ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทบาทของอาเซียนต่อประเทศไทย
2
ด้านการเมืองการปกครอง
พยายามที่จะทำให้ภูมิภาคนี้มีความ มั่นคงและมีเสถียรภาพปราศจากการ แทรกแซงจากภายนอก เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ประชุมว่าด้วยความร่วมมือและความมั่นคง สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การไกล่เกลี่ยชายแดนไทย – กัมพูชา ช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองในการ เจรจาระหว่างประเทศและร่วมกันใน การแก้ปัญหาข้ามชาติ และการ พัฒนาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเป็น รูปธรรม
3
อาเซียนมีความร่วมมือเพื่อธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เช่น การจัดทำ ปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้เป็น เขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และ ความเป็นกลาง หรือ Zone of Peace , Freedom and Neutrality (ZOPFAN) ในปี การจัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความ ร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Treaty of Amity and Cooperation (TAC) ในปี 2519 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และการริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF) เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจกัน ระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิกซึ่งไทยได้เป็น เจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537
4
ด้านเศรษฐกิจ ได้รับประโยชน์หลายประการที่ สำคัญ ได้แก่
ได้รับประโยชน์หลายประการที่ สำคัญ ได้แก่ ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ - ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร - ได้ขยายความร่วมมือในทุกสาขาหลัก เช่น การค้า การบริการ การเกษตร การลงทุน ด้านอุตสาหกรรมการเงินการคลัง การขนส่งและพลังงาน
5
อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ฯ พณฯ อานันท์ ปันยารชุน ได้เสนอให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ในปี 2535 เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน อันจะช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้าและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อมา อาเซียนได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจ สมบูรณ์แบบและมีทิศทางชัดเจน โดยจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน หรือ ASEAN Investment Area (AIA) ในปี 2541 เพื่อส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและภายนอก ภูมิภาค ส่งเสริมการเปิดการค้าเสรี การท่องเที่ยว การเงิน การเกษตร และสนับสนุนการเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งโดยไทยได้เสนอให้จัดทำความตกลง ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน นโยบายของไทยต่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ คือผลักดันให้อาเซียนมุ่งปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ
6
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยสนับสนุนให้อาเซียนกระชับ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย การค้าอาวุธ อาชญากรรมทางด้านเศรษฐกิจและ คอมพิวเตอร์ และให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ไทยสามารถแก้ปัญหาที่มี ผลกระทบต่อสังคมได้ อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โรค ระบาด โรคเอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม และ อาชญากรรมข้ามชาติ
7
- เป็นความร่วมมือในด้านอื่นที่มิใช่ด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง ประกอบด้วยความร่วมมือด้านต่าง ๆ ได้แก่ แรงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข วัฒนธรรมและสารสนเทศ การศึกษา การขจัดความยากจน การพัฒนา สตรี เด็กและเยาวชน การพัฒนาชนบท การ พัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการสังคม การจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้าน ภัย พิบัติ เป็นต้น - ไทยเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือด้าน สังคมเพื่อสันติสุขในภูมิภาค จึงสนับสนุนให้ อาเซียนกระชับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย การค้าอาวุธ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและคอมพิวเตอร์ เป็น ต้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นกลไก ลดช่องว่าง ระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียน ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน
8
- ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดเครือข่าย มหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ ASEAN University Network (AUN) เพื่อเป็นแกน หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้ตั้ง “มูลนิธิอาเซียน” หรือ ASEAN Foundation เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยน นักศึกษาและนักวิชาการตลอดจนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งยังได้สนับสนุนการจัดทำโครงข่ายรองรับทาง สังคม หรือ Social safety nets เพื่อบรรเทา ผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ - ปี 2544 ไทยผลักดันให้อาเซียนมีมติรับรองการจัด ให้มีปีแห่งการปลูกจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติด ในอาเซียน ระหว่างปี และสนับสนุน ให้มีประชุมยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 รับรองปฏิญญา ว่าด้วยเชื้อ HIV เนื่องจากไทยสูญเสียทรัพยากร จำนวนมากในการแก้ไขปัญหาเสพติดปัญหาโรค เอดส์และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระดับภูมิภาค
