ่มเป้าหมายในแต่ละเดือน x 1.25

14 การเบิกวัคซีน หน่วยบริการ สสอ. ฝ่ายเภสัชกรรม รพ. ส่งใบเบิก ส่งใบเบิก
ตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง ตรวจสอบความสอดคล้องของการเบิกให้สัมพันธ์กับจำนวนเด็กที่ให้บริการจริง ตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง ตรวจสอบความสอดคล้องของการเบิกให้สัมพันธ์กับจำนวนเด็กที่ให้บริการจริง

15 การจัดส่งวัคซีน LAJE ครั้งแรก
1 – 14 ของทุกเดือน จัดส่งโดย GPO ตามระบบ VMI 15 – 31 ของทุกเดือน จำนวนวัคซีน LAJE ที่จัดส่ง ใน 3 เดือนแรก GPO จะใช้ค่า ROP และ Max Limit ของวัคซีน JE เชื้อตายไปก่อน ถ้าค่า ROP สูงเกิน แจ้ง สปสช. ( )

16 การจัดทำรายงานผลปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ฉีด LAJE ครั้งที่ 1 click ไปที่ “JE 1 : Lived attenuated” รหัสวัคซีน J11 ฉีด LAJE ครั้งที่ 2 click ไปที่ “JE 2 : Lived attenuated” รหัสวัคซีน J12

17 การจัดทำรายงานผลปฏิบัติงาน
LAJE (1 และ2)

18 การจัดทำรายงานความครอบคลุม
การได้รับวัคซีน โปรแกรม Hos-xP JE1 JE2 JE3 JL1 JL2

19 การจัดทำรายงานความครอบคลุม
การได้รับวัคซีน ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเจอีในเด็กอายุครบ 2 ปี ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเจอีในเด็กอายุครบ2 ปี = จำนวนเด็กอายุครบ2ปีในพื้นที่ที่ได้รับวัคซีนเจอีครบตามเกณฑ์ x 100 จำนวนเด็กอายุครบ 2 ปี ทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเจอีในเด็กอายุครบ 3 ปี ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเจอีในเด็กอายุครบ 3 ปี = จำนวนเด็กอายุครบ3ปีในพื้นที่ที่ได้รับวัคซีนเจอีครบตามเกณฑ์ x 100 จำนวนเด็กอายุครบ 3 ปี ทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบ

20 การจัดทำรายงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน
เกณฑ์การพิจารณาความครบถ้วนของการได้รับวัคซีนเจอีในเด็กอายุครบ 2 ปี ประวัติการได้รับวัคซีนเจอี ความครบถ้วน เจอีเชื้อตาย 2 ครั้ง ผ่านเกณฑ์ เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง และ LAJE 1 ครั้ง เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง ไม่ผ่านเกณฑ์ LAJE 1 ครั้ง LAJE 1 ครั้ง และ เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง ไม่เคยได้รับทั้งชนิดเชื้อตาย และ LAJE

21 การจัดทำรายงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน
เกณฑ์การพิจารณาความครบถ้วนของการได้รับวัคซีนเจอี ในเด็กอายุครบ 3 ปี ประวัติการได้รับวัคซีนเจอี ความครบถ้วน เจอีเชื้อตาย 3 ครั้ง ผ่านเกณฑ์ เจอีเชื้อตาย 2 ครั้ง และ LAJE 1 ครั้ง เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง และ LAJE 2 ครั้ง เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง และ LAJE 1 ครั้ง ไม่ผ่านเกณฑ์ LAJE 2 ครั้ง LAJE 1 ครั้ง และ เจอีเชื้อตาย 1 ครั้ง ไม่เคยได้รับวัคซีนทั้งชนิดเชื้อตาย และ LAJE

22 AEFI การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน
ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ สายพันธุ์ SA ระบบปกติ AEFI

23 CD. JEVAX อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีน มีไข้ ( มากกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส ผื่นคัน ผื่นแดงเฉพาะที่ ปวด มีภาวะที่ไวต่อยา ( semsitivity ในเด็กอาจมีร้องงอแง เบื่ออาหาร ง่วงนอน มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน อาการดังกล่าว จะเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีนไม่เกิน ๒ วัน และสามารถ หายเอง ไม่ต้องรักษาเป็นพิเศษ หรือเฉพาะเจาะจง

24 ข้อห้ามใช้ CD. JEVAX ๑. ผู้ที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรงต่อการฉีดวัคซีนนี้เมื่อครั้งก่อน ๒. ผู้ที่มีประวัติแน่ชัด หรือสงสัยแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนชนิดรุนแรง ๓. ผู้ที่มีไข้สูง มีการติดเชื้อเฉียบพลัน ๔. ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ เป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีประวัติชัก ๕. ผู้ที่มีความบกพร่องของการทำงานของหัวใจ ตับหรือไต ๖. สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร ๗. ผู้ที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ๘. ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

25 THAIJEV อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีน คือ
@ มีไข้ (มากกว่า ๓๗.๕ องศาเซลเซียส) รู้สึกไม่สบาย หงุดหงิด เจ็บ หรือกดเจ็บบริเวณที่ฉีด @ ปวดศีรษะ ง่วงซึม @ ปวดกล้ามเนื้อ @ อาเจียน @ ไม่อยากกินอาหาร @ ร้องให้ผิดปกติ @ ตำแหน่งที่ฉีดบวม แข็ง คัน ช้ำ อาจมีก้อนเลือด มีเลือดออก @ ผื่น ผื่นคัน ( ลมพิษ ) ผื่นเป็นจุดและนูน

26 ข้อห้ามใช้ THAIJEV ๑. ผู้ที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรงต่อการฉีดวัคซีนนี้เมื่อครั้งก่อน ๒. ผู้ที่มีประวัติแน่ชัด หรือสงสัยแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนชนิดรุนแรง ๓. ผู้ที่ได้รับอิมมูโนโกลบูลิน หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่ประกอบด้วย อิมมูโนโกลบู ลิน เช่น เลือด หรือ พลาสม่า ภายในเวลา ๖ สัปดาห์ และไม่ควรฉีดวัคซีน ภายใน ๓ เดือน ๔. ผู้ที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษา หรือ ได้รับยาที่ออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน เช่น การ รักษาด้วยเคมีบำบัด และการได้รับคอร์ติโคสเตอรอยด์ขนาดสูง นาน ๑๔ วัน หรือมากกว่า ๕. หากมีไข้สูง หรือมีการเจ็บป่วยเฉียบพลันควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน ๖. สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร ๗. ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด หรือเป็นในภายหลัง

27

28 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการบริหารจัดการวัคซีน ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์ สายพันธุ์ SA 14-14-2 Lived Attenuated Japanese Encephalitis SA 14-14-2.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google