9
ด้านสิทธิมนุษยชน ได้มีการร่วมมือกันช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในประเทศเมียนมาจากพายุ ไซโคลนนาร์กีส ช่วยเหลือฟื้นฟู บูรณะพื้นที่ ที่ ประสบภัย ไทยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลไก สิทธิมนุษยชนของอาเซียนในหลักการ บทบาทของอาเซียนยังคงยึดหลักไม่ ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศ สมาชิก
10
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริม สิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ ซึ่งที่ประชุมได้ออก แถลงการณ์ร่วมระบุว่า อาเซียนจะเคารพและปกป้องสิทธิ มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้ อนุปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ แม้การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่อาเซียนให้ ความสำคัญ และพยายามเสริมสร้างให้ประเทศสมาชิก คำนึงถึงการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่กล่าวได้ว่าหลาย ประเทศในอาเซียนมีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ ดังนี้ การละเมิดโดยภาครัฐ เช่น รัฐบาลพม่าดำเนินการ ปราบปรามทั้งประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และ ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ที่เรียกร้องสิทธิปกครอง ตนเอง รวมทั้งมีการกดขี่ชนกลุ่มน้อยด้วย ใน พ.ศ และ พ.ศ รัฐบาลพม่าได้ปราบปราม ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย จนมีประชาชนเสียชีวิตและ บาดเจ็บจำนวนมาก และถูกคุมขังนับพันคน ในจำนวนนี้ มีพระสงฆ์รวมด้วย รัฐบาลทหารของพม่าไม่สนใจปฏิกิริยา ต่อต้านจากนานาชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคง ดำเนินอยู่ แม้ว่ารัฐบาลจะมีท่าทีอ่อนลงเมื่อมีการปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านที่ถูกคุมขัง มานาน ในปลายปี 2553 แต่ยังมีนักโทษการเมืองอีกจำนวนมาก ที่ถูกคุมขัง ซึ่งปัญหา สิทธิมนุษยชนของพม่า ถูกโจมตีจากสังคมโลกมาโดยตลอด
11
เพื่อให้การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนประสบ ความสำเร็จ อาเซียนจึงพยายามส่งเสริม ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศ เผยแพร่ ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการ รักษาสิทธิเสรีภาพทั้งของตนและผู้อื่น ปลูกฝัง ประชาชนให้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม เคารพกฎหมาย กฎระเบียบสังคม และ คาดหวังว่าการสร้างประชาคมความมั่นคง อาเซียน จะช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษยชนในอาเซียน นอกจากนี้ องค์กร ด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศ และองค์กร สิทธิมนุษยชนภายนอกกลุ่มอาเซียน รวมถึง สหประชาชาติซึ่งมีนโยบายส่งเสริมสิทธิ มนุษยชน เป็นอีกกลุ่มที่จะมีบทบาทช่วย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
12
ด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียนเริ่มมีความร่วมมือด้าน สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ไทยผลักดันโครงการศึกษาความ มั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ทุกมิติให้ เกิดผลเป็นรูปธรรม อาเซียนได้กระตุ้นให้มีการส่งเสริม ความร่วมมือหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ในระดับภูมิภาค
13
อาเซียนเริ่มมีความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมมา ตั้งแต่ปี 2520 ซึ่งอาเซียน ได้ร่าง โครงการสิ่งแวดล้อมของอนุภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Sub-regional Environment Programme - ASEP) ระยะที่ 1 โดยได้รับ ความร่วมมือจากโครงการสิ่งแวดล้อมของ สหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) ต่อมา คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology - COST) ซึ่งขณะนั้นดูแลงาน ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยได้เสนอ ให้มีการ ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Experts Group on the Environment - AEGE) ครั้งที่ 1 เมื่อเดือน ธันวาคม ที่กรุงจาการ์ตา และใน ที่สุดเมื่อปี 2532 AEGE ได้รับการยกระดับ สถานะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Senior Officials on the Environment-ASOEN)
14
สำหรับประเทศไทยนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ 18 มกราคม ให้ประเทศไทยเข้า ร่วมดำเนินงานปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน 2543 โดย กิจกรรม ในส่วนของไทยนั้นประกอบด้วยการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ทุก แขนง การประกวดคำขวัญภาษาไทย เพื่อใช้ใน การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย การ ดำเนินงานสอดแทรกในแผนงานประจำของ หน่วยงาน เช่น กิจกรรมเยาวชน การฝึกอบรม การจัดแสดงนิทรรศการ การจัดกิจกรรมรณรงค์ ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสิ่งแวดล้อมโลก วันสิ่งแวดล้อมไทย การส่งเสริม กิจกรรมการ ท่องเที่ยวแบบ Eco-tourism ทั้งในประเทศและ ภูมิภาคอาเซียน โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้า มามีส่วนร่วม การดำเนินกิจกรรมกับ กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ เช่นกลุ่มเยาวชน กลุ่ม สตรี และการส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ดำเนินการ ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้จัดให้มีการประกวด คำขวัญเป็นภาษาไทย
16
กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและ กระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบ ความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการ ผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาส ครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความ ร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี (พ.ศ.2550)
17
ทั้งนี้ "อาเซียน+3" ยกระดับความร่วมมือขึ้นในปี พ. ศ
ทั้งนี้ "อาเซียน+3" ยกระดับความร่วมมือขึ้นในปี พ.ศ หลังจากหลายประเทศ ในเอเชียเผชิญกับ วิกฤตทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า "ต้มยำกุ้งดีซีส" ในช่วงกลางปี ครั้งนั้น ผู้นำประเทศสมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้เข้าร่วมพบปะหารือกับผู้นำ ของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และหาแนวทางรับมือกับภาวะตกต่ำทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมถึงการกระชับความสัมพันธ์กับ ประเทศในเอเชียตะวันออก นับแต่นั้นมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จัดขึ้น ทุกครั้ง ผู้นำของทั้ง 10 ชาติสมาชิกอาเซียนก็จะเข้า ร่วมประชุมกับผู้นำของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ใต้ด้วย โดยใช้ชื่อว่า "การประชุมสุดยอดอาเซียน+3" ซึ่ง ในการประชุมครั้งที่ 2 ได้มีการหารือกันถึง 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจใน ภูมิภาค 2. ความร่วมมือสู่ศตวรรษที่ 21 ในการรักษา ส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ และการพัฒนา
18
วัตถุประสงค์ของกรอบความร่วมมืออาเซียน+3
การรวมกลุ่มอาเซียน+3 เป็นการนำไปสู่การจัดตั้ง ประชาคมเอเชียตะวันออก โดยชาติสมาชิกจะ ร่วมมือและสนับสนุนกันในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง การสร้างเขตความร่วมมือทางความมั่นคง และ การเมืองที่ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งนี้ ความร่วมมือ ต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือสำคัญ 6 ด้านที่เร่งผลักดัน คือ 1. การร่วมกันกำหนดกฎระเบียบในภูมิภาค 2. การตั้งเขตการค้าเสรี 3. ข้อตกลงความร่วมมือทางการเงินและการ คลัง 4. เขตความร่วมมือและมิตรภาพเพื่อหลีกเลี่ยง การสะสมอาวุธ 5. การคมนาคมและเครือข่ายการสื่อสาร 6. ด้านสิทธิมนุษยชนและพันธะกรณีต่าง ๆ
19
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 พร้อม กับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การ เปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนา อย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ และกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความ ร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสาน ความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมาก ยิ่งขึ้น
20
อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่ง ในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพี โลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงิน สำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมี บทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มี ความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะ ได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขต การค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่า ประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทย ในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนาม คาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
21
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่จังหวัด ภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้ เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความ ร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้ รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้า ระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินใน ภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลัง อาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัด กระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็น กันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
22
ความสำคัญของอาเซียน+3 ต่อประเทศไทย
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ถือเป็นประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจในทวีปเอเชีย และมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก ดังนั้น การที่อาเซียน สามารถดึงให้ทั้ง 3 ประเทศ เข้ามาร่วมในกรอบความ ร่วมมือของอาเซียนได้ จึงทำให้เกิดความร่วมมือในด้าน ต่าง ๆ มากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทยที่มีการประเมินว่า ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือใน กรอบของ เขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์เลย ทีเดียว เชื่อได้ว่า ในอนาคต อาเซียน+3 จะเป็นการร่วม ตัวที่มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับโลก เพราะสัดส่วนของประชากรทั้ง 13 ชาติ คิดเป็นหนึ่งใน สามของประชากรโลก และมียอดเงินสำรองต่างประเทศ รวมกันมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองโลก นอกจากนี้ หากรวมผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้า ด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลกเลยทีเดียว ไม่น่า แปลกใจว่า ทำไมตอนนี้โลกกำลังจับตามองการรวมกลุ่ม ของชาติต่าง ๆ ในเอเชียมากเป็นพิเศษ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.